ข่าวนี้รวมสามเรื่องมาไว้คราวเดียวเลยเพราะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องครับ เริ่มต้นที่หนังสือพิมพ์ The New York Times ได้นำเสนอเรื่องราวที่ต่อเนื่องจากประเด็นว่าทำไมแอปเปิลต้องเลือกจีนเป็นฐานการผลิตสินค้า โดยเป็นการบอกเล่าถึงภาพอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นภายในโรงงานประกอบชิ้นส่วน ตลอดจนโรงงานซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับแอปเปิลทั้งหมด
ต้นทุนมนุษย์ในสินค้าแอปเปิล
เมื่อพูดถึงโรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับแอปเปิล ชื่อของบริษัท Foxconn Technology ย่อมถูกนึกถึงก่อนใครอื่น และก็โรงงานของบริษัทนี้เองที่มีข่าวตั้งแต่พนักงานฆ่าตัวตายกันอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้ จนถึงสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งแอปเปิลก็รับปากจะดูแลจัดการเรื่องนี้ แต่จากรายงานของหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านแรงงานระบุว่า บรรดาผู้ผลิตสินค้าให้แอปเปิลยังคงละเมิดระเบียบในการปฏิบัติต่อพนักงานที่เหมาะสมอยู่
มีรายงานว่า ระยะเวลาในทำงานก็ยังเป็นปัญหา พนักงานถูกสั่งให้ทำโอทีจนเกินข้อกำหนด 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หลายคนต้องทำงาน 7 วันไม่มีหยุดพัก หลายพื้นที่การทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสารเคมีที่เป็นอันตรายก็ไม่ได้ถูกควบคุมการทำงานให้รัดกุม พนักงานไม่น้อยต้องดมสารพิษจนเป็นผลเสียกับร่างกายในระยะยาว บริษัทคู่ค้าเหล่านี้ก็เพียงแก้ปัญหาโดยขอให้พนักงานลาออกและจ่ายเงินชดเชยให้ตามสมควร
อดีตผู้บริหารระดับสูงรายหนึ่งของแอปเปิลกล่าวว่าแอปเปิลนั้นรู้ถึงปัญหาการปฏิบัติต่อแรงงานที่ไม่เหมาะสมของโรงงานผู้ผลิตมานานแล้ว แต่ที่เลือกไม่ลงไปจัดการอะไรก็เพราะว่าวิธีที่ใช้อยู่นั้นดีสำหรับแอปเปิลแล้ว แอปเปิลเองก็มีประกาศชัดว่าถ้าตรวจพบโรงงานผู้ผลิตมีการละเมิดข้อตกลง โทษสูงสุดก็คือการยกเลิกสัญญาจ้างผลิต แต่สำหรับผู้ผลิตบางรายที่ใหญ่ยักษ์อย่าง Foxconn นั้นเป็นคู่สัญญาที่แอปเปิลยากที่จะบอกเลิกได้ เพราะการหาผู้ผลิตรายใหม่สำหรับแอปเปิลที่ให้ได้ทั้งกำลังการผลิต ต้นทุนที่ต่ำแบบ Foxconn นั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
สภาพของ Foxconn ที่ไม่เปลี่ยนไปจากอดีต
"เหนื่อยทำงานวันนี้ หรือจะเหนื่อยออกไปหางานใหม่วันพรุ่งนี้" คือป้ายเตือนใจที่แปะไว้บอกพนักงานกว่า 120,000 คนในโรงงาน Foxconn ที่เมืองเฉิงตู ประเทศจีน สภาพการทำงานที่นี่มีสองแบบคือถ้าได้นั่งเก้าอี้ก็จะเป็นแบบไม่มีพนักพิง บางไลน์การผลิตพนักงานต้องยืนทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน หลายคนถึงกับป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับขาจนเดินเหินไม่สะดวกไปเลยก็มี และหลายครั้งพนักงานก็ถูกสั่งให้ทำงานต่อเนื่องถึงสองกะโดยไม่ได้หยุดพัก
เมื่อปีที่แล้วหลังเกิดเหตุระเบิดในโรงงานดังกล่าวจนมีผู้เสียชีวิต ต่อมาภายหลังการสอบสวนก็พบว่าเหตุเกิดเริ่มมาจากพื้นที่ของเครื่องจักรที่ใช้ในการขัดผิวฝา iPad ซึ่งในบริเวณนั้นเต็มไปด้วยฝุ่นผงอลูมิเนียม แต่ไม่มีการควบคุมฝุ่นละอองเหล่านี้ให้ดีพอ แม้พนักงานจะสวมอุปกรณ์รัดกุมดี แต่ฝุ่นละอองนี้ก็สะสมเกาะในเครื่องจักรจนเป็นสาเหตุให้เครื่องจักรดังกล่าวระเบิดจนเป็นโศกนาฏกรรมในที่สุด ญาติของผู้เสียชีวิตได้รับเงินช่วยเหลือจาก Foxconn เป็นเงิน 150,000 ดอลลาร์ในเวลาต่อมา แต่เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดซ้ำอีกครั้งที่โรงงานคู่ค้าของแอปเปิลเช่นกันที่เซี่ยงไฮ้ จึงเกิดคำถามว่าแอปเปิลพยายามแค่ไหนที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาลักษณะนี้
ภาพจาก Wired
Foxconn เองได้นำเสนอข้อมูลต่อสาธารณะว่าบริษัทมีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเหมาะสม ใครที่ต้องทำงานใกล้สารเคมีก็ได้รับการดูแลอย่างดี พนักงานได้พักระหว่างวัน 1 ชั่วโมง สภาพทำงานก็ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และสถิติความปลอดภัยของ Foxconn ก็อยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับบริษัทอุตสาหกรรมในจีน แต่ดูเหมือนความจริงที่ถูกรายงานออกมาเป็นระยะๆ นั้นดูจะสวนทางกับสิ่งที่ Foxconn พยายามนำเสนอ
ใช่ว่าแอปเปิลไม่ใส่ใจ
ปัจจุบันแอปเปิลได้จัดทำหน้าความรับผิดชอบต่อซัพพลายเออร์ไว้ในเว็บขององค์กร เพื่อแสดงให้เห็นว่าแอปเปิลตระหนักต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และต้องการให้คู่ค้ามีการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเหมาะสมเช่นกัน และยืนยันว่าถ้าตรวจพบการละเมิดสิทธิแรงงานขั้นสูงและปัญหาไม่ถูกแก้ไขภายใน 90 วัน บริษัทนั้นจะถูกยกเลิกสัญญาทันที
สตีฟ จ็อบส์เองก็เคยกล่าวถึงเรื่องคู่ค้าโรงงานผลิตในงานสัมมนาหนึ่งเมื่อปี 2010 ว่า "แอปเปิลเป็นบริษัทที่เข้าใจและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ไม่ใช่แค่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี แต่ถือว่าดีที่สุดในทุกอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ ถ้าคุณเข้าไปในโรงงานแล้วคุณจะต้องตะลึงแบบที่ผมเจอ มันมีทั้งร้านอาหาร มีโรงภาพยนตร์ มีโรงพยาบาล มีสระว่ายน้ำ ทุกอย่างอยู่ในนั้น มันเป็นโรงงานที่สวยงามมาก"
แอปเปิลเริ่มออกรายงานต่อสาธารณะเรื่องการตรวจสอบโรงงานคู่ค้าทั้งโรงงานที่มีความสัมพันธ์แบบโดยตรงและระดับรองตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งจนถึงปัจจุบันรายงานก็ยังคงพบปัญหาการใช้แรงงานเด็ก สภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม การให้ทำงานต่อเนื่องนานเกินไป โดยอดีตผู้บริหารแอปเปิลรายเดิมบอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าแอปเปิลแค่พยายามแสร้งใส่ใจในปัญหา แต่ไม่ได้พยายามลงไปแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก เพราะผ่านมาหลายปีแล้วปัญหาซ้ำเดิมก็ยังคงเกิดอยู่โดยตลอด โรงงานคู่ค้าที่มีเกือบ 400 แห่งนั้น จนถึงตอนนี้ถูกเลิกสัญญาจ้างไปแค่ 15 รายเท่านั้น
