ช่วงนี้ดูจะเป็นมรสุมทั้งเรื่องสุขภาพและเรื่องธุรกิจสำหรับจ๊อบส์จริงๆ ล่าสุดศาลกลางของสหรัฐเพิ่งสั่งให้จ๊อบส์ต้องตอบคำถามกรณี iTunes ผูกขาดตลาดเพลงออนไลน์ ซึ่งคดีนี้ได้ถูกกลุ่มทนายเพื่อผู้บริโภคฟ้องไว้ตั้งแต่ปี 2005 และล่าสุด ศาลได้ประกาศให้ทางกลุ่มชนะคดีความ โดยได้สิทธิ์ตั้งคำถามได้โดยมีความยาวของการสนทนาไม่เกิน 2 ชม. ซึ่งจะต้องเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ Apple ได้ทำการแก้ไขซอฟท์แวร์เพื่อไม่ให้เพลงที่สร้างโดยใช้ซอฟท์แวร์จาก RealNetworks สามารถฟังได้บน iPod
ปัญหากรณีของ iTunes นี้ เริ่มต้นจากการที่นาย Thomas Slattery ในฐานะลูกค้าของ iTunes ได้ทำการฟ้อง Apple ในปี 2005 โดยทำการฟ้องเป็นกลุ่ม (class-action) ในฐานะของตัวแทนผู้บริโภคว่า บริษัทได้ละเมิดกฏหมายโดยบีบบังคับให้ผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อ iPod ได้กับ iTunes Store เท่านั้น
หลังจากนั้นไม่นาน Apple ก็โดนคณะกรรมาธิการเพื่อการแข่งขันทางค้าแห่งสหภาพยุโรป (European Union
Competition Commission) ไต่สวนอีก ส่งผลให้ Apple ยอมความโดยลดราคาเพลงที่ขายในประเทศอังกฤษลงในปี 2008 แต่ปัญหาก็ยังไม่จบเมื่อคณะกรรมการจากประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กร้องเรียนว่าเพลงที่ขายบน iTunes นั้น ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่นอื่นยี่ห้อได้นอกจาก iPod และ เมื่อพฤษภาคม ปีที่แล้ว ศาลแผนกป้องกันการผูกขาดทางการค้าของสหรัฐ ทำเริ่มไต่สวนเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจการขายเพลงของ iTunes
ที่มา: Bloomberg
Comments
lewcpe.com, @wasonliw
หลุดครับ จัดการแก้ให้แล้ว
1.หัวข้อเลยครับ
2.ก่อนวรรคสุดท้ายของบทความด้วยครับ
ผู้ขาด -> ผูกขาด
ขอบคุณครับ
เครื่องเล่นอื่นยี่ห้อ น่าจะเป็น เครื่องเล่นยี่ห้ออื่น
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
*
น่าจะโดนเรื่องผูกขาดเต็ม ๆ นะงานนี้ ถ้าเป็นอย่างที่ว่าจริง
เพราะปกติก็เน้นเรื่องการเป็นมาตรฐานปิดอยู่แล้วนะ
สงสัยว่าเครื่องเล่นเขาผูกขาดแล้วทำไมต้องไปซื้อของเขาด้วยล่ะ ยี่ห้ออื่นที่ฟังเพลงได้หลากหลายที่มาก็ออกจะเยอะ
iTunes ขายบริการหลายอย่างจนแทบจะเป็นสาธารณูปโภคเลยทีเดียว ถ้าจะใช้ต้องซื้อผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลเท่านั้น
อย่างเช่นการซื้อขายเพลงออนไลน์ เพลงเก่า ๆ หายาก ๆ iTunes มี ที่อื่นอาจจะไม่มี
เหมือนร้านขายของที่ต้องสมัครสมาชิกแพง ๆ ด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเข้าไปซื้อของไม่ได้
กรณีนี้แอปเปิลใช้ความเป็นผู้นำในตลาดหนึ่ง (เครื่องเล่น MP3) มาเสริมอีกตลาดหนึ่ง (ขายเพลงออนไลน์) ไงครับ การกระทำเช่นนี้ เท่าที่ผมทราบ "ผู้มีอำนาจเหนือตลาด" คือส่วนแบ่งตลาดเกินค่าที่กำหนด จะไม่สามารถทำได้
บ้านเราเองกฏหมายนี้ก็มีครับ แต่สภาพบังคับไม่จริงจังนัก
lewcpe.com, @wasonliw
มันใช่อันเดียวกับกฎหมายผูกขาดหรือเปล่าครับ
ทุกรีพลายขอบคุณครับ
จริงๆอยากได้ฟังก์ชั่น Re-downloadable เหมือนพวก Applications มากกว่าแฮะ กลัวเครื่องพังแล้วเพลงหาย
ผมไม่เคยซื้อเพลง แต่ซื้อ App จาก App Store
ตรงนี้ถ้าเราเครื่องหาย แล้วซื้อเครื่องใหม่มา ก็จะ Redownload ได้แบบไม่เสียเงินนะครับ
โดนซะแล้วเฮียจ๊อบส์
That is the way things are.
