คุณ @hunt แห่งเว็บ diaryis/7republic แนะนำผมมาว่ามีคนไทยที่อาศัยอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์คนหนึ่งชื่อ
คุณเพชร วรรณิสสร (@petchw) ประวัติการทำงานน่าสนใจมากเพราะเคยฝึกงานกับบริษัทดังๆ มากมายทั้ง Google, Facebook และล่าสุดกำลังเริ่มงานกับ Twitter ผมก็เลยติดต่อขอสัมภาษณ์เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างให้กับสมาชิก Blognone ท่านอื่นๆ ครับ
เคยฝึกงานตำแหน่ง Software Engineering Intern ที่ Facebook (2010 & 2012) และ Google (2011) ปัจจุบันเป็น Software Engineer ที่ Twitter (เริ่ม 7 ตุลา 2013)
พอดีตอนเรียนปริญญาตรีที่อเมริกา คิดว่าตอนเรียนจบแล้วอยากจะหางานทำฟูลไทม์กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ อย่าง Google, Apple, Microsoft, Facebook ครับ ก็เลยคิดว่าการฝึกงานหรือการทำ internship จะช่วยสร้าง profile ที่ดีกับเราได้
ผมเริ่มฝึกงานกับบริษัท local เล็กๆ สองครั้ง ตอนช่วงปิดเทอม summer ช่วงปีสองกับปีสาม ทีนี้พอมีประสบการณ์ที่ทำมาทั้งสอง summer และประสบการณ์การสัมภาษณ์กับหลายๆ บริษัท ก็ทำให้เราได้เข้าไปฝึกงานกับ Facebook ถือเป็นบริษัทใหญ่แห่งแรก ช่วง summer ปี 2010
สำหรับการสัมภาษณ์ intern ของบริษัทใหญ่ๆ จะเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์นะครับ อาจมีบ้างเป็นบางบริษัทที่ต้องบินไปสัมภาษณ์ intern
คำถามที่เขาจะถามเราเป็นคำถามเกี่ยวกับ computer science และความรู้ programming ทั่วไป ตามที่เราใส่ไว้ในประวัติของเราครับ แล้วก็ยังมีปัญหาต่างๆ มาให้เราเขียนโค้ดโดยแก้ผ่าน online shared document เลยครับ เขาก็จะดูว่าเราเขียนโค้ดได้หรือเปล่า เราใช้ความคิด (thought process) ยังไง แล้วก็สามารถอธิบาย (communicate) ความคิดของเราได้รึเปล่า
พอมีประสบการณ์กับบริษํทชั้นนำอย่าง Facebook ปีต่อมาคือปี 2011 ก็ลองสมัคร Google ดูครับ สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์อยู่ 3-4 รอบก็ได้การตอบรับจาก Google
หน้าที่หลักคือเป็น Software Engineer ครับ
ตอนเข้าไปนี่เด็ก intern ทุกคนจะมี advisor หรือ host ประจำตัวที่คอย train และ coach เรา แต่เอาเข้าจริงแล้ว เราเข้าไปทำงานทุกอย่างแทบเหมือนเป็นพนักงานฟูลไทม์คนนึงเลย เพราะต้องรับผิดชอบโครงการที่เอาไปใช้งานได้จริง ส่วนใหญ่แล้วจะมีโครงการที่เขาเตรียมไว้ให้เด็กฝึกงานครับ แต่เราก็สามารถกำหนดทิศทางของโครงการได้เองอยู่ดี
รู้สึกดีใจและเปิดหูเปิดตามากครับกับการได้มาสัมผัสการทำงานของบริษัทระดับโลก รู้สึกเหมือนสามเดือนที่เราทำที่นึง เราเรียนรู้อะไรเยอะกว่าในห้องเรียนเยอะมาก ได้เจอปัญหาที่ต้องแก้ในชีวิตจริง และรู้สึกว่าถึงแม้จะเป็นแค่ intern คนนึง งานที่เราทำสร้าง impact ให้กับบริษัทได้เยอะมากๆ ครับ มันรู้สึกดีตรงที่งานที่เราทำมีผลต่อชีวิตของคนเป็นล้านๆ ทั่วโลก
