เป็นครั้งแรกที่โหวตเกินร้อยแล้วไม่มีใครออกความเห็น!
ผมอยากให้แต่งตั้งทั้งหมด เพียงแต่ประเด็นที่หวั่นใจมาก คือ แต่งตั้งโดยใคร?
ผมคิดว่าการเลือกตั้ง ส.ว. นี่เป็นการซ้ำซ้อนกับการเลือกตั้ง ส.ส. เพราะนับในสภาก็ถือว่า 1 เสียงเหมือนกัน
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
มันต้องนึกถึงสภาพการดำเนินงานแบบประเทศไทยด้วยครับ ทุกอย่างมันผิดที่ผิดทางไปหมด
คือจะบอกว่าใช้ตรรกะทั่วๆ ไปวิเคราะห์สภาพการเมืองประเทศไทยแล้วงงครับ เหมือนที่เรามีศาลที่ซ้ำซ้อนกันอยู่อ่ะแหละ
- วิวาทะ
ที่แน่ ๆ ประเทศไทยมีประชาธิปไตยมา 80 ปีแล้ว คนไทยก็ยังไม่เรียนรู้เท่าไหร่เลยครับ
มันเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ มา 80 ปีแล้วยังไม่ชินอีกเหรอครับ
ปล. ผมไม่ชิน
ข้อ ๕๖ จากประโยค "ที่แน่ ๆ ประเทศไทยมีประชาธิปไตยมา 80 ปีแล้ว คนไทยก็ยังไม่เรียนรู้เท่าไหร่เลยครับ"
ก. คนไทยไม่เรียนรู้ ข. มีอะไรที่ทำให้ไม่เรียนรู้ ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. ง. ผิดทั้งข้อ ก. และ ข.
ข้อ ๕๗ จากข้อ ๕๖ จงอธิบายเหตุผลในข้อที่เลือกตอบ (๑๒ คะแนน) .................... .................... ....................
80 ปี
๘๐ ปี
^ ^ that's just my two cents.
ฮ่า ฮ่า ฮ่า
/สลับมาทำหน้าขึงขัง
ถ้าคุณไม่รักคนไทยก็ออกจากประเทศไทยไปเลยครับ
/ชี้นิ้วไปทางไหนสักทาง
เพราะไม่มีการใส่ใจสอนเรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชนไงครับ คิดกันง่าย ๆ แค่ว่าแค่เปิดให้มีการเลือกตั้งแล้วประชาชนจะรู้กันไปเอง
ชีวิตมันไม่ง่ายแบบนั้นหรอกครับ ผมเข้าใจนะว่าการส่งเสริมก็มีเรื่้องสำคัญ แต่ถ้ามองในมุมมองชาวบ้านที่มองว่าแค่เอาชีวิตรอดไปวัน ๆ ก็เป็นเรื่องยากแล้ว (<-วิธีคิดของคนที่จะมีฐานะไม่ดี) เขาคงสนใจปากท้องมากกว่าน่ะ
เรื่องของนิสัยคนนี่ เท่าที่เคยอ่านการวิจัยมานี่มันถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่น และไม่หายไปง่าย ๆ ด้วยครับ อย่างคนที่มีบรรพบุรุษที่มาจากพืนที่ที่ดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงมากกว่ากลุ่มที่เป็นเกษตรกร ทั้ง ๆ ที่เขาเอง (และคนก่อนหน้าเขาสองสามรุ่น) ไม่เคยไปดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์ด้วยซ้ำ อะไรแบบนี้
คนไทยเรานี่ การดิ้นรนเป็นสิ่งที่เรามักจะไม่ทำครับ เรารักสบาย เพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเรามันเอื้อกับการอยู่แบบสบาย ๆ พอต้องดิ้นรนให้ราคามันดีขึ้น แทนที่จะไปหาวิธีปรับปรุงวิธีการผลิตก็ไปกดดันรัฐบาลให้หาวิธีแทน เพราะมันง่ายและได้ผลดีกว่าไง (โดยไม่สนใจว่าคนอื่นเขาลำบากยังไง ตูสบายก็พอ) ลองสังเกตดูก็ได้ครับ ข้าวราคาตกที ชาวนาก็เต้นที นี่กลุ่มสวนยางมาอีกแล้ว ทุกคนเคยชินอยู่กับการมีเทวดามาดลบรรดาลความมั่งคั่งให้ตัวเองทั้งนั้น
เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมคนถึงเลือกพรรคที่มีนโยบายสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเอง มากกว่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมล่ะครับ
ปล. กำลังคิดอยู่ว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกันหรือเปล่า 555
ประชาธิปไตยแบบว่า "เงินมา ปากกาลื่น" ฮ่าๆ
ห้ามเปลี่ยนมาใส่ Contact lens ครับ
นั่นมันสาวแว่น!!!
ไอ้เราก็งงตั้งนาน ขอบคุณครับ
+1 - -"
ส.ว.
สาวแว่น o.o!!!
กดเลือกตั้งทั้งหมดไป จะเปลี่ยนใจมายกเลิกดันมือไวไม่ทันละ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ผมขอ... ลากตั้ง....ครับ!! เพราะหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกับการลากตั้งหัวหน้าห้อง สมัยเปิดเทอม ม.ต้น ม.ปลาย กันดี แบบไม่มีปี่ขลุ่ยเลย...
เอาที่ถูกต้องจริงๆนะ ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่เราต้องสงวนให้ผู้มีความสามารถด้านกฏหมายจริงๆ เช่น ต้องจบ ปริญาโทนิติบันทิต แบบทำวิทยานิพนธ์ เหมือนอาชีพอาจาร์ย สอนระดับมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจบ ป.โท ความสามารถที่ตรงตามที่จบและต้องมี วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
หลายท่านออกจะมองว่ามันอาจจะไม่หลากหลายที่ให้เลือกแต่ นิติฯ แต่ผมว่า ส.ว. เป็นผู้ออกกฏหมายโดยตรงควรจบ นิติ ป.โท เป็นอย่างน้อยครับไม่ใช่ใครก็ได้แบบนี้ ไม่งั้นก็งัดแต่พรรคพวกตัวเองลงสมัครแล้วยังไงก็ได้ ต้องคัดกรองเรื่องความสามารถที่เหมาะสมครับ
ผมอยากให้มีสายงานวิชาชีพอื่นด้วยนะครับ เกรงว่าเน้นแต่นักกฎหมาย จะพลาดในรายละเอียดเทคนิคยิบย่อยต่างๆ เอาได้
นิติ มันก็มีแตกไปหลายสาขานะครับ ในวงจรธุรกิจ
ผมว่าเลือกตั้งทั้งหมดมันก็ดีนะ แต่สำหรับเมืองไทยอาจโดนเอาคู่ผัวตัวเมีย ญาติโกโหติกา เข้ามาทำหน้าที่ เพราะเวลานี้คนไทยจำนวนไม่น้อยเลือกแต่ฝ่ายที่ตนเองชอบอย่างเดียว คนดีๆ มีความสามารถคงไม่ได้เข้ามา คิดแล้วก็เศร้าใจ Y_Y
"คู่ผัวตัวเมีย ญาติโกโหติกา" นี่เป็น "คนดีๆ มีความสามารถ" ไม่ได้เหรอครับ?
ถ้าเป็นคนดีมีความสามารถก็ไม่ใช่ปัญหาครับ
ถ้า ดี และ สามารถ จริงๆนะ ^_^!
แต่ที่สำคัญเลย ทำยังไงให้ประชาชนเชื่อใจได้ว่า เข้ามาแล้วทำเพื่อชาติจริงๆ?
