Google Books (หรืออีกชื่อคือ Google Book Search แต่เป็นคนละตัวกับ Google Play Books) เคยเป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่ของกูเกิลในยุคแรกๆ เพราะวิสัยทัศน์ของกูเกิลคือต้องการสแกนหนังสือจากทั้งโลก แต่ก็เจอปัญหาฟ้องร้องตามมามากมาย โดยเฉพาะจากบรรดาสำนักพิมพ์ที่มองว่ากูเกิลต้องการละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือของตน
ช่วงหลายปีให้หลัง กูเกิลจึงลดความสำคัญของ Google Books ลง แต่โครงการนี้ก็ยังเดินหน้าต่อไปแบบเงียบๆ ล่าสุดกูเกิลประกาศฉลอง Google Books อายุครบ 15 ปี (เปิดตัวครั้งแรกเดือนตุลาคม 2004) ว่ามีหนังสือที่สแกนไปแล้ว 40 ล้านเล่ม และเปิดตัวหน้าเว็บ Google Books โฉมใหม่ด้วย
เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว กลุ่มนักเขียนและผู้ประพันธ์ (the Authors Guild) ได้ยื่นฟ้อง Google ต่อศาล โดยระบุว่าการกระทำของ Google ที่ใช้การสแกนหนังสือจำนวนหลายล้านเล่ม ให้กลายเป็นระบบดิจิทัลแล้วเอาขึ้นไปโพสต์ไว้บนเว็บ (Google Books) เป็นการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่มาตอนนี้ ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินว่า การกระทำดังกล่าวจัดอยู่ใน "การใช้งานอย่างชอบธรรม" (fair use) ตามกฎหมายลิขสิทธิ์แล้ว
กูเกิลเปิดตัวฟอนต์ (typeface) ตัวใหม่สำหรับใช้แสดงผลอีบุ๊กบน Google Books ในชื่อว่า Literata ที่ออกแบบเพื่อให้ประสบการณ์อ่านอีบุ๊กที่ดีขึ้น
Literata เริ่มพัฒนามาตั้งแต่เดือนเมษายนของปี 2014 ออกแบบมาเพื่อให้ประสบการณ์อ่านอีบุ๊กบนอุปกรณ์พกพาเป็นเวลานานได้ดี และเหมาะกับการใช้งานในทุกอุปกรณ์ไม่ว่าจะความละเอียดสูงหรือไม่ รวมถึงการเรนเดอร์ที่ต่างกัน โดยจะเข้ามาแทนที่ Droid Serif ตั้งแต่เวอร์ชัน 3.4.5 ของ Google Books เป็นต้นไป
ดูตัวอย่างของฟอนต์ได้ท้ายข่าวครับ
ที่มา - Type-Together
อาจถือได้ว่านี่คือสัปดาห์แห่งการปรองดองสำหรับ Google ก็เป็นได้ หลังจากที่มีข่าว Google ยอมชดใช้เงิน 19 ล้านเหรียญแก่ผู้ปกครองที่เสียเงินเพราะเด็กซื้อของในเกม ไล่มาถึงข่าว Google และ LVMH หันมาให้ความร่วมมือกันกำจัดของปลอมบนอินเทอร์เน็ต (ทั้งที่ก่อนหน้ามีคดีต่อสู้กันมานานหลายปี) ล่าสุด Google ก็ตกลงยอมความกับคู่ความไปอีกหนึ่งเรื่อง ซึ่งครั้งนี้เป็นเหล่าบรรดาช่างภาพที่ฟ้องร้อง Google ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายในหนังสือเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก Google ได้ทำสำเนาโดยการสแกนหนังสือจำนวนมหาศาลในโครงการ Google Books
