ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปลายปีที่แล้วมีกรณี GeForce RTX 4090 สายไหม้ โดยสาเหตุเกิดจากหัวเชื่อมต่อสายเคเบิลแบบใหม่ 12VHPWR เสียบไม่แน่นมากพอ
ล่าสุดมีข้อมูลหลุดออกมาว่า 12VHPWR จะอยู่กับเราอีกไม่นานแล้ว โดยจะมีหัวเชื่อมต่อแบบใหม่กว่าชื่อ 12V-2×6 มาแทน
ข้อมูลนี้มาจากเว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ Igors Lab ของเยอรมนีที่อ้างว่าได้ข้อมูลมาจากกลุ่ม PCI SIG ผู้ควบคุมมาตรฐาน PCI ซึ่งตอนนี้กำลังร่างสเปกของการเชื่อมต่อแบบใหม่ชื่อ CEM 5.1 กันอยู่ (12VHPWR อยู่บนสเปก CEM 5.0) ในร่างสเปกเวอร์ชันใหม่กำหนดให้มีหัวเชื่อมต่อแบบใหม่ 12V-2×6 มาแทน
มาตรฐาน PCIe 6.0 พัฒนาเสร็จตั้งแต่ต้นปี 2022 และกลุ่มอุตสาหกรรม PCI-SIG ที่ดูแล PCI Express กำลังเริ่มพัฒนามาตรฐาน PCIe 7.0 ที่เพิ่มอัตราส่งข้อมูลอีกเท่าตัว (สูงสุด 512GBps ถ้าใช้แบบ 16 เลน)
ล่าสุด PCI-SIG ออกมาอัพเดตแผนการของ PCIe 6.0 และ 7.0 ดังนี้
PCI-SIG กลุ่มผู้กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมของ PCI Express (PCIe) ประกาศมาตรฐาน PCI Express 7.0 ซึ่งถือเป็นประกาศล่วงหน้ากันยาว ๆ เพราะ PCIe 5.0 เพิ่งเริ่มมีสินค้าขาย ส่วน PCIe 6.0 ประกาศไปเมื่อต้นปี
PCIe 7.0 มีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดเพิ่มขึ้นที่ 128 GT/s (gigatransfer) หรือเป็นหน่วย throughput ที่ 512 GB/s จุดเด่นอื่นได้แก่ การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ค่า latency ที่ต่ำลง รวมทั้งทำงานเข้ากับอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้าได้ (backwards compatibility)
คาดว่าผู้ผลิตจะเริ่มทำสินค้าออกมาได้ในปี 2025 เป็นต้นไป
PCIe 5.0 ยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลาย วันนี้กลุ่มอุตสาหกรรม PCI-SIG ที่ดูแล PCI Express ประกาศออกสเปก PCIe 6.0 อย่างเป็นทางการแล้ว
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ PCIe 6.0 คือเพิ่มอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดขึ้นจาก PCIe 5.0 อีกเท่าตัว ถ้าวัดเป็น raw data rate คือ 64 GT/s (gigatransfer) เทียบกับของเดิมคือ 32 GT/s หรือถ้าวัดด้วยหน่วยที่เราคุ้นกันคือ 256 GB/s (ทิศทางละ 128 GB/s) สำหรับคอนฟิกแบบ x16
ของใหม่อย่างอื่นเป็นฟีเจอร์เรื่องการส่งสัญญาณ เช่น Pulse Amplitude Modulation with 4 levels (PAM4), Lightweight Forward Error Correct (FEC), Cyclic Redundancy Check (CRC) และรองรับการ encoding แบบ Flit (flow control unit) ที่ใช้ PAM4 ช่วยเพิ่มแบนด์วิดท์ 2 เท่า
ซัมซุงเปิดตัว SSD สำหรับเซิร์ฟเวอร์องค์กร ที่ใช้อินเทอร์เฟซ PCIe 5.0 ซึ่งมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 32 gigatransfers per second (GT/s) สูงเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ PCIe 4.0
SSD รุ่นนี้ชื่อว่า PM1743 มีความเร็วการอ่านแบบต่อเนื่อง (sequential read) ที่ 13,000 MB/s ส่วนการอ่านแบบสุ่มตำแหน่ง (random read) ที่ 2,500K IOPS หรือเทียบง่ายๆ กับ PCIe 4.0 คือเพิ่มขึ้น 1.9x และ 1.7x ตามลำดับ ช่วยยกระดับการเขียนข้อมูลสำหรับเซิร์ฟเวอร์ได้อีกมาก
ในแง่การใช้พลังงาน PM1743 ยังมีอัตราการใช้พลังงานที่ 608MB/watt ดีขึ้น 30% จาก SSD รุ่นก่อน ช่วยลดพลังงานของเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลลงได้ในภาพรวม