วัดยังไงดีล่ะครับ ทั้ง "คนดีมีความสามารถ" และ "เข้ามาแล้วทำเพื่อชาติจริงๆ"
รับผิดชอบหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย นับว่าเป็นคนดี (เช่นเวลาประชุม มีหน้าที่ประชุม ไม่หนีประชุม ไม่เล่นiPadขณะประชุม ตั้งใจประชุม)
เอาผลประโยชน์บ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ไม่แอบแฝงใช้อำนาจหน้าที่ เพื่อประโยชน์ตน หรือพวกพ้อง นับว่าเป็นคนดี (ส.ว. มีหน้าที่ช่วยกลั่นกรองกฏหมาย สามารถยับยั้งกฏหมายได้ หรือมีหน้าที่เลือกบุคคลสำคัญในองกรณ์อิสระ เช่นประธานศาลรัฐธรรมมนูญ ส.ว.เป็นหน้าที่สำคัญ ถ้าทำงานโดยเอาประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ถ้าทำด้วยเจตนานี้ คือดี แต่ถ้าทำเพราะพรรกพวกได้ประโยชน์ เห็นกฏหมายฉะบับนี้พวกตัวเองเสนอเลยให้ผ่าน หรือบุคคลนี้เห็นเป็นพวกตัวเองเลยเลือกให้ไปทำหน้าที่สำคัญ อันนี้คือไม่ดี)
มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ ข้อนี้นับว่ามีความสามารถ (เป็น ส.ว. มีหน้าที่กลั่นกรองกฏหมาย ให้คำปรึกษาในเรื่องสำคัญ เลือกบุคคลสำคัญเข้ามาทำงาน การมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน เป็นเรื่องจำเป็น)
หลังๆ ได้ยินทัศนะคติในการเลือกตั้งหรือคุยเรื่องการเมืองของคนสมัยนี้ เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนเยอะ สมัยก่อนเวลาเลือกตั้งผมเคยได้ยินความคิดเห็นประมาณว่า เลือกคนนี้เพราะเขามีนโยบายดี เลือกคนนี้สิเพราะเขามีประสบการณ์งานนี้ดี แต่สมัยนี้เวลาคุยเรื่องการเมือง เขาจะบอกว่าต้องเลือกคนนี้เพราะคนนี้เป็นคนฝ่ายนี้ ต้องช่วยกันเลือกคนนี้เพื่อจะได้ต้านคนนั้น หลังๆ มาความคิดเห็นแบบนี้เยอะขึ้นมาก เห็นแบบนี้แล้วอดสงสารถประเทศไทยไม่ได้ Y_Y
ย่อหน้าที่สองนี่มันตรวจสอบยังไงอะครับ ว่าเลือกบุคคลสำคัญแล้ว เป็นประโยชน์ของชาติ หรือว่าพวกพ้อง
หน้าที่ที่สำคัญอย่างนึงของ สว. คือการแต่งตั้งบุคคลสำคัญเข้าไปทำงานในองกรณ์อิสระ อย่างศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือ กกต องกรณ์เหล่านี้มีหน้าที่เฉพาะอย่างของตัวเอง แต่โดยรวมแล้วองค์กรเหล่านี้คือกรรมการ ที่ชี้ขาดและมีอำนาจตัดสินการทำงานของรัฐบาล และคอยระงับกรณีพิพาทต่างๆ
เราเรียกว่าองกรณ์อิสระเพราะว่า องกรณ์เหล่านี้ไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล รัฐบาลสั่งไม่ได้ ฝ่ายค้านสั่งไม่ได้ หน่วยงานราชการอื่นสั่งไม่ได้ แต่องกรณ์อิสระชี้ขาดหน่วยงานต่างๆได้ ตามบทบาทหน้าที่ และอำนาจของตน
ถ้าคนที่เข้ามาเป็นกรรมการ วางตัวเป็นกลาง ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ประเทศจะได้ประโยชน์อนันต์ แต่ถ้าคนที่เข้ามาเป็นกรรมการ วางตัวไม่เป็นกลาง ทำหน้าที่เพื่อพวกพ้องเป็นหลัก ถูกสั่งให้ช่วยพวกพ้องได้ ประเทศชาติก็รับกรรมไปเต็มๆ
สิ่งที่น่ากลัวคือ ถ้าเราได้ สว. ที่ทำหน้าที่เอนเอียงไปทางฝ่ายผู้มีอำนาจ เราก็มีแนวโน้มจะได้กรรมการที่ทำงานเพื่อฝ่ายผู้มีอำนาจ กรรมการก็ไม่ได้ทำหน้าที่ตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ทำให้องค์กรอิสระขาดความอิสระ ถูกสั่งซ้ายหัน ขวาหันได้ เพราะคนที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นกรรมการ เป็นพวกพ้องของฝ่ายผู้มีอำนาจ อย่างนี้ผมมองว่าประเทศชาติมีโอกาศเสียหายมากกว่า เพราะระบบไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเหมาะสม
จริงๆเรื่องนี้อาจจะไม่เกิดกับประเทศไทยก็ได้ และอาจไม่มีทางเกิดขึ้นก็ได้ ผมอาจจะคิดมากไปเอง แต่ดูจากแนวโน้มความเป็นไปได้ มันก็ทำให้ผมอดคิดแบบนั้นไม่ได้ เช่น ผลการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพครั้งที่ผ่านมา พรรคใหญ่ 2 พรรค มีคนเลือกมากสุด ผู้สมัครอิสระแทบจะไม่มีใครเลือกเลย นโยบายแทบจะมีมีใครให้ความสำคัญมาก (เทียบกับการเลือกตั้งผู้ว่าสมัยก่อนโน้น ก่อนมีมหกรรมกีฬาสีในเมืองไทย สมัยนั้นคนให้ความสำคัญกับนโยบาย วิสัยทัศน์มาก)แต่สมัยนี้คนส่วนใหญ่ตัดสินใจลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองเพียงเพราะเขาเป็นพวกไหน มากกว่านโยบาย มากว่าความสามารถ มากกว่าเลือกเพราะวิสัยทัศน์ หรือประสบการณ์
สรุป ที่คุณ mk ถามว่าจะตรวจสอบอย่างไร เรามีระบบไว้ตรวจสอบอยู่แล้ว แค่คนที่เข้าไปทำงาน ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ระบบจะทำงานถูกต้อง เพราะคนทำหน้าที่ถูกต้อง ขออย่างเดียวอย่าให้ฝ่ายมีอำนาจ หรือผู้มีผลประโยชน์เข้าไปยุ่งตัวระบบได้ ระบบจะทำหน้าที่เป็นเกาะคุ้มกันภัยให้ประเทศเอง
"...ระบบจะทำงานถูกต้อง..." เป็นมายาครับ
ระบบใดๆ จะทำงานได้ถูกต้อง ระบบนั้นต้อง ไม่มีคน เข้าไปเกี่ยวข้องครับ
เพราะขนาดตัว "ความถูกต้อง" ของคนเอง ก็ไม่เหมือน/ไม่เที่ยง/ไม่เท่ากันซะแล้วครับ
คือถ้าเอาตามตัวอย่างของคุณ สมมติว่า ผู้สมัครอิสระ ชนะการเลือกตั้งเป็นผู้ว่า กทม. แล้วอะไรเป็นเครื่องการันตีว่าเขาจะ "วางตัวเป็นกลาง ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา" เหรอครับ
อีกอันหนึ่งคือ "สว. ที่ทำหน้าที่เอนเอียงไปทางฝ่ายผู้มีอำนาจ" สมมติว่า สว. ทำหน้าที่เอนเอียงไปทางฝ่ายผู้ไม่มีอำนาจ แบบนี้ยังเรียกว่าตรงไปตรงมาหรือเปล่าครับ?