นับแต่กูเกิลเปิดบริการ Google Books ที่ไล่แสกนหนังสือตามห้องสมุดหลักๆ ทั่วโลก สำนักพิมพ์และนักเขียนที่เรียกร้องค่าชดเชยในการใช้ข้อมูลในหนังสือมาแสดงเป็นผลค้นหา หลักจากเจรจากันไปหลายรอบและไม่ประสบความสำเร็จ ตอนนี้คดีก็จบในศาลชั้นต้นแล้ว และผลออกมาให้กูเกิลชนะอย่างชัดเจน
ผู้พิพากษา Denny Chin อ่านคำพิพากษายืนยันว่าการแสดงผลบางส่วนของหนังสือเป็นการใช้สิทธิ์การใช้งานอย่างเป็นธรรม (fair use) ที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายสหรัฐฯ ทำให้กูเกิลมีสิทธิ์ที่จะแสกนหนังสือในห้องสมุดโดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ
Dany Qumsiyeh หนึ่งในทีมวิศวกรของ Google คิดประดิษฐ์เครื่องสแกนหนังสืออัตโนมัติแบบใหม่ขึ้นมาใช้งานเอง ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าอุปกรณ์สแกนเนอร์แบบเดิมๆ โดยมีส่วนประกอบหลัก ก็คือ สแกนเนอร์, รางสไลด์หนังสือ และเครื่องดูดฝุ่น
Qumsiyeh เป็นวิศวกรในทีม Google Books โดยเขาอาศัยช่วง 20% ของเวลาทำงานที่ Google เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนใช้เวลาดังกล่าวในการพัฒนาโครงการ หรือเฟ้นหาไอเดียสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ มาประดิษฐ์เครื่องสแกนหนังสืออัตโนมัตินี้ด้วยต้นทุนแค่ 1,500 ดอลลาร์ (ประมาณ 46,000 บาท)
เมื่อสัปดาห์ก่อนกูเกิลประสบความสำเร็จในการประนีประนอมยอมความกับเหล่าสำนักพิมพ์ ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ของโครงการห้องสมุดดิจิทัล
คดีนี้เริ่มจาก 7 ปีก่อน โดยเหล่าสำนักพิมพ์และกลุ่มผู้แต่งหนังสือรวมตัวกันฟ้องกูเกิลฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการเผยแพร่สำเนาหนังสือในรูปแบบสื่อดิจิทัล ก่อนที่ภายหลังจะแยกการพิจารณาคดีออกเป็น 2 ส่วน เป็นคดีระหว่างกูเกิลกับเหล่าสำนักพิมพ์ และคดีระหว่างกูเกิลกับกลุ่มผู้แต่งหนังสือ ซึ่งเป็นคดีในส่วนแรกนี้เองที่มีการตกลงยอมความกัน
เงื่อนไขของข้อตกลงที่ไม่เปิดเผยมูลค่านี้ระบุว่า กูเกิลจะทำสำเนาหนังสือหรือบทความในรูปแบบสื่อดิจิทัลโดยมีเนื้อหาไม่เกิน 20% ของหนังสือหรือบทความ และจะอนุญาตให้ผู้ใช้สั่งซื้อหนังสือทั้งเล่มได้
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (17 กันยายน 2555) ศาลอุทธรณ์มีความเห็นเลื่อนการพิจารณาคดีที่กูเกิลโดนฟ้องร้องเรื่องการทำห้องสมุดดิจิทัล และกำลังพิจารณาสถานะของการฟ้องร้องเป็นกลุ่มของเหล่าผู้แต่งหนังสือ
เป็นเวลามากกว่า 10 ปีมาแล้วที่กูเกิลได้ทำสำเนาหนังสือกว่า 20 ล้านเล่ม เพื่อรวบรวมข้อมูลดังกล่าวให้สามารถค้นหาได้ผ่านทางบริการของกูเกิลเอง ทว่าโครงการนี้ต้องหยุดชะงักเมื่อผู้แต่งหนังสือหลายรายได้ยื่นฟ้องกูเกิลฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และเริ่มกระบวนการในชั้นศาลมาตั้งแต่ 7 ปีก่อน