แต่ละบริษัทมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปนะครับ
อย่าง Facebook นี่คำขวัญของเขา คือ "Move fast and break things" คือเน้นให้สร้างผลงานออกมาใหม่ๆ ด้วยความรวดเร็วแล้วไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์ก็ได้ ให้ความรู้สึกเหมือนทำงานอยู่ใน start up
Facebook จริงๆ แล้วเป็นผู้ริเริ่มงาน Hackathon คือเขาจะเน้นให้วิศวกรคิดค้นและสร้างผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมาโดยที่ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ แต่สามารถแสดงไอเดียของเราได้ การทำ Hackathon ทำให้วิศวกรรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ Facebook ออกมาใช้จริงๆ หลายอย่างมากครับ
ส่วน Google ด้วยความที่เป็นบริษัทใหญ่ ทีมก็จะใหญ่ตามไปด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ทำออกมาก็ต้องเนี๊ยบ โค้ดทุกอย่างต้องมี unit testting ประกอบ ทำให้บางทีกระบวนการพัฒนาอาจช้ากว่า Facebook นิดหน่อยครับ
สิ่งที่ทั้งสองบริษัทเหมือนๆ กันคือ
ถ้าเป็นไปได้ควรจะเข้าร่วมแข่งพวก programming competition ต่างๆ อย่างเช่น IOI (international olympiad in informatics) หรือ topcoder ครับ ผมเห็นเพื่อนในโครงการฝึกงานหลายคนได้มาฝึกงานจากการแข่งขันพวกนี้
บางบริษัทจะมี online programming challenges ให้ทำ เป็นปัญหาทางโปรแกรมมิ่งให้เราแก้ ถ้าแก้ได้อาจได้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ครับ หรือถ้ามีประสบการณ์การทำงานเยอะก็ลองสมัครโดยตรงทางเว็บไซต์ของเขาก็ได้ครับ
การมีผลงานแบบโอเพนซอร์สบน GitHub หรือเว็บโครงการออนไลน์อื่นๆ ก็่ช่วยได้เยอะครับ เพราะเขาจะเข้ามาดูโค้ดที่เราเขียน
การสัมภาษณ์จะเน้นความรู้ไปทาง computer science นะครับ พวก algorithm และ data structures นี่สำคัญ ควรเตรียมให้แม่น
ส่วนเรื่องคำถาม เราสามารถฝึกหาคำถามสัมภาษณ์งานได้ก่อนที่เว็บอย่าง glassdoor.com หรือว่า carreer cup ครับ ลองฝึกแก้ดูที่บ้านก่อนสัมภาษณ์จะช่วยได้เยอะครับ
นอกจากการเขียนโปรแกรมแล้ว การสื่อสารก็สำคัญครับ ควรเตรียมพูดภาษาอังกฤษพื้นฐานให้พออธิบายได้ด้วยครับ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างนึงคือต้องไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ครับ เพราะผมเองก็โดนปฎิเสธมาจาก Google ถึง 3-4 รอบก่อนจะได้มาฝึกที่นี่ เพราะฉะนั้น ต้องใจเย็นๆ และสมัครไปหลายๆ ที่เผื่อไว้ด้วยครับ
Comments
+1 like follow
เยี่ยมอนาคตไกล...บริษัทควรเอาตัวอย่างเรื่องการจัดการนักศึกษาฝึกอย่าเอาแต่ถ่ายเอกสาร...