สำหรับข้อแรกนะครับ
ผมสมมติ มีการแข่งขันกีฬาประจำหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ถ้าชนะกีฬานี้แล้วจะได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีผู้คนสนใจสมัครเข้าแข่งขันกันล้นหลาม และแล้วการแข่งขันกีฬามาถึงรอบชิงชนะเลิส ทีมที่แข่งขันแบ่งเป็นสองทีม ทีมแรกคือทีมสีแดง ทีมที่สองคือทีมสีฟ้า แข่งขันบนสนามกีฬาที่ชื่อประเทศใคร? โดยมีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเป็นเดิมพัน แต่เนื่องจากทั้งสองทีมสูสีกันมาก จำเป็นต้องใช้กรรมการตัดสินผลแพ้ชนะ
คนที่เป็นกรรมการ คือเหลือง เหลืองได้เป็นกรรมการเพราะกองเชียร์เลือกเข้ามา บังเอิญเหลืองกับแดงเป็นเพื่อนบ้านกัน แต่ไม่ชอบขี้หน้ากัน ทะเลาะกันเช้าเย็น วันดีคืนดีก็เอากองเชียร์มาจัดงานปาร์ตี้ส่งเสียงเอะโวยวาย สร้างความรำคาญแก่กัน
มองไปที่ความสำพันธ์ระหว่างเหลืองกับฟ้า เหลืองกับฟ้าเป็นเพื่อนกัน เตะบอลด้วยกันทุกวัน พูดคุยกันถูกปากถูกคอ แต่เนื่องจากชอบกินเหล้าทั้งคู่ ทำให้เวลาเมาก็ทะเลาะกันบ้าง แต่พอส่างเมาก็กลับมาคืนดีกันใหม่ แล้วก็เฮฮากันเหมือนเดิม
คำถามคือ การแข่งขันรอบชิงครั้งนี้ เหลืองเข้ามาทำหน้าทีเป็นกรรมการ การทำงานของเหลืองจะเป็นกลางมั้ย? สำหรับผมแล้ว การันตีไม่ได้ 100 เปอร์เซนต์ว่าเหลืองจะทำหน้าที่เป็นกลาง หมายความว่าการันตีไม่ได้ ว่าเหลืองจะไม่เข้าข้างฟ้า แต่มีความเป็นไปได้มาก ที่เหลืองจะเข้าข้างฟ้า เพราะเหลืองไม่ถูกกับแดง แต่เป็นเพื่อนกับฟ้า แต่เหนือสิ่งอื่นใด เวลาแข่งขันต้องดูว่าเหลืองทำหน้าที่กรรมการได้ดีขนาดไหน
แต่ถ้าเหตุการณ์เปลี่ยนไป คือเขียวเข้ามาเป็นกรรมการ ขอเล่าประวัติเขียวหน่อย เพราะเขียวเป็นตัวละครใหม่
เขียวเป็นคนพูดน้อย แต่แข็งแรง ร่างกายกำยำ มีระเบียบวินัยสูง ชอบวิ่งออกกำลังกายตอนเข้า และช่วยเหลือผู้อื่น เขียวชอบใส่ชุดแปลกๆ เพราะเขียวคิดว่าเท่ห์ดี แต่เหลือง แดง ฟ้า ชอบล้อเขียว เขียวมักโดนล้อว่า ชุดที่ใส่เหมือนชุดยามประจำหมู่บ้าน เขียวอาจดูแปลกในสายตาของคนอื่น แต่ถ้ามีเรื่องกับนักเลงหมู่บ้านอื่น ชุดที่เขียวใส่จะดูเป็นเท่ห์ขึ้นมาเชียว
กลับมาที่การแข่งขันกีฬาประจำหมู่บ้าน คราวนี้เหลืองไม่ได้มาเป็นกรรมการ เพราะยังไม่ส่างเมา กองเชียร์เลยมองหาใครสักคน ที่จะมาทำหน้าที่สำคัญ ใครสักคนที่แข็งแรงพอที่จะมาห้ามมวยในสนาม บังเอิญเขียวเพิ่งออกกำลังกายเสร็จ ระหว่างเดินทางกลับบ้าน แวะพักหน้าสนามกีฬาประเทศใคร? บังเอิญกองเชียร์เห็นเข้า เลยเลือกเขียวเข้ามาเป็นกรรมการแทนเหลือง
ถามว่าสามารถการันตีได้มั้ยว่าเขียวจะทำหน้าที่ตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ผมคิดว่า การันตีไม่ได้ 100 เปอร์เซนต์ ว่าเขียวจะเป็นกลาง แต่ดูจากประวัติของเขียว ที่ไม่ได้สนิทกับแดงและฟ้า พฤติกรรมของเขียวที่เป็นคนมีระเบียบ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น บางทีก็คอยปกป้องหมู่บ้าน จากนักเลงหมู่บ้านอื่น
ดูจากมุมนี้ สำหรับผมพอจะฝากความหวังได้บ้างว่า เขียวจะทำหน้าที่กรรมการอย่างตรงไปตรงมา แต่เหนือสิ่งอื่นใด เวลาแข่งขันต้องดูว่าเขียวทำหน้าที่กรรมการได้ดีขนาดไหน
สรุปคำถามข้อแรกคือ การันตีไม่ได้ว่าผู้สมัครอิสระจะทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ถ้าดูประวัติของเขา การทำงานในอดีต และสายสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆ อาจทำให้เราคาดเดาได้ว่า เขามีแนวโน้มจะทำงานอย่างไร และเพื่อใคร แต่สิ่งที่จะเป็นเครื่องการันตีว่าเขาจะทำงานอย่างตรงไปตรงมา หรือทำงานเพื่อใคร ต้องดูว่า เข้ามาแล้ว รับผิดชอบหน้าที่อย่างไร มีหลักตัดสินใจอย่างไร แล้วผลงานเป็นอย่างไร ต้องดูผลงานปัจจุบันของเขา ผลงานปัจจุบันจะเป็นคำตอบ
สำหรับคำถามข้อสอง ถ้ามีทางเลือกให้ผมสองทาง คือเอนเอียงไปทางผู้มีอำนาจ กับเอนเอียงไปทางผู้ไม่มีอำนาจ คำตอบข้อนี้คือ สว. คนนี้ทำงานไม่เป็นกลาง เพราะว่าแกทำงานแบบเอียงตลอดๆ
แต่สิ่งสำคัญต้องดูว่า เวลามีปัญหา แล้วแกแก้ปัญหาแบบยึดพวกพ้อง หรือทางสายเอียงของแกเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหาหรือเปล่า แม้ว่าการแก้ปัญหาแบบทางสายเอียง ทำไปแล้วจะเกิดผลเสียกับชาติ มีคนค้านโดยสุจริต แกก็ไม่ฟัง แต่แกดึงดันว่าจะแก้ด้วยวิธีนี้เท่านั้น เพราะพวกสั่งมาไม่ให้ได้ไง อย่างนี้ถือว่า ทำงานเพื่อตัวเอง ไม่เป็นกลาง และไม่น่านับถือ
แต่ถ้าเหตุการณ์เดียวกัน แกเข้ามาทำหน้าที่แบบเอียงๆ ของแก แต่พอถึงจุดที่ต้องตัดสินใจในปัญหาสำคัญ แม้ว่าพวกของแกจะบอกให้ แก้ปัญหาเพื่อพวกตัวเอง แต่แกสำนึกได้ว่าถ้าทำตาม ประเทศเสียหาย ถ้าทำตามประชาชนเดือดร้อน แล้วแกตัดสินใจไม่ทำ แกเลือกที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง มีอิสระภาพในการตัดสินใจ คำขอร้องจากพวกพ้องหรือประโยชน์ส่วนตัว ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ผมถือว่าแกทำงานตรงไปตรงมา แม้ว่าแกจะเข้ามาแบบเอียงๆ
ให้ สว.เลือกตั้งทั้งหมด มันก็ไปสนับสนุน สส.ที่เลือกมาสิ แล้วจะมีสว.ที่เอาไว้ตรวจสอบ สส.ทำแมวอะไร
หน้าที่ตรวจสอบ ผมเข้าใจว่าเป็นของฝ่ายค้านนะครับ
pittaya.com
เรื่องหน้าเศร้าที่สุดสำหรับผม คือมันหมดยุคการตรวจสอบไปหลายสมัยแล้วครับ
ฝ่ายร่วมรัฐบาล เกือบทุกคนทุกพรรค ลงคะแนนเห็นชอบทุกครั้ง
ฝ่ายร่วมฝ่ายค้าน เกือบทุกคนทุกพรรค ลงคะแนนค้านทุกครั้ง
โดยไม่สนว่ากำลังคุยเรื่องอะไรกันอยู่
จะเล่นเกม จะแชต หรือจะดูหนังโป๊ ผมว่าทำไปเถอะครับ ยังไงก็ไม่มีผลต่อการตัดสินใจว่าจะลงคะแนนฝ่ายไหนอยู่แล้วนี่ (ประชดนะครับ)
+1 ไม่ว่าจะยุคใครเป็นรัฐบาล ใครเป็นฝ่ายค้าน ผมนั่งฟังอภิปรายกันอย่างมัน บางนโยบาลของรัฐบาลอุบาทว์สุด ๆ ดูยังไงก็ผิดเห็น ๆ สุดท้ายยกมือปุ๊บ....รัฐบาลชนะอยู่ดี บางทีนโยบายที่ห่วยสุดนั่นแหละคะแนนนำ!!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
นี่ล่ะมั้ง ที่เรียกว่า พวกพ้อง
ลองต่อต้าน คัดค้าน คงได้หลุดจากตำแหน่ง
คงต้องเริ่มจากยกเลิกระบบพรรคการเมือง ...
อ๊ะแต่คนเสนอกฎหมายเป็นพรรคการเมืองนี่นา ...