อืม ถ้ามองว่าเป็นผู้นำตลาดแล้วต้องเปิดให้ซื้อผ่านที่อื่นได้ด้วยนี่ก็ฟังขึ้นอยู่
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ก็พี่ไปใช้ MP3 จีนแดงแทนสิครับบบบบ ถูกกว่า ดีกว่า ด้วยนะ จะมาดื้อใช้ ipod ทำไมมมม งง มาก ขายของให้ยังผิดอีก อยากอยู่ในระบบก็ทำตัวตามระบบ ถ้าไม่อยากอยู่ ก็ไปใช้ระบบอื่น แค่นี้เอง ผมอาจจะมองแคบนะ แต่ผมก็รู้สึกแบบนี้
เดียวแต่งเรื่องให้เข้าใจง่ายขึ้น(หรืออาจจะงงกว่าเดิม)
มีเมืองหนึ่ง ในเมืองนั้นมีร้านขายน้ำกล่องอยู่เจ้าหนึ่งซึ่งมีร้านอยู่เต็มเมืองไปหมดแต่น้ำกล่องที่ขายนั้นใช้หลอดธรรมดาดูดไม่ได้ต้องใช้หลอดที่ร้านนั้นขายเท่านั้น จะไปซื้อร้านอื่นก็ไม่มีน้ำรสที่เราชอบอีก ก็เลยต้องจำใจซื้อทั้งน้ำซื้อทั้งหลอดของร้านนั้น
น้ำกล่อง = เพลง/บริการ....
หลอด = ไอพอต ,ไอโฟน
ร้านขายน้ำ = iTunes
ตามกฎหมายผูกขาดจะไม่มองในฐานะผู้บริโภคน่ะครับ แต่จะมองว่าเจ้าตลาดนั้นมีพฤติกรรมผูกขาดตลาดหรือเปล่า ซึ่งจะเป็นเจ้าตลาดได้หรือไม่ก็ต้องมีสัดส่วนตลาดตามที่กำหนด เช่น เกิน 50% เกิน 70%
คือใช้ mp3 เจ้าอื่นนะได้ครับ แต่บังเอิญว่ามันมีบางคอนเทนต์ที่ Ex แค่ iTunes กับ iTunes กินตลาดไปเกินที่กำหนดจนผุกขาดแล้วนั้นเอง
อันนี้แสดงความคิดเห็นตามที่อ่านได้ตามเนื้อข่าว
ถ้าเรื่องเพลงดิจิตอลออนไลน์นี่เป็นเจ้าตลาดตัวจริง ส่วนครองตลาดขนาดนี้ พฤติกรรมก็นะเข้าข่ายใช้ความเป็นเจ้าตลาดทำให้ไม่เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
จุดประสงค์ตอนแรกผมคิดว่าไม่น่าจะเจตนาทำเพื่อต้องการผูกขาด แต่เจตนาทำเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์มากกว่า เพราะว่าเครื่องเล่นยี่ห้ออื่น จะสังเกตุว่าสามารถก๊อปปี้เพลงได้ง่าย ๆ แค่ลากวาง และแอปเปิ้ลไม่สามารถควบคุมได้ จะสังเกตุว่าจะเอาเพลงออกจากไอพอดไปเล่นเครื่องอื่นนั้นทำไม่ได้ง่าย ๆ และiTunes นั้น ทำ DRM ออกมาได้ดี แต่พอนาน ๆ เข้า การที่ตัวเองอยากจะมี Contents ที่ Exclusive ออกมา ผมว่าก็เป็นเรื่องปกติ (มั้ย?) และจริง ๆ ไม่ต้องมี iPod ก็สามารถดู/ฟัง Content นั้นได้ แค่เปิดในคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้ก็ไม่ได้เป็นการผูกขาด Contents ตรงไหน และถามว่า iTunes แอปเปิ้ลกั๊กไว้แต่เพียงผู้เดียวไหม ผมคิดว่าไม่นะ ใครเคยได้ยินข่าว Motorola ROKR มั้ยครับ ที่ประกาศตัวว่าตัวเองเป็น iTunes Phone (ออกมาก่อนไอโฟนเสียอีก) แต่ด้วยเหตุผลกลใดมิทราบ ก็หายไป นั่นไม่ได้หมายความว่า iTunes เปิดไม่พอเหรอครับ? เพียงแต่มันไม่มีใครทำมาเพื่อรองรับ iTunes เอง หรือจะทำ Content แบบเปิดเลย ใครใคร่ซื้อ ซื้อ ใครใคร่ก๊อป ก๊อป แบบนั้นหรือ ถึงจะเรียกว่าเสรีทางการค้า? นี่ยังไม่นับรวมไปถึง User Experience อีก ที่มันอาจจะลำบากในการรับชม Contents บนเครื่องที่อาจจะไม่ได้มาตรฐาน เปิดได้บ้างไม่ได้บ้าง
แต่ยังไงผมก็ออกตัวนะครับว่าไม่ใช่วามองแอปเปิ้ลดีไปหมด แต่สิ่งที่ผมคิดว่าเค้าเป็นคือ เค้าแฟร์มากพอสมควร แต่งกเท่านั้นเอง -*- บางอย่างเราก็ไม่สามารถเข้าใจได้ อย่างเช่น ชื่อ เป็นต้น จะงกอะไรนักหนา
"ร้องเรียนว่าเพลงที่ขายบน iTunes นั้น ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่นอื่นยี่ห้อได้นอกจาก iPod"
ถ้า Apple ออก iTunes For Android ล่ะก็ฮาเงิบเลย
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)