หนึ่งในคำขอจดสิทธิบัตรของ Apple ที่เพิ่งเปิดเผยต่อสาธารณะแสดงให้เห็นแนวคิดการประดิษฐ์หูฟังที่สามารถปรับคุณภาพของเสียงได้อัตโนมัติตามสภาพการสวมใส่หูฟังว่าแน่นขนาดไหน
หากผู้ใช้สวมหูฟังได้แน่น ตัวอุปกรณ์จะปรับระดับเสียงให้พอเหมาะต่อการรับฟัง แต่เมื่อหูฟังเริ่มเริ่มหลุดเคลื่อนจากตำแหน่งก็จะทำการปรับปรุงคุณภาพของเสียงให้เหมาะสมต่อการรับฟัง ซึ่งมีทั้งการปรับระดับความดังของเสียง, การลดสัญญาณรบกวน, การปรับโทนเสียง, การปรับสมดุลของเสียงระหว่างหูฟังด้านซ้าย-ขวา รวมทั้งการแจ้งเตือนผู้ใช้ให้รับทราบว่าหูฟังเริ่มเคลื่อนหลุดจากตำแหน่ง
วิธีการที่หูฟังชนิดพิเศษนี้สามารถตรวจสอบว่าผู้ใช้สวมใส่หูฟังแน่นหรือไม่ ใช้หลักการ 2 อย่างควบคู่กัน อย่างแรก คือตัววัดสัญญาณกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะปล่อยสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ ผ่านผิวหนังบริเวณช่องรับเสียงและใบหู และจดจำรูปแบบของสัญญาณตอบกลับที่ได้ในขณะที่สวมหูฟังแน่น เมื่อใดก็ตามที่หูฟังเริ่มหลวมและเคลื่อนหลุดจากตำแหน่ง สัญญาณตอบกลับดังกล่าวจะผิดไปจากปกติซึ่งทำให้อุปกรณ์สามารถรู้ได้
หลักการที่ 2 ที่ใช้ตรวจสอบว่าผู้ใช้สวมหูฟังแน่นหรือไม่ คือการใช้ไมโครโฟนขนาดเล็กจิ๋วฝังไว้ในหูฟังเพื่อตรวจสอบว่ามีเสียงภายนอกเล็ดรอดเข้าสู่รูหูของผู้ใช้หรือไม่ โดยเสียงภายนอกที่ถูกตรวจจับด้วยไมโครโฟนดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในสังเคราะห์เสียงเพื่อหักล้างสัญญาณเสียงรบกวนด้วย
ที่มา - Ubergizmo, ข้อมูลสิทธิบัตรจาก FPO
Comments
หูฟังเทพเลยทีเดียว
ทีเพิ่งเปิดเผย => ที่เพิ่งเปิดเผย
การจดสิทธิบัตรแนวความคิดเป็นอะไรที่ปิดกันสิทธิเสรีภาพแนวความคิดของคนอื่นมาก
ถ้าผลิตสินค้าชนิดนั้นออกมาแล้ว ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ไม่ใช่นึกอะไรออกก็จดหมดแบบนี้ไม่ไหว ตัวเองคิดได้ ใช่ว่าคนอื่นจะคิดเหมือนกันบ้างไม่ได้
สมมุตผมเป็นแค่คนธรรมดาคนนึงไม่มีเงินทุนในการทำมีแต่ความคิดเลยจดสิทธิบัตรไม่ได้ เลยไปขอทุนจากบริษัทใหญ่ถ้าผมไม่จดสิทธิบัตรไว้ผมมั่นใจว่าโดนขโมยความคิดแน่นอนครับ
มันเป็นสิทธิบัตรทางความคิดอะครับ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
แต่ถ้าคุณคิด แล้วคุณไม่ทำ กอดสิทธิบัตรอันนั้นไว้
คนอื่นที่เค้าคิดได้ แต่เค้าไม่ได้ลอกคุณ และเค้ามีความพร้อมที่จะทำสิ่งนั้นออกมา ก็ทำไม่ได้
สุดท้าย คนที่เสียประโยชน์ คือผู้บริโภค กับการจดสิทธิบัตร เพื่อกันไม่ให้คนอื่นผลิตครับ
คุณยอมหรอ =,.=
ผมไม่ได้พูดถึงกรณีทั่วไป
แต่ตอนนี้ ถ้าคุณอยู่ในโลก ติดตามข่าวสาร คุณคงจะรู้จัก patent troll
