ข่าวนี้เป็นภาคต่อของข่าว "ราชบัณฑิตเสนอ มาเขียนคำศัพท์ภาษาต่างประเทศให้ตรงเสียงกันดีกว่า" ครับ
หลังจากที่มีข่าวว่าทางราชบัณฑิตยสถาน จะเปลี่ยนวิธีการเขียน และแก้ไขคำศัพท์ทับภาษาอังกฤษบางคำ เช่นคำว่า คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็น ค็อมพิ้วเต็อร์ เป็นต้น ล่าสุดทางราชบัณฑิตยสถานได้ออกหนังสือแถลงการณ์โดยคุณกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ว่าจะไม่มีการแก้ไขคำยืมภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่กำลังดำเนินการจัดพิมพ์ตามข่าวครับ
เพราะฉะนั้นหายห่วงกรณีนี้ไปได้ครับ
Comments
โล่งอก บางคำแก้แล้วก็เหมาะสมดีนะครับ แต่บางคำเนี่ย รับไม่ได้จริงๆ
ผมว่ามันลำบากมากเลยนะที่จะมาไล่บัญญัติคำทับศัพท์ไปเรื่อยๆ มีแต่ปัญหาตามมาเรื่อยๆ -.- เขียนเป็นภาษาเดิมไว้อาจจะดีกว่า
อย่าง paris นี่ เราควรจะเป็น ปารีสสส , ปารีด , แพรีสสส , แพรีด ??
หรือแม้แต่ linux นี่ ฝรั่งยังอ่านกันสองแบบเลยด้วยซ้ำ -.-
สุดท้ายแล้วยังไงเราก็ไม่สามารถเขียนให้เสียงตรงตามฝรั่งเป๊ะๆได้ทุกคำอยู่ดี.............. ใช้วิธี reference เอาอาจจะดีกว่าฝึกภาษาอังกฤษไปในตัว
ถ้าภาษาของเราสากลแบบภาษาอังกฤษที่ใช้ไปทั่ว สื่อสารไปทุกที่ อาจจะคุ้มค่าพอที่จะหาคนมาคอยดูแลเรื่องแบบนี้
ผมว่า ความเคยชิน ของมนุษย์ นี่ทำปัญหา นะครับ
หลายๆคำที่ยกเคสมา คำจำนวนมาก ที่ สะกดแบบเสียงกลาง แต่ออกเสียงแบบ เสียงต่ำ
จริงๆ แล้วข้อเสนอนี้ค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่แรกว่าจะไม่เข้าพจนานุกรมเล่มล่าสุดนะครับ (ไม่น่าทัน)
แต่ข้อเสนอยังไม่ได้ "ตกไป" กระบวนการที่เห็นๆ คืออยู่ระหว่างรวบรวมความเห็น
lewcpe.com, @wasonliw
รอดูปีหน้าต่อไป
น่าเสียดาย อุตส่าห์ไปท่องไว้ตั้งหลายคำ
ถ้ามันออกมาจริงๆ ภาษาไทยทับศัพท์คงไม่ตายตัว ไม่มีภาษาทับศัพท์ที่เป็นกลาง...