อินเทลมีแผนเปิดตัวซีพียูเดสก์ท็อปรุ่นใหม่ Rocket Lake-S ภายในไตรมาส 1/2021 พอใกล้กำหนดการเข้ามาเรื่อยๆ ก็เริ่มมีเบนช์มาร์คออกมาข่มกัน ทั้งที่เป็นเบนช์มาร์คหลุดและเบนช์มาร์คจากอินเทลเอง
ล่าสุด Ryan Shrout ผู้บริหารตำแหน่ง Chief Performance Strategist ของอินเทล ออกมาโพสต์เบนช์มาร์คเปรียบเทียบซีพียูรุ่นท็อป Core i9-11900K เทียบกับคู่แข่งระดับเดียวกันคือ AMD Ryzen 9 5950X ในเรื่องประสิทธิภาพสตอเรจที่เป็น PCIe Gen 4
กลุ่มมาตรฐาน PCI หรือ PCI-SIG เตรียมออกมาตรฐาน M-PCIe บัส PCI สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เพื่อให้เราใช้งานอุปกรณ์ PCIe บนอุปกรณ์เหล่านั้นได้
ระบบเชื่อมต่อความเร็วสูงบนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กก่อนหน้านี้มีมาตรฐาน D-PHY จากกลุ่ม MIPI ออกมาตรฐานมาก่อน ทำให้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสามารถเชื่อมต่อกับกล้องและจอภาพผ่านพอร์ตมาตรฐานได้ เช่นที่เราใช้งานใน Raspberry Pi ที่มีพอร์ต CSI สำหรับต่อกล้อง และ DSI สำหรับต่อจอภาพ
มาตรฐาน M-PCIe จะใช้โปรโตคอล PCIe ที่เป็นชั้นการเชื่อมต่อ (link layer) ขณะที่ระดับกายภาพ (physical layer) นั้นจะเป็นบัส M-PHY ที่กลุ่ม MIPI เป็นผู้พัฒนาเช่นกัน แต่จะรองรับแบนด์วิดท์ได้ถึง 6 กิกะบิตต่อวินาที
อินเทลเปิดตัวไดร์ฟ SSD รุ่นท็อปตัวใหม่ 910 Series สำหรับตลาดศูนย์ข้อมูลระดับสูง จุดเด่นของมันคือการเชื่อมต่อแบบ PCIe ที่ทำลายข้อจำกัดของ SATA แบบเดิม
SSD แบบ multi-level cell (MLC) ในช่วงหลังเจอปัญหาว่าติดคอขวดของการส่งข้อมูลแบบ SATA ที่ 3 Gbps ทางออกจึงเป็นการหันมาใช้การเชื่อมต่อแบบ PCIe ที่เร็วกว่าเพราะสามารถเพิ่มจำนวนเลนได้ และ SSD 910 Series นี่ก็เป็น SSD ของอินเทลรุ่นแรกที่หันมาใช้ PCIe
อินเทลบอกว่าความเร็วในการอ่านสูงสุดอยู่ที่ 2GBps ส่วนการเขียนอยู่ที่ 1GBps อายุการใช้งาน 5 ปี (คิดจากการเขียนแบบทั้งดิสก์วันละ 10 ครั้งทุกวัน) มีให้เลือก 2 ขนาดคือ 400GB (1,929 ดอลลาร์) และ 800GB (3,859 ดอลลาร์) ใครเงินถึงก็ลองไปซื้อมาใช้งานกันได้
มีรายงานว่าอินเทลกำลังเริ่มย้ายมาตรฐาน Thunderbolt มาอยู่บนโปรโตคอลของ PCI Express 3.0 แล้ว โดยจะสามารถเพิ่มความเร็วให้กับ Thunderbolt ได้มากกว่าเดิมที่ใช้ PCIe 2.0 อยู่อีกเท่าตัว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามอินเทลยังไม่สามารถบอกได้ว่าเราจะเริ่มเห็น Thunderbolt ใหม่นี้ได้เมื่อไหร่
PCIe 3.0 มีความเร็วในการรับส่ง raw data ได้มากกว่า PCIe 2.0 ถึง 60% เพิ่มจาก 5 gigatransfers per second (GT/s) มาเป็น 8 GT/s ในขณะที่ต้องการ overhead ในการรับส่งข้อมูลน้อยลงกว่าเดิมมาก
แม้ว่าสินค้าต่าง ๆ ของอินเทลจะเริ่มรองรับ PCIe 3.0 แล้วก็ตาม แต่การที่จะเปลี่ยนมาตรฐาน Thunderbolt มาเป็น PCIe 3.0 แล้วให้ผู้ผลิตรายอื่น ๆ เปลี่ยนมาใช้มาตรฐานใหม่ต้องใช้เวลามากพอสมควร
กลุ่มาตรฐาน PCI ได้ออกมาตรฐานล่าสุด PCI Express External Cabling 1.0 ที่เป็นการกำหนดมาตรฐานสายสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลจากบัส PCI Express ไปใช้งานนอกเครื่องได้ โดยรองรับความกว้างช่องสัญญาณทั้ง 1 - 16x ทำให้เป็นไปได้ว่าเราจะเห็นการ์ดจอที่เป็นกล่องแยกกับตัวเครื่องในเร็ววันนี้
ความลำบากในการออกแบบสายสัญญาณนี้มีค่อนข้างสูงเนื่องจาก PCI Express ต้องการการส่งข้อมูลถึง 2.5 พันล้านครั้งต่อวินาที ทำให้สายสัญญาณนี้ยาวได้ไม่เกิน 10 เมตร แต่จริงๆ คงไม่มีใครใช้เกินกันอยู่แล้วกับสายสัญญาณความเร็วสูงระดับนี้แล้ว