ช่าย~ ตอนผมฝึกงาน ไปเป็นเด้กพิมพ์excelตลอดทั้งเดือน วิศวกรนะ!!! (ทำหน้า=A=)
สิทธิ๋ -> สิทธิ์
เจ๋งอ่ะ เยี่ยมเลย
..: เรื่อยไป
เก่งมากเลยครับ ครั้งนึงผมมีความฝันจะไปทำงานกับ Apple นะ ฮ่าๆ สุดท้ายก็มาจบที่หมอเมืองไทย
+Like ครับ
ไม่เห็นแปลกเลยนี่ครับสำหรับคนที่เรียนเมืองนอก แต่ถ้าจะให้เป็นเรื่องแปลกจริงๆก็ต้องเป็นคนที่เรียนในไทยแล้วไปได้ฝึกงาน/ทำงานในบริษัทพวกนี้ สำหรับเรื่องนี้ผมเฉยๆครับ
ที่เอามาลงก็ไม่ได้บอกว่าแปลกนะ?
ได้ฝึกงานทั้ง google facbook twitter แบบนี้ยังธรรมดาเหรอครับ ถ้าเทพๆ นี่ต้องขนาดไหนครับ
ไม่มีลายเซ็น
ผมก็ตีความตามประสบการณ์ ส่วนใครจะคิดว่านายคนนี้เทพหรืออะไรผมไม่สนนะเพราะคนที่ผมรู้จักที่เรียนเมืองนอกเขาก็ได้มีโอกาสฝึกงานกับบริษัทใหญ่ๆกัน บางคนก็ได้งานเป็นอาจารย์ก็ยังมี ก็เลยไม่ได้รู้สึกแปลกอะไร แต่ชื่นชมกับความพยายามของเขานะ
คือผมไม่ได้มากวนหรือชวนดราม่านะครับ คืออยากรู้จริงๆ ว่าระดับที่คุณว่าแปลกหรือเทพนี่ ต้องประมาณไหนครับ
ไม่มีลายเซ็น
สำหรับผมมันไม่มีครับคนเก่งหรือคนเทพเพราะคนที่มาถึงจุดนี้ส่วนใหญ่มันก็ขึ้นกับความพยายามและโอกาส สำหรับผมทุกคนเก่งครับแต่จะพยายามกับควานหาโอกาสมันก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าถามว่าจะให้แปลกก็อย่างที่บอกไปแล้ว "จบไทย" จบจากที่ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักแล้วได้ไปทำตรงนั้นมันจะยิ่งน่าสนใจมากว่า"เขาไปได้อย่างไร"
เห็นด้วยครับ ถ้าจบจากสภาพแวดล้อมเมืองไทยแล้วได้ไปบริษัทระดับโลกขนาดนั้น ผมว่าน่าสนใจกว่าแน่นอน แต่คนนี้เขาก็เก่งนะครับผมว่า ได้ทำงานบริษัทระดับโลก ต้องอยู่ระดับเก่งอยู่แล้ว แต่เทพนี้ ผมยกให้ steve jobs ครับ ไม่ได้ดูว่าเขาทำอะไรได้ แต่ผลงานที่ออกมาคือคำตอบ จากบริษัทใกล้ล้มละลาย มาเป็นที่หนึ่งของโลก
เฟอร์กี้ก็เทพ เฮียมู ก็เทพสำหรับผมครับ
ผมมองว่ามันคือการก้าวตามฝันมากกว่า ตั้งเป้าหมายแล้วไปได้ถึง ที่เอามาให้อ่านคงเป็นแนวทางสำหรับผู้มีฝันเช่นเดียวกัน
บางทีความยากของสิ่งเหล่านี้คือแนวทาง ถ้ามีไกด์นำทางจะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลา
หลายคนตั้งเป้าอยากเป็นหางมังกร บางคนก็อยากเป็นหัวหมา บางคนอยากเป็นมังกรตัวใหม่
ผมติดใจอยู่อย่างนึง ... [ผมรู้สึกว่าปกติเพราะ "เพื่อน", "คนรู้จัก" ของผมก็ทำได้]
