Tags:
Node Thumbnail

หลายปีให้หลังมานี้บริการข้อมูลจำนวนมากมักไม่ได้มีเซิร์ฟเวอร์เพียงตัวเดียวแต่ใช้เซิร์ฟเวอร์จำนวนมากกระจายอยู่ทั่วโลกหรือที่เรียกว่า Content Delivery Network (CDN) โดยทุกเครื่องใน CDN จะมีข้อมูลเหมือนๆ กัน แต่เวลาที่มีคนร้องขอชื่อโดเมนด้วยโปรโตคอล DNS ก็จะดูว่าคำร้องขอนั้นมาจากประเทศใดแล้วตอบหมายเลขไอพีเครื่องที่น่าจะเชื่อมต่อได้เร็วที่สุดกลับไปให้

ปัญหาคือหลายๆ เวลาที่ผู้ใช้เรียก DNS นั้นไม่ได้เรียกกับเซิร์ฟเวอร์ของแต่ละโดเมนโดยตรง แต่เรียกไปยังเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่แม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกับตัวผู้ใช้ แต่บางครั้งก็ไม่เป็นจริงเช่นบริษัทข้ามชาติอาจจะมี DNS กลางของบริษัทที่เดียวทั่วโลก หรือหากใช้บริการ DNS เช่น Google Public DNS (8.8.8.8, 8.8.4.4) และ OpenDNS (208.67.220.220, 208.67.222.222) การเลือกเครื่องก็จะผิดพลาดบ่อยครั้ง

งานนี้กูเกิลจึงเสนอมาตรฐาน Client subnet in DNS requests เข้าไปยัง IETF (Internet Engineering Task Force) เพื่อให้มีการรองรับส่วนขยายใหม่ที่จะใช้หมายเลขไอพีของผู้ใช้จริงๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการร้องขอหมายเลขไอพีด้วย การทำเช่นนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์ DNS ต้นทาง (Authoritive nameserver)สามารถเลือกตอบได้ว่าควรจะตอบหมายเลขไอพีใดกลับไป

มาตรฐานนี้ใช้ฟอร์แมต EDNS0 (RFC2671) เพื่อส่งข้อความเพิ่มเติมเข้าไปในคำขอข้อมูล DNS โดยนอกจากฝั่งผู้ร้องขอสามารถกำหนดวงของเครื่องผู้ใช้ได้แล้ว ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ต้นทางเองก็สามารถบอกได้ว่าหมายเลขไอพีที่คืนมาให้นี้สามารถใช้กับวงได้กว้างแค่ไหน

กลุ่มผู้ผลักดันมาตรฐานนี้รวมตัวกันในชื่อว่า A Faster Internet

ที่มา - ArsTechnica

Get latest news from Blognone

Comments

By: BLiNDiNG
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 1 September 2011 - 19:24 #328707
BLiNDiNG's picture

ผมชอบนะ กูเกิล มองทุกเรื่องว่ามันพัฒนาได้อีกมั๊ย ถ้าได้ งั้นทำเลย