หลายคนอาจจำข่าว Nexus S ออกนอกโลก บินไปกับกระสวยอวกาศเที่ยวสุดท้าย เมื่อเดือนกรกฎาคมกันได้ เวลาผ่านมาสองเดือน กูเกิลเพิ่งปล่อยวิดีโอของ Nexus S ในอวกาศมาให้ดูกัน
ภารกิจของ Nexus S คือควบคุมลูกบอลหุ่นยนต์ที่ชื่อ SPHERES ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย MIT หุ่นยนต์นี้จะใช้ทำงานแทนนักบินอวกาศในบางงาน เช่น เก็บข้อมูลจากเซ็นเซอร์ หรือ บันทึกวิดีโอในสถานีอวกาศนานาชาติ กูเกิลบอกว่า NASA เลือก Android เพราะเป็นระบบเปิดที่ปรับแต่งได้ง่าย (รายละเอียดของโครงการดูที่เว็บของ NASA)
กูเกิลยังบอกว่าในอนาคตโครงการ SPHERES อาจจะถูกควบคุมผ่าน Android Open Accessory Development Kit (ADK) ได้ด้วย
ที่มา - Google Mobile
Comments
นึกถึง Haro ที่เป็น buddy ของ Logon Stratos ในเรื่อง GUNDAM 00
มันอึดและทนมากๆ เลยนะครับ Nexus S ถึงจะดูพลาสติกก็เถอะ
ขอโทษนะครับ แล้วถ้าเราเปิดแอพกล้อง (ที่ปกติมันจะหมุนบน/ล่างให้เอง) มาถ่ายรูป ภาพมันจะหมุนไปหมุนมาตามการแพนกล้องมั้ยเนี่ย (เข้าใจว่าแรงจากแรงเฉื่อยจะทำให้โทรศัพท์สับสนว่าเป็นแรงดึงดูด)
ผมไม่แน่ใจ 100% นะครับเพราะอุปกรณ์พวกนี้ใช้ Gyroscope แบบอิเลคทรอนิคส์ ปกติอุปกรณ์พวกนี้วัดจาก Gyroว่าเครื่องหันไปในทิศทางใดและ Gyro ที่ว่านี้ไม่ได้วัดแรงดึงดูดครับ กลับกันเสียอีกมันจะอยู่คงที่ตลอดเวลาไม่ว่าคุณหันอุปกรณ์ไปด้านไปนทิศทางไหนก็ตามแม้ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ทำให้ตัวเครื่องสามารถมีจุดอ้างอิงที่แน่นอนได้ครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
อ้าว ผมนึกว่า gyro มันใช้วัดทิศทาง accelero ใช้วัดแรงเสียอีก สงสัยเข้าใจผิดน่ะครับ
ผมก็ไม่ 100% เช่นกันนะครับ ฮ่าๆ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
Gyro ทำได้ทั้ง 2 แหละครับ ผมขอพูดว่า Gyro ใช้นับทิศทางเคลื่อนที่จะถูกต้องกว่าครับ เพราะมันมี Error เหมือนกัน (จะไม่มี Error ถ้ามนุษย์สร้าง Gyro ในอุดมคติได้)
ด้วย Error ตรงนี้เอง Accelero จึงวัดแรงได้ดีกว่า Gyro ครับ เพราะมันใช้หลักการ "วัด" โดยตรง ในขณะที่ Gyro ใช้หลักการ "นับ" ครับ แต่ Accelero ก็ทำได้แค่หน้าที่เดียวเท่านั้น ไม่สามารถวัดทิศทางได้ครับ
ผมไม่อ้างอิงเอกสารที่ไหนนะครับ เพราะผมสร้างทั้ง 2 อย่างเองด้วยมือได้เลย คำนวนได้หมด เพราะเคยสร้าง Concept มาแล้วครับ ขนาดเท่าลูกมะพร้าวเพื่อ Prove concept ตั้งแต่สมัยที่เทคโนโลยีการผลิตยังย่อส่วนลงไปอยู่ใน Package เล็กๆ ขนาดปัจจุบันไม่ได้
Concept การวัดที่สมบูรณ์ปัจจุบันจึงเป็นการวาง Accelero meter ไว้บนแกนของ Gyroscope ครับ ที่เหลือก็เรื่องของคณิตศาสตร์ฟิสิกส์ จึงได้ผลที่แม่นยำ
ตอนเขียนApp กำหนดได้ว่าจะฟิกใหม การรับ Input สำหรับการควบคุมคิดว่าคงไม่ได้รับจาก Gyroscope,A เพียงอย่างเดียวหรืออาจไม่รับเลย แต่น่าจะรับจาก เซ็นเซอพิเศษที่ออกแบบสำหรับดาวเทียม ผ่านบอร์ด IOIO Android(เป็นบอร์ดที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างAndroid กับ Hearware ผ่านทาง USB จำงทำให้ Anddroid มีความสาชมารถในการเชื่อมต่อเช่นเดียวกับ Microcontroller) แทน โดยมี Nexsus Sเป็นตัวประมวลผลและตัวสื่อสารเท่านั้นคิดว่าเซนเซอที่ใช้บนพื้นโลกไม่น่าจะใช้ได้บนนั้น
Senior Software Engineer ของ Google หน้าเด็กจัง :D นาทีที่ 1.30
ภาพปิดท้าย มีรูปหุ่นน้องด๋อยลอยในอวกาศด้วย น่ารักดี