ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ผ่านการแก้ไขมาหลายรอบ (นับตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว) ตอนนี้ร่างล่าสุดที่ สพธอ. เสนอเข้ามาและรับฟังความเห็นไปแล้วกำลังเตรียมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเข้ากระบวนการรัฐสภาต่อไป
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของร่างล่าสุด คือ การให้อำนาจผู้ให้บริการสามารถระงับให้บริการได้โดยพิจารณาจาก "พฤติกรรมไม่เหมาะสม" โดยไม่ต้องรอกระบวนการทางกฎหมายอีกต่อไป และผู้ใช้บริการที่ถูกระงับบริการจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
คาดว่าร่างนี้จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในอีกสองเดือนข้างหน้า
ที่มา - เดลินิวส์
Comments
สมมตินะ ถ้าองค์กรไหนสักองค์ฺกร ติดโทรจัน ก
ลายเป็น DoS หรือ ส่งสแปมเมล์ออกมา
ก็มีโอกาสที่จะ ถูกสงสัยว่าเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม
แล้วจะมีโอกาสถูกระงับบริการทั้งองค์กรได้สิ
คงโดนกันตั้งแต่ สถานีอนามัย ยัน อบจ. ฯลฯ
^
^
that's just my two cents.
http://m.thairath.co.th/content/tech/357785
จากรายงานสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ตามรายงานประจำปีของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (ThaiCERT) พบว่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2555 ประเภทภัยคุกคามด้านสารสนเทศที่ได้รับรายงานสูงสุด คือประเภท Botnet ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ประมาณ 259,000 รายการ รองลงมาคือ Spam มีค่าเฉลี่ยประมาณ 100,000 รายการต่อสัปดาห์ ปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศเป็นอย่างมาก ประกอบกับรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีการสื่อสารและแสดงออกในรูปแบบที่หลากหลายอันนำไปสู่การเผยแพร่ข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นในทางที่ไม่เหมาะสม แต่การจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงระหว่างสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคน กับความมั่นคงปลอดภัยในด้านต่างๆ ของรัฐ.
คดีพรบ. คอมฯ ทุกวันนี้เป็นึดีด้านเสรีภาพการแสดงความเห็นจำนวนมาก เป็นคดีจาก "เนื้อหา"ร้อยละ 66 ของคดีทั้งหมด การหลีกเลี่ยงพูดถึงเสรีภาพในการแสดงความเห็นต่อประเด็นกฎหมายแล้วคิดว่าจะถูกนำมาใช้กับ Spam นี่คงเป็นเรื่องหลอกตัวเองล่ะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
"พฤติกรรมไม่เหมาะสม"
คืออะไร
ด่า นาย ก. หรือ ญาติโกโหติกาของ นาย ก. เป็นต้น มั้ง
กำกวมสุดๆ
มันแปลได้ว่า บล็อกได้ทุกอย่างที่ต้องการ
เพราะผู้ให้บริการอาจจะเห็นว่าอะไรไม่เหมาะสมก็ได้ เช่นทำหน้าเพจเป็นธีมสีแดง หรือเหลือง อาจจะทำให้คนคิดว่าเป็นเพจการเมืองหัวรุนแรง อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ดังนั้นเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสมสมควรแบน หรือเพจนี้ไม่ติดธงชาติ แสดงว่าเป็นเพจที่ไม่เคารพสถาบันหลักของประเทศ สมควรแบน
