การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ดูจะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในทุกวันนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัย แต่คำถามคือในระดับประถมและมัธยม การมีคอมพิวเตอร์ส่งผลดีต่อการเรียน (ในวิชาทั่วไป) อย่างไรบ้าง และผลการทดลองพบว่าการมีคอมพิวเตอร์แทบไม่มีผลอะไรทั้งด้านบวกและด้านลบต่อการเรียน
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย California Santa Cruz โดย Robert Fairlie และ Johnathan Robertson ทดลองด้วยการเลือกนักเรียนชั้นเกรด 6 (ประถม 6) ไปจนถึงเกรด 10 (มัธยม 4) จำนวน 1,123 คนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ แล้วแบ่งครึ่งหนึ่งเพื่อแจกคอมพิวเตอร์ให้ฟรีเป็นเวลาหนึ่งปีการศึกษา แล้วจึงดูผลการเรียนของทั้งสองกลุ่มที่ได้คอมพิวเตอร์และไม่ได้คอมพิวเตอร์เพื่อหาความแตกต่าง
ผลการทดสอบปรากฎว่าผลการเรียนผ่านไปหนึ่งปีแทบไม่มีความแตกต่างใดๆ ระหว่างสองกลุ่ม นักเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านเพื่อการทำการบ้านบ้าง แต่เวลาก็ถูกเบียดไปด้วยเวลาสำหรับเล่นเกมและเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผลสุดท้ายของการทดลองนี้จึงไม่พบทั้งผลดีและผลเสียต่อของการมีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน โดยการทดลองสำรวจ เกรดการเรียน, คะแนนทดสอบมาตรฐาน (SAT), หน่วยกิตที่เรียนได้, การเข้าเรียน, และความมีวินัยในการเรียน เช่น การส่งการบ้านตรงเวลา
นอกจากการได้หรือไม่ได้คอมพิวเตอร์เองแล้ว ทีมงานยังสำรวจถึงตัวแปรอื่นๆ เช่น ความแตกต่างของคะแนนก่อนเข้าทดสอบ, การควบคุมของพ่อแม่, และกลุ่มประชากรต่างๆ ก็พบว่าผลการเรียนไม่ต่างออกไปเช่นเดียวกัน
การทดลองนี้มุ่งประเด็นการมีคอมพิวเตอร์เท่านั้น กระบวนการแจกคอมพิวเตอร์จึงไม่มีการฝึกอบรมใดๆ ทั้งสิ้น ต่างจากโครงการ OLPC ที่มีการฝึกอบรมและใช้ในโรงเรียน
ที่มา - The Register, ECONSTOR (pdf)
Comments
อ่านหัวข้อข่าวแล้วมีเสียงดังในสมองว่า "ตึ่งโป๊ะ!"
น่าจะไปศึกษาเรื่องการแจกแท็ปเล็ตในบางประเทศบ้างนะ อิอิ..
แต่มีผลต่อคะแนนเสียงของนักการเมืองนะฮะ
+1 มันคุ้มตรงนี้เอง
ไม่ได้ซื้อเสียง เพราะ ส.ส.ไม่ได้เป็นคนจ่ายตัง แต่ได้เสียงมาฟรีๆ (เอาตังGuซื้อเสียงGu)
สำหรับผม คอมพิวเตอร์ให้ด้านบวกครับ เพราะผมศึกษา รู้ภาษาอังกฤษกว่า 80 เปอร์เซ็นจริงๆมาจากการท่องเว็บในสมัยก่อน ที่ยังนิยมใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ทำให้ผลการเรียนผมสูงขึ้นเรื่อยๆ...