ดีแล้วละครับ เพราะหลายๆ คำเห็นแล้วนึกถึงภาษาน้องสก๊อย 55
คิดเหมือนผมเลย 55
หน้าแรกเขียนว่ายังอยู่ระหว่างการสำรวจความคิดเห็น แล้วจะสรุปผลความคิดเห็นนำเสนอในปลายปีนี้นะครับ
ส่วนที่บอกว่าไม่แก้คือไม่แก้ในฉบับปี 2554 ที่กำลังตีพิมพ์ใกล้เสร็จครับ
ฉะนั้น ต้องรอดูในอนาคตกันต่อไปว่าผลสำรวจความคิดเห็นจะออกมาว่าอย่างไรครับ
น่าจะใช้หัวข้อข่าวว่า ไม่แก้ในพจนานุกรมเล่มล่าสุด มากกว่านะ
ราชบัณฑิตยสถาน ประกาศยังไม่แก้วิธีการเขียนคำศัพท์ทับภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แต่ฉบับถัดไปยังไม่แน่
ป.ล. ผมเพิ่งทราบว่าราชบัณฑิตยสถานท่านก็มีเฟซบุคเช่นกัน นับว่าเป็นสถาบันที่ทันสมัยน่าดู
ถ้าทันสมัยจริงคงไม่ต้องใช้วิธีพิมพ์เอกสารจากไฟล์ลงกระดาษ ประทับตรายาง สแกน แล้วแปะรูปประกาศในเว็บไซต์ต่างชาติที่ใช้ URL ยาวเฟื้อยมั้ง
เข้าใจว่าหนังสือที่ออกจากราชการ ต้องมี ประทับตรารับรองเพื่อเผยแพร่นะครับ ในกรณีที่ไม่ได้ประทับตราสีแดงอาจเป็นแค่จดหมายข่าวสารทั่วไปที่ไม่มีนัยสำคัญ
ใช่ครับ เพราะจะดูไม่น่าเชื่อถืออย่างแรง
ปัจจุบัน ผู้หญิงใช้ คะ ค่ะ ไม่เป็น หรือใช้ไม่ถูก เช่น สวัสดีคะ เป็นต้น คงเพราะคิดว่าไม่จำเป็น
บางคนใช้ "ก้อ" จนไม่รู้ว่าปกติเขียนอย่างไร (ตอนแรกก็เถียงว่ารู้น่า ถ้าเป็นทางการจะเขียนให้ถูก แต่พอเอาเข้าจริงก็ใช้ ก้อ เหมือนเดิม)
หรืออย่าง "อ่ะ" , "ป่ะ" เพราะเข้าใจว่าไม้เอกทำให้เสียงต่ำ (แต่ไม่ยักจะเขียน "อ่ะไร", "ป่ะยาง")
ผมคิดว่า การสร้างภาษาไทยใหม่ๆ หรือที่ชอบบอกว่าภาษาวิบัตินั้น เป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้ แต่เป็นคนละเรื่องกับการ "สะกดให้ถูกต้อง"
คนที่สะกดไม่ถูกต้อง มักจะพยายามเบี่ยงเบนให้คนเข้าใจว่าเป็นศัพท์วัยรุ่น แต่ที่จริงแล้วก็คือ ไม่รู้ว่าถูกต้องเขียนอย่างไร
สิ่งที่จะทำให้ภาษาวิบัติ มีเรื่องเดียวคือการสะกด เช่นคำว่า "นู๋" เป็นต้น เป็นการใช้ไม้จัตวากับอักษรเสียงต่ำ รวมถึง อ่ะ ป่ะ ฯลฯ เขียนไม่ได้และออกเสียงไม่ได้
ถ้าปล่อยให้มีการเขียนแบบนี้ และเด็กๆ ใช้กันจนชิน หรือสื่อต่างๆ ยอมรับและใช้กันด้วย แบบนี้ถึงเรียกว่า ภาษาวิบัติ ของแท้
(ขออภัยที่แสดงความเห็นไม่เกี่ยวกับข่าวเลย)
เห็นด้วยครับ
