อินเทลเปิดตัวไดร์ฟ SSD รุ่นท็อปตัวใหม่ 910 Series สำหรับตลาดศูนย์ข้อมูลระดับสูง จุดเด่นของมันคือการเชื่อมต่อแบบ PCIe ที่ทำลายข้อจำกัดของ SATA แบบเดิม
SSD แบบ multi-level cell (MLC) ในช่วงหลังเจอปัญหาว่าติดคอขวดของการส่งข้อมูลแบบ SATA ที่ 3 Gbps ทางออกจึงเป็นการหันมาใช้การเชื่อมต่อแบบ PCIe ที่เร็วกว่าเพราะสามารถเพิ่มจำนวนเลนได้ และ SSD 910 Series นี่ก็เป็น SSD ของอินเทลรุ่นแรกที่หันมาใช้ PCIe
อินเทลบอกว่าความเร็วในการอ่านสูงสุดอยู่ที่ 2GBps ส่วนการเขียนอยู่ที่ 1GBps อายุการใช้งาน 5 ปี (คิดจากการเขียนแบบทั้งดิสก์วันละ 10 ครั้งทุกวัน) มีให้เลือก 2 ขนาดคือ 400GB (1,929 ดอลลาร์) และ 800GB (3,859 ดอลลาร์) ใครเงินถึงก็ลองไปซื้อมาใช้งานกันได้
Comments
ได้แต่รอวันที่ราคาลง ตัดเลขท้ายออกไปตัวนึง
เหอะๆ ราคายังงี้ ผมเอาตังไปซื้อ การ์ดจอเทพๆสักตัวดีกว่ามั้ย ^^
มันเกี่ยวกันมั้ย ?
การ์ดจอ บันทึกข้อมูลได้เร็วมั้ยอ่ะ ?
การ์ดจอแรง ไม่ช่วยให้ผมเปิดเครื่อง เปิดโปรแกรมได้ไวขึ้นนี่ครับ
ต้องบอกว่าซื้อ Vertex 4 x4 มาต่อ RAID-0
แบบนี้ถึงจะสมเหตุสมผลครับ
ราคาแบบ เอาขนหน้าแข้งไปทั้งขาเลยทีเดียว
sv วันนึงมันเขียนดิสก์ 10 ครั้งเองหรอ
ถ้าเอามาใช้กับ sv จริงๆ มันจะเหลืออยู่กี่เดือนเนี่ย -*-
น่าจะหมายถึงเขียน "ทั้งดิสก์" 10 ครั้งนะครับ
pittaya.com
ความหมายคือเขียนซ้ำที่เดิมนั่นหล่ะครับ
Ton-Or
5 ปี
365 * 10 * 5 = 18,250 นับว่าดีกว่าเมื่อก่อน เมื่อก่อน มันเขียนซ้ำที่เดิม 10k ครั้งเอง แต่มันระบุชัดเจน
หลังๆ ชอบบอก อย่างในข่าวนี่หล่ะ ต้องหาคำนวณเอาเอง โครตจะไม่แฟร์
กรณีมาใช้กับ server ถ้า hosting พอถูไถไปได้ เอาไว้เก็บ data ไม่ต้องใช้ในส่วน swap
ส่วน server ระบบ diskless เมื่อก่อน เขียนมันเขียนเร็ว เอามาทำ swap เล่นกันไม่เกินเดือนก็พังแล้วครับ สมัยนั้น ยังไม่รู้จัก TRIM กัน และมันเขียนบ่อยทับที่เดิมตลอด รอดยาก สมัยนี้ใช้ TRIM ช่วย ssd บางรุ่นกระจายการเขียนเองก็ช่วยไปด้วย
Ton-Or
ถ้าจะเอามาใช้กับเซิร์ฟเวอร์ มันจะควรจะเป็น SLC flash เท่านั้นแหละครับ แต่ถ้าเอามาทำ swap ก็อายุสั้นไม่ต่างกัน เพราะ swap file มันไม่เหมือน file system สำหรับ flash memory โดยเฉพาะที่มีสามารถทำ wear leveling เพื่อกระจายการเขียนไปให้ทั่วๆ ได้
พวก diskless ที่เอามาทำ swap มันไม่ใช่ swap file system ของ OS ปกติน่ะ
มันเป็นกระดาษทด ที่วิ่งบน iscsi อีกที TRIM เลยช่วยได้ ส่วน diskless ของ linux นี่ไม่ทราบเหมือนกันว่า ไอ้ส่วน swap ของ client มันไปเก็บไว้ตรงไหนหาไม่เจอเหมือนกัน
ส่วนที่ผมพูดของ Windows server อย่างเดียวครับ พวก richtech, obm, iscsi cake อะไรพวกนั้น
Ton-Or
เขียน ไป 800*10 GB = 8 TB / วัน!
sv ถ้าไม่ใช่บิท ก็คงเขียนไม่ถึง 100 GB ต่อวันหรอก!
ปัญหาไม่ได้เรื่องเขียนทั้งลูก ไง ปัญหาของ SSD คือเรื่องการเขียนทับที่เดิมได้น้อยครั้ง เมื่อเทียบกับ HDD ปกติ
มันอาจะไม่เขียน ทั้งลูก ทุกวันแต่มันเขียนที่เดิม แล้วลบแล้วเขียนหลายๆ ครั้ง ตรงนี้หล่ะจะทำให้ส่วนเขียนและลบบ่อยๆ นั้นเสีย
Ton-Or
SATA3 6Gbps ไม่ไช่เหรอครับ
นั่นสิ ที่มาเมาด้วย
ความเร็วในการอ่านสูงสุดอยู่ที่ 2GBps >>> ถ้าหน่วยถูกต้อง = 16Gbps ก็มากกว่า SATA3 ที่ 6Gbps
เพราะว่าบางคนใช้หน่วยผิด หรือสลับใช้กันจนงง
B = Byte
b = bit
หน่วยตามต้นทางครับ
แหล่งข่าวเขียนไว้ชัดว่าเป็น gigabytes-per-second ไม่ต้องสับสนเลยครับ เร็วกว่าทุกมาตรฐาน SAS และ SATA
ใช่ครับ ข่าวถูกแล้ว เพราะเปลี่ยนมาสื่อสารผ่าน PCIe ซึ่ง Bus ไม่เหมือน SATA ตรงที่ PCIe เป็น Parallel communication น่ะครับ จึงวัดความเร็วสัญญาณนาฬิกาการสื่อสารที่ได้เป็น Byte ได้เลย ในขณะที่ SATA คือ Serial communication ครับ
ในการใช้งานจริง สมมติว่า SATA ที่ 8Gbps ก็ยังได้ผลช้ากว่า PCIe ที่ 1GBps อยู่ประมาณ 12.5% เพราะ Serial communication จะมี Overhead อยู่ 1 bit ในทุกๆ Byte ด้วยครับ
800 GB
อยากจะร้องไห้
Coder | Designer | Thinker | Blogger
หันไปมองอีถึกข้างๆ
//facepalm
นี่เรายังเป็นคนยุคนี้อยู่มั๊ยนะ...
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