เอาเป็นว่าเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ให้กับน้องๆ ที่มีฝัน และอยากจะเดินรอยตาม
เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนครับ
อย่างน้อย บรรทัดนี้ก็มีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ :)
"ถ้าคนไทยอยากไปฝึกงานกับบริษัทเหล่านี้บ้าง มีคำแนะนำอย่างไร"
ใช่ครับ ผมอยากให้เน้นในเรื่องนี้มากกว่าไปดูที่ตัวบุคคล
ผมว่าคนอ่านที่นี่ส่วนใหญ่ก็เน้นเรื่องนี้มากกว่าตัวบุคคลอยู่แล้วครับ การแนะนำประวัติก็เป็นเรื่องพื้นฐานของการสัมภาษณ์บุคคลพื้นปูพื้น
ความน่าสนใจไม่ไช่เพราะเขาเป็น "คนไทย" หรือ "จบจากไหน" ครับ แต่มันอยู่ที่ "มีประสบการณ์" มาเล่าให้ฟังว่าการทำงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมันเป็นยังไง ถ้าที่คนสนใจ จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง นี่เป็นสาระหลักที่เป็นที่เข้าใจในการสัมภาษณ์อยู่แล้ว
มีคนไทยอีกมากที่เรียนนอก แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ได้ หรืออยาก ฝึกงานที่บริษัทฯ พวกนี้ และก็ไม่ใช่ทุกคนที่ได้ฝึกงานจะยินดีมาเล่าประสบการณ์ให้ผู้อื่นอ่านอยู่แบบนี้ครับ
ยอมรับครับว่าบริษัทระดับโลก เขารับเด็กฝึกงานไปทำอะไร ต่างกับเมืองไทยเลย ผมจะได้เอาไปประยุกต์บ้าง
ประมาณว่า "ถ้าผมได้เรียนเมืองนอกแบบเค้า ผมก็ทำได้ ไม่เห็นแปลกตรงไหน ใครๆก็ทำได้(วะ)" รึเปล่าครับ?
ทำนองนั้นแหละครับ
เดาว่าตอนนี้น่าจะเรียนมหาวิทยาลัยฯ
ได้ฝึกงานบริษัทชั้นนำในไทยบริษัทไหนบ้างมั้ยครับ?
ผมสายวิทย์สุขภาพครับ ไม่มีอะไรแบบนั้นหรอก เคยฝึกงานที่ รพ มหาราชนครราชสีมา เทียบเท่าบริษัทไหนได้บ้างครับ
ไม่รู้แฮะ ของไทย ถ้ารพ.ระดับโลกคงเป็นบำรุงราษฎร์มั้ง
ถ้าคุณได้ไปฝึกงานที่ Mayo Clinic หรือโรงพยาบาล John Hopkins แล้วผมไปรู้จักก็คงติดต่อสัมภาษณ์ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ขอแก้ตัวหน่อยนะครับเพราะรู้สึกว่าตอบขัดใจตัวเองมาก ขอตอบแบบนี้ละกันว่า ผมไม่เคยคิดว่าตัวผมเองก็ทำได้ แต่ผมมักคิดเสมอว่ามันย่อมมีคนอื่นที่ทำได้ มันก็เลยทำให้ผมรู้สึกเฉยๆ
ขอตอบเผื่อคนอื่นจะอ่านมาเจออีกว่า จะหาว่าผมอิจฉาก็ได้นะครับเพราะผมก็มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง แต่ผมไม่ได้คิดจะมาล่อเป้าอะไรเลยนะครับ
ผมไม่คิดว่าคุณอิจฉานะ แต่ผมงงว่ามันเป็นเรื่องธรรมดายังไง
คนไทย 60 ล้านคน มีคนที่ทำได้ไม่ถึง 100 คน ...
