ในขณะที่ปัจจุบันสมาร์ทโฟนพัฒนาหน่วยประมวลผลไปมากและยังทวีความใหญ่ของหน้าจอขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาแบตเตอรี่กลับดูเหมือนจะไม่ทันต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของสมาร์ทโฟน ขณะที่เรากำลังรอสิ่งที่พอช่วยได้อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ (สิทธิบัตรของแอปเปิล, ข่าวลือจากทางโนเกีย) งานวิจัยจากโนเกียก็เสนอนวัตกรรมอีกอย่างที่ดูน่าตื่นเต้นพอดู
โนเกียได้พัฒนาตัวต้นแบบของระบบชาร์จไฟที่เก็บเกี่ยวพลังงานจากคลื่นวิทยุในสภาพแวดล้อม (สัญญาณโทรทัศน์, สัญญาณวิทยุ และสัญญาณโทรศัพท์ที่มีอยู่รอบตัวเรา) ที่แม้ว่าพลังงานที่เก็บเกี่ยวได้อาจจะไม่มากนักแต่ก็เกือบเพียงพอที่จะทำให้มือถืออยู่ในโหมดสแตนบายได้ตลอดกาลโดยไม่ต้องเสียบชาร์จ อ้างจากคำพูดของ Markku Rouvala นักวิจัยในศูนย์วิจัยของโนเกียในเมืองเคมบริดจ์ (เทคโนโลยีนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นสิ่งพบเห็นได้ใน RFID tag แต่ก็เก็บเกี่ยวพลังงานได้น้อยกว่ามากและใช้การส่งคลื่นไปตรงๆ)
ตัวต้นแบบของโนเกียประกอบด้วยเสาสัญญาณ wide band และวงจรแบบง่ายๆ สองวงจร โดยเสาสัญญาณและวงจรภาครับถูกออกแบบให้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่ 500 เมกะเฮิร์ตถึง 10 กิกกะเฮิร์ตแล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า ส่วนวงจรที่สองทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้าแบตเตอรี่ สิ่งที่ยากจริงๆ คือการทำให้แน่ใจว่าวงจรเหล่านี้ใช้พลังงานน้อยกว่าพลังงานที่เก็บเกี่ยวได้ ในปัจจุบันตัวต้นแบบสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้ 5 มิลลิวัตต์ โดยเป้าหมายในระยะสั้นคือทำให้ได้เกิน 20 มิลลิวัตต์มากพอที่จะทำให้มือถืออยู่ในโหมดสแตนบายได้ตลอดกาลโดยไม่ต้องเสียบชาร์จ แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้โทรหรือรับโทรศัพท์ ทีมวิจัยจึงตั้งความหวังว่าพวกเขาจะสามารถทำให้เก็บเกี่ยวพลังงานได้ถึง 50 มิลลิวัตต์มากพอที่จะชาร์จแบตเตอรี่อย่างช้าๆ
ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้มีเป้าหมายที่จะพัฒนามาเป็นพลังงานหลักแต่จะใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเก็บเกี่ยวพลังงานอื่นๆ เช่น เคสมือถือที่ฝังแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเราอาจจะได้เห็นมือถือที่ใช้เทคโนโลยีนี้วางตลาดในอีก 3 - 5 ปีข้างหน้า
ในอนาคตเราจะได้เห็น 3310 ที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียบชาร์จซินะ
ที่มา - The Guardian via WMPoweruser
Comments
อ่านแล้วน่าตื่นเต้นมากครับ ป.ล. รุ่นแรกคงออกมาแบบไร้จอแสดงผล
ดักจับคลื่นแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ งั้นก็น่าจะทำเป็นกำแพงมือถือ หลังกำแพง คงอับสัญญาณสนิท เพราะดูดไปแปลงเป็นพลังงานหมดละ?
