ต้องแยกให้ดีๆ ว่ามันจะมี Intel Core ที่เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับชื่อซีพียู (เช่น Core Duo และ Core Solo) กับ Core ที่เป็นชื่อของ microarchitecture รุ่นใหม่ของอินเทล อันนี้เราสนใจตัวหลัง
Hannibal นักเขียนเรื่องซีพียูคนดังของ Ars Technica ได้เขียนบทความวิเคราะห์อย่างละเอียด (มาก) ของเจ้า Core microarchitecture นี้กับตัวอื่นๆ ของอินเทล เช่น P6 หรือ NetBurst ย้ำว่ามันละเอียดจริงๆ ชนิดต้องพลิกตำรา Computer Architecture อ่านตามเลย
สรุปคร่าวๆ ว่าในยุคดูอัลคอร์นี้ Core microarchitecture เป็นสถาปัตยกรรมที่ดูอัลคอร์แบบประณีประนอม สไตล์อินเท้ล อินเทล ต่างไปจากดูอัลคอร์หรือมัลติคอร์ตัวอื่นๆ อย่างเช่น UltraSPARC หรือ Cell โดย Core ออกแบบมาให้ใช้สำหรับคอร์ที่ไม่เยอะนัก ซึ่งส่งผลดีให้วงการค่อยๆ ปรับตัวไปสู่มัลติคอร์แบบเยอะๆ ได้อย่างราบรื่น
ที่มา - Ars Technica
หมายเหตุ: เพื่อกันงง ผมแถมแผนภาพความสัมพันธ์ของ microarchitecture ของอินเทลให้ดูด้วย (กดเข้าไปข้างใน)
สีเหลืองคือสายหลัก สีอื่นๆ คือ variation ส่วนเส้นประนั้นหมายถึงว่า Core อิง P6/Banias เป็นหลัก แต่ยืมบางส่วนมาจาก NetBurst นิดหน่อย
Comments
เพราะฉะนั้นเราก็น่าจะคาดได้ว่า Core จะมีแนวโน้มไปทางประหยัดไฟกับร้อนน้อยรึเปล่าครับ เพราะอิงมาจาก Banias ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมของ Pentium M