ดูเหมือนว่าการเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันการชาร์จไร้สายคงยังไม่พอสำหรับโนเกีย เมื่อพวกเขาได้ก้าวไปอีกขั้นด้วยการนำพลังงงานไฟฟ้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติอย่าง "ฟ้าผ่า" มาใช้ชาร์จโทรศัพท์ โดยโนเกียได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Southampton ทดลองดึงพลังงานไฟฟ้าจากฟ้าผ่า (จำลอง) ที่มีค่าโวลต์สูงหลักแสนมาใช้ชาร์จ Lumia 925 ได้สำเร็จ
Neil Palmer นักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย Southhampton ในประเทศอังกฤษซึ่งได้รับเชิญให้ร่วมโครงการได้พูดถึงการทดลองนี้ว่า
"พวกเรารู้สึกตื่นเต้นกับการทดลองที่โนเกียนำเสนอ ด้วยการใช้หม้อแปลงควบคุมไฟฟ้ากระแสสลับที่มีค่าความต่างศักย์สูงถึง 200,000 โวลต์ให้ส่งกระแสผ่านช่องว่าง 300 มิลลิเมตร ซึ่งให้ความร้อนและแสงที่เหมือนกับปรากฏการณ์ฟ้าผ่า จากนั้นกระแสดังกล่าวจะวิ่งไปยังหม้อแปลงควบคุมตัวที่สองที่จะแปลงพลังงานมาใช้ชาร์จโทรศัพท์"
ผลลัพธ์ที่ได้สร้างความประหลาดใจแม้แต่กับนักวิทยาศาสตร์ Neil กล่าวต่อว่า
"พวกเราประหลาดใจที่ได้เห็นวงจรของทางโนเกียสามารถแปลงกระแสที่มีสัญญาณรบกวนสูงให้เสถียรในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีจนสามารถใช้ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ได้"
สิ่งที่ได้จากการทดลองนี้คงไม่ใช่แค่เพียงการค้นพบวิธีใหม่ในการชาร์จโทรศัพท์เท่านั้น แต่สำหรับทีมวิจัยแล้วนี่เป็นก้าวสำคัญในการทำความเข้าใจพลังงานจากธรรมชาติอย่างฟ้าผ่าและวิธีการใช้ประโยชน์จากมัน ชมวิดีโอการทดลองได้ที่ท้ายข่าวครับ
ที่มา - Nokia Conversations via Windows Phone Central
Comments
เร็วขนาดนั้นแบตไม่เสื่อมเหรอคร้าบ
ผมว่าเค้าน่าจะหมายถึงว่า สามารถเปลี่ยนพลังงานจากฟ้าผ่าให้นิ่งพอ และพร้อมที่จะใช้ชาร์ตแบตได้ในเวลาไม่กี่วิ มั้งครับ
คงไม่ได้หมายถึงชาร์ตเต็มในไม่กี่วิ
ปล. อ่านหัวข่าวผมก็คิดว่าอะไรจะเต็มเร็วปานนั้น
ขออภัยที่เขียนไม่เคลียร์ครับ เอาจริงๆ ตอนเขียนครั้งแรกผมเองก็ไม่แน่ใจว่ามันยังไงแน่เหมือนกัน
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
ต้นปีไมโครซอฟท์พึ่งได้งานวิจัยการชาร์จแบตให้เต็มได้ใน 20 วินาที จากการประกวดงานวิจัย ซึ่งเป็นงานวิจัยของสาวม.ปลายครับ (ถ้าจำไม่ผิดนะ)
จำไม่ผิดครับเรื่องจริง สุดยากมากเลยครับผมรู้แค่ว่าเป็นเด็กม.ปลาย
เปิดตลาด "ชายเหนือชาย" สินะ
เกือบไม่เก็ท =..=
