หลังจากแข่งความเร็วกันมาหลายปี ตอนนี้เราอยู่ในโลกที่แข่งจำนวนคอร์ แต่ AMD กำลังจะเปิดสมรภูมิใหม่ที่แข่งกันประหยัดพลังงาน
AMD เปิดเผยข้อมูลของซีพียูรุ่นใหม่ที่จะใช้กับแพลตฟอร์ม AM2 ว่าจะแบ่งเป็น 2 รุ่น คือ
- Energy Efficient Desktop Processors - กินไฟมากสุด 65W - Athlon64 X2 3800+ ไปจนถึง 4800+
- Energy Efficient Small Form Factor Desktop Processors - กินไฟมากสุด 35W - Athlon64 X2 3800+, Athlon64 3500+ (ไม่มี X2), Sempron 3000+ ถึง 3400+
โดยราคาของรุ่น Small Form Factor จะแพงกว่าถ้าเป็นซีพียูตัวเดียวกัน ในกรณีนี้คือ X2 3800+ รุ่นล่างจะแพงกว่านิดหน่อย รุ่นที่วางขายในปัจจุบันจะถือว่าเป็นรุ่นไม่ประหยัดพลังงาน ซึ่งมีราคาขายถูกที่สุด
ความเคลื่อนไหวอื่นๆ
- AMD อาจจะวางขายซีพียูขนาด 65nm ได้ปลายปีนี้เป็นอย่างเร็ว โดยซีพียูชุดแรกที่เป็น 65nm คือ X2 4200+ ถึง 4800+
- บัสแบบ HyperTransport จะได้รับการอัพเกรดให้ขึ้นไปถึง 2.5GHz (ปัจจุบันสูงสุดที่ 1.4GHz) และ AMD ส่งเสริมให้ผลิตการ์ด HTX ซึ่งเป็นการ์ดเสริมสำหรับทำงานเฉพาะทาง เช่น ประมวลผล Java, TCP/IP หรือ SSL เป็นต้น
- ซีพียูรุ่นใหม่ๆ จะเพิ่มแคช L3 ซึ่งแชร์กันระหว่างแต่ละคอร์ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพจากแคช L2 แยกคอร์ที่มีอยู่เดิม
ที่มา - Ars Technica, The Register
Comments
ที่บ้านยังใช้ AthlonXP 2000+ อยู่เลยครับ คอมผมตอนนี้เรียกว่าตกยุคสุดๆ แล้วทั้ง cpu, mainboard, harddisk, ram, gpu, monitor ครบชุดเลย
ผมว่าจะอดทนถึงสิ้นปีนี้ ไม่รู้จะไหวหรือเปล่า แต่เท่าที่สืบราคาดู ไม่รู้ผมคิดไปเองหรือเปล่าว่า cpu ราคามันไม่ยอมลงง่ายๆ เลย ไม่เหมือนเมื่อก่อน...
deans4j cpu ตัวเดียวกันเลย แต่ว่า vga 6600 พอเล่นเกมส์ได้สนุกๆ :P
Intel อ้างว่า Merom Conroe และ Woodcrest น่าจะเร็วกว่า CPU จาก AMD ที่เปิดตัวในช่วงเดียวกันถึง 20%
ส่วน AMD บอกว่า HyperTransport 3.0 ซึ่งเป็นมาตรฐานรุ่นใหม่ที่เพิ่งได้รับการประกาศใช้และยังไม่มีสินค้า สามารถรับส่งได้ "5.2 gigatransfers per second" ซึ่ง AMD บอกว่าด้วยความเร็วขนาดนี้ สามารถบรรจุได้ 4 core
ศาสนา AMD ศาสนา Intel
ของผม 1700+ เองครับ กำลังคิดว่ารอ AM2 มันออก แล้วมาเก็บ socket A ที่ตกรุ่นน่าจะดีกว่า
เหมีอนได้แนวคิดมาจาก Cell ที่บอกว่าการแยกโมดุลจะทำให้มีการบริหารพลังงานได้ดีกว่า และคงเผื่อแข่งในอนาคตด้วย มองการณ์ไกลจริง ๆ
ข้อมูลเพิ่มเติมคือซีพียูวพวกนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่เลย นอกจากมีการ QC ที่ดีขึ้น ว่ากินพลังงานต่ำกว่าซีพียูรุ่นปรกติ แล้วเอามาขายแพงเท่านั้นเอง
lewcpe.com, @wasonliw
งั้นก็รอมันลดราคาต่อไป (ต้องรอตลอดเลยวุ๊ย)
lew - จิงหงะ? ไม่น่าใช่นา ถ้า sigma โตขนาดนั้นถือว่าการผลิตมีปัญหามากวิศวกรที่ควบคุมไลน์การผลิตคงโดนไล่ออกไปแล้ว
OHM -
การ QC เพื่อแพ่งเกรดของออกมาขายเป็นเรื่องปรกติในอุตสาหกรรมนี้อยู่แล้วครับ อย่างเรื่อง clockspeed นี่สร้างมาจาก line เดียวกันแล้วแยกเอาตอน QC เหมือนกัน ซึ่งบางครั้งเมื่อรุ่นถูกมันขายดีๆ เข้า ทางโรงงานก็อาจจะเอารุ่นที่ผ่าน QC สูงๆ ปล่อยมาเป็นรุ่นถูกได้เหมือนกัน ทำให้ CPU บางตัว Overclock ได้มากกว่า
lewcpe.com, @wasonliw
พึ่งรู้แฮะว่าเค้าแบ่งกัน แบบนี้เอง
