Dany Qumsiyeh หนึ่งในทีมวิศวกรของ Google คิดประดิษฐ์เครื่องสแกนหนังสืออัตโนมัติแบบใหม่ขึ้นมาใช้งานเอง ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าอุปกรณ์สแกนเนอร์แบบเดิมๆ โดยมีส่วนประกอบหลัก ก็คือ สแกนเนอร์, รางสไลด์หนังสือ และเครื่องดูดฝุ่น
Qumsiyeh เป็นวิศวกรในทีม Google Books โดยเขาอาศัยช่วง 20% ของเวลาทำงานที่ Google เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนใช้เวลาดังกล่าวในการพัฒนาโครงการ หรือเฟ้นหาไอเดียสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ มาประดิษฐ์เครื่องสแกนหนังสืออัตโนมัตินี้ด้วยต้นทุนแค่ 1,500 ดอลลาร์ (ประมาณ 46,000 บาท)
สิ่งทีทำให้ต้นทุนการประดิษฐ์ถูกมากเป็นเพราะกลไกการพลิกหน้าหนังสือของเครื่องสแกนแบบใหม่นี้ใช้แรงดูดจากเครื่องดูดฝุ่นมาทำงาน แทนการใช้แขนกลที่ต้องเคลื่อนที่อย่างแม่นยำแบบเครื่องสแกนทั่วไปซึ่งมีราคาสูงลิบลิ่ว
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือเครื่องสแกนหนังสือนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรแบบเปิด ซึ่งหมายความว่าใครใครก็สามารถประดิษฐ์เลียนแบบได้ หรือแม้กระทั่งผลิตเป็นสินค้าเพื่อวางขายก็ทำได้เช่นกัน นับได้ว่าเป็นความใจกว้างแบบสุดๆ ของผู้พัฒนา
เครื่องสแกนหนังสืออัตโนมัติของ Qumsiyeh ใช้การสไลด์หนังสือไปตามรางที่มีเครื่องสแกนเอกสารอยู่ข้างใต้ โดยหัวใจหลักของเครื่องสแกนหนังสืออัตโนมัตินี้ คือการพลิกหน้าหนังสือโดยอาศัยแรงดูดจากเครื่องดูดฝุ่นคอยดูดแผ่นกระดาษให้เปิดไปทีละหน้า ทั้งนี้เครื่องสแกนของ Qumsiyeh สามารถสแกนหนังสือกว่า 1,000 หน้าได้เสร็จภายในเวลาประมาณ 90 นาทีเท่านั้น
สามารถรับชมวิดีโอการนำเสนอเครื่องสแกนเนอร์แบบใหม่นี้ได้ด้านล่าง (ช่วงสาธิตการทำงานของเครื่องเริ่มที่ 03:35)
ที่มา - [The Verge](http://www.theverge.com/2012/11/13/3639016/google-books-scanner-vacuum-diy)
Comments
เห็นแล้วต้องอุทานว่า "เหยดดดด คิดได้ไงเนี่ย"
ชาบู ๆ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
พี่แกจะผอมไปไหน
ว่าแต่ วิศวกรกูเกิลนี่ใช้เวลาว่างชิลๆ คิดอะไรได้ขนาดนี้เชียว ส่วนของเรา 20% ของเวลางานคือแอบเล่นเฟส 555+
Educational Technician
มันไม่ใช่เวลาว่างแบบนั้นครับ
มันเป็นแบบว่า เป็นโปรเจคที่ต้องยื่นขอ ต้องมีคนควบคุมดูแลอะไรแบบนี้เลย ถ้าจำไม่ผิดนะ
20% เอาไปทำโปรเจคที่ชอบครับ ก็คือทำงานนั้นหล่ะครับ ไม่ใช่เล่นได้ครับ
รอมานานแล้ว เคยคิดจะสั่งของ atiz มาใช้แต่ถามราคาแล้วแพงมากเลยถอย
ไม่มีลายเซ็น
ราคาต้นทุนนี่รวมค่าเครื่องดูดฝุ่นหรือยังอ่ะครับ
น่าจะรวมแล้วนะครับ ดูจากลักษณะเครื่องดูดฝุ่นน่าจะใช้พวกเรื่องเป่า/ดูดลมแทนได้ด้วย ต่อให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นแท้ ๆ ก็น่าจะใช้แบบถูก ๆ ได้ด้วย
... เครื่องดูดฝุ่นจะต้องมีช่องปล่อยลมออกอยู่แล้วครับ ถ้าเป็นการ mod ก็ไม่น่าจะยาก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อ่านหัวข้อนึกว่า April's Fool Day
น่าจะตัดคำว่าการออกหรือเปล่าครับ?