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
ทีนี้ก็ใช้มือถือโนเกียกลางพายุฝนฟ้าคะนองได้สบาย ๆ ล่ะ
มันจะดีเหรอครับ :D
ดีสิครับ คุยโทรศัพท์จนแบตเกือบหมดอยู่ดีๆ ก็แบตเต็มได้
ปล. ความเห็นนี้ไม่ได้พูดถึงชีวิตของเจ้าของโทรศัพท์แต่อย่างใด
มือถือโดนน้ำเจ๊งไปก่อน
โนเกียใส่เครื่องซักผ้ายังหยิบมาโ?รศัพท์ต่อได้เลย
มือถือไม้่เป็นรัย..แล้สคนล่ะ
ดีครับ อย่าหยุดต่อยอดคำว่า นวัตกรรม อยากเห็นนวัตกรรมเรื่องพลังงานและแบตเตอร์รี่จากโนเกีย
มันแค่การทดลอง ไม่ใช่ฟ้าผ่าจริงๆตามธรรมชาติ ซึ่งมีปัจจัยแปรผันมาก
แล้วอีกอย่าง ใครจะเอาไปชาร์จตอนฟ้าผ่าจริงๆ -_-
ส่วนเรื่องชาร์จเต็ม ภายในไม่กี่วินาที
เรื่องความร้อนน่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แบตเสื่อม เพราะไปเร่งปฏิกิยาทางเคมี
แต่ถ้าเป็นการชาร์จเซลล์แบบขนาน น่าจะเร็วขึ้นได้
สมมุติ แบตโทรศัพท์ทั่วไป แรงดัน 3.6V 1800 mAh
ปกติจะเป็นเซลล์อนุกรม 3 เซลล์ หรือ 1.2V 1800 mAh * 3
แต่ถ้าทำเป็น (1.2V 100 mA ขนาน 18 เซลล์) * 3
แล้วมีขั้วไฟฟ้าออกมา 18ขั้ว + กราวนด์ มันก็จะเร็วขึ้นหลายเท่า
แต่เอาจริงๆ เซลล์แบบที่ว่า ไม่สเถียร มีโอกาสเจ้งได้ง่าย
จริงๆแค่แยกชาร์จเซลล์อนุกรม 3 เซลล์ ก็เร็วขึ้น 3 เท่าแล้ว
แต่วิธีที่จะทำให้แต่ละเซลล์ เต็มภายในไม่กี่วินาทีโดยไม่ทำให้เกิดความร้อนสูง นี่คิดไม่ออกจริงๆ
หวังว่าคงไม่เอาไปชาร์จในไนโตรเจนเหลวนะ 555
ปกติ Li-ion มันมีความต่างศักย์ 3.7v ไม่ใช่เหรอครับ
1.2v มันต้องพวก Ni-Mh ซึ่งผมไม่เห็นในโทรศัพท์มือถือมาจะยี่สิบปีแล้ว
สมมุติครับ อธิบายวิธีคำนวณแบบง่ายๆครับ
จริงๆ ใช้ Li-ion 3.7V 100mAh มาขนานอย่างที่อธิบายไปก็ได้
แล้วแยกชาร์จแต่ละเซลล์
หนทางหมื่นลี้ เริ่มต้นที่ก้าวแรกครับ... เป็นธรรมดาที่เมื่อเริ่มเดินออกจากหมู่บ้าน มักจะมีเจ้าของโรงเตียมเตือนว่าเป็นไปได้ยากเสมอ
+1 สำหรับเจ้าของโรงเตียม
แต่ถ้าเจ้าของโรงเตี๊ยมใจดี ก็จะอวยพรแทน พร้อมแถมหม่านโถวให้ซักก้อนสองก้อน
ผมว่าประเด็นมันไม่ใช่ใช้เอาฟ้าผ่ามาชาร์จแบ็ตได้นะครับ ประเด็นคือแปลงฟ้าผ่าเป็นไฟฟ้าปกติที่เราเอาไปใช้ต่อได้ นั่นเป็นการเปิดตัวพลังงานทางเลือกใหม่เลยนะครับ แล้ววิธีใช้ก็ไม่ใช่เอาเครื่องใช้ไฟฟ้าไปยืนกลางฝนแน่ ใช้สายล่อฟ้าสิครับ อนาคตอาจพัฒนาเป็นว่าวหรือเครื่องบินเล็กอะไรก็ว่าไป (เพื่อเพิ่มโอกาสถูกผ่า)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ใครจะชาร์จตอนฟ้าผ่าจริง
ใช่ครับ แต่มันก็เป็นจุดเริ่มต้นเหมือนที่บอกว่าใครจะไปชาร์จกลางแดด แล้วเดี๋ยวนี้ก็มี solarcell พกพาไว้ชาร์จมือถือ