เรื่องที่ lew อธิบายผมเข้าใจดีเพราะผมทำงานอยู่ในโรงงานที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ มาหลายที่แล้ว พวก การ์ดจอ เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์สื่อสาร ฯลฯ พวกนี้ผมเคยทำมาแล้ว ยกเว้น ซีพียู เท่านั้น จริง ๆ แล้วโรงานที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะไม่มีแผนก QC ถ้ามีอาจจะเป็น QA (Quality Assurance) แต่บางที่ก็ไม่มี แต่ที่แน่ ๆ เลยต้องมีแผนก Test Engineering ซึ่งทำหน้าที่ทดสอบอุปกรณ์ทั้งหมดแบบ 100% แล้วก็แ่บ่งเกรดมันออกมาเพื่อขายไปตามคุณภาพ
การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มันก็เหมือนกับการปลูกส้มสายน้ำผึ้งนั่นแหละ คือเราไม่สามารถควบคุมให้ทุก ๆ อย่างมันออกมาเท่ากันเป๊ะ ๆ ได้ เพราะอุปกรณ์ทุกอย่างที่เราใส่เข้าไปรวมทั้งขบวนการล้วนมีค่าความผิดพลาด จะมากน้อยขึ้นอยู่กับเราว่าจะยอมรับได้ที่กี่เปอร์เซ็น
สุดท้ายจึงทำให้โปรดักส์ที่ออกมาไม่เท่ากันเป๊ะ ๆ แล้วเราก็ต้องมา Test เพื่อแยกเกรด เกรดดีที่สุด ดีมาก ดี ดีน้อย หรือไม่ดี ส่วนที่ไม่ดียอมรับไม่ได้ก็ต้อง scrap ทิ้ง หรือเอากลับไป rework ใหม่ จะเห็นว่าเวลาเราไปซื้อส้มสายน้ำผึ้งมันก็มีหลายขนาดให้เราเลือก ขนาดใหญ่ก็แพงหน่อย ขนากเล็กก็ถูกหน่อย ส่วนไอ้ที่ทุเรศมาก ๆ เขาก็เอาทิ้งตั้งแต่อยู่ในสวน (scrap) ชาวสวนเขาไม่ได้ตั้งใจผลิตส้มลูกเล็กหนึ่งสวน หรือลูกใหญ่หนึ่งสวน โรงงานที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ก็เหมือนกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ใช่ว่าเราจะผลิตแบบสะเปะสะปะส่งเดช เอ้าท์พุทที่ได้ออกมาถ้านำคุณภาพส่วนที่เราสนใจมาพล็อตดูกราฟทางสถิติ เราจะได้ normal distribution ออกมา (ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น) ถ้ากราฟที่ได้ออกมา ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (sigma) เยอะเกินไป ถือว่าไม่ดี วิศวกรที่ทำหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการผลิต ต้องหาวิธีแก้ไข อาจจะควบคุมวัตถุดิบให้ดีขึ้น ควบคุมขบวนการผลิตให้ดีขึ้น และค่า mean ต้องอยู่ในเป้าด้วย
สิ่งที่ผมสงสัยในสิ่งที่ lew บอกก็คือ ถ้าไอ้สองโปรดักส์นี้มาจากไลน์การผลิตเดียวกันจริง ๆ แสดงว่า singma ของโปรดักส์ตัวนี้โตมาก ตั้งแต่แถว ๆ 35 w ถึง 65 w เกือบเท่าตัว แบบนี้มันไม่ใช่ธรรมดา มันเป็นอะไรที่ผิดปรกติค่อนข้างมาก แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ mean ของโปรดักนี้อยู่ที่เท่าไหร่ 45 - 50 w? ถ้า mean อยู่ตรงนี้แสดงว่า 90 % ของผลการผลิตมันก็เป็นโปรดัก 65 w ส่วนที่เหลือ 10 % มันถึงจะเป็นรุ่น 35 w แล้วมันจะมาตอบสนองความต้องการของตลาดได้ยังไง
แต่ถึงอย่างไรมันก็เป็นแค่ข้อสงสัยของคนที่ไม่ได้อยู่ในสายงานการผลิต CPU เท่านั้น
OHM - ตอนแรกผมก็ไม่แน่ใจเรื่องข้อมูลนี้เหมือนกัน แต่ข้อมูลสองที่ ทั้ง ArsTechnica และ C|Net ก็ระบุตรงกัน แต่จะว่าน่าเชื่อถือสักเท่าใหร่ผมเองก็ไม่แน่ใจ เพราะทั้งสองที่ไม่ได้เป็นแหล่งข่าวด้าน Semiconductor โดยตรง ยังไงถ้าเจอจากพวก EETimes จะลองไปหาข้อมูลมาเพิ่มเติมดูอีกทีครับ
แต่ถ้าบอกว่า 35w - 65w มันกว้าง จริงๆ แล้วแหล่งข่าวระบุว่ามันผลิตมาไลน์เดียวกับรุ่นปัจจุบันที่ทำงานอยู่ที่ประมาณ 8xw - 1xxw ด้่วยซ้ำ
ตรงนี้จะเป็นปรกติของการผลิตซีพียูรึเปล่าผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน
lewcpe.com, @wasonliw
lew - อืม.. อาจจะเป็นไปได้ เดี๋ยวผมจะลองหาข้อมูลดูเหมือนกัน เผื่อได้อะไรมาจะได้แบ่งปันความรู้กัน