หลังจากที่ประกาศตัวเว็บไซต์ Pottermore ว่าจะเปิดตัวในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา หลังจากเลื่อนแล้วเลื่อนอีกจนในที่สุด Pottermore ก็เปิดตัวให้ใช้ซื้อหนังสือ Harry Potter ได้แล้วเมื่อวานนี้ ซึ่งมีทั้งฉบับอีบุ๊คและฉบับหนังสือเสียงวางจำหน่าย
สำหรับอีบุ๊ครองรับการใช้งานบนหลายแพลตฟอร์มเรียกว่าครอบจักรวาลเลยก็ว่าได้ ทั้ง Sony Reader Online, Kindle, Nook, iBook และ Google Play Book รวมถึงมีให้เลือกซื้อทั้งปกเวอร์ชั่นอังกฤษและอเมริกา โดยที่ฉบับอเมริกาจะถูกกว่าเล็กน้อย แต่ก็ตกเล่มละ 8 ถึง 11 เหรียญสหรัฐต่อเล่ม ซึ่งก็พอๆกับราคาขายปลีกฉบับปกอ่อน แต่ที่พิเศษหน่อยคือแบบยกทั้งชุดยังลดได้อีก 10 เปอร์เซนต์
เพิ่งมีข่าวที่กูเกิลไล่จดชื่อโดเมนเกี่ยวกับ Google Play ไปได้ไม่นาน ในที่สุดก็ถูกเฉลยแล้วโดยกูเกิลเอง และเจ้า Google Play ที่ว่าก็คือการรวมบริการดิจิทัลคอนเทนต์ทั้งหมดที่กูเกิลเคยมี ไม่ว่าจะเป็น Android Market, Google Music, Google Books และบริการให้เช่าวิดีโอ (ใช้ชื่อว่า Video เฉยๆ) มารีแบรนด์รวมกันในชื่อใหม่ Google Play Store
ในแง่ฟีเจอร์ไม่มีอะไรใหม่มาก แต่เป็นการพัฒนาทุกสโตร์ให้ไปในทิศทางเดียวกันคือสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ได้ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ การแชร์คอนเทนต์ขึ้นบน Google+ รวมถึงปรับหน้าตาให้เข้ากันยิ่งขึ้น
เมื่อต้นปีนี้ มีข่าวความขัดแย้งระหว่างแอปเปิลกับแอพ Sony Reader เพราะแอปเปิลห้ามไม่ให้แอพทำระบบซื้อเนื้อหา (in-app purchase) ของตัวเอง ยกเว้นจะสามารถซื้อเนื้อหาแบบเดียวกันได้จาก in-app purchase API ของแอปเปิลด้วย (ข่าวเก่า)
กรณีดังกล่าวทำให้เกิดคำถามว่าแอพลักษณะเดียวกันอย่าง Kindle หรือ Nook จะทำอย่างไร เรื่องนี้คลุมเครือมาเป็นเวลาครึ่งปี ซึ่ง Kindle/Nook ก็ยังมีลิงก์ไปยังร้านขายอีบุ๊กของตัวเองได้เช่นเดิม
หลายคนในที่นี้คงทราบข่าว J.K. Rowling ผู้เขียนหนังสือ Harry Potter เปิดเว็บไซต์ Pottermore เพื่อขายอีบุ๊กของหนังสือชุด Harry Potter แต่เพียงผู้เดียวบนอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์จะเปิดให้บริการเดือนตุลาคมนี้)
แต่ถึงแม้ Pottermore จะเป็นที่เดียวที่มีอีบุ๊ก Harry Potter ขาย แต่กูเกิลก็ไปทำข้อตกลงกับ J.K. Rowling เรียบร้อย ว่าผู้ซื้ออีบุ๊ก Harry Potter บนเว็บไซต์ Pottermore จะสามารถโอนหนังสือนี้มาอ่านบนแพลตฟอร์ม Google Books ได้ด้วย (ซึ่งก็นำไปอ่านได้บนอุปกรณ์พกพาแทบทุกตัวยกเว้น Kindle)