ที่ผมอยากรู้คือ อย่างไรถึงเรียกว่าไม่ธรรมดา ... ผมก็อยากรู้แค่นั้นจริงๆ หรือคิดว่าเป็นเจ้าของน่าจะดูพิเศษกว่า คือผมไม่รู้ว่าแบบไหนถึงเรียกว่าไม่ธรรมดา
สำหรับผม ถ้าเค้าเป็นส่วนน้อย (ในทางที่ดี) ผมก็เรียกว่าไม่ธรรมดาแล้ว
ยอมรับครับ คนนี้เขาไม่ธรรมดาจริงๆ
ผมก็มองว่าเรื่องธรรมดานะ เพราะเมืองนอกคนจะเรียนสาย com sci หรือ engineering ได้ ต้องเก่งระดับหนึ่ง หลักสูตรมันไม่เกร่อเหมือนบ้านเรา คนที่จบปริญญาพวกนี้มาเลยพอเชื่อถือได้ บริษัทใหญ่ๆ จะเข้ามาช้อนตัวกันตั้งแต่ก่อนจบ เป็นเรื่องปกติ ยิ่งเด็กเอเชียด้วย จะได้เครดิตมาก เพราะเก่งวิชาการกว่าฝรั่งส่วนใหญ่ (แม้ บ. ต่างๆ จะอ้างว่าไม่สนใจเชื้อชาติก็เหอะ)
ดังนั้น เด็กไทยเราถ้ามีทุนไปเรียนเมืองนอกได้ จะเข้าทำงานใน บ. พวกนี้ได้ ผมจึงมองว่าไม่แปลก ไม่ต่างอะไรกับเด็กฝรั่งฉลาดๆ คนหนึ่ง ถ้าจะให้ไม่ธรรมดา ต้องเป็นแบบ เด็กต่างจังหวัด เรียนโรงเรียนโนเนม แล้วเหวี่ยงตัวเองออกจากวงโคจรประเทศไทย จนได้ไปทำงานกับบริษัทพวกนี้ได้ นั่นล่ะถึงจะแปลก
แต่ก็ไม่ได้หมายความบทสัมภาษณ์และประสบการณ์ของน้องคนนี้จะไม่น่าสนใจนะ เป็นบทความที่มีประโยชน์มากๆ แค่ไม่ใช่เรื่องแปลกเท่านั้นเอง
ไปเอามาจากไหนครับ
ที่อยากให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมคือ คนที่เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน หลักสูตรเดียวกัน แต่ทำไมมีคนแค่ส่วนน้อยที่เข้าบริษัทดังๆ ได้?
ผมมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลกเหมือนกันนะ สำหรับคนที่เก่ง แต่เนื่องด้วยตรรกะที่ให้มามันประหลาดๆ
อีกคำถามคือ ถ้าจบที่เดียวกับบิล เกตส์ ต้องมีความสามารถเป็นเจ้าของบริษัทใหญ่ระดับเดียวกับไมโครซอฟท์ทั้งหมดรึเปล่า ถ้าจบที่เดียวกับคุณเพชร (คนในบทสัมภาษณ์) จะสามารถเข้ากูเกิล เข้าเฟสบุค เข้าทวิตเตอร์ได้หมดทุกคนหรือไม่ ถ้าไม่หมดทุกคน ให้นับเป็นอัตราคนที่ร่อนใบสมัครก็ได้
การยอมรับว่าใครสักคนมีความสามารถสูงกว่าค่าเฉลี่ยมันยากนักเหรอครับ
ผมว่านะ อยู่ที่ความสามรถ + จังหวะ เป็นคำตอบสุดท้ายครับ
แต่คนส่วนใหญ่ก็เป็น average แหละ
ผมก็เห็นมาหลายคนละ ไม่มีความสามารถ แต่เข้าบริษัทดีดีได้ ทำงานสบาย
กับคนเก่งมากๆ แต่เข้าบริษัทดีดีไม่ได้ ได้แค่บริษัทกลางๆ
เห็นต่อความยาวกัน ลองคิดแบบนี้ดูมั้ยครับ (ผมพูดลอยๆ)
บทสัมภาษณ์คนเก่งที่ประสบความสำเร็จคนนึง
- ปฏิกิริยาจากคนกลุ่มแรก : ธรรมดา ไม่แปลก เฉยๆ ใครๆก็ทำได้ ชั้นก็ทำได้ สัมภาษณ์ทำไม ทำไมต้องชื่นชม