อย่างไรก็ตามรายงานด้านความรับผิดชอบต่อซัพพลายเออร์ฉบับปี 2011 ของแอปเปิล ระบุว่าจำนวนครั้งที่แอปเปิลเข้าตรวจโรงงานนั้นสูงขึ้นทุกปี และปัญหาก็ได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แอปเปิลยังช่วยฝึกอบรมพนักงานนับล้านคนให้รู้จักปกป้องสิทธิแรงงานของตนเองด้วย
ปัจจุบันแอปเปิลยอมเปิดเผยรายชื่อโรงงานคู่ค้าเกือบทั้งหมดผ่านเว็บไซต์ของตน โดยโรงงานบางแห่งที่ถูกปิดเป็นความลับก็ด้วยเหตุผลด้านการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
ถูกบีบให้ลดต้นทุนทุกวิถีทาง
หลายคนอาจคิดว่าการได้เป็นซัพพลายเออร์ให้แอปเปิลคือข่าวดี ซึ่งก็อาจจะจริง เพราะแต่ละวันมีบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนทั้งเดินทางไปสำนักงานใหญ่แอปเปิล หรือเชื้อเชิญบรรดาผู้บริหารระดับสูงด้วยหวังว่าแอปเปิลจะเลือกซื้อชิ้นส่วนจากบริษัทตน แต่เมื่อข้อตกลงบรรลุ ความท้าทายสำหรับบริษัทก็เริ่มขึ้น
แอปเปิลไม่ใช่ลูกค้าที่แสนดีนัก แอปเปิลจะเริ่มด้วยการขอข้อมูลต้นทุนวัตถุดิบ จำนวนพนักงานที่ใช้เพื่อให้ผลิตได้ตามจำนวน ค่าจ้างพนักงานแต่ละคน เรียกได้ว่าข้อมูลทางการเงินทุกบรรทัดจะถูกเปิดเผยเพื่อให้แอปเปิลประเมินได้ว่าแอปเปิลควรจ่ายเท่าไหร่สำหรับชิ้นส่วนนี้ และข่าวร้ายคือซัพพลายเออร์มักได้ส่วนต่างที่เป็นกำไรน้อยมาก
ภาพจาก Edible Apple
เมื่อถูกกดราคาอย่างหนักแม้มาพร้อมปริมาณสั่งซื้อที่มหาศาล บรรดาซัพพลายเออร์จึงไม่มีทางเลือกนอกจากลดต้นทุนทางอื่นทุกอย่างที่อาจไม่เหมาะสม ตัวอย่างที่เป็นข่าวเมื่อหลายปีก่อนคือโรงงาน Wintek ซึ่งเดิมใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดหน้าจอ iPhone ก็เปลี่ยนไปใช้เฮกเซนที่ราคาถูกแต่มีความอันตรายมากกว่า และสามารถทำความสะอาดหน้าจอได้รวดเร็วกว่า จนเกิดเหตุพนักงานล้มป่วยหลายร้อยคนจากการสูดดมสารพิษนี้ ซึ่งต่อมาแอปเปิลก็สั่งห้ามโรงงานนี้ใช้เฮกเซนอีก
แม้เกิดเหตุร้ายนี้ขึ้นรายงานข่าวก็ระบุว่าแอปเปิลไม่ได้เห็นใจ Wintek เลย สัญญาจ้างผลิตปีต่อมา แอปเปิลได้ต่อรองขอลดราคาชิ้นส่วนลงอีก ซึ่งนั่นเท่ากับว่าแอปเปิลก็เหมือนบีบโรงงานคู่ค้าให้ต้องลดต้นทุนด้วยวิธีการแผลงๆ อีกครั้ง
ผู้เกี่ยวข้องระบุว่าอันที่จริงแอปเปิลใช่ว่าจะไม่มีหัวจิตหัวใจ แต่เพราะเป้าหมายธุรกิจที่เป็นหลักสำคัญ ทำให้หลายครั้งแอปเปิลก็ต้องหลับตาข้างเดียวไม่ใส่ใจต่อการละเมิดแรงงานที่เกิดขึ้น เพราะถ้าต้องไปทำทุกอย่างให้ถูกต้องนั้น ก็อาจส่งผลต่อความสามารถในการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ตลอดจนปริมาณและคุณภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของแอปเปิลในตอนนี้ด้วยเช่นกัน
ทิม คุกบอกเราทำดีกว่าใครแล้ว
หลังบทความนี้เผยแพร่ออกไปวันเดียว ซีอีโอทิม คุกก็ส่งอีเมลภายในถึงพนักงานแอปเปิล โดยบอกเล่าว่าทุกปีมีพนักงานแอปเปิลจำนวนมากที่ต้องเดินทางไกล เพื่อไปควบคุมดูแลซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิด และแอปเปิลก็ได้เพิ่มมาตรฐานในการทำงานของโรงงานเหล่านี้ให้สูงขึ้นทุกปี เพื่อให้แน่ใจว่าสภาพการทำงานในที่เหล่านั้นมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งไม่มีใครในอุตสาหกรรมที่กล้าลงทุนทำเท่ากับที่แอปเปิลทำตอนนี้
ในอีเมลดังกล่าว ทิม คุกยังพูดถึงโปรแกรมการฝึกอบรมพนักงานที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานตลอดสายการผลิตทั้งหมดนับล้านคน ว่าเป็นการฝึกอบรมเพื่อให้พนักงานเหล่านี้รู้ถึงสิทธิที่พวกเขามี สอนให้พวกเขากล้าพูดถ้าหากได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม
ทิม คุกยังกล่าวอีกว่าทุกครั้งที่เกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมด้านแรงงานแม้เพียงเล็กน้อย แอปเปิลจะเข้าไปดูแลปัญหาเพื่อแก้ไขโดยทันที แอปเปิลสามารถเลือกไม่รายงานปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้เพื่อให้ภาพใหญ่ออกมาดูดี แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่คนที่อยู่ในระดับผู้นำอุตสาหกรรมพึงกระทำ เขาปิดท้ายว่าแอปเปิลจะยังคงมุ่งมั่นลงลึกและแก้ไขทุกปัญหาในสายการผลิต สิ่งเดียวที่แอปเปิลจะไม่ทำคือการหลับตาทำเป็นไม่รับรู้กับเรื่องที่เกิดขึ้น
เรียกร้องให้แบนแอปเปิล
ในขณะเดียวกันสื่อหลายสำนักในอเมริกาก็เริ่มแสดงความเห็นต่อรายงานดังกล่าว ระบุว่าแอปเปิลนั้นควรออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นให้มากกว่านี้ โดย L.A. Times ได้เปิดประเด็นแรงๆ ว่า ถึงเวลาหรือยังที่ผู้บริโภคควรแบนสินค้าแอปเปิล เพราะอัตรากำไรต่อ iPhone ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามรายงานผลประกอบการล่าสุดก็แลกมาจากการกดขี่แรงงานในจีน
ส่วน Peter Cohan จาก Forbes บอกว่าผลของการกดต้นทุนที่แอปเปิลกระทำต่อซัพพลายเออร์ทำให้ iPhone และ iPad ที่เราใช้กันอยู่นั้นแลกมาด้วยด้วยชีวิตคนถึง 23 คน และผู้บาดเจ็บอีกหลายร้อยราย ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเรียกร้องให้แอปเปิลแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น
อีกรายคือ Dan Lyons นักเขียนใน Daily Beast บอกว่าทุกสิ่งที่เราเห็นจากแอปเปิลคือด้านเดียวของเหรียญ แต่ยังมีอีกด้านที่โหดร้ายซึ่งส่งผลต่อแอปเปิลให้เป็นบริษัทกำไรมหาศาลจากการไปลดต้นทุน จึงถึงเวลาหรือยังที่บริษัทที่มีเงินมหาศาลระดับแสนล้านดอลลาร์จะลงมาทำอะไรเสียบ้างให้มีมนุษยธรรมมากกว่านี้
สุดท้าย Heather White ซึ่งเป็นนักวิจัยจาก Harvard กล่าวว่าแท้จริงแล้วปัญหาเหล่านี้มันจะดีขึ้นเองก็ต่อเมื่อทัศนคติของผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากแทนที่จะตื่นเต้นกับผลิตภัณฑ์ใหม่ของแอปเปิลที่ออกมาแต่ละปีโดยไม่สนใจวิธีการ มาเป็นสนใจว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะถึงมือเรา แบบที่ผู้บริโภคเคยร่วมกันกดดันสินค้าอย่าง Nike หรือ Gap สำเร็จมาแล้วนั่นเอง
ที่มา: The New York Times, 9to5Mac และ The Guardian
เขียนครั้งแรกที่ Arjin's Blog
Comments
NYT Point ปัญหาผิดหรือเปล่า ปัญหามันน่าจะอยู่ที่ Foxconn สิ ในการดูแลสภาพความเป็นอยู่และสวัสดิการของลูกจ้าง (งานเยอะคุณก็ต้องจ้างคนเพิ่ม) ไม่ใช่ Apple
ผมมองอีกทาง -> เงินไม่เพิ่ม -> จ้างเพิ่มไม่ได้ -> จัด OT ถูกกว่า ???
