แอปเปิลได้ออกมาชี้แจงบนหน้าเว็บของตัวเองสำหรับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีกระแสเรียกร้องว่าสินค้าของแอปเปิลมีประกันสินค้ามาให้เพียง 1 ปีซึ่งขัดกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคสหภาพยุโรป ที่บังคับให้ผู้ขายต้องประกันสินค้าสองปีหลังจากวันซื้อ โดยตามที่แอปเปิลออกมาชี้แจงนั้น พอจะสรุปได้ว่ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของสหภาพยุโรปนั้น ไม่ใช่การประกันสินค้า และแอปเปิลก็ไม่ได้ดำเนินการผิดกฎหมายแต่อย่างใด
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของสหภาพยุโรป (EU Consumer Law) บอกว่าผู้ขาย (ที่ขายสินค้าแอปเปิล ซึ่งไม่จำเป็นที่จะเป็นแอปเปิลเองแต่อาจเป็นตัวแทนจำหน่าย) จะต้องรับผิดชอบกรณีสินค้าที่ขายไปมีปัญหา ณ เวลาที่ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าไป ไม่ใช่หลังจากที่ผู้ซื้อสินค้าไปแล้ว โดยผู้ซื้อสินค้าจะสามารถนำสินค้ามาเคลมกับผู้ขายได้ภายในเวลาสองปีหลังจากวันซื้อสินค้า โดยผู้ซื้อต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าสินค้ามีปัญหา ณ เวลาซื้อ
ในขณะที่ประกันสินค้าของแอปเปิลที่แถมมาให้กับสินค้าทุกตัวนั้น ครอบคลุมกรณีสินค้ามีปัญหาภายในระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากวันที่ซื้อสินค้าไป และผู้รับผิดชอบเรื่องนี้คือแอปเปิลเองทุกกรณี หากสินค้าชิ้นนั้นมียี่ห้อแอปเปิล
ที่มา - MacRumors
Comments
อ่านแล้ว งง
หมายถึง วินาทีที่ซื้อเหรอ
หมายถึง มีปัญหาวันที่ซื้อ @ สินค้ามีปัญหาก่อนขาย ...ไม่ใช่ มีปัญหาหลังจากวันที่ซื้อ @ สินค้ามีปัญหาหลังการใช้งาน
ปกติสินค้า Apple สามารถเปลี่ยนของได้ภายใน 1 - 2 สัปดาห์อยู่แล้ว หากซื้อไปแล้วมีปัญหา
เท่าที่ผมเข้าใจหมายถึงว่าของ EU นั้นต้องเป็นสินค้าที่บกพร่องหรือชำรุดอยู่แล้ว ณ เวลาที่ ผู้ซื้อ ได้ซื้อสิ้นค้านั้นไปเท่านั้นและผู้ซื้อต้องพิสูจน์ให้ได้ด้วยว่ามันเสียมาตั้งแต่ต้น เหมือนเป็นอายุความฟ้องร้องอะไรประมาณนั้น (กรณีนี้เห็นชัดๆจะเป็นพวกที่บกพร่องมาจากสายการผลิตเหมือนพวก รถยนต์ที่เบรคไม่ติดทั้งล้อตอะไรแบบนั้น)
แต่ 1 ปีของ Apple คือไม่ว่าจะชำรุดตอนซื้อหรือใช้งานไปแล้วเพิ่งเสียก็ยังเคลมได้ (เช่นปุ่มนิ่ม ปุ่มหลุด จอไม่ติด แบตเสื่อม)
ลองเทียบกันดูครับ : http://www.apple.com/uk/legal/statutory-warranty/
หมายเหตุ เผื่อคนอ่านจะงง ว่าประกันทั้ง 2 ลักษณะนี้ "มาพร้อมกัน" นะครับไม่ได้ให้ผู้ใช้หรือ Apple เลือกว่าจะทำตามแบบไหน คือระยะเวลาทั้ง 2 อย่างนี้จะดำเนินไปควบคู่กัน
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
จอเหลืองวันนี้ ถ่ายรูปเก็บไว้เคลมอีกทีปีหน้า ♥
เอาจริงๆมันก็เป็นการใช้คำในกฎหมายให้เป็นประโยชน์กับตัวเองเหมือนพี่ไทยบ้านเราเด๊ะ กฎหมายที่ไหนมันจะให้รับประกันเมื่อเสียตอนได้รับสินค้าเป็นเวลาตั้งสองปี??? ใจความหลักจริงๆของกฎหมายมันก็น่าจะเป็น after นี่แหละ
ปล. ต้นฉบับใช้คำว่า when/after customer takes delivery กรณีนี้น่าจะเป็นได้รับสินค้าไม่ใช่ได้ซื้อสินค้าไปรึเปล่าครับ
ปล2. Apple หัวหมออีกแล้ว?