อันนี้เป็นข้อจำกัดอีกอันของการศึกษานี้ครับ เพราะทำในสหรัฐฯ ที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ผมว่ามีผลนะ
แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก
+1 จริง ๆ มันยังมีเรื่องที่นอกเรื่อง การศึกษานี้อยู่อีก เช่น ผมเคยเห็น เด็กไม่กี่ขวบ แต่งหน้าเป็นออกทีวี เพราะดูโมเมพาเพลิน และ เด็ก the voice kid ร้องเพลงเก่งถามฝีกจากไหน ดูจาก youtube (ตรงนี้ผมว่ามันไม่ตรงสาขาวิชาหรอก)
อันนี้ขอฝากไว้ก่อน ว่าสำหรับกรณีนี้ กับการแจก tablet มันไม่เหมือนกันและต้องแยกประเด็นนะครับ คงเหมาว่าไม่ได้ผลหมดไม่ได้ เดี๋ยวจะมีคนโยงกัน
กรณีนี้เปรียบเทียบระหว่างการแจกคอมพิวเตอร์ กับเด็กที่ไม่ได้รับแจกแต่มีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้านอยู่แล้ว ถ้าให้ผมตั้งสมมัติฐาน มันก็ไม่น่ามีความแตกต่างกัน
แต่ในกรณีที่แจก tablet ซึ่งเด็กนำไปใช้เรียนรู้ได้ทุกเวลา ค้นหาข้อมูลได้ตลอด มีแอพการศึกษาพ่วงมา และจอสัมผัสที่ฝึกทักษะบางอย่างได้ ผลที่ได้มันควรจะต้องต่างจากการแจกคอมหรือมีคอมที่บ้านแน่ครับ แต่จะได้ผลแค่ไหนและคุ้มกับการแจกหรือไม่ก็ต้องทำวิจัยกันแหละครับ
รู้สึกถ้าจำไม่ผิดมีข่าวทำวิจัยแล้วนะครับ ก็ผลถ้าผมไม่เบลอๆก็จำได้ว่าไม่ได้ให้ผลดีอะไรในการเรียนออกมาให้เห็น
มีครับ โดยมศว. แต่สิ่งที่วัดเป็นหลักตอนนั้นจะเป็นเรื่องความสนใจต่อการเรียน
lewcpe.com, @wasonliw
อันนี้เทียบระหว่าง
มี กับ ไม่มี ไม่ใช่หรือ
ไม่เกี่ยวกับมีเครื่องที่บ้านอยู่ก่อนหรือไม่
ผมว่าคุณ illusion น่าจะตีความจากข่าวผิดนะครับ ไม่มีเนื้อหาข่าวตรงไหนระบุเลยว่า นักเรียนที่ไม่ได้รับแจกคอมพิวเตอร์น่ะมีคอมพิวเตอร์ที่บ้านอยู่แล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงเขาจะทำวิจัยกันไปทำไมล่ะครับ
ตรงกันข้ามครับ ตัวอย่างทั้งหมดที่เลือกมา "ต้องไม่มีคอมพิวเตอร์อยู่ก่อน" แล้วค่อยแบ่งกลุ่มแจก-ไม่แจก เพื่อควบคุมว่ามีกลุ่มหนึ่งต่างจากอีกกลุ่มอย่างไร
lewcpe.com, @wasonliw
เอ่อ...คุณ lew ไม่ได้โต้แย้งผมหรือคิดว่าผมเข้าใจผิดใช่มั้ยครับ เพราะผมก็พูดในความหมายเดียวกับที่คุณ lew พูด
หมายถึงตรงกันข้ามกับความเห็นของคุณ illusion ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
คุณเชื่อกันเหรอว่าเด็กประถมเนี้ยะนะ จะเอา tablet มา search หาความรู้ คุณครูใช้เป็นรึป่าวยังไม่รู้เลย ตอนนั้นคิดแต่จะเล่นอย่างเดียว เราควรสอนให้เค้ารู้จักวิธีคิดคิดมากกว่าที่จะ ยัดเยียดแต่ความรู้