ส่วนนึงก็เกิด จากรูปแบบที่ Apple ใช้ เพื่อต่อรองราคา กับ คู่ค้า โดยแอบเปิ้ล เป็นคนกำหนดทุกสิ่ง คู่ค้ามีสิทธ์ตอบแค่ ตกลง หรือ ไม่ตกลง หากตกลงก็ไปแก้ปัญหาเอาเอง จนไปถึงพนักงาน ที่ต้องเลือกแค่ว่า ตกลงทำงานเหนื่อย หรือ จะหางานใหม่
ซึ่งจะต่างกับคู่ค้าอื่น ตรงที่ ทั้ง สองฝ่าย ตกลงราคากัน โดยฝ่ายนึงพอใจกับเงินที่จ่าย โดยไม่รู้ว่า อีกฝ่ายได้กำไรเท่าไร และแน่นอน อีกฝ่ายย่อมต้องพอใจกับกำไรที่ได้
แต่ผมเชื่อ ว่า แอปเปิ้ลทำดีที่สุดแล้ว เมื่อเทียบ กับบริษัท อื่นๆ ตามที่ ทิม คุก กล่าวอ้าง
+1
"อีกฝ่ายย่อมต้องพอใจกับกำไรที่ได้"
ถ้าเป็นบ้านเรา ล้มproject ฟ้องร้องกันกระจาย
"จ่ายค่าเสียหายดีกว่าทำแล้วไม่คุ้ม"
คล้าย ๆ กับ โลตัส บ้านเรา
+1 เมื่อก่อนเพื่อนพ่อผมส่งของให้อยู่ เล่าให้ฟังแล้วหนาวไปเลย
เป็นปัญหาไก่กับไข่ ถ้าคนไม่จ้างเค้าก็ไม่ทำผิด คนให้ส่วนหรือรับส่วนผิดกว่ากัน ฯลฯ
แต่เค้ากดดัน apple ได้ง่ายกว่า foxconn เลยเลือกทางนี้
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ไม่ผิดหรอกครับ NYT เค้าคงไม่อยากไปยุ่งกับบริษัทในจีนเท่าไหร่
ที่ Apple ผิดคือการจ้างบริษัทที่ทารุณแรงงาน มันก็เหมือนสนับสนุนแบบอ้อมๆ
ผมชอบคนอเมริกาตรงนี้แหละ ความรับผิดชอบต่อสังคมสูงพอๆกับเงินที่พวกเค้ามี
ใครรวยกว่าต้องรับผิดชอบมากกว่า เจ๋งงง!!!
นึกถึง Blood Diamond ;(
my blog
ไม่บอกผมก็ไม่นึกถึงประเด็นนี้เลยแฮะ ทั้งที่เป็นไมโครซอฟท์แฟนบอย อ่านข่าวตอนแรกแล้วยังนึกเห็นใจแอปเปิ้ลเลย ที่สมควรถูกด่าน่าจะเป็น foxcon แล้วก็กฎหมายของจีน
แต่พอมาคิดเทียบกับ blood diamond แล้ว โอว ไอโฟนสีเลือด
เค้าลางแห่งการล่มสลาย ?
เริ่มรู้สึกผิดที่ใช้ iPhone
แต่ก็น่าเห็นใจ Apple
การเพิ่มราคาในคำสั่งซื้อ ก็ไม่รู้
คุณภาพชีวิตของคนในโรงงานจะดีขี้น
หรือ กำไรของ Foxconn จะมากขึ้น - -"
ใครเอาเรื่องนี้มาเล่นเนี่ย แรงจริง ๆ เพราะปกติผู้ใช้ apple เป็นระดับ premium ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับเรื่องแบบนี้ เมื่อเจอเรื่องนี้เข้าไป ผมว่า apple อาจมีเป๋ (ถ้าโดนคู่แข่งฉวยโอกาสถล่มซ้ำเนี่ย แย่แน่นอน) ถ้าเกิดมีคนตอกย้ำว่า ใช้ iphone = ทารุนแรงงานในจีน (จะมีใครถือ iphone แล้วเดินยืดอีกไหมครับ)
ปีที่แล้วเคยมีคนทำแอพล้อเลียนโรงงานทาสในจีนลงใน appstore และโดน apple แบนไปเรียบร้อยแล้วครับ
แต่ถ้าจำไม่ผิดใน android ก็ยังมีอยู่นะ
จากปัญหาเรื่องมนุษยธรรมที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เห็นว่า Foxconn จะปรับเปลี่ยนจากการใช้แรงงานคน มาเป็นเครื่องจักรแทน เห็นว่าเริ่มทำการปรับเปลี่ยนแล้ว และคาดว่าจะทำให้มีคนตกงานนับแสนคนเลยทีเดียว .. ไม่รู้เหมือนกันว่าคนที่ตกงานไปนั้นจะรู้สึกดีกับการรณรงค์เรื่องมนุษยธรรมหรือเปล่า
เพขร มิยิ่งกว่าเหรอครับ
I need healing.
ถ้ามันเป็นเรื่องจริง ...
หลักการยศาสตร์
อ่านว่า กาน-ยะ-สาด
หรือว่า กา-ระ-ยะ-สาด ครับ?
อ่านตามแบบหลังครับ
ผมเพิ่งรู้นะเนี้ยว่า Ergonomics แปลว่า การยศาสตร์
จริงๆ Foxconn ก็ผลิตให้บริษัทอื่นด้วยนี่นะ
แต่ทำไมเล่นแต่ Apple หว่า หรือเพราะรูปแบบการตกลงสัญญา ?
ปัญหาก็คงจะมาจากการตกลงกันเรื่องค่าแรงนั่นแหละ
แต่คนที่ต้องปรับเปลี่ยนก็คือตัว Foxconn เองไม่ใช่หรือ ?