... คงไม่มีใครเขียนกฎหมายออกมาฆ่าตัวตายกันหรอกมั้ง
เราจะเป็นเจ้าแห่งโจรสลัด
ที่ทุเรศที่สุดคือประชาชนครับ ฝ่ายค้านสาวใส้ขนาดนี้แล้ว ยังเลือกมันเข้ามาอีก โทษตัวเองเถอะครับ
ตัวเลือก มีไม่มาก และ โดนสาวไส้ กันทุกๆพรรค ที่ีเป็นตัวเลือก ตัวเต็งกันอยู่ทั้งหมด
เลือกตั้งมันต้องมีกฏไม่งั้นมีแต่พวกสนิทพรรคการเมืองแล้ว จะตรวจสอบยังไง
ถ้าไม่เลือกตั้ง 100% ก็ไม่ควรมีไปเลยครับ หรือถ้าจะมีแต่งตั้งจริงๆ ก็ทำได้แค่ออกความเห็น ไม่มีอำนาจยับยั้งถอดถอนอย่างในตอนนี้
ส.ว. คืออะไรครับ ส.ว. มีหน้าที่อะไร
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
อะไรก็ตามที่ เลือกตั้ง มันก็มีโอกาสที่คนของพรรคการเมืองเข้ามา อันนี้ไม่แปลกอยู่แล้ว
แต่คำถามคือ แต่งตั้งนี่ใครแต่งตั้ง จริงๆ ตามหลักการมันก็เหมือนกับการให้สาขาอาชีพต่างๆ ส่งชื่อเข้ามา แต่ความเป็นจริง มันมีแรงกดดันภายนอกแน่นอน :)
สรุปจริงๆ ผมว่าไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่าแรงกดดันจากฝ่ายไหนจะกดดันได้มากกว่าเท่านั้น
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
ส.ว. = สาววาย?
Jusci - Google Plus - Twitter
เลือกตั้ง 100 เปอร์เซนต์ไปเลย จะได้หมดข้อครหาเรื่องที่มา ถ้าไม่ดี นั่นคือคนที่เลือกอย่างเราๆก็้ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยครับ
นึกถึงนิทานเรื่องนี้ขึ้นมาเลย
http://www.gotoknow.org/posts/192140
เหมือนโดนแทงยันโคนดาบ "พระองค์ก็เลยสร้าง...นักการเมืองไทยขึ้นมา ถ้ามีนักการเมืองไทยอยู่ล่ะก็ต่อให้สมบูรณ์แค่ไหน ไทยก็ไม่มีวันเจริญ...."
อย่าลืมว่าคนเลือกนักการเมืองเขามาบริหารประเทศก็คือคนไทยนั่นแหละครับ...
+1
ประชาชนเป็นอย่างไร รัฐบาลเป็นอย่างนั้น
ถ้าจะให้เสริม นักการเมืองก็ประชาชนคนนึงแหละครับ (-.-)
อย่าลืมอีกว่านักการเมืองก็มาจากคนไทยนั่นแหละ ฉะนั้นอยากได้นักการเมืองที่ดี ซื่อสัตย์ เสียสละ คนไทยต้องเปลี่ยนนิสัยตัวเองให้ได้ซะก่อน
ข้อความจากนิทานบางส่วน
ศิลปะวัฒนธรรมดีๆ อาหารอร่อยที่สุดในโลก ดอกไม้ ผลไม้ ชายทะเล ก็เทไปกองรวมกันที่ --- ประเทศไทยหมด ---
ความคิดแบบนี้นี่มันไทยมากๆ เลยนะครับแหม่..... ไทยเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และมีประเทศกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของโลก ฮา
การเมือง?
เปล่าครับ สาวแว่น #สมาคมรักสาวแว่นแห่งประเทศไทย #ห๊ะ ไม่ใช่และ
นานๆ จะได้เข้าการเมือง จัดเต็มกันเลยทีเดียว ตอนแรก ไม่มีใคร comment พอ comment แรกมา ยาวเลย ^o^
ผมคิดว่าควรเลือกตั้งทั้งหมดนะครับ
ทางเลือกไหนก็มีคำถามของมันครับ :-
ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองว่าคำถามไหนมีน้ำหนักมากน้อยกว่ากัน
สำหรับข้อ 4 - ประชาชน และนักวิชาการไงครับ
Get ready to work from now on.
พูดได้ (อาจจะ)วิจารณ์ได้ แต่ไม่มีอำนาจครับ
ประชาชนสรรหา ก็เกือบจะเป็นเลือกตั้งแล้วนะครับ (แค่เจ้าตัวไม่ได้สมัครเอง)
ในเมื่อ สส เป็นตัวแทนเขต และ จังหวัดแล้ว
ส ว ควรเป็นตัวแทนอย่างอื่น
แต่ก็ต้องเลือกตั้งอยู่ดี
ก่อนอื่นต้องแยกการทำงานกันก่อนนะครับนะหว่าง สส/สว เห็นหลายความเห็นออกกันไม่ออกกันเลยทีเดียว
1.สส คือตัวแทนของประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ ในการเสนอกฎหมาย ต่างๆ และลงมติจะมีการรับร่างหรือไม่แล้วจะไปขั้นตอนต่อไปถึงวาระที่ 3
2.เหตุที่ต้องให้ สส ตัดสินใจแทนประชาชนเพราะการที่จะให้ประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ทุกคนมันเป้นไปไม่ได้เลยต้องใช้วิธีหาตัวแทนเข้าไป ซึ่งนั้นก็คือ สส. (ความจริงแล้ว สส ไมไ่ด้มีหน้าที่ดูแลทุกสุขประชาชนด้วยซ้ำ ซึ่งนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่มาจาก สส.) แต่ สส. มีหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงของประชาชนซึ่งจะนำเรื่องเข้าไปสู่สภา เพื่อให้ฝ่ายบริหารรับทราบต่อไป
ส่วน สว. ในเมื่อ สส.คือตัวแทนของประชาชน มีหน้าที่เสอนกฎหมาย ต่างไปแล้ว สว. มีหน้าที่อะไร สภาบ้านเราถูกแบ่งเป็น 2 สภา เรียกว่าสภาสูงสภาล่าง สภาสูงก็คือ สว. สภาล่างก็คือ สส. สว.จะทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ฝ่านวาระ 3 มาถึง สว. และ สว จะมีกรรมมาธิการชุดต่างๆ ที่แต่งตั้งกันขั้นมาเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ(ภาครัฐ) ไม่ใช่รัฐบาลซึ่งนั้นคือหน้าที่ของ สส. ฝ่ายค้าน สังเกตุได้จากตัวอย่าง กรรมาธิการตำรวจ หรือกรรมมาธิการต่างๆ ซึ่งจะมี สว. เข้าไปทำหน้าที่ทุกคน
แล้วถามต่อว่า สว. เลือกตั้งกับ สรรหา ดีอย่างไรเสียอย่างไร มีทั้งดีทั้งเสียครับ เพราะ สว.ต้องมาจากคนที่มีความรู็ความสามารถมากกว่า สส. เยอะครับ 1. เลือกตั้ง แ่น่นอนมาแบบรูปแบบประชาธิปไตย ซึ่งจะมีคนของพรรคการเมืองลงหรือไม่อันนี้ก็แล้วแต่ แต่การได้มาของ สว.แบบนี้จะทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถ ไม่สามารถเอาชนะได้ 2. การสรรหา จะได้คนที่มีความรู้ ความสามารถหรือไม่ อันนี้ตอบผมไมไ่ด้ แต่คนที่ไม่สามารถลงเลือกตั้งก็อาจถูกเลือกในกระบวนการสรรหา
สำหรับความคิดผม การสรรหาก็ดี การเลือกตั้งก็ดี แต่ต้องทำให้เป็นรูปแบบเดียวกันหมด ไม่ใช่สรรหาส่วนหนึ่งเลือกตั้งส่วนหนึ่ง ก็จะกลายเป็นว่า สว.เลือกตั้งเหมือนรัฐบาล สว.สรรหาเหมือนฝ่ายค่าน แบบที่เราเห็นทุกๆ วันนี้ ประชาชนคนไทยลองมาแล้ว 80 ปี ซึ่งก็ต้องลองต่อไป กว่าจะสำเร็จก็คงอีกเป้นร้อยปี แต่ก็ดีกว่าที่จะต้องให้คนไม่กี่คนมาคิดแทนแล้วแบบนี้จะสำเร็จได้ไงถ้าไม่เริ่มทำ
Comments
เป็นครั้งแรกที่โหวตเกินร้อยแล้วไม่มีใครออกความเห็น!