ปัญหาคือ ที่จริงแล้วมันอาจจะไม่ได้มีอะไร แค่ผู้ให้บริการอยากหาเรื่องกำจัดผู้เช่าที่บ่นเรื่องบริการ เลยอยากจะเขี่ยเพจนั้นออกไป แต่ไม่อยากจ่ายค่าเสียหาย ก็เลยเหตุผลอะไรก็ได้มาอ้างว่าไม่เหมาะสม
ถ้าพบว่าผิด ไม่รู้ว่าจริงหรือหลอก แต่ใช้กฏหมู่มาทำให้ว่ามันเป็นจริง ยังงี้จะทำยังไง - -
ไม่แปลกใจ ที่ อันดับ ความเสรี ทางอินเตอร์เนต และการเข้าถึงข้อมูล ของไทย อันดับตกลงทุกปี
คิดง่ายๆ คนดูเว็บโป๊ มันผิดกฎหมายไทยนะ :)
เว็บโป๊ผิดกฏหมายด้วยเหรอ อุ๊ยลบคลิปที่โหลดมาด่วน
กว้างเกินไปไหมความหมายนี้ ดูง่ายๆการเซ็นเซอร์เนื้อหาในไทย แบบว่า เฮ้อ ถอยหลังเข้าส้วม เหอะ
Texion Business Solutions
มาตรการปิดหู ปิดตา ปิดปาก กำลังจะเริ่มละ
เหมือนยิ่งแก้มันจะยิ่งเละนะ
+1 เห็นด้วยอย่างแรง
ไม่จริงนะครับท่าน ต้องรัฐบาลที่แล้วสิที่มีพฤติกรรมแบบนั้น รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยไม่กระทำการอะไรแบบนี้หรอก ท่านมาใส่ร้ายโดยใช้เพียงแค่อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวได้อย่างไรกันครับ
RIP ประเทศเทย
ปิดกันเข้าไปสิ แถมปิดกันทุกสมัยอีก
น่าเบื่อตรงกฎหมายไทยไม่ยอมนิยามคำต่างๆให้ชัดเจน ทั้งๆที่ใช้civil lawที่ต้องตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด แต่ดันนิยามข้อกฎหมายแบบคลุมเครือ เปิดโอกาสให้ตีความแบบกว้างมากซะจน ใช้เป็นเครื่องมือในการข่มขู่ ทำลายศัตรูทางการเมืองได้ เฮ้อ
ต้องเข้าใจว่า คนโหวตกฎหมายส่วนใหญ่ (น่าจะ) ไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย ถ้าเขียนรายละเอียดมากไปเดี๋ยวคนกลุ่มนี้งง เอาให้มันอ่านดูง่าย ๆ คลุมเครือ ๆ แบบนี้กฎหมายจะผ่านง่ายกว่า... เหรอ ?
เป็นช่องโหว่ทางกฏหมายที่ ใช้ civil law แต่เขียนมากว้างๆแบบ common law ทำให้มีช่องโหว่เยอะ
ถ้าเลือกทางใดทางนึงไปเลยจะดีกว่านี้
ป.ล.ผมอยากให้ประเทศไทยเป็น common law มากถึงมากที่สุด
ผมว่าน่าจะเข้าใจผิดนะครับ Civil law เป็นประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นหลัก จึงเขียนกฎหมายกว้างๆ ให้สามารถตีความต่อไปได้ เพื่อจะได้มีกฎหมายบังคับไปถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติด้วย โดยต้องตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
เว้นแต่เป็นกฎหมายอาญาที่ต้องตีความโดยเคร่งครัด (ตีความขยายได้ แต่ analogy ไม่ได้)
ถ้า Common law จะใช้กฎหมายที่เิกิดจากจารีตประเพณีเป็นหลัก ส่วนกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นข้อยกเว้น เพราะฉะนั้นจะมีการตีความกฎหมายลายลัษณ์อักษรที่เคร่งครัดมาก คือ การตึความตามตัวอักษร
แต่ทุกวันนี้ Civil law กับ Common law ก็เข้าใกล้กันมากขึ้นแล้วครับ ไม่มีประเทศไหนในโลกแล้วที่แบบ Civil law จ๊า หรือ Common law แท้ๆ 100%
A smooth sea never made a skillful sailor.