อยากรู้โรงงานอื่นเป็นยังไงบ้าง ? อย่างของ samsung ก็น่าจะผลิตเยอะนะ อ่านข่าวทีไรได้ยินแต่ foxconn
My iOS apps
My blog
เข้าใจชีวิตของ Contract manufacturing เถอะครับว่าทุกปีต้องโดนลูกค้าขอต่อรองราคาการผลิตลงอยู่แล้ว เพื่อแลกกับปริมาณงานที่มากขึ้น นั่นเป็นโจทย์ที่ให้กับวิศวกรต้องคิดว่าจะทำอย่างใรให้ผลิตใด้มากขึ้นในระยะเวลาเท่าเดิม ไม่ใช่แค่ผลิตเท่าเดิมแต่ลดต้นทุนใด้อย่างเดียว
อ่านข่าวโรงงาน Wintek แล้วเศร้าครับ บ้านเราวิศวกรเก่งกว่าจีนเยอะ อย่างน้อยเราก็รักและเคารพความเป็นมนุษย์มากกว่า
จ่ายเพิ่ม แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า supplier ไม่เอาเข้ากระเป๋าตัวเอง ในเมื่อทุกธุรกิจ ต้องการกำไรสูงสุด
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
Apple ใช้ปริมาณสั่งซื้อมหาศาลเพื่อต่อรองราคา แน่นอนว่าโรงงานไหนก็ต้องอยากได้สัญญาจ้างผลิตอันมหาศาลนี้
บริษัทคอมพิวเตอร์อื่นๆอาจไม่มีอำนาจในการต่อรองมากเท่า Apple จึงไม่สามารถกดราคาค่าผลิตจากโรงงานได้มากนัก
เมื่อหลายปีที่ผ่านมามีข่าวโรงงานผลิตของเล่นให้ Mc Donald ในประเทศจีนมีพนักงานที่มีสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ บางโรงงานใช้แรงงานเด็ก จนมีผู้ออกมาต่อต้านไม่ซื้ออาหารของ Mc Donald จำนวนมาก ในที่สุด Mc ก็ต้องหาทางแก้ด้วยการกำหนดข้อตกลงถึงสภาพการทำงานในโรงงานเหล่านั้น และแน่นอนด้วยข้อตกลงนี้ Mc Donald ก็ยอมจ่ายต้นทุนราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น และระยะหลัง Mc Donald ก็ทำ campaign ช่วยเหลือสังคมมากขึ้นเพื่อแก้ไขภาพลักษณ์ที่เสียไปกลับมา
แน่นอน Apple ก็มีสิทธิ์เลือกทำแบบนี้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าอยากจะทำหรือเปล่า หรือกำไรสูงสุดเท่านั้นคือเป้าหมายอย่างเดียวที่ต้องสนใจ
สำหรับคนที่สงสัยว่าถ้า Apple ยอมจ่ายเพิ่มแล้วโรงงานไม่ยอมปรับปรุงแล้วเก็บส่วนต่างไว้เองจะทำยังไง
เรื่องนี้สามารถตรวจสอบได้ครับ เพราะโรงงานทั่วไปยอมให้ผู้ว่าจ้างไปตรวจสอบโรงงานอยู่แล้ว บ้านเพื่อนผมเป็นเจ้าของโรงงานผลิตถุงมือส่งออก บริษัทผู้ว่าจ้างเขายังส่งตัวแทนมาตรวจสอบโรงงานบ่อยๆเลย นี่ขนาด Apple ขอดูรายละเอียดงบการเงินและต้นทุนการผลิตด้วยซ้ำ ยิ่งตรวจสอบง่ายเข้าไปใหญ่ ก็อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ขึ้นอยู่กับว่า Apple จะยอมทำหรือเปล่า
ถูกบีบให้ลดต้นทุนทุกวิถีทาง หลายคนอาจคิดว่าการได้
เป็นซัพพลายเออร์ให้แอปเปิลคือข่าวดี
ซึ่งก็อาจจะจริง เพราะแต่ละวันมีบริษัท
ผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวน
ทั้งเดินทางไปสำนักงานใหญ่แอปเปิล
หรือเชื้อเชิญบรรดาผู้บริหารระดับสูง ด้วยหวังว่าแอปเปิลจะเลือกซื้อชิ้นส่วน
จากบริษัทตน แต่เมื่อข้อตกลงบรรลุ
ความท้าทายสำหรับบริษัทก็เริ่มขึ้น แอปเปิลไม่ใช่ลูกค้าที่แสนดีนัก แอปเปิล
จะเริ่มด้วยการขอข้อมูลต้นทุนวัตถุดิบ
จำนวนพนักงานที่ใช้เพื่อให้ผลิต
ได้ตามจำนวน ค่าจ้างพนักงานแต่ละคน
เรียกได้ว่าข้อมูลทางการเงินทุกบรรทัด
จะถูกเปิดเผยเพื่อให้แอปเปิลประเมิน ได้ว่าแอปเปิลควรจ่ายเท่าไหร่สำหรับชิ้น
ส่วนนี้ และข่าวร้ายคือซัพพลายเออร์มัก
ได้ส่วนต่างที่เป็นกำไรน้อยมาก เมื่อถูกกดราคาอย่างหนักแม้มาพร้อมปริม
าณสั่งซื้อที่มหาศาล
บรรดาซัพพลายเออร์จึง
ไม่มีทางเลือกนอกจากลดต้นทุนทาง
อื่นทุกอย่างที่อาจไม่เหมาะสม ตัวอย่างที่
เป็นข่าวเมื่อหลายปีก่อนคือโรงงาน Wintek ซึ่งเดิมใช้แอลกอฮอล์ในการทำ
ความสะอาดหน้าจอ iPhone ก็เปลี่ยนไป
ใช้เฮกเซนที่ราคาถูกแต่มี
ความอันตรายมากกว่า และสามารถทำ
ความสะอาดหน้าจอได้รวดเร็วกว่า
จนเกิดเหตุพนักงานล้มป่วยหลายร้อยคน จากการสูดดมสารพิษนี้
ซึ่งต่อมาแอปเปิลก็สั่งห้ามโรงงานนี้
ใช้เฮกเซนอีก แม้เกิดเหตุร้ายนี้ขึ้นรายงานข่าวก็ระบุว่าแ
อปเปิลไม่ได้เห็นใจ Wintek เลย
สัญญาจ้างผลิตปีต่อมา แอปเปิล
ได้ต่อรองขอลดราคาชิ้นส่วนลงอีก
ซึ่งนั่นเท่า
กับว่าแอปเปิลก็เหมือนบีบโรงงานคู่ค้าให้ ต้องลดต้นทุนด้วยวิธีการแผลงๆ อีกครั้ง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
กดต้นทุนสั่งผลิตนี่เรื่องปกติของการทำ OM นะ
บริษัทอื่นๆก็กดหัว Supplier กันจมมิดเหมือนกันแหละครับ ไม่มีบริษัทไหนทำตัวเป็นพ่อพระหรอก
เพราะ CSR กับกำไรมันสวนทางกันแบบชัดเจน
ผมแบนไปนานแล้ว อิอิ
ถึงจะเพราะเหตุผลอื่น แต่ส่วนตัวก็ติดใจกับการที่แอปเปิลได้กำไรเยอะเกินไป กดราคากันทั้งซัพพลายเออร์แถมไปขูดเอากับลูกค้าอีกทุกช่องทาง โดยสร้างกระแสจนลูกค้ากระหายของ พอได้จำนวนผลิตเยอะก็เอาไปต่อรองกับผู้ผลิตอีก ใครละไม่อยากรับงาน สุดท้ายก็เอาไปลงกับแรงงาน ทิมคุกและจ๊อปส์นี่แสบใช่เล่น
กำไรเยอะไม่ผิดหรอก บริษัทไหนๆ ก็อยากได้กำไรสูงสุดทั้งนั้น แต่เพราะเหตุนี้ก็เลยไม่รู้จะคลั่งไคล้กับบริษัทพรรค์นี้ไปทำไม
รู้สึกว่าค่อนข้าง Bias นะครับ เพราะอยู่บริษัทอื่นๆ ผมก็เห็นกดราคาซัพพลายเออร์/ลูกค้าเหมือนกัน บางบริษัทเพิ่มการทิ้งลูกค้าให้หงายเก๋งหลังขายของอีกด้วย
มันไม่ควรเกิดขึ้นกับบริษัทใหญ่มากๆอย่างแอปเปิ้ล ที่มีเงินมากกว่าคลังอเมริกา รายได้มากกว่า GDP ของบางประเทศ
ไม่ควร? มาตรฐานเราไม่เหมือนกันนะครับ อย่าเอาความดีตัวเองไปวัดคนอื่น
May the Force Close be with you. || @nuttyi
-*- มาตรฐานความดีตัวเอง ไม่มีครับ
บริษัททั่วไป มีมาตรฐานการทำ CSR อยู่แล้ว ตามสภาพ ขนาด รายได้ของบริษัท เหมือนบริษัทชั้นนำทั่วไป โดยทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้กระแสเกิดการต่้อต้าน อย่างที่กำลังเกิดขึ้นอย่างนี้แหละครับ
ถ้าเขาไม่จับจุดแข็งด้านนี้ไว้ เขาจะโตมาถึงวันนี้ได้หรอครับ
