ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป (The European Court of Justice) ทำการชี้ขาดคดีระหว่างสถานีโทรทัศน์ Channel 4, Channel 5 และ ITV กับ TV Catchup บริการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบให้เปล่า (ฟรีทีวี) ผ่านอินเทอร์เน็ต หลังจากที่ศาลสูงแห่งสหราชอาณาจักรขอคำแนะนำในการตัดสิน โดยตัดสินว่าการถ่ายทอดสัญญาณฟรีทีวีซ้ำผ่านเว็บโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเนื้อหาถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ภายใต้กฎหมายสหภาพยุโรปปี ค.ศ. 2001 ที่บัญญัติว่าเจ้าของเนื้อหามีสิทธิแต่ผู้เดียวในการอนุญาตหรือห้ามการส่งเนื้อหาของตนสู่สาธารณะ
บริการ TV Catchup มีผู้สมัครใช้งานมากกว่า 12 ล้านคน และทำการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์มากกว่า 50 ช่อง รวมถึง BBC One, ITV, Channel 4 และ Channel 5 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน แต่จะมีโฆษณาปรากฏในตอนเริ่มต้นถ่ายทอดสัญญาณและส่วนอื่นๆ ของหน้าเว็บ
ถึงแม้ว่าโฆษณาจากสถานีโทรทัศน์ผู้ส่งสัญญาณตั้งต้นจะไม่ถูกดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลง แต่ ITV และสถานีโทรทัศน์อื่นๆ ก็ยังมอง TV Catchup เป็นคู่แข่งเนื่องจากเป็นการแย่งพื้นที่โฆษณาของเจ้าของเนื้อหาในขณะที่ไม่ได้สร้างเนื้อหาเอง
ภายหลังคำตัดสิน สถานีโทรทัศน์ ITV, Channel 4 และ Channel 5 ได้ออกมาแสดงความยินดีกับคำตัดสินของศาลและกำลังตั้งตารอศาลแห่งสหราชอาณาจักรนำคำตัดสินนี้ไปปฏิบัติ รวมทั้งได้ออกมากล่าวว่า เราสงวนสิทธิที่จะดำเนินการทางกฎหมายกับบริการหรือเว็บไซต์ใดๆ ก็ตามที่เราเชื่อว่ากำลังละเมิดลิขสิทธิ์ของเราหรือใช้งานเนื้อหาของเราโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ถูกต้อง ด้าน Bruce Pilley ผู้อำนวยการ TV Catchup ได้ออกมาบอกว่า TV Catchup จะสู้คดีต่อไปในศาลแห่งสหราชอาณาจักร เราจะยังคงอยู่ต่อไป และเราจะยังยืนหยัดเป็นบริการถ่ายทอดสัญญาณถูกกฎหมายแห่งแรกและแห่งเดียวของยุโรป คำตัดสินของศาลนั้นกระทบกับสถานีโทรทัศน์จำนวนหนึ่งที่เราบริการเท่านั้น
ที่มา - Financial Times (ต้องการการบอกรับสมาชิก) , Reuters
ความเห็น:น่าสนใจว่าในไทย แม้จะไม่มีบริการถ่ายทอดที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน แต่ก็มีแอพพลิเคชันจำนวนมากที่หาประโยชน์จากถ่ายทอดสัญญาณโดยไม่ได้รับอนุญาต น่าสนใจว่าสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีต่างๆในไทย จะดำเนินการอย่างไรในอนาคต
Comments
น่าสนใจจริง ๆ ในไทยยิ่งไม่ค่อยแคร์เรื่องลิขสิทธิ์อยู่
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
บ้านเรามี ad in video เลยไม่ใด้รับผลกระทบ ดีเสียอีกมีคนช่วยกระจาย ad
เพียงแต่ต้องระวังพวกหนังต่างๆ เวลาฉาย license ต้องรวมการฉายบนเวปด้วย
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
คดีนี้น่าสนใจดี แนวคิดน่าจะอยู่ที่ศาลมองผลประโยชน์ของใคร ถ้ามองผู้ประกอบการก็เป็นแบบนี้ แต่ถ้าประชาชนมาก่อนก็น่าจะ Must-Carry ที่รวมถึงสื่ออินเทอร์เน็ตด้วย
เคสนี้ศาลมองผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์ผลงาน
ในไทยทำแอพ ขายเนื้อหาในฟรีทีวี แถมยังตัดโฆษณาทิ้งอีก
จริงๆ ถ้า free tv แบบรายได้จากโฆษณา มาแพร่ภาพบนเน็ต คนก็ได้ดูโฆษณาด้วยอยู่ดี แต่มัน claim ยอดยากหรือเปล่า
โฆษณาตรงนั้น(ทางเน็ต) ไม่มีใครเค้าเอามาคิดเป็นส่วนหนึ่งของค่าออกอากาศหรอกครับ เพราะมันไม่ได้จัดการโดยทางช่องเอง
ทราบครับ มันก็อยู่ในที่ผมโพสแล้วไง ที่จะสื่อคือมันทำให้ Win Win ได้นะ
ความจริง ad ทางทีวีเค้าวัดผลกันด้วยยอดขายที่เพิ่มขึ้น โฆษณาทางเน็ตสถาณีบางเจ้าก็เปิดให้ดูบนหน้าเวป ถ้ามีเจ้าอื่นช่วยกระจาย ad โดยไม่ต้องจัดการเองสดวกจะตาย ปัญหาคือ license ต้องครอบครุมการแจกจ่ายทางเวปด้วยเท่านั้น
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมว่า ad วัดจากปริมาณคนดูมากกว่านะ :( คือ สำหรับระบบ analog ผมคุ้น ๆ ว่า มันมีอุปกรณ์ที่สามารถเช็คได้ว่าในช่วงเวลาไหนมีใครดูช่องไหนอยู่บ้าง (เป็นปริมาณเท่าไหร่ ถ้าเป็นคำที่ได้ยินประจำ ๆ ก็คือการเช็คเรทติ้ง) แต่ว่าการวัดปริมาณคนดูในส่วนนี้มันไม่ได้เข้าไปนับในส่วนของออนไลน์ด้วยไง
ย้ำว่า tv รับอย่างเดียว ไม่มีการส่งสัญญานกลับนะครับ
ส่วน tv rating น่าจะมาจาก nielsen rating ซึ่งเป็น market analyst ครับ rating จะรวมถึงการดูผ่านเครือข่ายต่างๆและการอัดไว้ดู (dvr)
... แต่บ้านเราคงไม่ลงทุนจ้าง market analyst แบบนั้น น่าจะวิเคราะห์เองจากยอดขายมากกว่า
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
หลงประเด็นแล้วครับ
จริงอยู่ที่โฆษณาใน TV ได้ออกอากาศไปด้วย คนได้ดูก็เยอะขึ้น
แต่ประเด็นมันอยู่ที่คนที่ลงโฆษนาบน web ไม่ได้จ่ายค่าเช่าเวลาออกอากาศให้ทางสถานี ดังนั้นถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ระยะยาวคนที่ซื้อเวลาออกอากาศ เขาก็จะย้ายไปซื้อพื้นที่โฆษณาบน web แทน แบบนี้เสียหายครับ ไม่ win win แน่นอน