Edit: อ่าน comment ใน MacRumors แล้วก็เป็นแแนวๆที่คิดจริงๆ หึๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
จริงๆก็มีครับ เช่น ได้สินค้นที่มี Deflect ทั้ง Lot เช่นแบทเสื่อมสภาพไวกว่า Lot อื่นๆ หรือจอสีเพี้ยน กล้องสีเพี้ยน เม็มโมรี่มีไม่ถึงที่บอกไว้ หรือแกะเครื่องมามี RAM 256 จาก 512 เป็นต้น ซึ่งบางเรื่องผู้ใช้ทั่วไปก็ไม่ได้สังเกตจนเวลาผ่านไปนานก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรครับ
ป.ล.เอกชนก็ย่อมตีความหมายในทางจำกัดสิทธิให้น้อยที่สุดอยู่แล้ว เป็นแบบนี้กันทั้งโลกแหละครับแค่เราอาจจะไม่สังเกต
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ตาม comment ที่ตอบคุณ ipats นะครับ
ตามป.ล. เห็นด้วยครับ แต่ไม่เคยเห็นใครใช้คำกำกวมทางกฎหมายมาเพื่อทำให้ตัวเองดูดีได้แบบ Apple นะ ต้องขอชม
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมว่ามันเป็นเรื่องปกตินะ และเป็นอะไรที่ดีมาก, อย่างเช่นบ้านเรา (ตามร้านใหญ่ๆ) ถ้าเกิดซื้อของ แล้วพบว่ามันผิดปกติตั้งแต่ซื้อมา ก็เอาไปเปลี่ยนได้เลย ภายใน 7-14 วัน แต่กฏหมายยุโรป เค้าให้ 2 ปี
ทีนี้ เราต้องแยกให้ออกว่า "ความผิดปกติที่พบตั้งแต่ซื้อ" กับ "ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้งานไม่เป็นไปตามที่ผู้ผลิตอ้างไว้"
อย่างแรกก็เช่น ใส่น็อตมาไม่ครบ, หน้าจอมี dead pixel , ส่วนอย่างหลังก็เช่น ใช้ๆ ไป แล้วปุ่ม home กดไม่ได้ (ซึ่งในตอนแรกมันกดได้) หรือใช้ๆ ไปในสภาพแวดล้อมปกติ แล้วแบตระเบิด (คงไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะระเบิด)
ตามข่าวนี้ แอปเปิ้ลจะบอกว่า ในกฏหมายยุโรปคือกรณีแรก ซึ่งผู้รับผิดชอบคือ "ร้านที่ขาย" ส่วน การรับประกันของแอปเปิ้ลคือกรณีหลัง ซึ่งรับผิดชอบโดยแอปเปิ้ลเอง (ซึ่งเป็นของที่แถมมาให้)
iPAtS
ตามที่อ่านมาใน comment จาก MacRumors พบว่า ตามกฎหมายยุโรป อะไรที่เสียจากการใช้งานปกติในสองปีจะถือว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ defect 'เมื่อได้รับสินค้า' เหมือนกันครับ ไม่ได้หมายความว่าจำเป็นต้องเสีย ณ ที่ซื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Apple พยายามหลอกให้คุณเข้าใจผิด
เพราะฉะนั้นมันก็คือประกันสองปีนั่นแหละ เพียงแต่ต้องเอาไปให้ reseller เพื่อนำไปเปลี่ยนกับ Apple อีกทีหนึ่ง(ในยุโรป Apple ขายโดยวิธีการขายผ่าน reseller อยู่แล้วครับ)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมอ่านแล้วงงนะว่าแล้วสรุปเค้าหลอกยังไงครับ ในเมื่อเค้าก็บอกอยู่ว่ามีทั้ง Apple Care และ 2 Years Warranty ไปพร้อมๆกัน? เคลมได้ทั้ง 2 รูปแบบประกันแต่เงื่อนไขตามที่เขียน ซึ่งอาศัยข้อกฏหมายที่เปิดช่องไว้เอง