กูเกิลนั้นเปิดแพลตฟอร์ม eBooks ของตัวเองแบบเงียบๆ ในชื่อ Google eBooks ถึงแม้จะไม่หวือหวาและเป็นข่าวมากเท่า Kindle แต่ก็มีแอพให้โหลดไปใช้บน Android, iOS, Nook, Sony Reader (เมืองไทยยังซื้อหนังสือจาก Google eBooks ไม่ได้)
ที่ผ่านมา Google eBooks ทำตัวเหมือนตลาดค้าส่งอีบุ๊ก เน้นเป็นสื่อกลางระหว่างเจ้าของหนังสือกับผู้ที่อยากเปิดร้าน eBooks เฉพาะทาง (เช่น พวกแอพอ่านอีบุ๊กบนอุปกรณ์ต่างๆ) มากกว่าจะขายให้ลูกค้าโดยตรง แต่ล่าสุดกูเกิลจับมือกับ iriver บริษัทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากเกาหลีใต้ ออกเครื่องอ่านรุ่นใหม่ iriver Story HD ที่สามารถโหลด-ซื้อหนังสือได้จาก Google eBooks ได้ในตัว
ผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่งของกูเกิลที่สร้างความขัดแย้งอย่างมากคือ Google Books (เดิมชื่อ Google Book Search และ Google Print) แม้จะได้รับแรงสนับสนุนอย่างดีจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก แต่กลับมีปัญหากับเจ้าของลิขสิทธิ์และสำนักพิมพ์จนเกิดคดีฟ้องร้องโดยสมาคมนักเขียนของสหรัฐ แนวทางแก้ไขของกูเกิลคือ จ่ายเงินให้สำนักพิมพ์เพื่อยุติคดีในสหรัฐ
แต่ความเคลื่อนไหวล่าสุดของคดีนี้คือศาลเขตนิวยอร์กได้สั่งระงับข้อตกลงยอมความของกูเกิลกับสมาคมนักเขียน โดยศาลให้เหตุผลว่าเงื่อนไขในข้อตกลงเอื้อประโยชน์แก่กูเกิลมากเกินไป เพราะเมื่อกระบวนการยอมความเสร็จสิ้น กูเกิลจะกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดอีบุ๊กทันที กีดขวางไม่ให้คู่แข่งสแกนหนังสือแบบเดียวกันได้
เรารู้กันดีว่ากูเกิลได้ร่วมมือกับห้องสมุดของมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง สแกนหนังสือเก่าๆ ให้อยู่ในรูปดิจิทัลทั้งหมด โครงการนี้ทำมาหลายปี และมันเริ่มออกดอกออกผลแล้ว
กูเกิลได้รวบรวมข้อความทั้งหมดในหนังสือจำนวน 5.2 ล้านเล่ม ถ้านับเป็นคำ จะได้ทั้งหมด 500 ล้านคำ คำทั้งหมดนี้จะถูกแยกตามปี และเราสามารถดูแนวโน้มของคำศัพท์ต่างๆ เทียบกับเวลาได้แล้วด้วย Google Books Ngram Viewer
โครงการสแกนหนังสือของกูเกิลแม้จะสร้างประเด็นทางกฏหมายอย่างต่อเนื่อง แต่เห็นได้ชัดว่ากูเกิลไม่มีแนวคิดจะลดหรือหยุดการขยายโครงการนี้แม้แต่น้อย ล่าสุดกูเกิลก็ได้สิทธิในการเป็นผู้สแกนหนังสือจำนวนสี่แสนเล่มของหอสมุดแห่งชาติออสเตรีย (Austrians National Library หรือ Österreichische Nationalbibliothek)
หอสมุดแห่งชาติออสเตรียก่อตั้งมาตั้งแต่ยุคกลาง โดยมีหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดคือพระคัมภีร์พระกิตติคุณ (Holy Gospels) ฉบับตีพิมพ์ในปี 1368 หอสมุดแห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าแห่งที่รวบรวมหนังสือในศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ไว้มากที่สุดในโลก