คนเมืองอย่างเราอาจไม่ได้คิดอะไร แต่คนตจว ไฟฟ้าเข้าไม่ได้ แค่เอาsolarcell วางไว้บนสังกะสีหลังคาแล้วชาร์จก็เอาไว้ติดต่อสื่อสายกับคนในตัวเมืองได้แล้ว
แล้วยิ่งต่อไปถ้าธรรมชาติบ้าคลั่งกว่านี้ไม่แค่น้ำท่วม แผ่นดินไหว แต่มันมีฟ้าผ่าบ่อยๆ เราก็คงใช้วิธีนี้เก็บพลังงาน
แต่การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าการแปลงไฟฟ้าลงมาระดับหน่วยน้อยๆและเรียบจนชาร์จยังทำได้
แล้วมันจะยากอะไรที่จะเก็บลงcell battery รถได้
เดี๋ยวอีกหน่อยต้องมี innovation ที่ผันแปรตามธรรมชาติที่เป็นอยู่เพือการใช้งานต่อไปในอนาคตบ้างแหละครับ
มันเป็นงานวิจัยครับ...ถ้ามองแบบนักวิจัยมันจะอีกอารมณ์ นะผมว่า
ไม่มีตรงงไหนในที่มา บอกว่าชาร์จได้เต็มภายในไม่กี่วินาทีเลยนะครับ สรุมว่ามันแค่ชาร์จได้เท่านั้น แถมไฟฟ้แรงสูงที่เอามาชาร์จก็เป็นแบบต่อเนื่อง ไม่เหมือฟ้าผ่าจริงสักหน่อย
น่าจะเอาไปประยุกต์ใช้กับแหล่งพลังงานในปัจจุบันได้นะครับนี่
ดีกว่าให้ฟ้าผ่าลงพื้นไปเปล่าๆ
เอาพลังงานมาเก็บไว้ใช้ดีกว่า
ฟ้าผ่ามันคาดเดาได้ลำบากนะครับว่าจะไปตกตรงไหนจริงๆ นอกจากตั้งเสาเผื่อไว้เยอะๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะคุ้มทุนขนาดไหนอีก เพราะนานๆจะผ่ามาที
เห็นหลายคนตีความผิด เค้าไม่ได้ลอกว่าชาร์จ "เต็ม" ภายในไม่กี่วิ เค้าบอกแค่ว่า "สามารถชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที" ไม่มีคำว่าเต็มนะ
ความเห็นส่วนตัวผมว่ามีประโยชน์กับการดึงเอาพลังงานธรรมชาติมาใช้มากกว่า
ปล.การตลาดน่า คิดถึงเวลาใช้ในชีวิตจริงมากกว่า
ก็น่าจะจริงครับ
แสดงว่าวงจรมีการดีเลย์ในการจัดการพลังงาน
ก็น่าจะแบบนั้น แต่ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องไฟฟ้าเท่าไหร่ เท่าที่รู้ เค้าคงไม่ใช้ adepter ธรรมดาหรอก แรงดังไฟฟ้าสูงขนาดนั้น
จริง ๆ คำที่ใช้มันก็กำกวมอยู่
"พวกเราประหลาดใจที่ได้เห็นวงจรของทางโนเกียสามารถแปลงกระแสที่มีสัญญาณรบกวนสูงให้เสถียรจนสามารถชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที"
ในประโยคนี้ คำว่า "ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที" มันขยายคำว่า "แปลง"
แต่ประโยคมันยาวมากและมีกิริยาอื่นมาแทรก คนเลยเข้าใจว่ามันไปขยายคำว่า "ชาร์จ"
ดูภาษาอังกฤษจะเข้าใจง่ายกว่าครับ
“We were amazed to see that the Nokia circuitry somehow stabilized the noisy signal, allowing the battery to be charged in only seconds.”