- ปฏิกิริยาจากคนอีกกลุ่มนึง : เจ๋งหวะ เก่งจัง น่าชื่นชม ฉันจะพยายามบ้าง ยินดีด้วย คุณสมควรได้รับคำชม
ถ้าผมเป็นเจ้าตัวหรือคนที่ตั้งใจมีความพยายามอยู่ คงอยากได้ยินแบบหลังเพราะมันเป็นกำลังใจในการทำงานการเรียนมากกว่าแบบแรก ที่ดูเหมือนจะมาจากคนที่ประสบความสำเร็จไปแล้วเหมือนกันหรือมากกว่า หรือพวกมี Ego สูง
ก็มีส่วนที่สถาบันการศึกษาจะมีส่วนที่เค้าจะรับเลือกเข้าไปฝึกงาน แต่ถ้าไม่มีฝีมือก็เข้าไม่ได้อยู่ดี
จากที่อ่านคอมเม้นเหมือนออกแนวจิกกัดนะครับ
ผมเห็นด้วยกับคุณนะ แต่ สังคมไทยไม่ชอบการพูดตรงเกินไป
ถ้ามองที่ความสามารถ ผมว่าคนทั่วโลกและคนไทยก็เก่งไม่แพ้กัน
มันเลยเป็นเรื่องธรรมดาที่คนมีความรู้ ความสามารถ และโอกาส จะได้พบเจอประสบการณ์ที่ดีกว่า
เพราะบริษัทเหล่านี้ สนใจที่ความสามารถเป็นหลัก
แต่พอเอาเรื่องเชื้อชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เลยดูว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นขึ้นมา
ถ้าเป็นคุณรัฐภูมิ วุฒิจำนงค์ อาจจะดูพิเศษกว่าในสายตาคุณรึปล่าวอ่ะครับ
ดูประวัติการศึกษาไม่แปลกใจเลยที่จะได้งานอะไรแบบนั้นสบายๆ
"เพราะผมเองก็โดนปฎิเสธมาจาก Google ถึง 3-4 รอบก่อนจะได้มาฝึกที่นี่"
ไม่สบายเท่าไหร่มั้งครับ....
ประวัติการศึกษานี่ก็ไม่ได้ได้มาเพราะโชคช่วยมั้งครับ
แล้วถึงจบจากที่เรียนดีๆ แต่ตกสัมภาษณ์ก็มีเยอะนะครับ
ประวัติการศึกษาช่วยได้ตอนที่ screen resume
แต่พอคุยกันตัวต่อตัวจริงๆ ความสามารถไม่ถึงก็ไม่รับนะครับ
อาจจะง่ายกว่านี้ ถ้าได้เป็นหรืออยู่ในทีม Start up เจ๋งๆที่อยู่ในแนวทางของบริษัทใหญ่ๆต้องการในอนาคต (วัดดวงเอา)
ผมว่าประเด็นนี้สำคัญมากเลยนะครับสำหรับสมัยนี้ :)
บล็อกของผม: http://sikachu.com
โอ้โห โคตรมีประโยชน์เลยบทความนี้ เยี่ยมครับ
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
มันสมองไหล
เขาไปเก็บประสบการณ์แล้วกลับมาไทย ไม่ได้หรอครับ
รู้สึกจะไม่กลับแต่สร้างตัวอยู่นูนมากกว่า
แต่เม้นท์ก็จริงนะที่บอกว่า มันสมองไหล คงยึดอาชีพที่ต่างแดนยาวโล๊ด
กลับไทยก็คงมาแค่พักผ่อนเที่ยว แต่ทำงาน-หาเงินคือที่ต่างประเทศหลักๆ หรือคงกลับมาไทยช่วงวัยกลางคนมั้งมาตั้งบริษัทในไทยอะไรแบบนี้(น่าจะอีกนาน)
ประสบการณ์การทำงาน 10 ปีรึจะสู้ฝึกงาน Google/Facebook/Twitter ในเวลาไม่กี่ปี
ไม่เสมอไปครับผม
ต้องบอกว่าถ่ายเอกสาร/จัดหน้า Excel 10 ปี มีหรือจะสู้ฝึกงาน Google/FB/Twitter 1 ปี
เจ๋ง!
