เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Google, Facebook, Zynga, Dell, Red Hat และบริษัทชั้นนำด้านไอทีอีกสามบริษัทได้ร่วมกันยื่นหนังสือถึงศาลอุทธรณ์ของสหรัฐ เพื่อร้องขอให้ศาลปฏิเสธการคุ้มครองของสิทธิบัตรสี่ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องระหว่างสถาบันการเงินสองแห่ง เนื่องจากสิทธิบัตรกลุ่มดังกล่าวพูดถึงกระบวนการประมวลผลในเชิงแนวคิดเท่านั้นและได้รับการคุ้มครองอย่างกว้างขวาง เนื่องจากใช้วลีทั่วไปอย่าง "บนคอมพิวเตอร์" หรือ "ผ่านอินเทอร์เน็ต" ผู้ร้องขอจึงมองว่าสิทธิบัตรลักษณะนี้เป็นการขอความคุ้มครองแค่ไอเดียเท่านั้นซึ่งใครจะคิดขึ้นมาก็ได้ แต่ในความเป็นจริงการอิมพลีเมนต์ไอเดียให้ใช้งานได้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก ดังนั้นสิทธิบัตรลักษณะนี้จะขวางกั้นการเกิดนวัตกรรมใหม่
มีการสำรวจในปีที่ผ่านมา พบว่าการฟ้องร้องละเมิดสิทธิบัตรนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้บริษัทในสหรัฐเสียค่าใช้จ่ายรวมสูงถึง 29 พันล้านดอลลาร์
นี่อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องปฎิรูปการคุ้มครองสิทธิบัตรอย่างขนานใหญ่กันแล้ว ดังที่ ITU และซีอีโออเมซอนได้ออกมาเรียกร้องในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ที่มา: CNET
Comments
It's time for global peace.
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
บริษัทไอทีไม่มี Apple รวมอยู่ด้วยหรือนี่..
อ่านหัวข้อข่าวแล้วผมคิดถึง Apple ก่อนเลย
แอปเปิลไม่ว่างครับ ติดคดีฟ้องร้องอยู่ อิอิ
ส่วนพวกเราผู้บริโภคต้องร่วมผลักดันโดย Don't buy Apple
(ผมมี iPhone เกือบซื้อ iPad , Mac Mini แต่ไม่เอาแล้ว)
มีอีกตั้งหลายบริษัทที่ไม่ได้เข้าร่วม ต้อง Don't buy บริษัทเหล่านั้นด้วยหรือไม่ครับ?
ไม่ใช่แค่ "ไม่ได้เข้าร่วม" นี่ครับ แต่ "กระหน่ำจด กระหน่ำฟ้อง" มากมายหลายเคส
ก็เป็นสิทธิของเค้า ให้ศาลตัดสินเถอะครับ
งั้นก็ควรเขียนให้เจาะจงหน่อยสิครับ อ่านแล้วสับสนกับข่าว เหมือน Apple เป็นบริษัทเดียวที่ไม่เข้าร่วมโครงการนี้ เช่น
ส่วนพวกเราผู้บริโภคต้องร่วมผลักดันโดย Don't buy Apple เพราะ Apple "กระหน่ำจด กระหน่ำฟ้อง" (ผมมี iPhone เกือบซื้อ iPad , Mac Mini แต่ไม่เอาแล้ว)
แต่สิ่งที่ Apple "กระหน่ำจด กระหน่ำฟ้อง" ก็ถูกนำมาใช้งานในอุปกรณ์ของ Apple แล้วนะ หรือผมตกข่าว?
หวังว่าถ้าบริษัทอื่นทำบางก็คงจะทำกับบริษัทเหล่านั้นเหมือนกันนะครับ
Dream high, work hard.
ควรแบน Microsoft, Samsung, IBM, Amazon ด้วยครับ
สิทธิบัตรบัตร?