เอ่อ civil lawสิครับ ลักษณะเป็นประมวลกฎหมาย จึงต้องตีความตามตัวบทอย่างเคร่งครัด จะตีความแบบกว้างเพิ่มไม่ได้ เราจึงมีกฎหมายละเอียดมากๆ เพื่อเขียนข้อกฎหมายให้ครอบคลุมลักษณะต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการตีความตามใจชอบได้ เพียงแต่ว่าการตัดสินครั้งหนึ่งๆจะไม่ได้เป็นบรรทัดฐานเสมอไป
แต่ในขณะที่common law จะใช้กฎหมายจารีต เขียนกว้างๆ แล้วมาตีความกันตอนไต่สวน แต่เมื่อพิพากษาแล้ว จะเป็นบรรทัดฐาน ถ้าเกิดคดีลักษณะเดียวกันก็ต้องยึดตามบรรทัดฐานเดิมไปตลอด
จริงอยู่ว่ากฎหมายสมัยใหม่ใช้ร่วมกัน แต่ผมก็เห็นช่องว่าง ด้วยการนำข้อเสียของแต่ละแบบมาใช้รวมกันแทน เช่นเขียนข้อกฎหมายละเอียดแบบcivil แต่ดันตีความแบบกว้างตามใจชอบ แถมไม่เป็นบรรทัดฐานต่อไปอีก คดีเหมือนๆกัน แต่ตัดสินไม่ค่อยจะเหมือนกัน เอาแค่เรื่องยกเว้นโทษความผิดฐานฆ่าคนตาย บางคดีจะยกเหตุให้ยกเว้นโทษได้ง่ายๆ(เช่นคดีดร.นิด้าตีเมียด้วยร่มจนตาย)โดยอ้างว่าจำเลยมีชื่อเสียงและเคยทำคุณความดีมาจึงยกเว้นโทษไปรอลงอาญา แต่บางคดีกลับไม่ยกมาโดยอ้างว่าจำเลยมีชื่อเสียง ต้องเป็นตัวอย่างแก้ผู้อื่น จึงต้องลงโทษสถานหนัก
คดีนิด้านั่นมันเข้าข่ายบันดาลโทสะนะครับ แล้วเหตุที่ยกเว้นไม่ได้มีแค่นั้นด้วย ลองไปอ่านให้ครบดูครับ
ถ้า Server อยู่ต่างประเทศ ไม่เป็นไร ?
สมมตินะครับ
พรรค ABC เป็นรัดตะบวม
มี เว็บหนึ่ง โจมตี รัดตะบวม เนื้อหาภายใน เป็นเนื้อหาที่ถูกต้อง แต่ทำให้ รัดตะบวม เสียหาย เสียหน้า จะถือเป็น พฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือไม่ ?
ซึ่งถ้าคุณเป็นคนทั่วไป เชื่อว่าต้องตอบ ไม่ มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้วข้อมูลถูกต้อง รัดตะบวม ไม่สามารถปิดได้
แต่ถ้าเป็นฝั่ง รัดตะบวม ล่ะ รัดตะบวม อาจบอกว่า
เห้ย มันเป็น พฤติกรรมไม่เหมาะสม มันทำให้รัดตะบวมเสียหาย ช่องทางนี้เป๊ะ เลยที่รัดตะบวมต้องการในวันที่ ข่าวจำนำคลุ้งแบบนี้ ไหนจะถั่งเช่าเพิ่มพลังแรด ไหนจะมาสคอต ฆ่าชิงทรัพย์แต่เอาพระสมเด็จโยนทิ้งแม่น้ำ...
อะไรแบบนี้เป็นต้น
ไม่ปิดไงครับแต่ทำการ redirect ไปหน้าตามารเพื่อปิดหูปิดตาประชาชนอะไรทำนองนี้ตามที่ข้างบนเขาว่าแหละครับ
ป.ล.คุ้นๆเหมือนว่าแม้ server อยู่ตปท แต่ถ้าคนทำอยู่ในไทยและมีหลักฐานก็น่าจะเอาผิดได้นะไม่แน่ใจ
แม้ว่า server อยู่ที่ ตปท. แต่เมื่อถ้าทำผิดก็ถือว่า การกระทำความผิดเกิดในราชอาณาจักร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดในราชอาณาจักร หรือผลของการกระทำความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ก็สามารถลงโทษได้ครับ
แม้ว่าขณะทำอยู่ ตปท. แต่หากผลของการกระทำความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร เมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรก็สามารถลงโทษได้ครับ
A smooth sea never made a skillful sailor.
