หลังจากรอมานานถึง 10 ปี วินโดวส์ก็ครองตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นอันดับหนึ่งแซงจากยูนิกซ์มาได้สมใจไมโครซอฟท์ โดยตลอดปี 2005 ที่ผ่านมา ไอดีซีรายงานว่ายอดขายวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ 17.7 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ยูนิกซ์อยู่ที่ 17.5 พันล้านดอลลาร์
ทั้งที่มีการคาดการว่าวินโดวส์จะขึ้นแท่นที่หนึ่งได้ก่อนหน้านี้มานานแล้ว แต่วินโดวส์ก็บุกตลาดได้ช้ากว่าที่คาดอยู่มาก ด้วยอุปสรรคหลายประการ เช่นเรื่องของความปลอดภัย ที่บริษัทต่างๆ ยังไม่ให้ความเชื่อถือนักในช่วงแรก
ส่วนน้องเล็กอย่างลินุกซ์นั้นมียอดขายอยู่ที่ 5.3 พันล้านดอลลาร์ จาก 4.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2004 ซึ่งเรียกว่าทำได้ดีในขณะที่ตลาดรวมนั้นเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.4 - 4.5
ที่มา - C|Net News.com
Comments
งาน MS ต่อๆไปคงมีเรื่องนี้มา present แน่นอน :)
ผมเบื่อเวบเซิพเวอร์ที่เป็น IIS มากครับ อืดอย่างไม่น่าเชื่อ เดี๋ยวนี้เข้าเวบไหนเห็นเป็น .asp หน่อยละก็จะพยายามไม่เข้าอีกครับ อันนี้ไม่ได้คิดไปเองแน่นอน แต่เซิพเวอร์อื่น ๆ ผมไม่รู้เหมือนกันครับ
อ้าว... เขานับยอดเงินกันเหรอ ไม่นับเป็นตัวๆล่ะ
ใช่ๆ นับเงินก็ชนะง่ายกว่าสิ
ผมว่าันับเงินก็แฟร์ดีนะ
ถ้านับเป็นตัวๆ นี่ยังนึกไม่ออกเลยว่าจะนับยังไง อย่างถ้าผมแอบใช้ Win2003 เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่บ้านจะนับมั๊ย หรือลง Unbuntu ไว้ใช้แผนก ฯลฯ
อย่างถ้าเป็นตลาดเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตนี่ยังอาจจะพอได้ แต่กับเซิร์ฟเวอร์น่คิดไม่ออกแฮะ
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าถ้าจะรายงานจริง ๆ (ไม่ได้หมายความถึงที่ blognone นะ) งั้นก็ต้องบอกว่าวัดไม่ได้ หรือไม่ก็แบบ อืม... ต้องหาข้อมูลเพิ่ม เช่น โดยเฉลี่ย server unix ราค่าเท่าไหร อะไรพวกนี้ดว้ยอ่ะ ไม่งั้นข้อมูล/หรือการรายงานก็จะเป็นแค่ข้อมูลสร้างภาพเท่านั้นเองนะ ผมว่า
่jittat - ก็เข้าใจนะครับ แต่การเอาเรื่องที่วัดได้ยากอย่างนั้นมาแข่งกัน มันก็จะกลายเป็นเหมือนเรื่องการพยายามแข่ง Total Cost of Owership ที่ผ่านๆ มา คือวัดอะไรไม่ค่อยได้ ต่างฝ่ายต่างสร้างเงื่อนไขการวัดที่เข้าข้างตัวเองขึ้นมา อย่างนั้นผมว่ายิ่งสร้างภาพกว่าอีกนะ
การใช้เม็ดเงินมาวัดมันอาจจะบอกแนวโน้มความนิยมได้ไม่ชัด แต่มันก็บ่งชี้อะไรบางอย่างเช่น การลดลงของอำนาจยูนิกซ์ (ไม่ใช่ลินุกซ์) ในตลาดเซิร์ฟเวอร์ เช่น HP-UX, IBM AIX, Sun Solaris หรือ SGI IRIX ที่เคยครองตลาดส่วนใหญ่มานาน
ผมว่ารายงานผลสำรวจอย่างนี้ ต้องใช้วิจารณญาณของผู้อ่านเป็นเรื่องปรกติครับ ว่าจะมองในส่วนไหน และตีความข้อมูลอย่างไร เพราะผลสำรวจภาพรวมอย่างนี้ ไม่ว่าสำนักไหน หรือการตั้งเงื่อนไขในการวัด ก็สามารถหาข้อโต้แย้งถึงความไม่น่าเชื่อถือได้ทั้งนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
พวกนี้เป็น performance myth (อันนี้คงต้องเรียก cost myth หรือ popularity myth) ที่สร้างภาพกันค่อนข้างมากน่ะครับ อย่างที่ลิ่วว่า คือ ต้องใช้วิจารณญาณพอสมควร
(เอ๋... ตอนแรกอ่านแล้วงง ทำไมลิ่วมันไปตอบเอาเมื่อปี 1970 นะ อิอิ)
ผมเห็นด้วยนะ ว่าอะไรมันก็ต้องใช้วิจารณญาณ... แต่บางทีกับคนที่อ่านผ่าน ๆ ถ้าคนรายงานจะช่วย "กระตุก" หรือชี้ช่องของความเป็น myth ให้ด้วยก็น่าจะดีนะ คือ บทความจะได้มีคุณค่าเพิ่มอีกสักหน่อย
จริงๆ ผมอยากให้หน้าที่นั้นเป็นของคนอ่านมากกว่า สิ่งที่ผมว่าคนไทยขาดกันค่อนข้างเยอะ คือ การแสดงความคิดเห็น/debate/participate/whatever ในข่าวหรือเนื้อหาต่างๆ ที่เปิดให้คอมเมนต์ได้ (เอาพวกความเห็นมีสาระนะ พวกด่ากันไม่นับ)
ซึ่งอย่างที่ อ. มะนาวทำเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ เลย
ผมเคยคิดเล่นๆ ว่าถ้าอยากให้ Blognone มีความเห็นต่อข่าวเท่ากับ Slashdot ผมคงต้องมีคนเข้ามากกว่า Slashdot ประมาณ 4-5 เท่า