หลังจาก Google Books/Book Search เผชิญแรงต้านจากสำนักพิมพ์อย่างต่อเนื่อง จนต้องยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้บรรดาสำนักพิมพ์ ตอนนี้กูเกิลกลับมาพร้อมกับแผนใหม่ที่ประนีประนอมกับสำนักพิมพ์มากกว่าเดิม แผนใหม่นี้คือเปิดเป็นร้านขาย e-Book แล้วแชร์รายได้กับสำนักพิมพ์มันเสียเลย
ร้านหนังสือออนไลน์นี้ชื่อว่า Google Editions ความต่างกับร้าน e-Book ในท้องตลาดอย่าง Amazon หรือ Barnes & Noble คือกูเกิลจะทำตัวเป็นทั้งร้านขายปลีกและขายส่งครับ
นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมนี วิจารณ์โครงการห้องสมุดเสมือนของ Google ว่า ละเมิดลิขสิทธิ์และทำการปลอมแปลง
โครงการดังกล่าวโดย Google ได้สแกนหนังสือแล้วกว่า 10 ล้านเล่มในโลก โดยในบางประเทศ อาทิ ในฝรั่งเศส สำนักพิมพ์บางแห่ง เช่น Seuil ก็อยู่ระหว่างฟ้องศาลให้ตัดสินว่า Google ปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา
หลังจากที่กูเกิลลงทุนจ่ายเงินเพื่อให้ได้ลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ต่างๆ เพื่อมาลงใน Book Search (ข่าวเก่า) วันนี้กูเกิลเปิดเผยว่าได้เอานิตยสารบางส่วนเข้ามาอยู่ใน Book Search แล้วครับ
ผู้ที่สนใจอ่านนิตยสาร สามารถค้นหาตามชื่อนิตยสารหรือข้อความภายในได้เสมือนเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง และยังสามารถย้อนดูฉบับเก่าๆ ทีละฉบับได้ด้วย อย่างไรก็ตาม บางนิตยสารอาจจำกัดการดูจำนวนหน้า หรือไม่มีฉบับล่าสุด
บริการ Google Book Search ที่กูเกิลทำการสแกนหนังสือในห้องสมุดเอามาเก็บไว้ในเว็บที่เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 4 ปีนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นบริการที่ดีสำหรับผู้ใช้ แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาคดีความกับสำนักพิมพ์ต่างๆ มานานแล้ว (ข่าวเก่า) ในวันนี้กูเกิลออกมาจำนนยอมจ่ายเงินค่าหนังสือทั้งหมดให้กับสำนักพิมพ์ทั้งหลาย
Google Book Search ที่ทางกูเกิลได้สแกนหนังสือจำนวนมาก เพื่อให้ค้นหาได้จากเว็บ ทำให้สำนักพิมพ์หลายแห่งไม่พอใจ และคิดว่ากูเกิลละเมิดลิขสิทธิ์ เรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายได้โต้ตอบกันผ่านสื่อมานานแล้ว
ล่าสุดในงาน Book Expo America ที่นิวยอร์ค นาย Richard Charkin ซึ่งเป็นผู้บริหารของสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักรชื่อว่า Macmillan ได้ร่วมมือกับลูกน้องขโมยโน้ตบุ๊คที่อยู่ในบูตของ Google Book Search มาสองตัว จากนั้นเขาก็ยืนรออยู่ข้างบูตจนกว่าเจ้าหน้าที่ประจำบูตจะพบว่าโน้ตบุ๊คหายไป แล้วค่อยคืนเครื่องให้กับทางกูเกิล (ดูรูปได้จาก บล็อกของ Charkin)