ถ้าจด แล้วมีปัญญาทำ ก็ดีครับ ผมสนับสนุน และจำเป็นต้องคุ้มครองคนพวกนี้ ไม่งั้น คงไม่มีใครยอมคิดอะไร
แต่ไอ้พวกที่ไล่จด เพื่อกีดกันไม่ให้คนอื่นผลิตสินค้า ที่จะมีความสามารถที่ดีกว่าที่สินค้าตัวเองมีได้
หรือจดไว้ก่อน ทั้งที่ยังไม่มีปัญญาจะหาทางทำความคิดของตัวเองให้สำเร็จ แล้วรอขายไอเดีย พวกนี้คือพวกที่ผมพูดถึง
ลองยกตัวอย่าง
ทุกวันนี้ แค่มีแนวคิด ก็จดได้
สมมติ ผมคิดกระบวนการ ใช้การสั่งงาน จากการกลอกลูกตา แล้วผมไปจดสิทธิบัตร
แต่ผมไม่เอาไหน ไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาได้ ด้วยความห่วยของทีมงานผม
แต่มีคนอีกคนนึง ที่เค้าคิด หาทางออกได้จนสำเร็จ โดยที่เค้าไม่ได้รู้ว่าผมทำสิ่งนี้มาก่อน พอเค้าจะผลิตออกมา ไอ้ทีมงานห่วย ๆ ของผมก็ไปฟ้อง เพียงเพราะผมไปจดก่อน ถึงผมไม่มีปัญญาทำ ผมก็มีสิทธิ์ที่จะกินหัวคิว ในสิ่งที่ผมไม่มีปํญญาด้วยซ้ำ แต่คนที่มีความสามารถมากกว่า กลับทำออกมาไม่ได้
คราวนี้ บริษัทนี้ ไม่มีเงินจะมาจ่ายการสูบเลือดสูบเนื้อของผม
ก็เลยไม่มีการพัฒนาสินค้าตัวนี้ออกมา เพราะไอ้ทีมงานห่วย ๆ ของผมพัฒนาไม่ได้
สุดท้าย สินค้าตัวนี้ ก็ไม่สามารถออกมาใช้ได้
ผู้บริโภค ก็อดไป
หรือจะเป็นกรณีที่บางบริษัท ไปจดสิทธิบัตร วิธีต่าง ๆ ในการใช้งานไว้เป็นสิบแบบ แต่ 5-6 ปี ไม่พัฒนามันออกมา
ใช้อยู่แบบเดียว
จดเพียงเพื่อจะกันไม่ให้บริษัทอื่น สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ดี ๆ ออกมาได้
ตัวเองจะได้ผูกขาดตลาด
ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก
อย่างนี้ ถูกต้องเหรอครับ
สุดท้าย ก็จะมีบริษัทเงินหนาที่กล้าสู้ราคาจ่ายเงินเพื่อขอใช้สิทธิบัตรของคุณ (หากเค้าคิดว่ามันคุ้มที่จะจ่าย) แต่หากคุณยังเรียกค่าใช้งานสิทธิบัตรสูงเกินไป คุณจะโดนฟ้องเรื่องการโก่งราคา FRAND และอาจโดนเรื่องกีดกันทางการค้าด้วย (อาจจะนะครับ ซึ่งอาจไม่โดนก็ได้)
หากลงท้ายไม่มีใครยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสิทธิบัตรของคุณไปใช้งาน นั่นอาจหมายความว่าช่วงเวลาที่จะ implement สิทธิบัตรนั้นยังไม่มาถึง หรือเรียกได้ว่ายังไม่มีใครเห็ฯคุณค่าของมันมากพอ
เมื่อถึงจุดนั้น และเวลาถูกปล่อยผ่านไปเรื่อย สิทธิบัตรก็จะหมดอายุไปเองครับ (ดูได้จากทุกวันนี้ใครอยากผลิตคีย์บอร์ด หรือเม้าส์ คงไม่ได้แจ้งขอใช้สิทธิบัตรกันทุกรายหรอกครับ)
ตอนนี้ทางออกของปมสิทธิบัตรนี้ก็คงเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างต้น แต่มันจะ ok จริงไหม? ดีแล้วจรึงรึเปล่า? อันนั้นคงต้องถกกันต่อ
:)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
