ทีมวิจัยจากญี่ปุ่นสร้างเครื่องส่งวิทยุความถี่ย่านความถี่สูงถึง 542GHz เป็นผลสำเร็จ และความสำเร็จนี้อาจจะเปิดให้เราใช้คลื่นย่านใหม่ๆ ได้ หลังจากที่การใช้งานทุกวันนี้มักจำกัดอยู่ที่เพดาน 300GHz เท่านั้น
การทะลุเพดาน 300GHz ทำให้เราสามารถเข้าใช้งานคลื่นในย่านที่เรียกว่า THF (Tremendously high frequency) โดยก่อนหน้านี้คลื่นที่เราใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารสูงสุดนั้น คือ คลื่นในย่าน EHF (Extremely high frequency) ที่แม้จะมีการใช้งานอยู่บ้างแต่ก็เป็นการติดต่อระหว่างดาวเทียมนอกโลก โดยมันเป็นคลื่นย่านสุดท้ายก่อนจะเริ่มเป็นแสงอินฟราเรด
ทีมวิจัยสามารถจาก Tokyo Institute of Technology ที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 2Gb/s และ 5Gb/s โดยมีอัตราข้อมูลผิดลาด (Bit Error Rate - BER) อยู่ที่ 2×10^−8 and 3×10^−5 ตามสำดับ
สำหรับคลื่นที่จะมาเป็นสินค้าให้เราใช้งานได้ในเร็วๆ นี้คงไม่เกิน 60GHz ที่กลายกลุ่มกำลังพัฒนามาตรฐานการสื่อสารระยะสั้นที่มาใช้แทน USB ในอนาคต
ที่มา - BBC
Comments
ไม่ค่อยเข้าใจว่า คลื่นวิทยุ กับแสง มันสัมพันธ์กันยังไง
มันเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนกัน แต่ต่างกันแค่ความถี่หรอครับ
ใช่แล้วครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Electromagnetic_spectrum
แสงเป็นทั้งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและอนุภาค(ก้อนพลังงาน)ครับ
คลื่นเดียวกันเป้ะ ต่างกันแค่ความถี่
ใช่ครับ คลื่นแสง (visible light) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่มีความยาวคลื่น 420 - 740 นาโนเมตร
หรือความถี่ประมาณ 405 - 790 ล้านล้าน Hz
กล่าวคือความถี่สูงเป็นพันเท่าของย่านความถี่ในข่าวนี้
ถ้าเรียงลำดับตามความถี่ต่ำไปหาสูง ก็จะได้ตามภาพนี้
นั่นคือคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ อินฟราเรด แสงที่มองเห็น อัลตร้าไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า
ตามข่าวนี้ ความถี่ที่ถูกใช้งานเป็นอินฟราเรดช่วงความถี่ต่ำๆ
ส่วน wave-particle duality ที่คุณ orpheous กล่าวถึง นั้นไม่เกี่ยวกับข่าวครับ
ขอความรู้เพิ่มอีกนิดครับ
ผมเข้าใจมาตลอดว่า แสง กับ โฟตอน เกี่ยวข้องกัน
แต่ก็งงๆว่า ตกลงแล้วแสงกับคลื่นวิทยุ นี่มันอันเดียวกันแต่ต่างกันที่ความถี่?
ถ้าอย่างนั้นแล้ว คลื่นวิทยุ ก็มีโฟตอนด้วยใช่มั๊ยครับ
มีแต่ไม่เป็น อันตราย :p
http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/light/light2.htm
มีครับ พลังงานของ 1 โฟตอน แปรผันตรงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
E = hf
เมื่อ h : ค่าคงทีของพลังค์ และ f : ความถี่
ต้องเป็น "หลาย" รึเปล่าครับ
การวิจัยน่าสนใจดี แต่ดูท่าอาจจะยังไม่ใกล้ยุคที่ใช้คลื่นแทนอุปกรณ์เท่าไรแฮะ คงอีกนานพอตัว กว่าจะเสถียรและปรับปรุงให้ได้ประสิทธิภาพสูง
อันนี้เดาคำจริง ๆ ไม่ออกครับ
น่าจะผิดพลาด
อาจจะรุ่นหลานผมบวชนั่นล่ะครับได้ใช้จริงจัง
จาก EHF (Extremely high frequency)ไปเป็น THF (Tremendously high frequency) แล้วถ้าทะลุขึ้นไปอีกจะเป็นชื่ออะไรเนี่ย หรือว่าจะเป็น SUETHF+ (Super Ultra Extra Tremendously high frequency plus)
คิดถึงชื่อรุ่นมือยี่ห้อนึงขึ้นมาตะหงิดๆ
Technology is so fast!
ลองแปลไทยเล่นๆ
ฮา
ไปอ่านตรงที่มา BBC การส่งคลื่น ใช้ Resonant Tunnelling Diode ทำให้ diode ปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงขนาดนั้นออกมา
แต่สงสัยจัง ความถี่สูงกว่า 300 GHz นั้นแปลว่า ความยาวคลื่นต้องต่ำกว่า 1 mm แล้วสายอากาศจะเป็นอย่างไร
แล้วภาครับ detector ทำงานอย่างไร
aka ohmohm
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.