ใช่ครับ พื้นที่อับสัญญาณพุ่งแน่
ถ้ามันดูดพลังงานจากคลื่นได้มากพอที่จะจ่ายให้กับมือถือ มันเป็นอะไรที่น่ากลัวมาก นั่นแสดงให้เห็นว่าในอากาศมันมีคลื่นอะไรมากมายพอที่จะเข้าไปรบกวนระบบประสาท (กระแสไฟฟ้าในร่างกาย) ของสิ่งมีชีิวิตทำให้เกิดการผิดเพี้ยนได้ เช่น การเปลี่ยนเพศ ความคิด อารมณ์ การเจ็บป่วย หรือแม้กระทั่งเครื่องมือแพทย์
ถ้ามองให้น่ากลัวน้อยลง ลองดูพลังงานแสงอาทิตย์ก็ได้ครับ สิ่งมีชีวิตตากแดดได้ พืชก็เอามาใช้ในการสังเคราะห์แสงแล้วก็ได้พลังงานเป็นแป้งอย่างที่เห็น
แต่ถ้ามองว่า การถูกแสงอาทิตย์เป็นเวลานานมีผลเสีย ก็น่ากลัวเหมือนเดิม ฮะๆ
ในอากาศทุกวันนี้ก็มีคลื่นเต็มไปหมดอยู่แล้วครับ (ต่างความถี่ ต่างความเข้มกันไป) แต่ไปเอาใาจากไหนว่ามันจะ
????
@mamuang
มันมีจริงๆ นะครับ ระบบในร่างกายของเรามีพลังงานไฟฟ้าไหลผ่าน โดยเฉพาะคลื่นไฟฟ้าในสมอง ซึ่งบางคนก็แพ้หรือแพ้อาจจะไม่รู้ตัวทางการแพทย์เรียกว่าโรค “อีเล็กโทร ไฮเปอร์เซ็นส์ซิทีวิตี้ (electro-hypersensitivity หรือ EHS)” ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูนะครับ
ยกตัวอย่างเช่นโรคมะเร็งที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์ หรือมีอาการปวดหัวเวียนหัวเมื่ออยู่ท่ามกลางคลื่นที่มีความหนาแน่นสูง คลื่นมีอยู่ทั่วโลกทั้งที่มาจากอวกาศแต่คลื่นที่มันรบกวนมนุษย์เป็นคลื่นที่เกิดจากการส่งกระจายสัญญาณบนพื้นโลก ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจริงหรือไม่แต่ก็มีข้อสังเกตว่าพฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนไปมาก
http://www.school.net.th/library/snet3/saowalak/radiowave/radiowave.htm
ยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ครับว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ มีแต่ตื่นตูมคิดกันเอาเองโดยที่ไม่มีผลจากการวิจัยครับ
และทุกวันนี้นอกจากคลื่นแล้ว ก็มีอนุภาคต่างๆนาๆในอวกาศวิ่งผ่านโลกทะลุตัวเราตลอดเวลาอยู่แล้วครับ
ลืมอะไรไปหรือเปล่าครับว่าการแพทย์สมัยใหม่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องมือแพทย์ในการรักษามนุษย์ ซึ่งมันมีผลต่อร่างกาย เช่น ผมร่วง ฟันเปลี่ยนสี กระดูกผุ แม้แต่ผนังที่กันรังสียังหนาเป็นฟุตและกรองด้วยแผ่นตะกั่ว เป็นการยืนยันได้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อร่างกายมนุษย์ มากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ก็พออนุมานได้จากพลังงานของย่านความถี่ที่ใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากอวกาศกับที่มนุษย์กระหน่ำกันสร้างขึ้นความเข้มมันต่างกัน ความเจือจางขึ้นอยู่กับระยะทางและตัวกลาง
จากเมื่อก่อน แถวบ้านโทรฯ ไม่ค่อยชัด ส่งสัยคลื่นไม่ค่อยดี..... เดี๋ยวนี้ เฮ้ย... โทรเสียงไม่ค่อยชัดเลย เอาพก Nokia แถวนี้นะ
เอาพก โนเกียแถวนี้นะ คืออะไรอะ ไม่เก็ท
พิมพ์ผิด+ตกครับ.... ใครมาพก
ไม่รู้มีคติกับแบรน nokia มาตั้งนานแล้วครับ คือใช้ nokia ตั้งแต่ 3310 รุ่นพ่อแม่นั่น..รู้สึกว่า nokia รับสัญญาณได้ดีที่สุดในบรรดามือถือสมัยนั้น..