เท่าที่ดูก็คือ Apple จะบอกว่าประกัน Apple Care เนี่ยมันมีเงื่อนไขที่ดีกว่ามาตรฐาน EU เพราะฉะนั้นจะเอาระยะเวลา 2 ปีแบบฟรีๆไม่ได้ แค่นั้นเองนะครับ ไม่ได้ปฏิเสธเงื่อนไขอะไรเลย
ขนาดในเว็บ EUropa ที่น่าจะเป็น Offical ของกฎหมายฉบับนี้ยังบอกเองเลยด้วยซ้ำครับว่า "บางประเทศ" ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่ามันบกพร้องมาตั้งแต่ตอนรับของมา
ดังนั้นจะตีความว่ากฎหมายครอบคลุมถึงแค่ตอนรับของมันจะถูกต้องที่สุดแล้วครับเพราะคำอธิบายบอกไว้ชัดแจ้ง แตกต่างแค่ต้องพิสูจน์หรือไม่แค่นั้นเอง ยิ่งประกอบกับคำว่า after discovering ที่สื่อตรงๆเลยว่ามันต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วมาเจอ ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งจะเกิด สังเกตได้เลยว่าในคำอธิบายนั้นใช้คำไว้ระมัดระวังมากๆ ไม่มีตรงไหนบ่งชี้เลยว่าครอบคลุมถึงการเสื่อมสภาพแบบที่ Apple Care รองรับ
กรณีนี้ผมว่าข้อมูล Offical น่าเชื่อถือกว่า Comment ในเว็บนะครับ รบกวนโปรดพิจารณา
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ไม่ใช่ครับ อ่านของผมดีๆครับ
การใช้งานตามปกติ แล้วเสีย ก็ถือว่าเป็นความปกพร่องเหมือนกันครับ
คุณตอบมาแบบนี้ผมถือว่าคุณยังอ่าน comment ไม่หมดนะครับ แล้วจะไม่ตอบอะไรอีก
http://whatconsumer.co.uk/eu-directive-sale-of-goods/
For UK consumers we also have the Sale of Goods act which entitles us to the following as well:
Quote:
In reality, this European law, is no substitute for what we already have in the UK in the form of Sale of Goods Act 1979. Under this act, consumers in the UK have the statutory right to expect products which are of “satisfactory quality and fit for purpose”. It enables us to request a repair, replacement or even a refund at any time, bearing in mind the price you have paid and the expected lifetime of the product. In many cases, this may be longer than two years and could be anything up to six.
Again, you do not have to provide actual evidence.
to zzebi:I don't think you get it. You are literally telling the Europeans here that they are incorrect about their own laws and that their own experiences are incorrect. You, however, thousands of kilometers away, are obviously correct.
peterbaby:EU law (which I don't always defend, believe me) in this case takes a simple approach: products are supposed to work for a reasonable amount of time, and 2 years for an expensive piece of hardware seems fair to them; on which I agree.