in only seconds ขยายคำว่า "allowing the battery to be charged" ชัดเจน
ถ้ากดดูคลิปก็จะเห็นแล้วนะครับว่ามันแค่ขึ้นว่าชาร์จอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ชาร์จจนเต็ม
ผมลองปรับให้เข้าใจตรงกันนะครับ
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
ถ้าแปลงเข้าระบบไฟบ้านได้นี่น่าจะคุ้มนะครับ อีกหน่อยอาจจะมีการยิงจรวดบรรจุอะไรสักอย่างไปกระจายในเมฆเพื่อเร่งประจุไฟฟ้าให้มากขึ้นก็ได้
จริงๆแล้วคือ
"จากสายฟ้า เข้าหม้อแปลงอีกขั้นนึง แต่เปนเรื่องแปลกที่ จากไฟที่ไม่สเถียรที่กำเนิดจากสายฟ้า โนเกีย 925 สามารถดึงไฟมาเริ่มทำการชาร์จได้ในเวลาไม่กี่วินาที"
เป็นอะไรที่ยากมากๆครับ สำหรับการดึงไฟฟ้าแรงดันสูงมากๆที่ให้กระแสได้เพียงระยะสั้นๆเท่านั้น มาเป็นไฟฟ้าที่เอามาใช้ได้จริงๆ
การที่จะชาร์ตแบตนั้น ลำพังแค่รักษาแรงดันให้สูงกว่าแรงดันแบตฯเล็กน้อยอย่างเดียวไม่พอ ต้องอัดกระแสเข้าไปในแบตอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องด้วย ถึงจะสามารถชาร์ตมันได้
แต่ฟ้าผ่า มันเป็นไฟฟ้าแบบ pulse ซึ่งแรงดันสูงแต่สูงแค่แปบเดียวเท่านั้น จะเอา capacitor เก็บแรงดันไว้ก่อนก็ไม่ได้(มันจะระเบิดทันทีที่เจอแรงดันสูงมากๆ)... เท่าที่ผมนึกออกก็เหลือแต่การเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กอย่างเดียว
ตามนี้เลยครับ อ.เคยเล่าให้ฟังว่ามันเป็นอะไรที่ยากมากในการเก็บประจุไฟฟ้าจากฟ้าผ่าโดยที่ cap ไม่ระเบิดซะก่อน ซึ่งเรายอมรับว่าพลังงานของฟ้าผ่ามันเยอะจริง แต่เทคโนโลยีปัจจุบันคงยังไม่สามารถนำมาใช้ในเชิงพานิชย์ได้
ได้รูน regen สินะ
โปเกม่อนเทรนเนอร์ยิ้มเลยครับ
ผมว่า เขาคงไม่ได้คิดที่จะชาร์ตจากฟ้าผ่าจริงๆ หรอกครับ
แต่มันน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สำหรับ นวัตกรรม ใหม่ๆ ในอนาคต
เหลือบไปมองวันที่ นึกว่าวันที่ 1เมษา อ้าววไม่ใช่
ในวิดิโอโฆษณา 1020 ไปในตัวด้วยนะครับ แหม่
มันก็คือโฆณาไม่ใช่เหรอครับ จริงๆเอามือถืออื่นก็ได้ไม่ใช่เหรอ
นึกถึง Flux Capacitor ใน DeLorean
เหมาะกะพวกชอบสาบาญพล่อย ๆ กะพวกชอบโกหกเมีย
ใกล้ครบแล้วซินะ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ที่จะเอามาเปลี่ยนเป็นพลังงาน
นึกว่าจะผ่าตรงๆ ที่แท้ก็เป็น EMP(RF) Harvesting ตามข่าวเก่านี่เอง ถ้าเอามาใช้กันรีโมทหรือจอยสติ๊กก็จะประหยัดค่าแบตไปด้วย
อยากให้เอาพลังงานจากการหมุนรอบตัวเองของโลกมาใช้น่ะครับ ผมว่าพลังงานมันเยอะมากทีเดียว