สำหรับผม nokia ยังแจ่มอยู่นะ ตอนนี้ที่ใช้ 820 ผมประทับใจกับ GPS ของมันมาก
WP gps แจ่มทุกตัวครับ
ผมลอง test drive 920 มาครับ
ถึงแล้วแต่มับอกยังไม่ถึง พอขับเลยไปมันให้ u-turn
เลยกลับมาใช้ tab 7.7 ครับ
ถ้ามันนำทางให้มาถึงหน้าสถานที่ได้โดยไม่มีปัญหาก็ ok แล้วครับ เหมือนสถานที่มันจะอ้างอิงจากจุดที่ปักหมุดเลยบางที่จะเหลือ 5-10 m แต่จริงๆผมไม่ค่อยสนหรอกก็จุดหมายมันอยู่ข้างหน้าผมแล้วแค่ไม่ฟินเท่านั้นเอง
กลัวว่าถ้าไปไกลมากๆ แล้วมันบอกเลยแยกหลายๆครั้งมันจะเสียเวลายูเทินเยอะน่ะครับ
แต่พอดียังไม่เจอแบบนั้นนะครับ อ่อ แล้วอีกอย่าง ผมเจอบักเส้นสีๆบอกทางหายด้วยอ่ะครับ
หายเป็นระยะๆ ต้องกวาดจอหาเส้นต่อไปเอง มันไม่ลากต่อกันอ่ะ
เส้นทาง นนทบุรี -> นครปฐม ครับ
เคยเห็นแนวคิดแบบนี้มาพอสมควรครับ ประเด็นคือถ้าเพิ่มเสาอากาศให้ใหญ่ขึ้นก็จะรับสัญญาณได้มากขึ้น โดยวิดีโอที่ทดสอบ จุดไฟ LED สว่างได้ จากลวด 10 cm ก็ถือว่าไม่เลวทีเดียวสำหรับวงจรเล็กๆ อย่างนาฬิกา
ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของ"สมาร์โฟน" -> สมาร์ทโฟน
ขอบคุณครับ
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
โนเกีย ได้ข่าวไวนะ เมื่อเดือนที่แล้วเอง .. Idea นี้ชนะรางวัลที่ 2 ที่เยอรมันครับ
เจ๋งดี 555 อยากได้ไฟ ไปอยู่ใกล้เสาไฟฟ้า หึหึ
มันไม่ได้ดูด แต่มันเอาคลื่นที่วิ่งผ่านแล้วเหนี่ยวนำเล็กๆ เปล่าๆ นั่นมาใช้งานสินะ
I need healing.
นึกถึงพวกพวงกุญแจสมัยก่อน ที่สายเข้าแล้วมันจะกระพริบๆ
เหมาะเอามาทำนาฬิกาข้อมือ+นาฬิกาแขวนผนัง ทำไฟฉาย led คงไม่ได้มั๊ง ไฟน้อยไป
แค่แนวคิดก็ชนะเลิศแระ ขอให้ทำได้จริงครับมือถือที่ไม่ต้องชาร์ต
งั้นถ้าทำแผงใหญ่ๆ พอก็แปะพนังแล้วทำที่ชาร์ตแบตแบบไม่ต้องเพิ่งไฟฟ้าก็ได้เลยสินะๆ
นึกถึง พลังลูกบอล เกงกิ ของโงกุล เลย
นี่คงเปลี่ยนจุดเริ่มต้นจากจินตนาการในการ์ตูนหลายๆ เรื่อง จำได้ว่า หุ่นยนต์เก็ตเตอร์ก็ใช้พลังงานแบบนี้
มันจะมีผลกระทบกับคนไหมน้า? ถามเฉยๆนะครับ
มีน่าจะมีหรอกครับ
เพราะปกติ ที่อยู่ทุกวันนี้ ก็มีคลื่นอะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมดเลย
มีอันนี้ผมว่าจะดีขึ้นนะ เพราะดูดคลื่นกันไปหมดเลย คลื่นวิทยุวิ่งเข้าหัวน้อยลงโดนดูดไว้หมด