Shaun, UK:Once again this is very misleading from Apple. For example in the UK the law states that any product should be expected to last a reasonable amount of time depending what the product is, how much it cost, etc. This can be anything up to 6 years. There is absolutely no requirement to prove that the product had a defect at the time of purchase unless you are taking it back having just bought it recently.
I hope this has nothing to do with Apple hiring that guy from Dixons/PCWorld/Currys as they are well known for this sort of thing. I think we should at least expect a 2 year warranty as standard with Apple products now. I usually buy all my products from John Lewis these days as they do give you a free 2 year warranty as standard on all Apple products.
That's how it works. Doesn't matter if its an iphone, ipad, a car, a fridge, a taoster etc. Applies to all.
The basis of the law is that it must be of "merchantable quality". Ie its expected to last 2 years hence the across the board warranty.
I've used this warranty many times - Once with an apple product bought direct from Apple and they fixed it without charge after 15 months usage.
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ก่อนอื่นเลยผมขอถามตรงนี้ว่า คุณจะโต้แย้งอะไรจากผมครับถึงอ้างการสนทนาด้านบนมายัน?
คือในเมื่อผมบอกว่า Apple ให้ EU Warranty มาอยู่แล้ว จาก Comment แรกเริ่มของผมเลยและควบคู่กับ Apple Care ด้วย ดังนั้นประเด็นของข่าวนี้คือ Apple ชี้แจงว่า Care ของ Apple นั้นมีมาตรฐานสูงกว่า EU จึงไม่ต้องทำตามเงื่อนเวลา 2 ปี ซึ่งข้อที่เห็นชัดข้อนึงว่าแตกต่างคือ รับประกันการเสื่อมสภาพ ไงครับ อย่าลืมว่าคำว่าเสียของคุณต้องอ้างนิยามตามกฎหมาย EU คือ faulty or not as advertised ซึ่งผมแน่ใจว่าไม่รวมถึงการเสื่อมสภาพตามการใช้งานเช่นปุ่มยุบหรืออะไรพวกนั้นแน่ๆครับ
จริงๆย่อหน้าบนนั้นผมไม่ควรต้องมานั่งอธิบายด้วยซ้ำเพราะผมไม่ได้พูดเลยว่า เสีย ไม่เท่ากับ บกพร่อง ซึ่งแน่นอนว่าผมจะไม่พูดห้วนๆแบบนี้แน่นอนเพราะคำว่าเสียของคุณมันตีความได้ 1081900 เช่น อาจจะตกน้ำ โดนความชื้นแล้วเสียก็ได้ คุณจะสรุปแบบนั้นมันห้วนไปครับ และผมก็บอกแล้วว่ากฎหมาย EU เขียนในแนวทางว่า "Defects present when customer takes delivery" แบบที่ Apple กล่าวจริงๆ ถ้าคุณจะบอกว่าไม่ใช่ก็ต้องหาหลักฐานมาครับ (ถ้าไม่ใช่แบบนั้นจะหมายเหตุไว้ทำไมว่า บางประเทศผู้ซื้อต้องพิสูจน์ว่ามันเสียมาตั้งแต่ต้น บางประเทศไม่ต้อง ซึ่งมันบอกชัดๆว่ทั้งสองกรณีเป็นการเสียมาตั้งแต่ต้น ต่างแค่ต้องพิสูจน์หรือไม่แค่นั้นเอง)