เตรียมขโมยค้อน Thor
:)
ไม่ธรรมดา อีกหน่อยคงสามารถเอาไปต่อเข้ากับสายล่อฟ้าไว้เพื่อกักเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ได้ (แทนที่จะปล่อยลงดินอย่างเดียว)
ความจริงผมว่าคงมีคนกำลังทำอยู่แล้วแต่คงต้นทุนสูง คือ การจำลองปรากฏการณ์ธรรมชาติ แล้วแปลเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ที่น่าสนใจ ก็คือ ฟ้าผ่า , พายุทอร์นาโด, แผ่นดินไหว ฯลฯ ถ้าเราสามารถจำลองปฏิกริยาเหล่านี้ในพื้นที่ปิด หรือหอสร้างพลังงานได้ โดยให้มันเป็นปฏิกิริยาแบบอินฟิตี้ ลูกโซ่ต่อกันไปเรื่อยๆ น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีด้านพลังงานเลย แต่อ่ะน่ะ คงอีกนาน เพราะปัจจัยด้านต้นทุน และการควบคุมคงเป็นตัวแปรสำคัญ แต่วันใดน้ำมันหมดโลก นิวเคลียร์ไม่ตอบโจทย์ พลังงานสะอาดจากธรรมชาติก็น่าจะมาแรง
มันเป็นการเก็บเกี่ยวพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากฟ้าผ่าไม่ได้เก็บจากกระแสอิเล็กตรอนโดยตรง จะเปลี่ยนจากฟ้าผ่าเป็นเสาโทรศัพน์หรือเสาไฟฟ้าก็ได้ แต่ที่อันนี้พิเศษหน่อยก็คือปกติฟ้าผ่าจะมีหลายความถี่ผสมกันอยู่แต่ก็ยังเก็บพลังงานมาใช้ได้ สรุปมันก็ wireless-charging ธรรมดานี่แหละ...
แปลกใจว่าทำไมอ่านกันไม่แตก เค้าบอกว่า
1...ทดลองดึงพลังงานไฟฟ้าจากฟ้าผ่า (จำลอง)...ใช้หม้อแปลงควบคุมไฟฟ้ากระแสสลับที่มีค่าความต่างศักย์สูงถึง 200,000 โวลต์ให้ส่งกระแสผ่านช่องว่าง 300 มิลลิเมตร ซึ่งให้ความร้อนและแสงที่เหมือนกับปรากฏการณ์ฟ้าผ่า
(เค้าก็วงเล็บแล้วว่า (จำลอง) เหมือนปรากฎการณ์ฟ้าผ่าก็แค่เหมือน ก็เอาเรื่องฟ้าผ่ามาวิจารณ์กันวุ่นวาย)
2...โนเกียสามารถแปลงกระแสที่มีสัญญาณรบกวนสูงให้เสถียรในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีจนสามารถใช้ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ได้"
(สามารถทำให้เสถียรจนสามารถชาร์จแบตได้ไม่มีตรงไหนบอกว่าชาร์จแบตเต็ม ก็เอาเรื่องชาร์จแบตเต็มเครื่องร้อนวิจารณ์กันวุ่นวาย)
+
นักคิดเค้าคิดเพื่อต่อยอดไปข้างหน้าไม่ได้จบแค่นี้ คนวิจารณ์ก็วิจารณ์กันซะผิดประเด็นกลับมาช่วยคิดให้มันถูกประเด็นกันดีกว่า
+1 คิดเหมือนกัน แต่ผมอธิบายแบบคุณไม่เป็น
แล้วสรุปคือการเก็บพลังงานที่ได้จากฟ้าผ่า (จะของจริงหรือจำลองนี่ก็เหอะ) เราได้พลังงานที่บรรจุไว้ในแบตได้เท่าไหร่ล่ะครับนี่ มันคงไม่ได้เก็บได้ 100% อยู่แล้ว
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.