ไม่น่ามีครับ
ทุกวันนี้สารพัดคลื่นวิ่งผ่านตัวเราไปมาอยู่แล้ว แบ่งหยาบๆเข้าใจง่ายๆไม่ต้องละเอียดเชิงเทคนิคมากก็เป็นสิบละครับ
ผมสงสัยครับเห็นบอกว่าดูดคลื่น ดูดคลื่น ความจริงคลื่นมันก็วิ่งไปตามแนวของมันอยู่แล้วหรือเปล่าครับ เราแค่เอาเครื่องรับสัญญานไปรับคลื่นที่มันวิ่งผ่านมาแบบนี้หรือเปล่า ไม่ใช่ว่าดูดเข้ามาแบบทำให้คลื่นลี้ยวเบนเข้าหาอุปกรณ์เป็นกระจุกๆ อย่างที่ข้างบนคุยกัน เพราะฉะนั้นก็ไม่น่าจะทำให้คลื่นสูญหายไปมากขึ้นกว่าเดิมมันก็ยังแผ่ออกมาตามปกติ ผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าครับ
+100 ตามนั้นครับ มันไม่ได้มีอะไรดีขึ้น หรือแย่ลงเลยครับ (ในแง่ของผลกระทบ) ยกตัวอย่างเช่น
1.เราเอาแผ่นโซล่าเซลล์ไปกั้นแสงแดด ก็แปลงมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ส่วนที่อยู่ข้างใต้ก็จะมืด ไม่โดนแสง
2.เราเอาแผ่นไม้ผุๆ ไปกั้นแสงแดด แปลงเป็นพลังงานอะไรไม่ได้ และส่วนที่อยู่ข้างใต้ก็จะมืด ไม่โดนแสงเช่นกัน
สรุป.. ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะเสาธรรมดาๆ ทุกวันนี้ก็แปลงคลื่นมาเป็นไฟฟ้ากันได้อยู่แล้ว
เอาไม้ผุ ๆ ไปกั้นแสงแดดเกิดเป็นความร้อนครับ
ไม่ได้ดูดคลื่นให้เลี้ยวเข้ามาหาอุปกรณ์ของเราแต่ว่าเราไปดูดเอาพลังงานของมันออกมา ทำให้ระยะทางที่คลื่นมันจะเดินทางไปได้ลดลงครับ ถ้ามีคนใช้อุปกรณ์นี้มาก ๆ อยู่ใกล้ ๆ เสาสัญญาณก็จะทำให้คนที่อยู่ไกลเสาออกไปสายหลุดได้
ผมว่าคลื่นมันน่าจะต่างจากน้ำนะครับที่จะเกี่ยวกับระยะทางหรือจำนวนคนใช้ใกล้ใช้ไกลในกรณีนี้ ในการใช้งานปกติ เท่าที่ผมคิดข้อจำกัดมันน่าจะอยู่ที่แบนด์วิธที่รองรับจำนวนคู่สายมากกว่า เพราะฉะนั้นการใช้คลื่นที่ไม่เกี่ยวกับการดึงแบนด์วิธในที่นี้คือการเอาพลังงานที่เกิดจากการเหนี่ยวนำมาแปลงเป็นไฟฟ้า ก็ไม่น่าจะเกี่ยวกันกับเรื่องคู่สายเต็มหรือพลังงานอ่อนแรงจนสายหลุดได้
ยกเว้นว่าจะกางแผงยักษ์ดักคลื่นจนบังเครื่องรับอื่นมิด
สงสัยอย่างนึง ว่า ถ้ามันดูดพลังงานในช่วงคลื่นที่ใช้สื่อสารมาด้วยได้ เครื่องที่ใช้งานอยู่ก็มีสิทธิที่จะโดนดูดพลังงานจากคลื่นใช้สื่อสารกับสถานีฐาน.. ซึ่งก็ส่งผลใช้ต้องเพิ่มกำลังส่ง ก็จะเปลืองแบตมากขึ้น แบบนี้้หรือเปล่า?