อันที่จริงที่คุณอ้างมา Link แรกเลยมันเป็นผลมาจาก กฏหมายเฉพาะของ UK ชื่อเว็บก็บอกชัดเจนว่า UK และ Apple ก็บอกว่าเงื่อนไขมันเป็นไปตามแต่ละประเทศอยู่แล้วนี่ครับ แต่เรากำลังพูดถึง EU อันนี้ผมจึงถือว่าไม่เป็นประเด็นอะไรที่เกี่ยวกับผมนะ
แถมใน Link นั้นช่วงที่พูดถึง EU ยังใช้ประโยคเดียวกักับ Apple เลยว่าให้ไปติดต่อผู้ที่ขาย ซึ่งก็คือ Reseller ถ้ามาติดต่อ Apple เองตรงๆเราไม่จัดการให้ ยิ่งไม่เกิดประเด็นเข้าไปใหญ่เพราะคุณบอกเองว่า Apple ไม่ใช่ Seller แต่เป็น Reseller ต่างหากที่ขายจริงๆ
แถมยังบอกอีกว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ store managers and companies เพราะฉะนั้นกรณีของ Apple ที่ไม่ได้ขายเองโดยตรงก็เป็น Reseller ที่ต้องรับผิดชอบซึ่งก็ตรงตามที่ Apple อ้างอีก
สุดท้ายที่ผมจะบอกว่า Apple Care กับ EU Warraty ไม่มีทางเป็นอย่างเดียวกันได้แน่นอน เพราะลักษณะการให้บริการด้วยครับ คือถ้าคุณจะเลือกใช่ EU Warraty คุณต้องใช้วิธีการตามบรรทัดที่ 4 ของแถว EU Consumer Law ตามตาราง แต่หากคุณต้องการใช้แบบแถวที่ 3 มันมีระยะเวลาเพียง 1 ปีครับ ซึ่งตรงนี้จะไปเข้าข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวว่าถ้าผู้ขายมีประกันของตนเองที่ต่างกันกับ EU ให้ถือว่ามีประกันทั้ง 2 แบบควบคู่กันไป ซึ่งก็ตรงกับที่ Apple บอกอีกเช่นกันตาม Comment แรกผม แถมในที่คุณยกมาก็บอกตรงกันอีกว่า Apple รับรองตรงนี้อยู่แล้ว
ดังนั้นผมไม่เห็นประเด็นของคุณเลยนะ ว่าทำไมถึงยกการสนทนาที่บอกตรงกับที่ Apple บอกเอาไว้มาอ้าง เพราะมันไม่เกิดประเด็นอะไรเลยเพราะตามที่คุณยกมาทั้งหมดมันเหมือนเป็นการแค่บอกว่ากฎหมาย EU รับรองยังไงลักษณะไหน แต่ไม่ได้บอกเลยว่า "ทำไมถึงต้องให้ Apple Care มาใช้ระยะเวลาเท่า EU Warranty" ซึ่งเป็นอย่างเดียวที่ผมพูดมาตั้งแต่แรก ว่า Apple ก็พูดถูกแล้วว่ามันคนละอัน ดังนั้นประเด็นที่คุณควรยกมาอ้างมีเพียงข้อเดียวคือ ทำไมจึงคิดว่ากฎหมายดังกล่าวถึงจะมาบังคับ Apple ให้ยืดระยะการประกันตามปกติของเค้าได้ทั้งๆที่มี EU Warranty ควบคู่กันอยู่แล้ว?
ป.ล.ไม่ใช่หน้าที่ผมที่จะต้องอ่าน Comment ทั้งหมดเลยนะครับ มันไม่ไใช่ Offical อะไรเลยด้วยซ้ำ เป็นแค่ความคิดเห็นหรือประสพการณ์ที่เคยผ่านมา ซึ่งอาจจะไม่ใช่ตามข้อกฎหมาย แต่เป็นการผ่อนปรนหรือให้มากกว่าที่ขอ หรือกระทั่งเข้าใจผิดก็ได้ ถ้าคุณจะยกข้ออ้างอะไรสนับสนุนคำอ้างตัวเองก็ต้องนำมาให้ดูครับผมไม่มีหน้าที่ไปนั่งควานหาตามที่คุณอ้างนะครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
โอเค เข้าใจกัน
ร้อนแรงเสมอมาและคงเสมอไป