ผมมองว่าทำกำไรเยอะไม่ผิดหรอกครับ แต่เอากำไรที่มันเยอะมหาศาลกว่าชาวบ้านอยู่แล้วไปทำอะไรกลับให้สังคมจะดีมากนะครับ อย่างน้อยก็ไปขอเพิ่มค่าแรงให้พนักงานบริษัทซัพพลายก็ได้เพราะไหนๆก็บังคับเค้าได้ทุกอย่างอยู่แล้วนี่ครับ
ถ้าเป็นแอพก็ต้องให้เป็นเหมือนการหาแอพของโนเกียเมื่อก่อนหรอครับ? ไม่ต้องมีศูนย์กลาง? ที่คนชอบบอกกันว่าแอพของแอปเปิลมีคุณภาพกว่า(ไม่ว่าจะจริงหรือไม่)อย่างยาวนานก็เพราะการที่เขาควบคุมจนกลายเป็นอุตสาหกรรมทำเงินมากไม่ใช่หรอครับ แนวทางหลายๆอย่างนี้มันช่วยปั้นจนวงการแอพมือถือเป็นแบบปัจจุบันไม่ใช่หรอครับ
ถ้าเป็นเพลง อันนี้เป็นตำนานอุตสาหกรรมเพลงยุค mp3 เลยหนิครับ
ถ้าเป็นหนัง ตอนนั้นมีคนทำหลายเจ้าแล้วครับ
iTunes Store เข้าใจว่ามันก็เป็นร้านขายของ เพลง หนัง แอฟ แล้วมันขูดรีดยังไงหรอครับ ไม่เข้าใจจริงๆ
สงสัยตรง iTunes Store เหมือนกันครับว่าประเด็นมันคืออะไร เห็นหลายคนก็แจ้งเกิดได้จาก iTunes Store เพราะไม่จำเป็นต้องมีสังกัดก็ขายเพลงได้ในวงกว้าง มันเป็นอีกก้าวหนึ่งของวงการเพลงที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีไปตามยุคสมัย ซื้อง่ายขายคล่อง ได้ซื้อเพลงที่อยากฟังจริงๆ และนี่ก็ยังเป็นโมเดลให้เจ้าอื่นได้ทำตามเพื่อตอบสนองตลาด
Apple ไม่ได้ขูดรีดจากลูกค้านะครับ
เขาทำให้ลูกค้ารู้สึกดี (แค่รู้สึกอย่างเดียวนะ) และสมยอม เมื่อจ่ายเงินให้เขาต่างหาก
บริษัทอื่นไม่ทำ หรือทำแต่ไม่เป็นข่าว
อ่านข่าวนี้แล้วนึกถึง ข่าวแฉเบื้องหลังตับห่าน (ฟัวกราส์) เลย
ต่อไปเห็นสินค้าแอปเปิลคง...
สุดท้ายมนุษยธรรมก็ไม่อาจตีฝ่าศรัทธาไปได้
ผมว่ามันแก้ปลายเหตุมากกว่า(แต่คนเค้าชอบทำกัน) เป็นเพราะจีนไม่เคารพในสิทธิของแรงงานมากกว่า Foxconn รับผลิตให้บริษัทอเมริกันมากมาย แล้วหน่วยที่ผลิต Product ของเจ้าอื่นก็ไม่ใช่ว่าจะดีกว่าของ Apple เท่าไหร่หรอกครับ ถ้าอยากแก้ปัญหาจริงทุกบริษัทอเมริกันต้องรวมตัวกันประท้วง Foxconn สิครับ แก้ปัญหาแบบนี้ คงได้เห็นข่าวแรงงานจีน หนีไปทำอะไรประหลาดๆ เลี้ยงชีพ เพราะถูกทดแทนด้วยการผลิตที่ใช้คนน้อยลง แล้วงานนี้ Apple ต้องรับผิดชอบอีกหรือไม่?
ถูกที่คิดแบบนั้น แต่การสนับสนุนบริษัทที่กดขี่แรงงาน เพื่อผลประโยชน์บริษัทตัวเองก็ไม่น่าทำนะครับ ใหนๆก็มีพาวเวอร์แล้วก็กดดันให้เค้าทำให้ถูกจริงๆจังๆสิครับ ปัญหาคือเค้าบอกว่าแอฟเปิ้ลก็ไม่ได้ใส่ใจมันมากนักเพราะกลัวว่ามันจะส่งถึงผลผลิตที่ตัวเองจะได้ลดลง
สะดุดตรง "Foxconn ก็อยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับบริษัทอุตสาหกรรมในจีน"
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
Foxconn เค้าเป็นผู้นำการผลิตอุปกรณ์อีเล็คทรอนิกส์อุปกรณ์โทรศัพท์ส่วนใหญ่บริษัทก็จ้าง Foxconn ผลิตให้ สงสัยสื่อไปเจอโรงงานของ apple เข้าเลยงานเข้าไปนิดนึง :)
With great power, comes great responsibility.
Apple เขามีกำลังการสั่งซื้อมหาศาลการต่อรองราคาจึงมีผลกับต้นทุน ก็เหมือนสินค้าอื่นๆ ..ต่อให้ราคาเครื่อง iphone ถูกหรือแพง มันก็ไม่ได้ช่วยให้แรงงานดีขึ้น ปัญหาอยู่ที่ Foxconn เพื่อตอบสนองกำไรบริษัทและให้ทันไลน์การผลิต Apple ผลจึงตกอยู่กับแรงงาน
เพราะอดีตปัจจุบันแรงงานจีนก็เป็นแบบนี้ทั้งประเทศ แรงงาน Foxconn ถือว่าความเป็นอยู่และคุณภาพแรรงงานดีที่สุดในบรรดาโรงงานจีน
+1 กับความจริงของโลกใบนี้
ความจริง กับ สิ่งที่ควรทำ กับ สิ่งที่ต้องทำ กับ มนุษยธรรม กับ ธุรกิจ กับ ธรรมาภิบาล
บางครั้งมันสวนทางกันหมดครับ แล้วคุณคิดว่าแอปเปิลอยู่ตรงไหน?
ความจริงก็คือผมมองการเล่นข่าวแบบนี้เป็นเหมือนเชิงการเมืองมากกว่าครับ ประเด็นเรื่องมนุษยธรรมต้องกลับมามองความจริงของ Foxconn ด้วยว่า (เท่าที่รู้เหนือกว่ามาตรฐานโรงงานอื่นๆ ในจีนด้วยซ้ำไป) ในความเป็นจริงแอปเปิลก็อาจจะทำอยู่แล้วโดยไม่มีใครทำข่าวก็ได้
อยู่ๆ ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เหล่านี้ครับใครเคยดูแล้วบ้าง แล้วหลังจากดูแล้วคิด-และทำอะไรกันอย่างไร?
+1 ผมคิดแบบนี้เหมือนกันครับ มันคือการเมือง จริง ๆ ในเรื่องนี้ทุกคน happy นะ apple ขายได้ ผู้ผลิตมีงาน คนจีนมีงานทำ (ถ้าเขาทนไม่ได้ก็หางานอื่นทำแล้ว) และก็มองว่าในโรงงานไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น (โรงงานที่แย่กว่านี้ ในไทยก็ยังมี) แต่การเล่นข่าวแบบนี้ มันสามารถ กำจัด apple ได้ไง ถ้าทุกคนเห็นตามหมดว่า apple เลว ทุกอย่างก็จบครับ
แต่ถ้าเห็นว่าใครๆ ก็เลวเหมือนกันหมดทุกคน Apple จึงมีสิทธิทำเลว ทุกคนในโลกก็สามารถทำเลวได้ .... ผมว่าแบบนั้นก็คงจบเหมือนกันครับ
"ถ้าเขาทนไม่ได้ก็หางานอื่นทำแล้ว" ได้อ่านคห.ในข่าวนี้มั่งมั้ยครับ ว่าอัตราการว่างงานในจีนมันสูงมาก แถมยังมีสโลแกนของ foxconn แปะไว้ในโรงงานเตือนใจอีก
เรื่องการเมือง ... อันนี้คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ แต่แอปเปิลทำทุกอย่างได้เยี่ยมอยู่แล้ว ทำไมจะเยี่ยมเพิ่มขึ้นอีกสักเรื่องไม่ได้
ผมไม่ชอบความคิดที่ว่า "คนๆ นึงมีสิทธิทำเลวได้ เพราะใครๆ ก็ทำกัน" อันนั้นเป็นตรรกะพากันล่มจมครับ ทำเลวต้องตักเตือน ตักเตือนไม่ฟังก็ต้องแบน
คุณขายสินค้าในราคาแพงเป็นอันดับต้นๆ และพยายามกดราคาต้นทุนให้ต่ำเพื่อสร้างผลกำไรมหาศาล และคุณใส่ใจกับเรื่องมนุษยธรรมไม่มากพอ
ผมไม่ได้บอกว่าผิด แต่ผมขอเถียงกับคนที่เห็นว่ามันเป็นเรื่องปกติ
ใครๆ ก็อยากลดต้นทุน - ถูกครับ แต่ส่วนมากลดต้นทุนแล้วขายในราคาที่ต่ำกว่าคนอื่น หรือเท่ากับคนอื่น เป็นการปรับตัวเพื่อการแข่งขัน ราคาขายเท่ากัน ถ้าต้นทุนต่ำกว่าก็กำไรมากกว่า
ใครๆ ก็อยากขายแพง - ถูกครับ แต่ถ้าต้นทุนคุณต่ำมากๆ แล้วก็ยังขายแพงกว่าชาวบ้าน สงสัยคงต้องโทษคนซื้อมั้งครับ?