ผมอยากให้แต่งตั้งทั้งหมด
เพียงแต่ประเด็นที่หวั่นใจมาก คือ แต่งตั้งโดยใคร?
ผมคิดว่าการเลือกตั้ง ส.ว. นี่เป็นการซ้ำซ้อนกับการเลือกตั้ง ส.ส. เพราะนับในสภาก็ถือว่า 1 เสียงเหมือนกัน
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
มันต้องนึกถึงสภาพการดำเนินงานแบบประเทศไทยด้วยครับ ทุกอย่างมันผิดที่ผิดทางไปหมด
คือจะบอกว่าใช้ตรรกะทั่วๆ ไปวิเคราะห์สภาพการเมืองประเทศไทยแล้วงงครับ เหมือนที่เรามีศาลที่ซ้ำซ้อนกันอยู่อ่ะแหละ
- วิวาทะ
ที่แน่ ๆ ประเทศไทยมีประชาธิปไตยมา 80 ปีแล้ว คนไทยก็ยังไม่เรียนรู้เท่าไหร่เลยครับ
มันเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ มา 80 ปีแล้วยังไม่ชินอีกเหรอครับ
ปล. ผมไม่ชิน
ข้อ ๕๖ จากประโยค "ที่แน่ ๆ ประเทศไทยมีประชาธิปไตยมา 80 ปีแล้ว คนไทยก็ยังไม่เรียนรู้เท่าไหร่เลยครับ"
ก. คนไทยไม่เรียนรู้
ข. มีอะไรที่ทำให้ไม่เรียนรู้
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
ง. ผิดทั้งข้อ ก. และ ข.
ข้อ ๕๗ จากข้อ ๕๖ จงอธิบายเหตุผลในข้อที่เลือกตอบ (๑๒ คะแนน)
....................
....................
....................
๘๐ ปี
^
^
that's just my two cents.
ฮ่า ฮ่า ฮ่า
/สลับมาทำหน้าขึงขัง
ถ้าคุณไม่รักคนไทยก็ออกจากประเทศไทยไปเลยครับ
/ชี้นิ้วไปทางไหนสักทาง
เพราะไม่มีการใส่ใจสอนเรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชนไงครับ
คิดกันง่าย ๆ แค่ว่าแค่เปิดให้มีการเลือกตั้งแล้วประชาชนจะรู้กันไปเอง
ชีวิตมันไม่ง่ายแบบนั้นหรอกครับ ผมเข้าใจนะว่าการส่งเสริมก็มีเรื่้องสำคัญ แต่ถ้ามองในมุมมองชาวบ้านที่มองว่าแค่เอาชีวิตรอดไปวัน ๆ ก็เป็นเรื่องยากแล้ว (<-วิธีคิดของคนที่จะมีฐานะไม่ดี) เขาคงสนใจปากท้องมากกว่าน่ะ
เรื่องของนิสัยคนนี่ เท่าที่เคยอ่านการวิจัยมานี่มันถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่น และไม่หายไปง่าย ๆ ด้วยครับ อย่างคนที่มีบรรพบุรุษที่มาจากพืนที่ที่ดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงมากกว่ากลุ่มที่เป็นเกษตรกร ทั้ง ๆ ที่เขาเอง (และคนก่อนหน้าเขาสองสามรุ่น) ไม่เคยไปดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์ด้วยซ้ำ อะไรแบบนี้
คนไทยเรานี่ การดิ้นรนเป็นสิ่งที่เรามักจะไม่ทำครับ เรารักสบาย เพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเรามันเอื้อกับการอยู่แบบสบาย ๆ พอต้องดิ้นรนให้ราคามันดีขึ้น แทนที่จะไปหาวิธีปรับปรุงวิธีการผลิตก็ไปกดดันรัฐบาลให้หาวิธีแทน เพราะมันง่ายและได้ผลดีกว่าไง (โดยไม่สนใจว่าคนอื่นเขาลำบากยังไง ตูสบายก็พอ) ลองสังเกตดูก็ได้ครับ ข้าวราคาตกที ชาวนาก็เต้นที นี่กลุ่มสวนยางมาอีกแล้ว ทุกคนเคยชินอยู่กับการมีเทวดามาดลบรรดาลความมั่งคั่งให้ตัวเองทั้งนั้น
เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมคนถึงเลือกพรรคที่มีนโยบายสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเอง มากกว่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมล่ะครับ
ปล. กำลังคิดอยู่ว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกันหรือเปล่า 555
ประชาธิปไตยแบบว่า "เงินมา ปากกาลื่น" ฮ่าๆ
ห้ามเปลี่ยนมาใส่ Contact lens ครับ
นั่นมันสาวแว่น!!!
ไอ้เราก็งงตั้งนาน ขอบคุณครับ
+1 - -"
ส.ว.
สาวแว่น o.o!!!
^
^
that's just my two cents.
กดเลือกตั้งทั้งหมดไป จะเปลี่ยนใจมายกเลิกดันมือไวไม่ทันละ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ผมขอ... ลากตั้ง....ครับ!! เพราะหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกับการลากตั้งหัวหน้าห้อง สมัยเปิดเทอม ม.ต้น ม.ปลาย กันดี แบบไม่มีปี่ขลุ่ยเลย...
เอาที่ถูกต้องจริงๆนะ ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่เราต้องสงวนให้ผู้มีความสามารถด้านกฏหมายจริงๆ เช่น ต้องจบ ปริญาโทนิติบันทิต แบบทำวิทยานิพนธ์ เหมือนอาชีพอาจาร์ย สอนระดับมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจบ ป.โท ความสามารถที่ตรงตามที่จบและต้องมี วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
หลายท่านออกจะมองว่ามันอาจจะไม่หลากหลายที่ให้เลือกแต่ นิติฯ แต่ผมว่า ส.ว. เป็นผู้ออกกฏหมายโดยตรงควรจบ นิติ ป.โท เป็นอย่างน้อยครับไม่ใช่ใครก็ได้แบบนี้ ไม่งั้นก็งัดแต่พรรคพวกตัวเองลงสมัครแล้วยังไงก็ได้ ต้องคัดกรองเรื่องความสามารถที่เหมาะสมครับ
ผมอยากให้มีสายงานวิชาชีพอื่นด้วยนะครับ เกรงว่าเน้นแต่นักกฎหมาย จะพลาดในรายละเอียดเทคนิคยิบย่อยต่างๆ เอาได้
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
นิติ มันก็มีแตกไปหลายสาขานะครับ ในวงจรธุรกิจ
ผมว่าเลือกตั้งทั้งหมดมันก็ดีนะ แต่สำหรับเมืองไทยอาจโดนเอาคู่ผัวตัวเมีย ญาติโกโหติกา เข้ามาทำหน้าที่ เพราะเวลานี้คนไทยจำนวนไม่น้อยเลือกแต่ฝ่ายที่ตนเองชอบอย่างเดียว คนดีๆ มีความสามารถคงไม่ได้เข้ามา คิดแล้วก็เศร้าใจ Y_Y
"คู่ผัวตัวเมีย ญาติโกโหติกา" นี่เป็น "คนดีๆ มีความสามารถ" ไม่ได้เหรอครับ?
ถ้าเป็นคนดีมีความสามารถก็ไม่ใช่ปัญหาครับ
ถ้า ดี และ สามารถ จริงๆนะ ^_^!
แต่ที่สำคัญเลย ทำยังไงให้ประชาชนเชื่อใจได้ว่า เข้ามาแล้วทำเพื่อชาติจริงๆ?