แต่อย่าลืมว่ามันมีกรณีของการจด เพื่อไม่ให้คู่แข่งมีสินค้าที่มีความสามารถทัดเทียมกัน แต่ไม่ใช่แบบเดียวกันออกมา
แบบนี้ จด แล้วไม่ขาย ไม่ให้ใช้ ดองเอาไว้ ให้สิทธิบัตรหมดอายุ
เมื่อถึงวันหมดอายุ ประโยชน์จากสิทธิบัตร หรือกระบวนการนั้น มันอาจจะหมดไป
เนื่องด้วยการที่มีเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ในระยะเวลากว่า 10 ปีที่สิทธิบัตรหมดอายุ
คู่แข่ง และผู้บริโภค ก็จะต้องใช้สินค้าของเจ้าของสิทธิบัตรเท่านั้น ไม่มีคู่แข่ง
เรื่อง FRAND หรือกีดกันทางการค้า มันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสิทธิบัตรของคุณ เป็นสิ่งจำเป็น เช่นเทคโนโลยี 3G คราวนั้น
วันนี้ ตอบเยอะที่สุดเท่าที่จำได้เลย หมดแรงตอบต่อแล้ว งานยุ่งอีกยาว
เว็บนี้ ดีตรงมาถกกันด้วยเหตุผลเนี่ยละครับ
รู้สึกว่าตอนนี้กำลังจะเริ่มยกร่างกฏหมายส่วนนี้ใหม่เพื่อป้องกัน Troll แต่ในขณะเดียวกันปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาแล้วนะครับ แต่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการร่างนี่ครับ ?
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
มันต้องมีรายละเอียดมากระดับหนึ่งเลยนะครับถึงจะจดได้ ไม่ใช่เฉพาะแนวคิดแล้วไปจดแน่นอน
คุณเข้าใจเงื่อนไขการจด patent ผิดไปหน่อยนึง
แค่มีแนวคิด จดไม่ได้นะครับ
ต้องมีบอกด้วยว่าจะสร้างมันได้ยังไง
เช่น ถ้าผมจะจดสิทธิบัตร การสั่งงานมือถือด้วยคลื่นสมอง ผมต้องอธิบายด้วยครับว่าจะให้มือถือมันอ่านคลื่นสมองอย่างไร ไม่ใช่แค่บอกชื่อการกระทำแล้วจะจดได้ ส่วนจะมีทุนสร้างหรือไม่เป็นอีกเรื่องนึง
แล้วถ้ามีบริษัทอื่นที่เค้าคิดวิธีการอ่านคลื่นสมองขึ้นมาได้อีก แล้วเป็นคนละวิธีกับของผม เค้าก็สามารถผลิตออกมาได้โดยไม่ถือว่าละเมิดด้วยครับ
ถ้าเป็นแบบนั้นก็จะเป็นโลกของปลาใหญ่กินปลาเล็กโดยสมบูรณ์ คือนอกจากมีความรู้แล้วต้องมีทุนเป็นของตัวเองเท่านั้นถึงจะสามารถอยู่รอดในการแข่งขันได้
ผมเองก็ไม่ได้ชื่นชมลักษณะของระบบในตอนนี้สักเท่าไหร่ แต่มันก็ไม่ควรจะสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง และจริงๆ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำยังไงถึงจะยุติธรรมกับทุกฝ่าย
แต่ ณ.วันนี้ มันสุดโต่งไปอีกด้านนึงแล้วครับ
คุณสามารถจองปลาทั้งบ่อได้ โดยที่คุณไม่มีแม้แต่วิธีจะจับปลาด้วยซ้ำไป
สุดโต่ง เพราะคนเอาไปใช้เป็นเครื่องมือผิดๆ ครับ ซึ่งมันก็เกิดขึ้นกับกฏหมายอื่นๆ ได้ด้วยเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตาม กฏหมายสิทธิบัตรมันก็ต้องมีเจตนาปกป้องคนที่คิดได้คนแรกอยู่แล้วครับ เอาเวลาไปปรับปรุงกระบวนการกลั่นกรองการจดสิทธิบัตรดีกว่า หรือให้คนเสนอยกเลิกได้บ้างหลังจากจดไปแล้ว ถ้ามันกลายเป็นสิ่งที่ใครก็ต้องมีเพื่อให้แข่งขันได้ ก็น่าจะดีกว่า