iPAtS
ไม่เกี่ยวกันเลยครับ มันดูดคลื่นไม่ได้ ให้นึกถึงเหมือนโซล่าเซลล์ มันดูดแสงไม่ได้ ดังนั้นถ้าคุณส่องไฟฉายไปที่สถานีส่ง คนที่ถือโซล่าเซลล์อยู่รอบๆ ตัวคุณก็ไม่สามารถดูดแสงจากไฟฉายคุณไปได้ นอกเสียจาดจะเอามากั้นขวางหน้าไฟฉายตรงๆ เลย
ผมเข้าใจครับว่ามันไม่ได้ดูด แต่มันก็บังสัญญาณไงครับ แล้วอย่าลืมว่ามันเดินทางเป็นเส้นตรง ถ้าคนใช้เยอะๆ มันก็มีโอกาสบล็อคสัญญาณได้ไงครับ
เทียบกับโซล่าร์เซลล์ที่คุณพูดถึง "ถ้า" เราเอาโซลาเซลล์มาคลุมบังแดดหมด เราก็ไม่สามารถตากผ้าใต้แผงได้ อะไรทำนองนั้นไงครับ
ทีนี้ กลับมาที่กรณีนี้ ถ้าคนใช้อุปกรณ์นี้กันมากๆ ก็อาจจะเปรียบได้กับทุกคนพกแผ่นตะกั่วติดตัว บดบังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากันหมด แล้วตัวเครื่องลูกข่ายจะติดต่อกับสถานีฐานก็ลำบากขึ้นไงครับ เหมือนเวลาใช้ GPS ในเมืองที่มีตึกสูงๆ ไรงี้ ที่จับสัญญาณได้ยาก
iPAtS
ก็เหมือน แสงผ่านรูเข็มละครับ แสงวิ่งเป็นเส้นตรง คลื่นก็วิ่งเป็นเส้นตรงด้วย ส่วนที่สะท้อนมีเล็กน้อยไม่มาก เหมือนสัญญาณ WIFI
ถ้าเครื่อง Nokia ที่ดูดสัญญาณ อยู่ตรงกลางระหว่าง คุณ กับเสาฐาน ก็แน่นอนครับ สัญญาณที่วิ่งผ่านเป็นเส้นตรงโดนดูดไปแน่ๆ มันก็เหมือนคุณเอาอะไรไปวางขวาง จากตรงนั้นไปเป็นมุมเอียงตามความห่างระหว่างคุณกับเครื่อง Nokia ตัวดูดสัญญาณ ยิ่งคุณกับ Nokia เครื่องนั้นใกล้กันเท่าไร มุมอับสัญญาณที่อยู่ด้านหลังก็กว้างขึ้น
ก็อยู่ที่ว่ามันจะดูดสัญญาณเป็นปริมา่ณกี่ % มากกว่า ถ้าดูดได้ 100% ก็อับสัญญาณชัวร์ ถ้าดูดไม่ถึงร้อย สัญญาณที่คุณส่งไปฐานก็จะอ่อน เครื่องคุณก็ต้องเร่งตัวเองให้ส่งแรงขึ้น ก็เปลืองมากขึ้น
RFID ในสินค้าที่ขายในร้านค้าไม่มีแหล่งจ่ายพลังงานนะครับ
มีแค่ L (coil ,antena)กับ C เท่านั้น
ถ้าใครยังจำกันได้เมื่อก่อน sticker ที่ติดมือถือเวลาโทรแล้วไฟกระพริบนั่นก็ไม่มีแหล่งจ่ายพลังงาน
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ในข่าวเค้าก็ไม่ได้บอกว่ามีแหล่งจ่ายพลังงานในตัวนี่ครับ แต่แน่นอนครับ มันต้องมีแหล่งจ่ายพลังงานภายนอก ส่วนมากก็ส่งพลังงานไปจากเครื่องอ่านนั่นแหละครับ
อืม.. คนไทยเราทำได้มาตั้งนานแล้ว ตามนี้ (แต่คลื่นคนละความถี่)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=zeda&month=30-07-2007&group=7&gblog=9
อารมณ์เหมือนนั่งฟื้นฟูเลือดในเกมส์ //รึเปล่า