ชอบบรรทัดสุดท้ายมาก
การที่แอปเปิลลดต้นทุนได้มากกว่าคนอื่นแล้วยังขายได้แพงกว่าคนอื่น คงต้องโทษคนซื้อจริงๆครับ เพราะดันตั้งแกนความยืดหยุ่นต่อราคาไว้ซะต่ำ
อารมข้าผิด คนอื่นก็ผิด ทำไมมาโทษข้าคนเดียว ประมาณนี้รึเปล่าครับ?
นั่นแหละครับ ที่ผมบอกว่าแอปเปิลยังทำไม่มากพอ
เค้าไม่ลาออก แต่อัตราการฆ่าตัวตายสูงมากครับ ถือว่าลาออกได้มั้ย? (ไม่น่าได้ เพราะจริงๆ แล้วเค้าก็ยังอยู่ในโรงงาน :D ... แถวนั้นแหละ)
ไอแพดน่าจะเป็นสินค้าตัวเดียวของแอปเปิลที่ผมรู้จัก ที่ราคาสมเหตุสมผลที่สุดครับ ส่วนตัวมองว่าเป็นแท็บเล็ตที่คุ้มค่าที่สุดในตอนนี้
การแบนนั้นคือเรียกร้องให้ลูกค้าแบนครับ ไม่ใช่แบนจากรัฐฯ คงเป็นการเรียกร้องมากกว่าคำสั่ง ประมาณนั้น
แต่ยุคนี้สมัยนี้จะมีกี่คนที่สนใจครับ? ในเมื่อบริษัทในจีนส่วนมากก็ทำกัน (ไม่ได้ประชด)
อาจจะไม่เกี่ยวกับข่าวโดยตรง แค่อยากจะรู้ว่าวันนี้คนอเมริกันเริ่มแบนรัฐบาลตัวเองหรือยัง ที่ไม่ยอมลงนามในพิธีสารเกียวโต ทั้งๆ ที่อเมริกาเป็นประเทศอันดับต้นๆ ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรื่องนี้เกี่ยวพันกับชีวิตคนทั้งโลก ไม่ใช่แค่บริษัทในจีนไม่กี่บริษัท!!
การมีสามัญสำนึกที่ดีน่าจะวางอยู่บนบรรทัดฐานที่เท่าเทียมกันทุกวงการ
เริ่มรู้สึกผิดเลยนะเนี่ยที่ใช้ iphone -*-
แล้วลุูกค้ารายอื่นๆของ Foxconn ล่ะ ไม่พูดถึงบ้างหรอ???
จงเต้นระบำบูชารอบไอโฟน เพื่อเป็นการสักการะท่านศาสดา จำนวนรอบเท่ากับจำนวนอายุของท่านศาสดา นั่นคือ 56 รอบ
ถ้าเป็นผมรู้สึกผิดต่อไปดีกว่า :D
ศาสดาของผมคือ บร๊ะเจ้าโจ๊กเท่านั้น มิอาจเปลี่ยนใจเป็นอื่น ชาบู ชาบู
Like
นึกว่าเป็นหน้าที่ของโรงงาน Foxconn ที่ต้องคอยดูแลเครื่องจักรและพนักงานสะอีก
ผมว่ามันเป็นที่ระบบทำงานในจีนมากกว่า จ๊อบส์อาจจะเห็นแค่ผักชีโรยหน้าก็ได้
ผมว่าสะเทือนของจริงแน่ถ้า Samsung หยิบมุขนี้ไปกัดแอปเปิ้ล ซึ่งผมแอบเชียร์หน่อยๆ ประมาณว่าเพิ่งซื้อไอโฟน8 มาใหม่ๆด้วยรอยยิ้มอันชื่นมื่น แต่บังเอิญเห็นพนักงานผลิตชิ้นส่วนของไอโฟนถูกใช้แรงงานทาสจนกระอักเลือดอยู่ ผิดกับแรงงานของ Samsung ที่อยู่ดีกินดีนะครับ เหอะๆ ^^
10 เอา 1 ผมว่า Samsung ไม่กล้าเล่นประเด็นนี้ครับ คิดว่าโรงงานที่ Samsung ดีลด้วยคงก็ไม่ต่างกัน สังเกตุง่ายๆว่าประเด็นแรงขนาดออกสื่อหลัก แต่ไม่มีค่ายอื่นออกมาแสดงความเห็นอะไรเลย
ลองให้ Samsung เล่นประเด็นนี้ดูสิครับ ถ้าเขากล้าเล่นจริง แสดงว่าแรงานเขาต้องอยู่ดีกินดี
แต่ถ้าไม่จริง แล้วเขาเกิดกล้าเล่นขึ้นมา ... สิ่งที่ตามมาคงไม่ต่างจากที่ Apple โดนหรอกครับ
นึกถึงโฆษณาเรื่อง แรงงานเด็ก ใน Discovery Channel เมื่อก่อน ที่เป็นการ์ตูนมีเด็กเตะบอลอยู่แล้วบอลลอยเข้าไปในหน้าต่าง ... สักพักบอลก็โยนออกมาทางหน้าต่าง
ข้างในโรงงานเป็นเด็กกำลังเย็บลูกบอลอยู่อย่างเอาเป็นเอาตาย
ต่อให้พนักงาน Samsung อยู่ดีกินดี แต่ดูท่าว่า Samsung จะลดต้นทุนไปกับบริการหลังการขายนะคะ
มือถือของคุณอาจจะมีพลังงานหรือวิญญาณอยู่ก็เป็นไปได้
ฮาอันนี้มาก
ทีมาของ SIRI !?
ขออีกที แต่ถึงยังไงผมว่าปัจจัยของเรื่องนี้ไม่ได้มีแต่ apple หรอกครับ ผมว่าทั้ง apple และ Foxconn เองก็ม่ส่วนด้วยกันทั้งคู่แหละ เพียงแต่ apple เป็นข่าวเพราะว่า อำนาจใหญ่น่าจะอยู่ที่ apple ถ้า apple จะดำเนินการอย่างจริงจังต่อโรงงานนี้ ผมว่าเค้าก็ทำได้เพียงแต่ไม่ทำ ก็เท่านั้นเอง
ถ้าเฮียจอบส์ยังอยู่ต้องออกมาพูดว่า Samsung/HTC etc. ก็ใช้บริการ Foxconn เหมือนกันนะเออ
เข้าเรื่อง เท่าที่รู้มาจากเพื่อนที่ไปทำงานที่จีน สภาพของ Foxconn นี่ถือว่าติดระดับย่างน้อยๆก็ TOP5 ที่มีสภาพการทำงานดีที่สุดแล้วนะ
Apple ก็ปิดตาข้างเดียวเรื่องสภาพแรงงาน อย่างเคส Wintek นี่เห็นด้วยนะ
ส่วนสื่อก็ปิดตาข้างเดียวรายงานเหมือนกัน เรื่อง Foxconn เพราะ Foxconn เองก็ผลิตให้หลายแบรนด์มากๆ
Foxconn ทำให้หลายเจ้ามาก. ความปลอดภัยของพนักงานมันอยู่ที่ผู้บริหาร. จะใส่ใจหรือจะหากำไรอย่างเดียว. พวกโลภในไทยก็มีเยอะแยะ. ไม่มีsafety
อาน comment. แล้วรู้สึกดีที่คน blognone. ฉลาดไม่เชื่อข่าวฝรั่งเขียนมั่ว
+1
คำถามคือ มีกรณีที่ Apple หลับตาข้างเดียวไม่ใส่ใจต่อการละเมิดแรงงานที่เกิดขึ้น จริงหรือไม่?