เก่งครับ ตรี 1 ใบ โท 2 ใบ นั้นไม่ใช่ได้มาง่ายๆแน่ๆ ของงี้ต้องมีความพยายามด้วยครับ
ผมว่าลูกตื้อน่าจะแสดงให้เค้าเห็นได้ถึงความพยายามและตั้งใจจริงของเราครับ + profile ดีด้วย
ผมก็จะพยายามในส่วนของผมเหมือนกัน
แต่ผมไม่ได้มีโอกาสได้เรียนนอกทำงานนอกนะครับ ต่างคนต่างวาระกัน
สู้ๆครับเพื่อนๆ
คนที่เกิดที่อเมริกา จบอเมริกา แค่จะได้ "ฝึกงาน" ที่หนึ่งในสามบริษัทนี้ ยังเป็นเรื่องยากเลยครับ
คนที่จบเมืองนอกระดับ u top 10 top 20 US นี่ผมว่าธรรมดาครับ คนไทยไปจบที่นั่นมากมาย แม้ที่ทำงานผมเองก็มีทุนให้ไปที่เหล่านั้นเยอะมากๆ (ขอปิดนะครับว่าที่ไหน แต่ในไทยมีไม่กี่ที่หรอก) แต่การได้เข้าไปทำงานที่บริษัทเหล่านั้นได้นั้น ไม่ธรรมดาครับ คุณคิดดู ต้องเป็น top ของ u top อีกทีนะครับ ถึงจะได้ทำงานที่นั้น ปีๆนึงเด็กจบมาเป็นจำนวนเท่าไหร่ เอาเฉพาะ ปอ ตรี ก่อนนะครับ สมมุติว่าสาขาเกี่ยวกับ com ไม่ว่าจะ com science หรือ software engineer ก็ตาม u นึงจบมา 500 คน (รวมทุกสาขาที่เกี่ยวกะคอม) u top 20 ของโลก จบมาปีนึงเป็นหลายพันคน คนเหล่านี้ส่วนมากก็สมัครบริษัทชั้นนำของโลกทั้งนั้น อย่างน้อยก็ประมาณ 20-60% ตลอดทั้งปี นี่ไม่รวมพวก experienced candidate อีกนะครับ แล้วรับน้อยมากๆๆๆๆๆ ไม่ได้เยอะเลย แถมสัมภาษณ์นี่ ผมมีคนรู้จักทำที่ twitter facebook ไม่ได้ง่ายๆเลยนะ เขี้ยวมากเลยล่ะ นับถือครับ เก่งมากๆครับ
แชร์เรื่องการรรับ นศ. ฝึกงานบ้างละกัน
แต่ บ.ผมไม่ใช่ บ.ไอทีนะครับ
นักศึกษาฝึกงานที่รับมา หลายครั้งรับมาจากทาง HR ไม่ได้มีความต้องการแจ้งมาที่แผนกวิศวกรรม
บางครั้งผมให้ไปทำงานง่ายๆ อย่างงานแปลเอกสาร manual เครื่องจักร ภาษาอังกฤษ ก็หายไปเลย
กลับมาอีกที ไปนั่งไล่อ่าน copy paste จาก google translate มาทั้งดุ้น
ผมเลยหนักใจถ้ามอบหมายงานสำคัญไปแล้ว มันจะกระทบงานผมหรือเปล่า
อีกส่วนก็เป็นกับทางผมด้วย
ไม่ได้กำหนดเวลาให้เพราะไม่อยากกดดันก็มี
เพราะงานประจำบีบเวลา ทำให้ไม่ได้ตามก็มี