การบังคับใช้คุณไม่สามารถบังคับรายคนได้นะครับ เขาต้องออกกฏมาเพื่อสำหรับคนส่วนใหญ่อยู่แล้ว
ถ้ากฏนี้ถูกแก้ ผู้ประกอบการรายใหญ่จะยิ่งโตขึ้นๆ และรายเล็กจะไม่มีโอกาศเกิดหรือเกิดได้ยากมากเพราะไม่มีทุน
และอย่างที่มีคนเคยตอบครับถ้าคุณเรียกร้องค่าสิทธิบัตรเกินจริงเขาสามารถฟ้องได้
มีกฏหมายใดบ้างที่ไม่มีใครเสียผลประโยชน์
ถ้าเกิดการจดสิทธิบัตรเหล่านี้ต้องมีเงินแนบเพื่อยืนยันว่าจะผลิตได้
คนไม่มีทุนก็กว่าจะไปหาเงินทุน ไปเสนอโครงการ แล้วก็ถูกก๊อปทันทีที่เสนอโดยคนที่คุณไปเสนอเพื่อขอเงินทุน
แบบนั้นสินะที่คุณต้องการ
......แล้วแต่คุณจะคิด
แต่ผมไม่ได้คิดแบบที่คุณเขียน
ผมมองกลับกันว่าการจดสิทธิบัตรแนวความคิด ไม่ได้ปิดกันสิทธิเสรีภาพแนวความคิดของคน แต่กลับก่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ ส่งผลทำให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่มีสิ้นสุด เพราะทุกคนก็ต้องระดมสมองเพื่อแนวคิดที่ต่างจากอันเดิม
ทุกคนมีต้นทุนในการใช้ชีวิตต่างกัน คนที่เค้าคิดได้ แต่ต้นทุนในด้านอื่นๆเค้าน้อย ผมว่าเค้ามีสิทธิ์นะ ที่จะปกป้องแนวความคิดของตนเอง ส่วนคนที่คิดไม่ได้ หรือ คิดได้ทีหลัง หรือคิดได้ก่อนแต่ไม่มีการปกป้องความคิดของตนเอง ก็สมควรที่จะไม่ได้สิทธิ์ในความคิดนั้น ก็เพราะคนเรามีสิทธิ์ที่จะคิดเหมือนกันได้เลยต้องมีการจดสิทธิบัตร และการจดสิทธิบัตรถือเป็นหน้าที่ที่ควรทำ หากมันไม่มีการจดสิทธิบัตร จะหาความสงบจากไหนบนโลกนี้ หรือคุณยอมที่จะให้คนอื่นนำแนวคิดเดียวกับคุณไปสร้างเหมือนคุณ?? มันเป็นเรื่องของธุรกิจ การจดมันก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ ผลดีก็ตกที่ผู้บริโภคแน่นอน อย่างน้อยก็นวัตกรรมใหม่ๆ
+1 ถ้าจดไม่ได้ คนคงรอลอกเอาดีกว่า ก็เวลาที่คนจดได้ เขาเอาไปคิดค้นวิจัย คนอื่นๆ บนโลกเอาเวลาไปทำอะไรล่ะครับ ถ้าใครคิดออก ทำได้จริงเร็วกว่า ก็ต้องได้ไปนะผมว่า ส่วนจดแล้วจะให้ใช้ฟรี คิด license ถูกๆ หรือเอาไปฟ้องดะ นั้นมันเป็นศีลธรรมของแต่ละคนแล้วครับ
+1 คนเราซะอย่าง เดี๋ยวก็คิดอะไรใหม่ๆได้หรือคิดใช้เทคนิคที่ดีกว่าได้เสมอแหละครับ
เขาคิดได้ เขาก็จดครับ คิดได้ก่อนก็จดก่อน เป็นเจ้าของความคิดนั้นไป แปลกตรงไหน เขาทำธุรกิจนะครับไม่ได้ทำการกุศล
การจดสิทธิบัตร เป็นสิทธิ์ของผู้คิดค้น หรือผู้ประดิษฐ์ที่จะทำได้ครับ...
ถ้ามีคนไปขโมยไอเดีย ความคิดของผู้คิดค้น แบบนี้ก็ไม่ไหวเช่นกันครับ
มันก็ไม่ต่างจากโจรที่ไปยึดทรัพย์สินบ้านเขา...
