ข้อมูลใหม่ชี้ว่า Google Glass มีลำโพงปล่อยเสียงบริเวณด้านหลังใบหู เพื่อส่งสัญญาณเสียงผ่านกระดูกเข้าสู่หูส่วนในโดยตรง ทำให้ผู้สวมใส่ได้ยินเสียงได้อย่างชัดเจนและมีความเป็นส่วนตัวสูง
ลักษณะของแว่น Google Glass จะมีขาแว่นที่ยาวเลยใบหูไปประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งที่ส่วนปลายดังกล่าวมีลำโพงขนาดเล็กสำหรับส่งเสียงเตือนต่างๆ ผ่านกระดูกเข้าไปยังหูส่วนในของผู้สวมใส่ได้โดยตรง ด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้สวมใส่แว่นไม่จำเป็นต้องอุดหูด้วยหูฟัง ทำให้ยังคงสามารถรับฟังเสียงอื่นๆ ภายนอกได้ตามปกติ ที่สำคัญคือการส่งสัญญาณเสียงวิธีนี้จะไม่มีเสียงเล็ดลอดให้ผู้ที่อยู่บริเวณข้างเคียงได้ยิน ซึ่งทำให้มีความเป็นส่วนตัวสูง
หลักการทำงานของระบบนี้ อาศัยการนำเสียงผ่านกระดูก (bone conduction) โดยสร้างการสั่นสะเทือนลงบนผิวหนังบริเวณหลังใบหูซึ่งตรงกับกระดูกปุ่มกกหู ทั้งนี้การสั่นสะเทือนดังกล่าวจะถูกถ่ายต่อไปยังหูส่วนในที่ทำหน้าที่รับการสั่นสะเทือนและส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาใช้งานกับอุปกรณ์หลากหลายประเภทก่อนหน้านี้ เช่น หูฟังเครื่องเล่นเพลง, เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้สูญเสียการได้ยิน, หูฟังบลูทูธ เป็นต้น
Comments
น่าจะมีรูปเจ้า project glass ต่อท้ายสักหน่อยนะครับ
แล้วก็ thumbnail ด้วยครับ THK :D
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
มันจะไม่จั๊กกะจี๋หรอครับนั่น 555+
เป็นการบริหารหูครับ ^^
นึกถึง CODEC ของ Solid Snake แฮะ
ว่าแล้วก็ลองเอาโทรศัพท์เปิดเสียงเบา ๆ แนบตรงหลังหู :P
ยังไง Air Conduction ก็ดีกว่า Bone Conduction ครับ
หากอยากใช้ Bone ก็ต้องอุดหูอยู่ดี
ทำไมต้องอุดหูหรือครับ?
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
นั่นสิครับ ในเมื่อข่าวข้างต้นก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการสร้างแรงสั่นสะเทือน ?
เหมือนเคยรู้มาว่า Bone นำเสียงได้แย่กว่า air แต่คงไม่ถึงกับต้องอุดหูหรอกมั้ง ลองเอามือไปเคาะหลังหูซิ ยังพอได้ยินบ้างนะ
bone นำเสียงได้แย่กว่าครับ โดยจะไวต่อเสียงความถี่ต่ำมากกว่า (เป็นสาเหตุให้ผู้พูดได้ยินเสียงตนเองแตกต่างจากที่คนอื่นได้ยิน)
ในที่มาของข่าวก็เน้นเฉพาะเสียงเตือนข้อความ หรือ notification ต่างๆ เท่านั้น เนื่องจากยังมองว่าการฟังเพลงและ content ต่างๆ ควรผ่านอากาศจึงจะให้คุณภาพได้ดีกว่าผ่านกระดูก
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")