กับการต่อต้านภาษาวิบัติ
ปกติ ผมใช้ "อะ" กับ "ปะ" ประจำ ที่มีแปลกหน่อยก็ "เด่ะ" , "เซี๊ยะ"
"คับ" นี่ ใช้ตอนคุยกับรุ่นพี่ๆ ที่สนิทๆ (เพราะจะให้มันดูอ่อนกว่า "ครับ" ซึ่งฟังดูเป็นทางการเกินไปนิด กับการคุยเล่น)
"ก้อ", "กาน" นี่ไม่ใช้เลย
"กำ" นี่เกลียดมาก
กับอีกกรณีคือ "โง่" ครับ มักเจอกับคำทับศัพท์ ที่คนใช้มันอ่านไม่ออก
เรื่องนานมาแล้ว แต่เป็นเคสคลาสิคมากเลยของผม
ตอนสมัยเกม RO เมื่อ 8 - 9 ปีมาแล้ว
เดินช็อปปิ้งตลาดโมร็อค เจอร้านนึง ตั้งชื่อว่า "ขายเคียฟ"
... ไอ่เคียฟเนี่ย หน้าตาเป็นไง ไม่เคยเห็น มีไอเท็มชื่อนี้ด้วยหรือไร
พอกดเข้าไปถึงกระจ่าง... ว่าของที่มันตั้งขายอยู่ในร้านนั้น ภาษาอังกฤษเขียนว่า "Knife"
อีกเรื่องที่เห็นแล้วขัดใจ
คือคำว่า Font (รูปแบบตัวอักษร) ทำไมเห็นคนชอบพิมพ์ว่า "ฟร้อนท์" กันจัง ทั้งๆ ที่มันไม่มีตัว r หรืออะไรให้ออกเสียง "ร" เลยสักนิด
เดล.....
นั่นมัน ดีล! ตรึก โป๊ะ
อมตะสุดๆ หลังๆ เลี่ยงเป็น "เทรด" แต่ "แลกเปลี่ยน" ก็ยังเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุด
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
อันนี้ระดับตำนานแล้วครับ เข้าใจโดยทั่วกัน
ไม่เห็นจะเข้าใจเลย ???
แสดงว่าไม่ใช่คนในยุค RO รุ่งเรือง :P
ยังมี Swordsman สวอดแมน (ซอร์ดช’เมิน) กับ Novice โนวิช (นอฟ’วิส) อีกนะครับ อิอิ
Novice ผมอ่านโนไวซ์ด้วยซ้ำ ตอนนั้นอนุบาล 3 ได้
ที่เหลือจำเป็นอาชีพขี่ไก่ เลี้ยงนก ลากรถเข็น แทน เลยไม่มีปัญหา
ถ้าไม่ใช่เด็กมากไปก็น่าจะแก่พอสมควรครับเลยไม่ทันยุค ฮอลแพะ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
DEF บ้าน....
my dad ไม่ได้คิดเป็น % นะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
น่าจะเป็น your dad มากกว่านะครับ
เจอบ่อย คำว่า "แอฟ" ที่กำลังหมายถึง App
จะแอฟ ไปไหน!?
+1 รำคาญลูกกะตามากเวลาเห็นผู้หญิงใช้ คะ ค่ะ ผิด
เดี๋ยวนี้เริ่มชิน ถ้าเจอใครพิมพ์ถูกนี่ สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าผู้ชายปลอมตัวมาแน่ๆ อิอิ
+1
ถ้าจะดูว่าหญิงแท้หรือหญิงแอ๊บให้ดูว่าพิมพ์ คะ ค่ะ ถูกหรือเปล่า :P
เข้าสู่ยุคที่เพศชายละเอียดอ่อนกว่าเพศหญิง และเพศหญิงแข็งแกร่งกว่าเพศชายแล้วสินะ...