พิสูจน์ไม่ได้ครับ
ต้องตอบให้ได้ก่อนว่าหลับตาข้างเดียวเนี่ย ขอบเขตมันถึงตรงไหนถึงจะเรียกว่าหลับตาข้างเดียว
ศีลธรรม มนุษยธรรมมันไม่มีตัวชี้วัดเป็นตัวเลขชัดเจน นอกจากจะเอาไปเทียบกับบริษัทอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน
คงต้องรอหน่วยกล้าตายแอบบุกไปสำรวจโรงงานที่รับผลิตให้ HTC, Sony, Samsung ออกมาก่อนว่าเทียบกับ Foxconn แล้วเป็นอย่างไร
ถึงจะพอตอบได้ครับ่วาแอปเปิลหลับตาข้างเดียวรึเปล่า (หรือกลายเป็นบริษัทอื่นหลับตาข้างเดียวแทน)
ถ้าเทียบแล้วห่วยหมดล่ะครับ ฮาาา
ประเด็นคือ
ฯลฯ
เป็นจริงหรือไม่(ซึ่งบางส่วนก็จริงจนเป็นข่าว)
และ เรื่องเหล่านี้ apple รู้แล้วปล่อยปะละเลยจริงหรือไม่(เรื่องรู้คงจะรู้อยู่แล้ว เพราะขอข้อมูลจากโรงงานซะขนาดนั้น)
เรื่องที่ list มาไม่เหมาะสมจริงๆครับ
ทีนี้ผมเลยมองย้อนกลับไปว่าแล้วกลายเป็นว่ามีบริษัทเดียวที่โดนแฉหรือเปล่า (ถ้าบริษัทอื่นไม่ต่างกัน)
แล้วบริษัทนี้เป็นบริษัทที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ คนรักเท่าผืนหนังคนชังเท่าผืนเสื่ออีกตะหาก
ถ้าต้นข่าวมีจุดประสงค์แอบแฝงในแง่การเมืองหรือการขายข่าวเป็นพิเศษ มันก็น่าตำหนิสื่อต้นข่าวเพราะทำตัวไม่เหมาะสมกับจรรยาบรรณนักข่าวครับ
ผมไม่ขอคิดไกลขนาดว่า ต้นข่าวมีจุดประสงค์แอบแฝงในแง่การเมืองหรือการขายข่าวเป็นพิเศษ เพราะพิสูจน์ได้ยากครับ
เอาแค่ว่าข่าวเป็นจริงไม๊ก็พอ ข่าวก็คือข่าวครับ มีแค่จริงกับไม่จริง
ส่วนบริษัทอื่นจะเป็นรึเปล่า ก็อีกเรื่องครับ ความจริงก็คือความจริง พูดหรือไม่พูดก็ยังเป็นความจริงอยู่ดี
สื่อหัวใหญ่เล่นข่าวนี้ก็ไม่รู้ว่า apple จะตอบสนองยังไง แต่ปีที่แล้วก็มีข่าวทำนองนี้ไปรอบนึงว่าผู้ใช้ iphone เท่ากับการกดขี่แรงงาน แต่ปีที่แล้วก็ไม่ได้มี feedback แง่ลบอะไรออกมามากนัก ยอดขายยังสูงเหมือนเดิม ส่วนทาง Foxconn ก็แก้ปัญหาโดยการเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานสองเท่าแล้วข่าวก็เงียบๆ ไป
และถ้าให้พูดกันตรงๆ มันก็ทุกบริษัทแหละที่ต้องลดต้นทุนการผลิต แต่ apple เงินเยอะเว่อร์ เลยโดนหมันไส้มากกว่า
งานนี้ Apple ก็มีส่วนผิดครับ แล้วก็เป็นคนที่สามารถทำให้เรื่องกดขี่แรงงานดีขึ้นได้ มีข่าวแบบนี้ออกมาก็ดีแล้ว จะได้ปรับปรุงกันไป
งานนี้มันผิดกันมาทุกคน
จะมีไหมที่พ่อค้าจะยอมซื้อของแพงเพื่อขายให้ได้กำไรน้อย
จะมีไหมที่ผู้รับจ้างจะยอมทำด้วยค่าแรงต่ำ ถ้าท้องเค๊าไม่หิว
แล้วจะมีไหมที่ผู้ว่าจ้างจะยอมจ้างด้วยค่าแรงสูง แล้วขายสินค้าไม่ได้
ผมว่าทุกคนมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ทุกๆ คน
แอปเปิ้ล ผิดอ้อมๆ ในฐานะที่กดดันราคา
foxconn ผิด ในฐานะที่ไม่ดูแลสวัสดิการแรงงาน
สงสัยว่า foxconn จะหยิ่งต่อรองราคากับแอปเปิ้ลได้รึป่าว(เพื่อรักษาสวัสดิการแรงงาน)
ผมว่า Apple ห่วง supply chain (ปริมาณ/ความสามารถในการผลิต รึเปล่านะ ไม่ได้เรียนมาด้วยสิ) จึงไม่ได้มีมาตรกดดัน Foxconn เท่าที่ควร
ซึ่งทั้งสองบริษัท ห่วงแต่จะทำกำไรสูงสุดทั้งคู่ ผลก็คือไปกดดันเอากับพนักงาน ดูได้จากป้ายเตือนใจลูกจ้างได้เป็นอย่างดี เพราะเค้ารู้ดีว่า อัตราการว่างงาน การจ้างงานในจีนนั้นโหดร้ายแค่ไหน ซึ่งพนักงานก็ไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่พยายามปริปากบ่น ซึ่งผมก็เห็นว่า ไม่ต่างกับยุคทาสเท่าไหร่เลย เพียงแต่รูปแบบการจองจำอิสรภาพมันเปลี่ยนไปแค่นั้นเอง
ถามว่า Apple สามารถลงไปช่วยเหลืออะไรได้รึเปล่า คำตอบผมว่าได้นะ เพียงแต่ดูจากพฤติกรรมที่ผ่านมา Apple ไม่ใส่ใจอย่างที่พูดเลย และดูเหมือนว่า Apple จะไม่กล้าเลิกจ้าง Foxconn แน่ เพราะ priority เรื่อง supply chain ของ Apple นั่นแหละ ทำให้ Apple ตัดสินใจที่จะปิดตาข้างเดียว และออกนโยบายด้านมนุษยธรรมเอาตัวรอดไปก่อน
ซึ่งมองในมุม Foxconn เองก็น่าจะเห็นว่า ยังไงเสีย Apple ก็ไม่สามารถเลิกจ้างตัวเองแน่ จึงทำให้ Foxconn เอง ก็ไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องความเป็นอยู่ของพนักงานเท่าไหร่
+1 ขยายความได้ถูกใจ
+1 ชัดเจน ตรงประเด็น
+1 ชัดเจนดีครับ
+1 ครับ
เรื่อง supply chain เห็นด้วย ติดตามดูข่าวเก่าๆ เรื่องที่ Apple เคยพยายามจะเลิกให้ ss ผลิตหน่วยประมวลผล แต่แล้วก็กลับมาให้ผลิตตามเดิมเพราะหา supplier ที่มีความสามารถในการผลิตเทียบเท่าทั้งในเรื่องคุณภาพ จำนวน และต้นทุนไม่ได้
+1 ชัดเจน ตรงประเด็น โลกแห่งความเป็นจริงช่างโหดร้าย
ตามนั้นแหละครับ
..: เรื่อยไป
ผมหมดศรัทธากับ Apple ตั้งแต่ปัญหาเสา iPhone 4 จนถึง iOS 5 ที่ลอกฟีเจอร์ของคนอื่น แล้วหละครับ
แต่ก่อนผมชื่นชมผลงานของ Apple พอสมควร อันไหนดี อันไหนแย่ ก็ว่าตามประเด็น แต่พักหลัง ๆ มานี้ ผมว่าเริ่มไม่ไหวแล้ว
อ่านข่าวแล้วสงสารพนักงานที่จีนจริง ๆ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