แม้ว่าขณะทำอยู่ ตปท. แต่หากผลของการกระทำความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร เมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรก็สามารถลงโทษได้ครับ
ตรงนี้แหละครับที่จะสื่อ แต่สื่อออกมาไม่ได้
อะไรคือไม่เหมาะสมครับ ถ้าผมวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลหรือไม่เห็นด้วยจะถูกบล๊อคไหม
ถ้าผมวิจารณ์โดยมีเหตุมีผลไม่มีคำหยาบก็ถือว่าผมบริสุทธิ์สิ แต่ให้ใช้ดุลยพินิจเอานี่ไม่ดีเลย
เมื่อไหร่จะเอาคนที่เก่งไอทีมีวิสัยทัศน์ก้าวหน้าเกี่ยวกับไอทีเป็นหัวครับ ที่ผ่านๆมานี่ทำงานเอาใจนายใหญ่ตลอด ยังงี้บ้านเมืองก็ไม่ไปไหนกันซักทีสิ เห้อออ
+1 ครับ เป็นกันทุกที่เลยมั้ง ใกล้นายเค้าเรียกว่าใกล้เสือครับ
A smooth sea never made a skillful sailor.
คนที่เก่ง ๆ เขาคงไม่อยากเป็นนักการเมืองกันล่ะมั้งครับ ?
ผมเห็นรุ่นพี่ที่รร.มัธยมผม (ที่ตอนนี้เป็นนักการเมือง) แล้วคิด เฮ้ย เนี่ยเหรอระดับดร. พูดมาแต่ละคำนี่คนไร้การศึกษายังพูดได้ดีกว่าเลย (ไม่บอกว่าใคร เดี๋ยวโดนเก็บ 555)
ปล. ไม่ได้มีเจตนาดูถูกคนไร้การศึกษานะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันซะก่อน
North Korea 2.0 ..
หากบอกว่าผู้บริการมีสิทธิ์ที่จะพิจารณาแบนคนใช้ที่พฤติกรรมไม่เหมาะสมได้ ... ก็ต้อง State ต่อไปด้วยว่าผู้ให้บริการจะต้องออก License Agreement ที่แตกต่างกันว่าใครจะห้ามอะไรบ้างบนพื้นที่นี้ ไม่งั้นมันก็ขัดกันเองต่อกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ส่วนที่ ๒ ทวิ
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา
ดังนั้นหากกฏหมายนั้นทำมาเพื่อขัดต่อกฏหมาย พรบ. ฉบับอื่นแล้ว (ยิ่งให้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมและตรวจสอบไม่ได้แก่เจ้าพนักงาน และเอกชนใดๆด้วย) ยิ่งไม่ขัดต่อกฏหมายหลัก ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยอันดี (ที่แท้จริง) ของประชาชนหรือครับ ?
ดังนั้นหากจะบอกตีคลุม คนที่จะบังคับใช้จริงก็จะต้องร่างกฏย่อยออกมาเพื่อควบคุมดูแลกันเองด้วยครับ เช่นกฏกระทรวง กฏหมายลูกต่างๆ ที่จะบอกว่าส่วนใดควรไม่ควรเช่นไร ไม่ใช่ยกยอดให้ใครก็ได้ที่มีอำนาจ (ทั้งรัฐ ทั้งเอกชน) กระทำสิ่งใดๆก็ได้โดยได้รับความคุ้มครองจาก พรบ. ฉบับนี้
ยกกรณีสุดโต่ง .... ผมเปิดค่ายเพลงแข่งกับ TRUE บนเว็บไซต์ ... TRUE เห็นว่าเป็นพฤติกรรม "ไม่เหมาะสม" (แหงล่ะ ... แข่งกับ TRUE Music นี่ ?) ก็เลยแบนเสีย ผมก็เสียผลประโยชน์เพราะผมฟ้องร้องเขากลับเพราะผมใช้บริการของเขาไม่ได้ ขาดช่องทาง ขาดรายได้ ผมก็ซวย แต่กฏหมายไม่ได้บอกว่าอะไรคือ พฤติกรรมไม่เหมาะสมนี่ครับ ?
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
Welcome to Neo North Korea
ประท้วงครับ อย่าให้มันผ่าน ร่างประชาพิจารณ์ทำเสร็จตอนไหน ผมยังไม่รู้เลย
คำตอบของข้า คือ ประกาศิต