ส่วนตัวผมไม่มองว่าการเขียนในรูปแบบคำพ้องเสียงเป็นภาษาวิบัตินะครับ แต่ถ้าผันวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง ... แบบนี้ผมมองว่าวิบัติครับ
ในกรณีที่ใครสักคนสามารถเขียนคำต่างๆ ให้อยู่ในรูปของคำพ้องเสียงได้ ผมถือว่าการผันวรรณยุกต์กับอักษรเสียงต่ำ/กลาง/สูงของคนนั้นทำได้ดี ในระดับที่เรียกว่าเชี่ยวชาญการผันวรรณยุกต์นะครับ
"ค๋อไฮ่มีความซุ่กมากๆ หน๊ะข๊ะ" <- ตัวอย่างคำพ้องเสียง
แล้วแต่มุมมองครับ อาจจะมองว่ามันก็วิบัติทั้งหมดก็ได้มั้งครับ
ผมคิดว่า ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามแต่ยุคสมัย และสังคม เพราะวัฒนธรรม คือการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของสังคม ภาษาที่เป็นส่วนหนึ่งจึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเปลี่ยนผันไปตามกาล ซึ่งหลายๆสิ่งที่ถูกต้อง ในยุคสมัยหนึ่ง อาจผิดในอีกยุคสมัย ตัวอย่างเช่นคำต่างๆ อาทิ ปากตู หมากพร้าว เป็นต้น ดังนั้น การอนุรักษ์ภาษา ไม่ใช่ว่าต้องเขียนให้ถูกเป๊ะตามตำรา เพราะเราเองทุกวันนี้ก็ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเหมือนเมื่อสามร้อยปีก่อน แต่จะทำอย่างไรที่จะรักษา "แก่น" ของภาษาไทยเอาไว้ ซึ่งแก่นของแต่ละคนก็ต่างตามมุมมอง ในมุมมองผม ผมมองว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ร่ำรวย และแสดงออกถึงความสนุกสนานได้ผ่านการสื่อสาร(ผมมองในเชิงศิลป์น่ะ) แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมา แอ๊บแบ๊ว เก๊าน่อลั๊กจุงเร~ ตลอดเวลา มันต้องรู้จัก "กาละเทศะ" ในการใช้ภาษาด้วย
การที่คำพ้องเสียงจากต่างประเทศให้ละวรรณยุกต์นี่ สำหรับผมเป็นเรื่องที่ดีครับ เพราะการออกเสียงแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ถ้าจะเปลี่ยน น่าจะปรับเรื่องการถอดเสียงให้ยึดตามเสียง มากกว่าตัวอักษร เช่น T - ต, P - ป เป็นต้น.
แบบนี้ก็ยัง "อาเซียน" ไม่ "อาเซี่ยน" ต่อไป
อาเสี้ยน
// อ่าว ไม่ใช่เหรอ?
อาห์ เสี้ยน
ข่าวนี้ คำแรก ก็จบข่าวซะแล้ว
ฮาไหมครับ ฮาสิ ฮานะ
ไม่ฮา แป๊กไป จบข่าว = ='
twitter.com/djnoly
ส่วนตัว ถ้าจะทำตามที่เสนอจริงๆ
นึกภาพ 1 คำ ในภาษาอังกฤษ
British ก็สะกดแบบนึง
American ก็อีกแบบนึง
Indian ก็แบบนึง
Japanese ก็อีกแบบนึง
แค่คำๆเดียว ภาษาเดียวกัน แค่ไล่สะกดได้ทุกสำเนียงก็หน้ามืดแล้วครับ
รู้สึกดีที่มันไปแล้ว(แต่อาจกลับมาอีก = =')
ค็อมพิ้วเต็อร์ -> ค็อมพิ้วเต้อร์ ^^,
เมื่อนานมาแล้ว ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ เสนอให้เปลี่ยนภาษาไทยเป็นระดับเดียว วรรณยุกต์ สระ พยัญชนะ อยู่บรรทัดเดียวกันหมด (คงเหมือนภาษาลาว)
เหตุผลก็มาจากคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น มีปัญหาเรื่องการแสดงผลภาษาไทย เมื่อมี OS หรือซอฟต์แวร์ใหม่ออกมา จะสนับสนุนหลายภาษา ยกเว้นภาษาไทย เพราะภาษาไทยต่างจากชาวบ้านเขา นั่นคือมีการจัดเรียง 3 ระดับ
แต่ในที่สุดก็ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร (และคงเป็นไปไม่ได้แน่) และคนไทยก็สามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาภาษาไทยให้แสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้องสวยงามจวบจนถึงปัจจุบัน