วัดยังไงดีล่ะครับ ทั้ง "คนดีมีความสามารถ" และ "เข้ามาแล้วทำเพื่อชาติจริงๆ"
รับผิดชอบหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย นับว่าเป็นคนดี (เช่นเวลาประชุม มีหน้าที่ประชุม ไม่หนีประชุม ไม่เล่นiPadขณะประชุม ตั้งใจประชุม)
เอาผลประโยชน์บ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ไม่แอบแฝงใช้อำนาจหน้าที่ เพื่อประโยชน์ตน หรือพวกพ้อง นับว่าเป็นคนดี (ส.ว. มีหน้าที่ช่วยกลั่นกรองกฏหมาย สามารถยับยั้งกฏหมายได้ หรือมีหน้าที่เลือกบุคคลสำคัญในองกรณ์อิสระ เช่นประธานศาลรัฐธรรมมนูญ ส.ว.เป็นหน้าที่สำคัญ ถ้าทำงานโดยเอาประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ถ้าทำด้วยเจตนานี้ คือดี แต่ถ้าทำเพราะพรรกพวกได้ประโยชน์ เห็นกฏหมายฉะบับนี้พวกตัวเองเสนอเลยให้ผ่าน หรือบุคคลนี้เห็นเป็นพวกตัวเองเลยเลือกให้ไปทำหน้าที่สำคัญ อันนี้คือไม่ดี)
มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ ข้อนี้นับว่ามีความสามารถ (เป็น ส.ว. มีหน้าที่กลั่นกรองกฏหมาย ให้คำปรึกษาในเรื่องสำคัญ เลือกบุคคลสำคัญเข้ามาทำงาน การมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน เป็นเรื่องจำเป็น)
หลังๆ ได้ยินทัศนะคติในการเลือกตั้งหรือคุยเรื่องการเมืองของคนสมัยนี้ เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนเยอะ สมัยก่อนเวลาเลือกตั้งผมเคยได้ยินความคิดเห็นประมาณว่า เลือกคนนี้เพราะเขามีนโยบายดี เลือกคนนี้สิเพราะเขามีประสบการณ์งานนี้ดี แต่สมัยนี้เวลาคุยเรื่องการเมือง เขาจะบอกว่าต้องเลือกคนนี้เพราะคนนี้เป็นคนฝ่ายนี้ ต้องช่วยกันเลือกคนนี้เพื่อจะได้ต้านคนนั้น หลังๆ มาความคิดเห็นแบบนี้เยอะขึ้นมาก เห็นแบบนี้แล้วอดสงสารถประเทศไทยไม่ได้ Y_Y
ย่อหน้าที่สองนี่มันตรวจสอบยังไงอะครับ ว่าเลือกบุคคลสำคัญแล้ว เป็นประโยชน์ของชาติ หรือว่าพวกพ้อง
หน้าที่ที่สำคัญอย่างนึงของ สว. คือการแต่งตั้งบุคคลสำคัญเข้าไปทำงานในองกรณ์อิสระ อย่างศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือ กกต องกรณ์เหล่านี้มีหน้าที่เฉพาะอย่างของตัวเอง แต่โดยรวมแล้วองค์กรเหล่านี้คือกรรมการ ที่ชี้ขาดและมีอำนาจตัดสินการทำงานของรัฐบาล และคอยระงับกรณีพิพาทต่างๆ
เราเรียกว่าองกรณ์อิสระเพราะว่า องกรณ์เหล่านี้ไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล รัฐบาลสั่งไม่ได้ ฝ่ายค้านสั่งไม่ได้ หน่วยงานราชการอื่นสั่งไม่ได้ แต่องกรณ์อิสระชี้ขาดหน่วยงานต่างๆได้ ตามบทบาทหน้าที่ และอำนาจของตน
ถ้าคนที่เข้ามาเป็นกรรมการ วางตัวเป็นกลาง ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ประเทศจะได้ประโยชน์อนันต์ แต่ถ้าคนที่เข้ามาเป็นกรรมการ วางตัวไม่เป็นกลาง ทำหน้าที่เพื่อพวกพ้องเป็นหลัก ถูกสั่งให้ช่วยพวกพ้องได้ ประเทศชาติก็รับกรรมไปเต็มๆ
สิ่งที่น่ากลัวคือ ถ้าเราได้ สว. ที่ทำหน้าที่เอนเอียงไปทางฝ่ายผู้มีอำนาจ เราก็มีแนวโน้มจะได้กรรมการที่ทำงานเพื่อฝ่ายผู้มีอำนาจ กรรมการก็ไม่ได้ทำหน้าที่ตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ทำให้องค์กรอิสระขาดความอิสระ ถูกสั่งซ้ายหัน ขวาหันได้ เพราะคนที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นกรรมการ เป็นพวกพ้องของฝ่ายผู้มีอำนาจ อย่างนี้ผมมองว่าประเทศชาติมีโอกาศเสียหายมากกว่า เพราะระบบไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเหมาะสม
จริงๆเรื่องนี้อาจจะไม่เกิดกับประเทศไทยก็ได้ และอาจไม่มีทางเกิดขึ้นก็ได้ ผมอาจจะคิดมากไปเอง แต่ดูจากแนวโน้มความเป็นไปได้ มันก็ทำให้ผมอดคิดแบบนั้นไม่ได้ เช่น ผลการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพครั้งที่ผ่านมา พรรคใหญ่ 2 พรรค มีคนเลือกมากสุด ผู้สมัครอิสระแทบจะไม่มีใครเลือกเลย นโยบายแทบจะมีมีใครให้ความสำคัญมาก (เทียบกับการเลือกตั้งผู้ว่าสมัยก่อนโน้น ก่อนมีมหกรรมกีฬาสีในเมืองไทย สมัยนั้นคนให้ความสำคัญกับนโยบาย วิสัยทัศน์มาก)แต่สมัยนี้คนส่วนใหญ่ตัดสินใจลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองเพียงเพราะเขาเป็นพวกไหน มากกว่านโยบาย มากว่าความสามารถ มากกว่าเลือกเพราะวิสัยทัศน์ หรือประสบการณ์
สรุป ที่คุณ mk ถามว่าจะตรวจสอบอย่างไร เรามีระบบไว้ตรวจสอบอยู่แล้ว แค่คนที่เข้าไปทำงาน ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ระบบจะทำงานถูกต้อง เพราะคนทำหน้าที่ถูกต้อง ขออย่างเดียวอย่าให้ฝ่ายมีอำนาจ หรือผู้มีผลประโยชน์เข้าไปยุ่งตัวระบบได้ ระบบจะทำหน้าที่เป็นเกาะคุ้มกันภัยให้ประเทศเอง
"...ระบบจะทำงานถูกต้อง..." เป็นมายาครับ
ระบบใดๆ จะทำงานได้ถูกต้อง ระบบนั้นต้อง ไม่มีคน เข้าไปเกี่ยวข้องครับ
เพราะขนาดตัว "ความถูกต้อง" ของคนเอง ก็ไม่เหมือน/ไม่เที่ยง/ไม่เท่ากันซะแล้วครับ
คือถ้าเอาตามตัวอย่างของคุณ สมมติว่า ผู้สมัครอิสระ ชนะการเลือกตั้งเป็นผู้ว่า กทม. แล้วอะไรเป็นเครื่องการันตีว่าเขาจะ "วางตัวเป็นกลาง ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา" เหรอครับ
อีกอันหนึ่งคือ "สว. ที่ทำหน้าที่เอนเอียงไปทางฝ่ายผู้มีอำนาจ" สมมติว่า สว. ทำหน้าที่เอนเอียงไปทางฝ่ายผู้ไม่มีอำนาจ แบบนี้ยังเรียกว่าตรงไปตรงมาหรือเปล่าครับ?
สำหรับข้อแรกนะครับ
ผมสมมติ มีการแข่งขันกีฬาประจำหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ถ้าชนะกีฬานี้แล้วจะได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน
มีผู้คนสนใจสมัครเข้าแข่งขันกันล้นหลาม
และแล้วการแข่งขันกีฬามาถึงรอบชิงชนะเลิส
ทีมที่แข่งขันแบ่งเป็นสองทีม ทีมแรกคือทีมสีแดง ทีมที่สองคือทีมสีฟ้า
แข่งขันบนสนามกีฬาที่ชื่อประเทศใคร? โดยมีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเป็นเดิมพัน
แต่เนื่องจากทั้งสองทีมสูสีกันมาก จำเป็นต้องใช้กรรมการตัดสินผลแพ้ชนะ
คนที่เป็นกรรมการ คือเหลือง เหลืองได้เป็นกรรมการเพราะกองเชียร์เลือกเข้ามา
บังเอิญเหลืองกับแดงเป็นเพื่อนบ้านกัน แต่ไม่ชอบขี้หน้ากัน ทะเลาะกันเช้าเย็น
วันดีคืนดีก็เอากองเชียร์มาจัดงานปาร์ตี้ส่งเสียงเอะโวยวาย สร้างความรำคาญแก่กัน
มองไปที่ความสำพันธ์ระหว่างเหลืองกับฟ้า เหลืองกับฟ้าเป็นเพื่อนกัน
เตะบอลด้วยกันทุกวัน พูดคุยกันถูกปากถูกคอ แต่เนื่องจากชอบกินเหล้าทั้งคู่
ทำให้เวลาเมาก็ทะเลาะกันบ้าง แต่พอส่างเมาก็กลับมาคืนดีกันใหม่
แล้วก็เฮฮากันเหมือนเดิม
คำถามคือ การแข่งขันรอบชิงครั้งนี้ เหลืองเข้ามาทำหน้าทีเป็นกรรมการ
การทำงานของเหลืองจะเป็นกลางมั้ย?