คุณไม่เคยเล่นเกมแนว puzzle ฝึกสมองเลยหรือครับ เกมจับคู่ เลือกสี เสียงสัตว์ ฯลฯ มันสนุกมากครับ
ผมซื้อแทบเล็ตให้ลูกตัวเล็กครับ แต่ก็ไม่เคยคิดว่าจะให้ลูกเข้า google หรือ wikipedia ครับ มันไม่เคยอยู่ในหัวผมเลย
สำหรับผมแล้วใครที่คิดแบบนี้ ผมว่าคนที่มีปัญหาไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ที่คิดอย่างนั้นมากกว่า และควรแจกแทบเล็ตให้ผู้ใหญ่กลุ่มนี้ให้เล่นเกมแนว puzzle ฝึกสมองบ้าง จะได้มีวิธีคิดที่กว้างขึ้นเทียบเท่ากับเด็กที่ได้รับแจกแท็บเล็ต
ผมเข้าใจว่าคุณ sunback คอยควบคุมการใช้งานของลูกนะ แต่ในความเป็นจริงเด็กที่ได้รับหลายๆคนไม่น่าจะมีผู้ปกครองที่ทันเทคโนโลยีขนาดจะมาคอยสอดส่องได้ขนาดนั้นครับ
ผมเข้าใจว่าแท็บเล็ทพวกนี้มันจะมี parental control อยู่แล้วนะ ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องสอดส่องขนาดนั้น
บางทีผมก็แปลกใจ ที่ความเห็นใน blognone บางคนหวาดกลัวเกมกันจัง บางความเห็นเหมือนกลัวเทคโนโลยีด้วยซ้ำ
หลานผมส่งแท็บเล็ตไปซ่อมมาหลายเดือนแล้ว ยังไม่ได้คืนเลย - -"
ผมอยู่ใกล้ๆ ร้าน Advice เห็นลูกค้าเดินเอาสโคแพดมาเคลมแบบประตูร้านไม่แห้งเลยครับ เลยสงสัยว่าที่บอกว่าเสียแค่ "หลักสิบ" นี่นับยังไงหว่า?
ตัว Tablet ที่แจกในประเทศสารขันนี่ ผมว่ามันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีนะ
บางที การเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ เข้ามาบ้าง มันน่าจะดีขึั้น
ถึงช่วงแรก เด็กจะเอาไว้เล่นเกมส์ เล่นเน็ต ฯลฯ
แต่มันก็ต้องดีขึ้นเรื่อยๆ แหละ
ถ้าโรงเรียนยังไม่ถูกปิดไปเรื่อย ๆ (เอ๊ะไม่เกี่ยวกันนิ)
จริงๆอยากให้แจก Kindle มากเลย ใช้ง่ายประหยัดไฟด้วย
ประโยชน์มันน้อยไปครับ
ของแบบนี้มันอยู่ที่ตัวเด็กว่าสนใจเรียนรู้ขนาดไหน บางคนมีคอมพิวเตอร์ใช้ตั้งแต่เกิด แต่ไม่รู้จักวิธีการหาข้อมูลด้วยกูเกิ้ลด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่เด็กเลย ขนาดช่างซ่อมคอมฯบางคนในไทยยังไม่รู้จัก My Computer ไม่รู้จัก Task Manager ด้วยซ้ำ
สำหรับผมtablet หรือคอมพิวเตอร์มันคือสื่อครับ มีดีกว่าไม่มี แต่ที่สำคัญมากๆคือ contentที่ป้อนหรือสอนเด็ก กับการควบคุมของผู้ใหญ่นะครับ
เหนือสิ่งอื่นใดคือเราขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพและคอนเทนต์ที่เหมาะสม เรื่องมีหรือไม่มีนี่ผมว่าเป็นเพียงประเด็นรองของการศึกษาไทยในขณะนี้