เขาแค่ต้องการติดตั้งกล้องวงจรปิดในบ้าน
เขาต้องการสร้างรั้วลวดหนามก็แค่เท่านั้นเอง
:( มาเรื่องหูฟังกันต่อดีกว่า ผมว่ามันเจ๋งนะ
ผมขำเมนท์นี้ XD
ไปดูต่อกันเลย ฮาๆๆๆ
ผมว่าคุณยังไม่เข้าใจเรื่องการจดสิทธิบัตรนะครับ ตัวอย่างที่ยกมาก็ใช้ไม่ได้ จะจดสิทธิบัตรตัวนึงรายละเอียดต้องเยอะพอสมควรนะครับ กรอกลูกตาใช้อะไรจับเซนเซอร์อะไรจับด้วยอะไร จับด้วยการยิงแสงไปที่ตา จับด้วยการใช้กล้องถ่ายรูป แค่นี้ก็ต่างกันได้สิทธิบัตร 2 ใบแล้วครับ
การต่อยอดหรือการคิดค้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสิทธิบัตรเดิมก็ทำได้นะครับ เผื่อบางคนยังไม่รู้ถือว่าจดเป็นสิทธิบัตรอันใหม่
ฮา :D
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ผมสงสัยเรื่องbatteryครับ
ถ้าทำเป็นแบบไร้สายนี่ต้องต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงไมค์ไว้ทำงานอีก
เปลืองหนักกว่าอีก
mic บางแบบไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงนะครับ
ผมว่าไมค์ไม่น่าใช้ไฟนะ เพราะมันเอาเสียงที่ได้รับมาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เพื่อเข้าวงจรวิเคราะห์ได้อยู่แล้ว แต่ตัวที่มันใช้ไฟนี่สงสัยจะเป็น "การปรับระดับความดังของเสียง, การลดสัญญาณรบกวน, การปรับโทนเสียง, การปรับสมดุลของเสียงระหว่างหูฟังด้านซ้าย-ขวา รวมทั้งการแจ้งเตือนผู้ใช้ให้รับทราบว่าหูฟังเริ่มเคลื่อนหลุดจากตำแหน่ง" เสียมากกว่าเพราะคิดว่าน่าจะใช้ชิพมาวิเคราะห์และควบคุม
เอาใหม่ ผมใช้คำผิด ต้องบอกว่า ภาครับเพื่อการวิเคราะห์ จะกินไฟ
แค่นั้นแหละครับที่ต้องการจะสื่อ
อาจจะใช้สายต่อแบบพิเศษแล้วโยนกลับไปวิเคราะห์ที่ตัวเครื่อง (iphone) ก็ได้ครับ
ปล่อยไฟฟ้าอ่อนๆเข้าผิวหนัง O_o!!
ส่วนเรื่องความแน่นในการสวม ไม่ต้องเตือนก็ได้มั้งน่าจะรู้สึกได้นะว่าหูฟังมันจะขยับหลุดออกแล้ว
ทีนี้พวกเปิดเพลงบน BTS เสียงดัง ก็จะเสียงดังขึ้นอีก
สำหรับผมเองเห็นว่าไม่มีประโยชน์เลย
ปกติร่างกายก็มีการสื่อสารด้วยไฟฟ้าอยู่แล้วครับ ไม่น่าจะเป็นอะไร ส่วนด้านอื่นๆ ผมว่าก็ดูน่าสนใจดี เค้าอาจจะไม่มองในมุมที่ว่าแต่ละคนอาจจะใส่หูฟังได้ไม่กระชับเท่ากันไปซะทุกคน ตรงนี้มันก็น่าจะเข้ามาช่วยปรับให้หูที่แตกต่างรูปแบบได้ประสบการณ์ใกล้เคียงกัน
สุดยอดอีกแล้วท่าน
ทำไมคิดว่าจดแล้ว เค้าจะไม่ทำล่ะครับ
ดูๆแล้ว อันนี้ก็ไม่ได้เหนือชั้น หรือเวอร์เกินจะเป็นโปรดักส์จริงๆนี่ครับ
อีกสัก 5-6 ปี ถ้ายังไม่ออกมา ค่อยว่าน่าจะยังไม่สาย
ไม่ก็คิดแบบอื่นแล้วจดเลย
^ ^'