นี่ขนาดว่าเรื่องแรงงานเป็นแค่ปัจจัยเล็กๆ เสี้ยวหนึ่งของต้นทุนแล้วนะก็ยังสามารถขอลดต้นทุนได้อีก ในกรณีนี้ก็น่าเห็นใจพนักงานฝ่ายผลิตจริงๆ มาตรฐานสูงยังขนาดนี้ไม่อยากจะนึกถึงโรงงานที่มาตรฐานต่ำลงไปกว่านี้เลย
-10 เรื่องแรงงานเป็นแค่ปัจจัยเล็กๆ เสี้ยวหนึ่งของต้นทุน
-20,000 ภาคแรงงานอย่างผมไม่พอใจครับ
มันก็ไม่ต่างจากสมัยเด็กๆ ที่เราได้ยินว่ามีโรงงานนรก จับเด็กมาพับกรวยกระดาษ เป็นทาสแรงงานราคาถูกนั่นแหละ(เปรียบเปรย)
จริงอยู่ว่า การต่อรองระหว่าง supplier หรือ OEM ย่อมต้องการผลกำไรสูงสุดกันทั้งคู่ แต่รูปแบบการต่อรองของ Apple มันไม่เหมือนชาวบ้าน คือดึงเอาต้นทุนไปคำนวณเองหมด แล้วกำหนดราคาได้เอง เนื่องจากสัญญาว่าจ้างจำนวนมหาศาล เลยมีคนยอมรับได้ ซึ่งการกำหนดราคานั้น ย่อมรวมไปถึงต้นทุนส่วนสวัสดิการแรงงานด้วยอยู่แล้ว จึงจะบอกว่า Apple ไม่รู้ไม่เห็นเลยก็คงไม่ได้ เพราะรูปแบบการจ้างมันต่างจากการจ้าง sub contract แบบอื่นๆ ที่ตกลงเฉพาะราคาสุดท้าย ไม่ได้ลงรายละเอียดทุกส่วนแบบนี้
ปีก่อนผมก็คุ้นๆว่าเราเห็นข่าว Apple ทำผลกำไรต่อชิ้น ได้มากที่สุดในวงการ มันก็เป็นคำตอบส่วนหนึ่ง ว่าผลกำไรมาจากการจัดการต้นทุนที่ดี แม้ว่าจะเป็นการบีบต้นทุนส่วนสวัสดิการแรงงานไปทางอ้อมก็ตาม
ส่วนจะอ้างว่าไม่ใช่เรื่องของ Apple เลยก็คงไม่ถูกเท่าไร อย่าลืมว่าทางอเมริกาเองนั้น เป็นผู้ริเริ่มการต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก หรือการใช้แรงงานทาส จนทำให้คู่ค้าต้องมีข้อกำหนดด้านสวัสดิการแรงงานที่ชัดเจน ถึงจะยอมทำสัญญาด้วย(คุ้นๆว่าเป็นกฎหมายของสหรัฐเลยว่าห้ามทำสัญญาการค้่ากับธุรกิจที่ใช้แรงงานเด็ก) ถ้าปรากฎว่ามีข่าวฉาวออกมาในเรื่องใกล้เคียงกันจากคู่ค้าได้ ทางบ.ก็ควรจะต้องมี Action ใดๆออกมา ไม่ใช่บอกลอยๆว่า เป็นปัญหาของคู่ค้าอย่างเดียว
อีกหน่อยใส่ไว้ใต้ feature ของโทรศัพท์เลย
การผลิตใช้แรงงานกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ค่าแรงเท่าไหร่
เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการซื้อโทรศัพท์
ซื้อโทรศัพท์สักเครื่องต้องรู้ที่มาด้วยหรอเนี่ย
ว่ามาจากเลือดและหยาดเหงื่อของใครบ้าง โอ้ว
นานมาแล้ว ผมเคยเห็นสินค้าบางอย่าง เขียนไว้ในฉลากเลยครับ รับรองการผลิตสินค้่านี้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานเด็กและการค้าทาส(จำข้อความเต็มๆไม่ได้แล้ว)
กินกาแฟสักแก้ว ก็ยังมีคนสนใจครับ กาแฟหลายยี่ห้อระบุว่าตัวเองเป็นกาแฟ Fair Trade
lewcpe.com, @wasonliw
ยังไงก็ซื้อครับ ผมแฟนบอย :P
ในฐานะที่แอปเปิ้ลเป็นผู้นำตลาด ขายสินค้าราคาแพง ได้กำไรขั้นต้นเยอะ
ก็ควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่โรงงานผู้ผลิตต้องจัดหาให้กับแรงงานของตน
ซึ่งถ้ามันทำให้ต้นทุนแอปเปิ้ลสูงขึ้น ก็คงไม่เป็นไร
เพราะสามารถนำเอาเรื่องราวเหล่านั้นมาสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ได้
เชื่อว่าสาวกแอปเปิ้ลไม่เกี่ยงเรื่องราคาอยู่แล้ว
ใช่เลย เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส สร้างมาตรฐานใหม่ ใครใช้ไอโฟน ได้ช่วยให้แรงงานมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าใช้อย่างอื่น เรื่องเงินเหลือๆอยู่แล้ว น่าจะได้กลับมาในระยะยาวด้วย ขอแค่ไม่ละโมภจนเกินไป
บริษัทคู่ค้าเหล่านี้ก็เพียงแก้ปัญหาโดยขอให้พนักงานลาออกและจ่ายเงินชดเชยให้ตามสมควร
555+ บริษัทโหด จริงอยู่ที่บริษัทผิด แต่จริงๆ Apple คือ ต้นเหตุ เพราะเหมือนการผูกมัด
และ ถ้าบริษัท ทำไม่ได้ก็หาบริษัทใหม่ -*- และ มีบริษัทมากมาย ที่อยากผลิตสินค้าให้ Apple
แต่ Foxconn คือ รายใหญ่สุด เท่านั้นเอง และ apple ก็ ขี้งก เอง ไม่งั้นจะได้เป็นบริษัท ที่มีมูลค่า
สูง 1- 10 ของโลกหรอครับ จริงมั้ย ^^
ต้นทุนมนษย์...
อ่า.....ถ้าแอปเปิลเองมี"ต้นทุน"ทั้งหมดของคู่ค้า และคำนวนเองเพื่อต่อรองให้ได้ราคาต่อชิ้นที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองแล้ว
มันก็เกือบจะเท่ากับแอปเปิล"ยอมรับ"วิธีจัดการต้นทุนแบบแผลงๆที่คู่ค้าทำอยู่แล้วไม่ใช่เหรอครับ? เพราะผมเชื่อว่าคงไม่ได้ดูครั้งเดียวตอนปี2007แน่
ถ้ากรณีนี้จะบอกว่าเจ้าอื่นๆที่เป็นคู่ค้ากับ Foxconn ก็ไม่ต่างกันนี่ไม่น่าใช่แล้ว เพราะเจ้าอื่นๆคงไม่มีอำนาจต่อรองขนาดเอาข้อมูลภายในคู่ค้ามาคำนวนหาต้นทุนเองแน่ๆ
หรือว่าผู้บริโภคอย่างเราๆจะช่วยกันดีครับ ให้เค้าขึ้นราคาสินค้าอีก 5%
T.T
ที่ไม่มีเจ้าอื่นออกมาโจมตี เหยียบซ้ำ แอปเปิล ต่างก็กลัวว่าจะโดนแฉเปนรายถัดไปทั้งนั้น
ผมว่าถึงจะไม่ได้แย่กว่า foxconn แต่ก็คุณภาพชีวิตโดยรวมของพนักงานคงไม่ได้ดีไปกว่ากันมากนัก
บริษัทอื่นจ้างทำก็ไม่ต่างกับแอปเปิ้ลหรอก เพียงแต่เค้าเป็นเจ้าใหญ่รายได้เยอะก็โดนหนักเท่านั้นเอง