ถ้าสมมุติผมเป็นบริษัทมูลนิธิผมจะระดุมทุน แจก tablet นักศึกษา ป.4-.ป.6 โดยใช้ได้แต่ที่โรงเรียน ตรงนี้เนื้อหาจะมีแต่เกมฝึกสมอง เช่น คิด + - * / เลข ทายปัญหา ในระหว่างเรียนก็ใช้ tablet เชื่อมโยงการศึกษาในรูปแบบกราฟฟิกเพื่อให้เข้าใจง่าย ...ผมคิดว่าถ้าประเทศไทยเรายังควบคุมเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่แท้จริงไม่ได้ สุดท้ายเด็กก็เอาแต่เล่นเกม
อันที่จริงไม่ใช่เรื่องระดมทุนไม่ได้หรือว่าปิดกั้นเนื้อหาแต่อย่างไรนะครับ อยู่ที่ว่าไม่มีคนทำมากกว่า ลองไปค้นหาข่าวที่เขาเป็นอาสาสมัครทำเนื้อหาให้ฟรีๆสิครับ โดยแท้จริงแล้วรัฐบาลไม่ได้สนใจเนือหาที่จะให้เด็กเลย ถ้าเป็นจริงอย่างที่คุณว่า คุณก็ควรเริ่มทำเลยดีกว่ามานั่งบ่นในเว็บนะครับ เสียเวลา
รัฐบาลผิดทางตั้งแต่ปิด PlayStore แล้วครับ แทนที่จะส่งเสริมให้ developer ไม่ว่าเจ้าเล็กเจ้าใหญ่ ผลิตคอนเทนท์ให้ได้ง่ายๆ กลับปิดช่องทางซะงั้น
บริษัทผู้เล่นใหญ่ๆ เขายังกระหน่ำแคมเปญเรียก dev ให้มาเข้าแพลตฟอร์มกันตัวเองแทบจะหมดงบส่งเสริมการตลาด รัฐบาลไทย ขอลดงบ 60บาท/เครื่อง ช่างหัวคอนเทนท์มัน
ไม่ชัดเจน ว่าเด็กอีกครึ่งที่ไม่ได้รับแจก
มีเครื่องส่วนตัวอยู่แล้ว หรือไม่
หาก แยกชัดเจนระหว่างมีหรือไม่มีน่าเป็นไปทาง บวก
เด็กต้องไม่มีคอมพิวเตอร์มาก่อนครับ
Jusci - Google Plus - Twitter
อย่างน้อยข่าวนี้ก็แสดงให้เห็นว่าผู้อ่าน blognone ส่วนหนึ่งยังไม่สามารถอ่านจับใจความได้ครบถ้วน โดยความเก่าใหม่และระดับของ account ไม่มีผล
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
พูดไม่ออกบอกไม่ถูก แล้วมองย้อนถึงบ้านเราเวลาออกนโยบายอะไรก็น่าจะทำหรือใช้งานวิจัยกันเสียนิดก็ยังดี
จริงๆ ข่าวนี้น่าสนใจน่ะถึงจะเป็นการทำวิจัยในต่างประเทศ แต่น่าจะมีการวิจัยแบบนี้ในเมืองไทยบ้างน่ะคับ
อาจได้ผลการวิจัยที่เหมือนหรือแตกต่างกันก็อาจเป็นได้
สรุปนะ
ส่วนตัวผมไม่อะไรมากกับผลการวิจัยที่มีกรอบแบบนี้นะ
ผมแค่ลองนึกถึงตัวผมเอง ตอนเด็กๆ ที่พ่อซื้อคอมฯ เครื่องแรกมาตั้งให้ในบ้าน ก็ตระหนักดีแล้วว่า คอมพิวเตอร์มันมีประโยชน์กันเด็กอย่างไร
ผมว่าหลายๆ คนใน Blognone ก็มีประสบการณ์คล้ายๆ แบบนี้เหมือนกัน
เห็นด้วยครับ บางครั้งการเปิดโอกาสเล็กๆก็อาจจะทำให้เกิดความสนใจต่อยอดขึ้นมาได้
แต่ก็นั่นแหละ ถ้าคำถามคือ "เรียนดีขึ้นมั้ย" การวิจัยนี้ก็มีคำตอบให้ตามที่ถาม