ผมคิดว่ากรณีที่กำลังพูดถึงกันนี้ ส่วนหนึ่งก็น่าจะรวมถึงปัญหาคอมพิวเตอร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมแปลภาษา พูด-อ่านออกเสียง หรือแม้กระทั่งการค้นหา (ที่บางทีเราไม่รู้ว่าจะพิมพ์อย่างไร ทั้งที่รู้ว่าออกเสียงอย่างไร เช่น พรินเตอร์ พริ้นเตอร์ ปริ้นเต้อร์ ฯลฯ)
แต่เรื่องเหล่านี้ คิดว่าสามารถแก้ปัญหาได้ไม่ยาก (และไม่ง่าย) ดังนั้น หากเหตุผลเพียงเพราะเป็นเรื่องคอมพิวเตอร์คิดว่าไม่น่าจะมากพอ
ส่วนที่หลายคนบอกว่า computer ออกเสียงได้หลายแบบ หากจะให้สะกดให้ถูกจะไม่ตรงกับสำเนียงฝรั่ง เป็นความเข้าใจผิดครับ
จุดประสงค์เขาหมายถึงคำที่คนไทยเรียกกันประจำ เป็นสำเนียงไทยนี่แหละครับ เช่น ค็อมพิ้วเต้อร์ คนไทยก็อ่านออกเสียงแบบนี้ ก็สะกดให้ถูกต้องตามเสียง ไม่ได้หมายถึงต้องการให้ตรงสำเนียงฝรั่ง
ถ้าตามความเห็นผม ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เชื่อว่าโอกาสเปลี่ยนคงทำได้ยากมากหรืออาจจะทำไม่ได้ (เป็นไปไม่ได้) โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อบริษัทที่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเขียนให้ถูกคงตลกและขาดความสวยงามแน่ๆ เช่น
บริษัท บิ๊สิเหน็ส ค็อมพิ้วเต้อร์ แอ่นด์ เท้คโนโลยี่ จำกัด
เหมือนเป็นบริษัทจากประเทศเพื่อนบ้านเลย
ดีเลยฮะ ไม่ต้องเปลี่ยนให้วุ่น
Coder | Designer | Thinker | Blogger
สมัยตอนเป็นเด็กจำได้ว่า คุณครูภาษาไทยบอกว่าไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ เวลาเขียนทับศัพท์
ใครเขียนผิดครูจะเอาไม้บรรทัดตีมือ
ป.ล. คงโดนตีกันจนมือขาด 2 ท่อนเลยครับ เสียดายครูเกษียณไปนานแล้ว...
"ในตอนท้าย เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ได้กล่าวย้ำว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิมพ์ และจะเสร็จพร้อมแจกให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ส่วนราชการ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ในต้นปี ๒๕๕๖ เนื่องจากได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ "
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=424744294250338&set=a.424744250917009.101637.206167399441363&type=1&theater
//ประเด็นมันอยู่ตรงนี้รึเปล่าครับ "เนื่องจากได้รับงบประมาณจากรัฐบาล"
เมื่อค่ำ ดร.กาญจนา ไปออกรายการ คมชัดลึก มีช่วงนึงที่พิธีกรถาม ดร. ว่า Event ปัจจุบันเขียนยังไง แต่ ดร.กาญจนา ตอบว่า "ไม่รู้" และเอาแต่บอกว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ มันแสดงให้เห็นว่าเขาทำการบ้านมาน้อยมากๆก่อนที่จะทำสอบถาม เพราะเขามองแต่ในมุมของตัวเอง (ง่ายสำหรับตัวเองในการเรียนรู้ แต่คนอื่นอาจจะไม่ง่าย)
จนผมมาอ่านหน้านี้แล้วเห็นข้อความบอกว่า "เนื่องจากได้รับงบประมาณจากรัฐบาล" ก็อดคิดไม่ได้ว่าเป็นการผลาญงบก่อนสิ้นปีหรือไม่ เพราะอาจจะเป็นแผนให้คณะกรรมการออกความเห็นว่าให้ทำแบบสำรวจจากประชาชน แล้วจะทุจริตจากแบบสำรวจหรือไม่? เพราะช่วงเวลามันจะเหมาะเจาะไปหน่อย
สมมตินะ ลองคิดเล่นๆค่าทำแบบสอบถามตกใบละสามบาท แต่ไปลงเบิกใบละห้าบาท ให้โรงพิมพ์เพิ่มใบละบาท ให้ตัวเองอีกใบละบาท หกสิบล้านใบก็ได้หกสิบล้านบาท แถมยังได้ผลงานอีก...