สำหรับผมแล้ว การันตีไม่ได้ 100 เปอร์เซนต์ว่าเหลืองจะทำหน้าที่เป็นกลาง
หมายความว่าการันตีไม่ได้ ว่าเหลืองจะไม่เข้าข้างฟ้า
แต่มีความเป็นไปได้มาก ที่เหลืองจะเข้าข้างฟ้า
เพราะเหลืองไม่ถูกกับแดง แต่เป็นเพื่อนกับฟ้า
แต่เหนือสิ่งอื่นใด เวลาแข่งขันต้องดูว่าเหลืองทำหน้าที่กรรมการได้ดีขนาดไหน
แต่ถ้าเหตุการณ์เปลี่ยนไป คือเขียวเข้ามาเป็นกรรมการ
ขอเล่าประวัติเขียวหน่อย เพราะเขียวเป็นตัวละครใหม่
เขียวเป็นคนพูดน้อย แต่แข็งแรง ร่างกายกำยำ
มีระเบียบวินัยสูง ชอบวิ่งออกกำลังกายตอนเข้า และช่วยเหลือผู้อื่น
เขียวชอบใส่ชุดแปลกๆ เพราะเขียวคิดว่าเท่ห์ดี แต่เหลือง แดง ฟ้า ชอบล้อเขียว
เขียวมักโดนล้อว่า ชุดที่ใส่เหมือนชุดยามประจำหมู่บ้าน
เขียวอาจดูแปลกในสายตาของคนอื่น แต่ถ้ามีเรื่องกับนักเลงหมู่บ้านอื่น
ชุดที่เขียวใส่จะดูเป็นเท่ห์ขึ้นมาเชียว
กลับมาที่การแข่งขันกีฬาประจำหมู่บ้าน
คราวนี้เหลืองไม่ได้มาเป็นกรรมการ เพราะยังไม่ส่างเมา
กองเชียร์เลยมองหาใครสักคน ที่จะมาทำหน้าที่สำคัญ
ใครสักคนที่แข็งแรงพอที่จะมาห้ามมวยในสนาม
บังเอิญเขียวเพิ่งออกกำลังกายเสร็จ ระหว่างเดินทางกลับบ้าน
แวะพักหน้าสนามกีฬาประเทศใคร? บังเอิญกองเชียร์เห็นเข้า
เลยเลือกเขียวเข้ามาเป็นกรรมการแทนเหลือง
ถามว่าสามารถการันตีได้มั้ยว่าเขียวจะทำหน้าที่ตัวเองอย่างตรงไปตรงมา
ผมคิดว่า การันตีไม่ได้ 100 เปอร์เซนต์ ว่าเขียวจะเป็นกลาง
แต่ดูจากประวัติของเขียว ที่ไม่ได้สนิทกับแดงและฟ้า
พฤติกรรมของเขียวที่เป็นคนมีระเบียบ
ชอบช่วยเหลือผู้อื่น บางทีก็คอยปกป้องหมู่บ้าน จากนักเลงหมู่บ้านอื่น
ดูจากมุมนี้ สำหรับผมพอจะฝากความหวังได้บ้างว่า
เขียวจะทำหน้าที่กรรมการอย่างตรงไปตรงมา
แต่เหนือสิ่งอื่นใด เวลาแข่งขันต้องดูว่าเขียวทำหน้าที่กรรมการได้ดีขนาดไหน
สรุปคำถามข้อแรกคือ
การันตีไม่ได้ว่าผู้สมัครอิสระจะทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา
ถ้าดูประวัติของเขา การทำงานในอดีต และสายสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆ
อาจทำให้เราคาดเดาได้ว่า เขามีแนวโน้มจะทำงานอย่างไร และเพื่อใคร
แต่สิ่งที่จะเป็นเครื่องการันตีว่าเขาจะทำงานอย่างตรงไปตรงมา
หรือทำงานเพื่อใคร ต้องดูว่า เข้ามาแล้ว รับผิดชอบหน้าที่อย่างไร
มีหลักตัดสินใจอย่างไร แล้วผลงานเป็นอย่างไร
ต้องดูผลงานปัจจุบันของเขา ผลงานปัจจุบันจะเป็นคำตอบ
สำหรับคำถามข้อสอง
ถ้ามีทางเลือกให้ผมสองทาง คือเอนเอียงไปทางผู้มีอำนาจ
กับเอนเอียงไปทางผู้ไม่มีอำนาจ คำตอบข้อนี้คือ สว.
คนนี้ทำงานไม่เป็นกลาง เพราะว่าแกทำงานแบบเอียงตลอดๆ
แต่สิ่งสำคัญต้องดูว่า เวลามีปัญหา แล้วแกแก้ปัญหาแบบยึดพวกพ้อง
หรือทางสายเอียงของแกเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหาหรือเปล่า
แม้ว่าการแก้ปัญหาแบบทางสายเอียง ทำไปแล้วจะเกิดผลเสียกับชาติ
มีคนค้านโดยสุจริต แกก็ไม่ฟัง แต่แกดึงดันว่าจะแก้ด้วยวิธีนี้เท่านั้น
เพราะพวกสั่งมาไม่ให้ได้ไง อย่างนี้ถือว่า ทำงานเพื่อตัวเอง
ไม่เป็นกลาง และไม่น่านับถือ
แต่ถ้าเหตุการณ์เดียวกัน แกเข้ามาทำหน้าที่แบบเอียงๆ ของแก
แต่พอถึงจุดที่ต้องตัดสินใจในปัญหาสำคัญ แม้ว่าพวกของแกจะบอกให้
แก้ปัญหาเพื่อพวกตัวเอง แต่แกสำนึกได้ว่าถ้าทำตาม ประเทศเสียหาย
ถ้าทำตามประชาชนเดือดร้อน แล้วแกตัดสินใจไม่ทำ
แกเลือกที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง มีอิสระภาพในการตัดสินใจ
คำขอร้องจากพวกพ้องหรือประโยชน์ส่วนตัว ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
ผมถือว่าแกทำงานตรงไปตรงมา แม้ว่าแกจะเข้ามาแบบเอียงๆ
ให้ สว.เลือกตั้งทั้งหมด มันก็ไปสนับสนุน สส.ที่เลือกมาสิ แล้วจะมีสว.ที่เอาไว้ตรวจสอบ สส.ทำแมวอะไร
หน้าที่ตรวจสอบ ผมเข้าใจว่าเป็นของฝ่ายค้านนะครับ
pittaya.com
เรื่องหน้าเศร้าที่สุดสำหรับผม คือมันหมดยุคการตรวจสอบไปหลายสมัยแล้วครับ
ฝ่ายร่วมรัฐบาล เกือบทุกคนทุกพรรค ลงคะแนนเห็นชอบทุกครั้ง
ฝ่ายร่วมฝ่ายค้าน เกือบทุกคนทุกพรรค ลงคะแนนค้านทุกครั้ง
โดยไม่สนว่ากำลังคุยเรื่องอะไรกันอยู่
จะเล่นเกม จะแชต หรือจะดูหนังโป๊ ผมว่าทำไปเถอะครับ ยังไงก็ไม่มีผลต่อการตัดสินใจว่าจะลงคะแนนฝ่ายไหนอยู่แล้วนี่ (ประชดนะครับ)
+1 ไม่ว่าจะยุคใครเป็นรัฐบาล ใครเป็นฝ่ายค้าน ผมนั่งฟังอภิปรายกันอย่างมัน บางนโยบาลของรัฐบาลอุบาทว์สุด ๆ ดูยังไงก็ผิดเห็น ๆ สุดท้ายยกมือปุ๊บ....รัฐบาลชนะอยู่ดี บางทีนโยบายที่ห่วยสุดนั่นแหละคะแนนนำ!!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
นี่ล่ะมั้ง ที่เรียกว่า พวกพ้อง
ลองต่อต้าน คัดค้าน คงได้หลุดจากตำแหน่ง
คงต้องเริ่มจากยกเลิกระบบพรรคการเมือง ...