ยกมือเห็นด้วยแบบสุดลิ่มทิ่มประตูเลย!
my blog
+1024
"สิทธิบัตรลักษณะนี้เป็นการขอความคุ้มครองแค่ไอเดียเท่านั้นซึ่งใครจะคิดขึ้นมาก็ได้ แต่ในความเป็นจริงการอิมพลีเมนต์ไอเดียให้ใช้งานได้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก ดังนั้นสิทธิบัตรลักษณะนี้จะขวางกั้นการเกิดนวัตกรรมใหม่"
ประโยคนี้ผมเคยเอามาเป็น signature แฮะ xD
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ควรจะเป็นงี้ตั้งนานแล้ว googleนี้พระเอกตลอด ส่วนapple ก็...ตลอดจริงๆ อย่างกะละครหลังข่าว ฮ่า
จดเพื่อไม่ให้ลอกความคิดไปใช้โดยตัวเองใช้สิ่งที่จดนั่นอยู่จริงๆ มันก็โอเคอยู่นะ
แต่การจดกว้างๆ เพื่อเอาไปไล่ฟัองชาวบ้านนี่น่าเกลียดจริงๆ...
Dream high, work hard.
Apple ไงครับ ตัวดีเลย ล่าสุดเห็นจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับสี่เหลี่ยมผืนผ้า(แบบที่ใช้ใน iPad) ด้วย เหอะๆ เอาให้ได้งี้สิ ต่อไปไม่จดสิทธิบัตรการหายใจไปเลยล่ะ จะได้ตายหมดโลก
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
อ่านเม้น แล้วขึ้นไปอ่านข่าวอีกรอบ... อืม.. ความเกลียดเข้างำจิตใจจริงๆ รักก็สุดโต่ง เกลียดก็สุดโต่ง..
อ่านแล้ว(ฝึก) ไม่ใส่อารมณ์ไปที่ปลายนิ้ว ไม่เป็นกันเหรอครับ..
มีอีกอย่างที่ไม่ควรให้จดหรือจับจองได้ "Look and Feel"
อันนี้มันก็ต้องมาลงรายละเอียดลงไปอีกว่าระดับไหนถึงจะเรียกว่าดีไซน์ระดับไหนถึงจะเป็นแค่ Look and Feel
มี Zynga ด้วย 55
ถูกที่สุดฟ้องมันไปเลย...คิดได้แต่ไม่ทำ แล้วไปจดดักคนอื่นไว้ พอเข้าทำก้ไปฟ้องเข้า
จะบอกว่าให้ปฏิเสธการจดสิทธิบัติเชิงไอเดีย จะได้ก้อปได้ง่ายๆ ?? หรือยังไงกัน ไม่ค่อยเก็ตเลยว่าจะมีใครได้ประโยชน์นอกจากคนที่ลอกไอเดียชาวบ้าน - -"
คือ ผมไม่เข้าใจว่า แล้วไอเดียที่คิดออกมาเป็นรูปเป็นร่างแล้วล่ะ จะทำยังไง??
(เช่น ของiPhone ที่เลือนมาสุดทางแล้วเด้งกลับ อะไรงี้ จำไม่ได้ชื่ออะไร)
จะบอกเหมารวมมาในนี้ด้วยมั้ย อะไรทำนองนั้น
เพราะจริงๆ มันก็เป็นแนวๆ ไอเดียเหมือนกันนะครับ
แถมผมว่าศาลจะยิ่งวุ่นเข้าไปอีกในการตีความ
ปล. ไม่รู้จะอธิบายเป็นคำพูดยังไงให้เข้าใจง่ายๆกว่านี้ กับสิ่งที่ผมกำลังไม่เข้าใจ 555 สงสัยคิดอะไรมากไปมั้ง
ผมรู้สึกเห็นด้วยกับการร้องขอศาลในครั้งนี้นะ เพราะผมอยากให้มีการแข่งขันทางด้านนวัตกรรมหรืออื่นๆที่สูงกว่านี้ โดยไม่ต้องมีสิทธิบัตรมาคอยเป็นกำแพงปิดกั้นความคิด ( ผมไม่ได้หมายถึงไม่ต้องมีสิทธิบัตรนะ แต่ขอให้สิทธิบัตรมันระบุเจาะจงให้ชัดเจนมากขึ้น แทนที่จะระบุไว้กว้างๆ เหมือนแทงกั๊ก ) เพราะยิ่งมีการแข่งขันการพัฒนามากขึ้นเท่าไร ผลประโยชน์ที่ได้ก็จะตกมาสู่มือผู้ใช้มากเท่านั้น