แต่ไอเดียเจ๋งมาก ๆ ดู ๆ แล้วเหมือนจะยังเร่งความเร็วตอนเลื่อนหนังสือกับระยะทางเลื่อนได้อีกเพราะเหมือนจะมีการเลื่อนเกินไปเยอะอยู่
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตอนทำเครื่องถัด ๆ ไปไม่น่าแพงขนาดนั้นแล้วด้วย (- -)d
ท่าจะไม่ง่ายขนาดนั้นครับ เพราะช่วงถามตอบตอนท้าย มีคนชี้ประเด็นนี้เหมือนกัน
แต่วิศวกรบอกว่า ที่เห็นด้านฝั่งผู้ชมที่ดูเหมือนว่างๆนั้น จริงๆแล้วมันมีด้านที่ไม่เห็นเป็นส่วนที่พลิกหน้าจากตรงกลาง (ตำแหน่งหกนาฬิกา) ไปจนถึงอีกฝั่งของเล่มครับ
แต่ไอเดียนี่บรรเจิดมาก ถ้านำไปต่อยอดปรับปรุงให้อัตราทำหน้าหนังสือยับเยินให้ดีกว่านี้ได้น่าจะทำตลาดได้ดีทีเดียว (45% จาก 50 เล่มเยิน)
ที่อ่านแล้วชื่นชมที่สุดคือ เจตนากับสิทธิบัตรแบบเปิดนี่แหล่ะ เต็มใจให้ยืนบนบ่าเพื่อพัฒนาต่อยอดไปได้เลย ;)
my blog
ผมว่าที่ว่าใจกว้างน่าจะเป็นgoogleรึเปล่า
เพราะอันนี้googleจ่ายค่าแรงนะ แบบประมาณว่าทำงานวันละ8ชั่วโมง จ่ายค่าแรง8ชั่วโมง
แต่ทำแค่โปรเจคท์หลักของgoogle6ชั่วโมงต่อวัน 2ชั่วโมงโปรเจคท์นอกซึ่งgoogleก็จ่ายอยู่ดี
มันเป็นassetของgoogle
คิดง่าย ๆ คือ มาทำงาน 5 วัน ทำงานหลักสี่วัน ทำโปรเจค 1 วันครับ
ถ้าลองย้อนกลับไปดูมีโปรเจคมากมายที่พัฒนาขึ้นมาถึงขั้นเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ... เช่น ... (ถ้าจำไม่ผิด) GMail เป็นต้น
ใน The Verge ที่มาของข่าว มีคนคอมเมนท์ว่า Google Maps ก็เริ่มต้นจากตรงนี้เหมือนกันครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
กูเกิลแมปส์ผมจำได้ว่ากูเกิลซื้อบ. คีย์โฮลมานะครับ
2 ใน 8 มัน 25% นี่หว่า ทำไมคิดได้ผิดอย่างน่าเกลียด
แต่ก็ตามที่บอก มันคือทรัพย์สินของgoogle ไม่ใช่พนักงาน
ไอเดียดี แต่สงสัยครับมีอะไรรับประกันได้ว่าหนังสือจะไม่เสียหายตอนตอนเครื่องพลิกหน้าหนังสือแล้วเลื่อนไปมา
ผมก็มองว่ายังมีจุดอ่อนตรงนี้เหมือนกัน
แต่หากพัฒนากันจริงจัง และทดสอบมากพอ อาจมีการกำหนดไปเลยก็ได้ว่าเครื่องแบบนี้เหมาะกับการสแกนหนังสือขนาดเท่าไหร่, กระดาษกี่แกรม, จำนวนกี่หน้า
ซึ่งแม้ว่าการกำหนดในลักษณะนั้น ถือได้ว่าไม่ครอบคลุมการใช้งานกับหนังสือทุกประเทภอย่างสมบูรณ์ แต่ผู้ใช้งานบางกลุ่มก็อาจมองว่าเพียงพอต่อความต้องการแล้วก็เป็นได้นะครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ไม่มีอะไรรับประกันครับ สำหรับหนังสือที่มีค่ามาก ๆ ก็ควรใช้มือพลิกตามปรกติ
แต่ถ้าเป็นหนังสือที่แค่เก่ามาก ๆ จนไม่มีต้นฉบับดิจิตอล แต่มีจำนวนมากอยู่ (เช่นแบบเรียนเก่า ๆ อายุสัก 10 ปี) ผมว่ามีอัตราเสียสูงหน่อย (อาจจะสัก 5%-10%) ก็น่าจะยอมรับได้อยู่นะ
อันนี้เป็นแค่ต้นแบบ 45% ผมว่าก็ไม่เลวนะ ยังปรับปรุงได้อีก
เหยด เจ๋งอ่า
อ่านเรื่องนี้แล้วนึกถึงเรื่อง รัสเซียใช้ดินสอ แทนปากกาในอวกาศเลยแหะ
ป.ล. ว่าแต่ เพิ่งเคยเห็น Username ภาษาไทยใน Blognone แหะ
เรื่องนั้นที่มักโดนตัดจบตรงที่ว่านาซ่าเสียเงินไปเยอะแต่รัสเซียใช้ดินสอแทนน่ะเหรอครับ
onedd.net
That is a hoax. Carbon in pencil is cause of fire.
I knew it, but this story remind me that.
จริงๆ ทั้งคู่ใช้ดินสอธรรมดาตั้งแต่เริ่มโครงการ แต่เพราะดินสอไม้ ต้องเหลาเกิดขี้ดินสอไม้ซึ่งไหม้ไฟได้ และการใช้งานก็อาจเกิดใส้ดินสอหักซึ่งสามารถทำให้เกิดการลัดวงจรได้ อเมริกาภายหลังเลยเปลี่ยนมาใช้ดินสอกด แต่ก็ยังมีเศษอนุภาคกราฟไฟต์ซึ่งมีความเสี่ยงให้ลัดวงจรได้
แต่เมื่อบริษัทเอกชนวิจัยปากกาอวกาศขึ้นเอง โดยไม่ได้รับเงินทุนจากใคร บริษัทก็เสนอให้ NASA ลองใช้ แต่สุดท้ายทั้งอเมริกาและรัสเซียก็ซื้อทั้งคู่
/me หันไปมองข่าว Patent Troll ที่อยู่ข้างล่างและหน้าก่อนๆ
/me หันกลับมาปรบมือให้ผู้คิดค้นนวัตกรรม ^ ^)/
すごい
อย่าเผลอเอาเครื่องดูดฝุ่นมาดูดกระปู๋ละกัน ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
ที่เกิดจาก 20% แล้วใช้กันมาถึงทุกวันนี้ ฮิตๆ ก็ Google News