ก็หวังว่าคงจะไม่ใช่แบบนี้นะครับ..
อืมมมมมมม ... นะ
ผมก็ได้ดู ผมว่าน่าจะคิดให้รอบคอบกว่านี้หน่อยก่อนที่จะเสนอออกมา เห็นตอบคำถามไม่ได้หลายเรื่องเหมือนกัน
อย่างลอนดอน กับ ลอนด่อน หรือ นิวย๊อก กับ นิวหยอก ก็บอกไม่ได้จะเอาอันไหน
แล้วยังมาบอกอีกว่าสามนาทีเข้าใจได้
หลังจากดูเทปแล้วก็เห็นด้วยบางส่วนแต่น่าจะสำหรับคำใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามา
ไม่ใช่ดร.กาญจนานะครับเมื่อคืน แต่เป็น ดร. อมรา นะ ขอโทษครับ แต่เป็นกรรมการวิชาการราชบัณฑิตยสถาน
คนอังกฤษ ยืมคำ ฝรั่งเศษมาใช้ restaurant
ยังคงใช้เสียงเป็น France
คิดมากกันไปรึปล่าววววววววว
ผมไม่ซีเรียสเท่าไหร่นะ ยกเว้นคนเขียนไทยเป็นอังกฤษ Suwannabhumi <---- บัดซบได้ใจมาก
+1
เขียนแบบนี้ครับ "Suvarnabhumi"
แล้วคำว่า Bangkok มันอ่านว่าอะไรกันแน่ บางกอก หรือ แบงค๊อก
ออกเสียง แบอา แอง ค้อก ตัว a มันออกเสียงกึ่ง แ กึ่ง า
Bangkok มันสะกดมาจากคำว่า บางกอกครับ ซึ่งบ้านเราเรียกแบบนี้ แต่ฝรั่งเขาอ่านเป็น แบ้งค๊อก มาตอนหลังเราเลยเรียกตัวเองว่า แบ้งค๊อก ตามฝรั่ง แปลกมั้ยล่ะ
ต้องอ่านว่า แบง-ค๊อค พอเป็นคำฝรั่งคนไทยชอบออกเสียงสูงและลากเสียงไว้ก่อน มันเลยเป็น แบ้ง -ค๊อค อย่าง bingo เรายังไม่อ่านบิ้งโกเลย แต่เราดันอ่านบิงโกซะงั้น
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่(ส่วนใหญ่)ดัดยาก
คงต้องให้เด็กรุ่นต่อไปได้รับรู้ครับ ว่าควรจะเขียนอย่างไร
เพราะไม่เช่นนั้น เด็กมันคงแย้งเข้าสักวัน ว่า
"....ทำไมเวลาผันคำ เอก โท ตรี จัตวา ออกเสียงแบบนี้
แล้วทำไม คำว่า คอมพิวเตอร์ ถึงได้ออกเสียงแบบนั้นหล่ะครับ คุณครู..."
(แต่บังเอิญตอนเป็นเด็ก เราก็คิดไม่ทันเหมือนกัน ^^)
เพราะทับศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ต้องใส่วรรณยุกต์หรือเปล่าครับ