อ๊ะแต่คนเสนอกฎหมายเป็นพรรคการเมืองนี่นา ...
... คงไม่มีใครเขียนกฎหมายออกมาฆ่าตัวตายกันหรอกมั้ง
เราจะเป็นเจ้าแห่งโจรสลัด
ที่ทุเรศที่สุดคือประชาชนครับ ฝ่ายค้านสาวใส้ขนาดนี้แล้ว ยังเลือกมันเข้ามาอีก โทษตัวเองเถอะครับ
ตัวเลือก มีไม่มาก และ โดนสาวไส้ กันทุกๆพรรค ที่ีเป็นตัวเลือก ตัวเต็งกันอยู่ทั้งหมด
เลือกตั้งมันต้องมีกฏไม่งั้นมีแต่พวกสนิทพรรคการเมืองแล้ว จะตรวจสอบยังไง
ถ้าไม่เลือกตั้ง 100% ก็ไม่ควรมีไปเลยครับ หรือถ้าจะมีแต่งตั้งจริงๆ ก็ทำได้แค่ออกความเห็น ไม่มีอำนาจยับยั้งถอดถอนอย่างในตอนนี้
pittaya.com
ส.ว. คืออะไรครับ ส.ว. มีหน้าที่อะไร
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
อะไรก็ตามที่ เลือกตั้ง มันก็มีโอกาสที่คนของพรรคการเมืองเข้ามา อันนี้ไม่แปลกอยู่แล้ว
แต่คำถามคือ แต่งตั้งนี่ใครแต่งตั้ง จริงๆ ตามหลักการมันก็เหมือนกับการให้สาขาอาชีพต่างๆ ส่งชื่อเข้ามา แต่ความเป็นจริง มันมีแรงกดดันภายนอกแน่นอน :)
สรุปจริงๆ ผมว่าไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่าแรงกดดันจากฝ่ายไหนจะกดดันได้มากกว่าเท่านั้น
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
ส.ว. = สาววาย?
Jusci - Google Plus - Twitter
เลือกตั้ง 100 เปอร์เซนต์ไปเลย จะได้หมดข้อครหาเรื่องที่มา
ถ้าไม่ดี นั่นคือคนที่เลือกอย่างเราๆก็้ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยครับ
นึกถึงนิทานเรื่องนี้ขึ้นมาเลย
http://www.gotoknow.org/posts/192140
เหมือนโดนแทงยันโคนดาบ
"พระองค์ก็เลยสร้าง...นักการเมืองไทยขึ้นมา ถ้ามีนักการเมืองไทยอยู่ล่ะก็ต่อให้สมบูรณ์แค่ไหน ไทยก็ไม่มีวันเจริญ...."
อย่าลืมว่าคนเลือกนักการเมืองเขามาบริหารประเทศก็คือคนไทยนั่นแหละครับ...
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
+1
ประชาชนเป็นอย่างไร รัฐบาลเป็นอย่างนั้น
ถ้าจะให้เสริม นักการเมืองก็ประชาชนคนนึงแหละครับ (-.-)
อย่าลืมอีกว่านักการเมืองก็มาจากคนไทยนั่นแหละ ฉะนั้นอยากได้นักการเมืองที่ดี ซื่อสัตย์ เสียสละ คนไทยต้องเปลี่ยนนิสัยตัวเองให้ได้ซะก่อน
ข้อความจากนิทานบางส่วน
ความคิดแบบนี้นี่มันไทยมากๆ เลยนะครับแหม่..... ไทยเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และมีประเทศกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของโลก ฮา
การเมือง?
เปล่าครับ สาวแว่น #สมาคมรักสาวแว่นแห่งประเทศไทย #ห๊ะ ไม่ใช่และ
นานๆ จะได้เข้าการเมือง จัดเต็มกันเลยทีเดียว ตอนแรก ไม่มีใคร comment พอ comment แรกมา ยาวเลย ^o^
ผมคิดว่าควรเลือกตั้งทั้งหมดนะครับ
ทางเลือกไหนก็มีคำถามของมันครับ :-
ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองว่าคำถามไหนมีน้ำหนักมากน้อยกว่ากัน
สำหรับข้อ 4 - ประชาชน และนักวิชาการไงครับ
Get ready to work from now on.
พูดได้ (อาจจะ)วิจารณ์ได้ แต่ไม่มีอำนาจครับ
ประชาชนสรรหา ก็เกือบจะเป็นเลือกตั้งแล้วนะครับ (แค่เจ้าตัวไม่ได้สมัครเอง)
ในเมื่อ สส เป็นตัวแทนเขต และ จังหวัดแล้ว
ส ว ควรเป็นตัวแทนอย่างอื่น
แต่ก็ต้องเลือกตั้งอยู่ดี
ก่อนอื่นต้องแยกการทำงานกันก่อนนะครับนะหว่าง สส/สว เห็นหลายความเห็นออกกันไม่ออกกันเลยทีเดียว
1.สส คือตัวแทนของประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ ในการเสนอกฎหมาย ต่างๆ และลงมติจะมีการรับร่างหรือไม่แล้วจะไปขั้นตอนต่อไปถึงวาระที่ 3
2.เหตุที่ต้องให้ สส ตัดสินใจแทนประชาชนเพราะการที่จะให้ประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ทุกคนมันเป้นไปไม่ได้เลยต้องใช้วิธีหาตัวแทนเข้าไป ซึ่งนั้นก็คือ สส. (ความจริงแล้ว สส ไมไ่ด้มีหน้าที่ดูแลทุกสุขประชาชนด้วยซ้ำ ซึ่งนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่มาจาก สส.) แต่ สส. มีหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงของประชาชนซึ่งจะนำเรื่องเข้าไปสู่สภา เพื่อให้ฝ่ายบริหารรับทราบต่อไป
ส่วน สว. ในเมื่อ สส.คือตัวแทนของประชาชน มีหน้าที่เสอนกฎหมาย ต่างไปแล้ว สว. มีหน้าที่อะไร สภาบ้านเราถูกแบ่งเป็น 2 สภา เรียกว่าสภาสูงสภาล่าง สภาสูงก็คือ สว. สภาล่างก็คือ สส. สว.จะทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ฝ่านวาระ 3 มาถึง สว. และ สว จะมีกรรมมาธิการชุดต่างๆ ที่แต่งตั้งกันขั้นมาเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ(ภาครัฐ) ไม่ใช่รัฐบาลซึ่งนั้นคือหน้าที่ของ สส. ฝ่ายค้าน สังเกตุได้จากตัวอย่าง กรรมาธิการตำรวจ หรือกรรมมาธิการต่างๆ ซึ่งจะมี สว. เข้าไปทำหน้าที่ทุกคน
แล้วถามต่อว่า สว. เลือกตั้งกับ สรรหา ดีอย่างไรเสียอย่างไร มีทั้งดีทั้งเสียครับ เพราะ สว.ต้องมาจากคนที่มีความรู็ความสามารถมากกว่า สส. เยอะครับ
1. เลือกตั้ง แ่น่นอนมาแบบรูปแบบประชาธิปไตย ซึ่งจะมีคนของพรรคการเมืองลงหรือไม่อันนี้ก็แล้วแต่ แต่การได้มาของ สว.แบบนี้จะทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถ ไม่สามารถเอาชนะได้
2. การสรรหา จะได้คนที่มีความรู้ ความสามารถหรือไม่ อันนี้ตอบผมไมไ่ด้ แต่คนที่ไม่สามารถลงเลือกตั้งก็อาจถูกเลือกในกระบวนการสรรหา
สำหรับความคิดผม การสรรหาก็ดี การเลือกตั้งก็ดี แต่ต้องทำให้เป็นรูปแบบเดียวกันหมด ไม่ใช่สรรหาส่วนหนึ่งเลือกตั้งส่วนหนึ่ง ก็จะกลายเป็นว่า สว.เลือกตั้งเหมือนรัฐบาล สว.สรรหาเหมือนฝ่ายค่าน แบบที่เราเห็นทุกๆ วันนี้ ประชาชนคนไทยลองมาแล้ว 80 ปี ซึ่งก็ต้องลองต่อไป กว่าจะสำเร็จก็คงอีกเป้นร้อยปี แต่ก็ดีกว่าที่จะต้องให้คนไม่กี่คนมาคิดแทนแล้วแบบนี้จะสำเร็จได้ไงถ้าไม่เริ่มทำ