ผลก็คืองานดอง ไม่ส่ง จะมาส่งตอนใกล้ๆ ฝึกงานจบ
เท่าที่อ่าน ผู้ใหสัมภาษณ์ มีการวางแผนและเริ่มไปฝึกงานตั้งแต่ ปิดฤดูร้อนปีสอง
ผมอยากให้ ม.ในไทย ทำอย่างนี้บ้าง
เพราะนักศึกษาจะได้มีประสบการณ์ในการทำงานจริงมากๆ
จะบอกว่า ผมทำงานบริษัทตลอดตั้งแต่ปี 2 เทอม 2 ครับ แถมยังรับงาน TA ในมหาลัยอีก
แต่จบออกมาทุกที่ๆสมัครรวมถึงที่ปัจจุบันไม่นับรวมเวลาที่ทำงานในสมัยเรียนครับ
เค้าก็พูดตรงๆเลยว่า พี่นับแค่งานที่ทำหลังจากจบ ป.ตรี นะคะ ก่อนหน้านั้นไม่นับ
เท่าที่อ่านๆเจอใน internet ผมว่าวัฒนาธรรมองค์กรณ์เราต่างจากของเขาเยอะเลยครับ -*-
เป็น HR หรือ เจ้าหน้าที่ในแผนกครับ
ถ้าเป็น HR นี่ผมไม่แปลกใจนะครับ
แต่ถ้าเป็นแผนกนี่ มุมมองอาจต่างกัน
และเห็นด้วยเรื่องวัฒนธรรมองค์กรครับ
อ่อ ก็จริงครับ HR ครับ ต่อรองเรื่องเงินเดือน
ดีใจด้วยครับ อิจฉาครับ คนเราเกิดมาคนละ Story กันแต่ในเมื่อคิดจะทำแล้วและมีโอกาสก็ต้องทำให้ดีที่สุดครับ หลายๆคนบอกไม่แปลก แต่ผมว่าแปลกนะ อย่างน้อยๆก็แปลกที่หลายๆคนที่บอกว่าไม่แปลกยังทำไม่ได้ โลกเรามันกว้างคนที่เห็นอะไรแคบๆก็ยังเห็นอะไรแคบๆวันยังค่ำ เพราะเราเอาตัวเองไปใส่กล่อง
Texion Business Solutions
+1
ชอบเนื้อหานี้ และขอเป็นกำลังใจให้น้องด้วยครับ แต่แอบฮาคอมเม้นท์ นึกว่าเข้า Youtube อยู่ ;D
my blog
+2,147,483,647 ชอบบทสัมภาษณ์นี้ครับ ผมอ่านแล้วได้แนวคิดบางอย่างไปใช้ประโยชน์ในการทำงานปัจจุบันครับ
เป็นบุคคลที่น่าเอาเป็นตัวอย่าง
ในมุมมองของผู้แนะนำผู้ถูกสัมภาษณ์ ผมหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อยากฝึกงานที่รู้สึกว่า ประเทศไทยไม่เพียงพอกับการดับความอยากรู้ของเขา และในองค์กกรพวกนี้เขาให้โอกาส Intern อย่างไร... สิ่งที่ผมอยากอ่านต่อๆไปคือ "สัมภาษณ์นักศึกษาไทย ที่ไปฝึกงานบริษัทระดับโลก" บอกเล่าว่าจากไทยไปตรงนั้นได้อย่างไร ต้องทำอย่างไรถึงจะไปได้ ให้คนอื่นๆได้ทำตาม ถ้ามีคนไทยที่เรียนที่ไทย แล้วทำได้อยู่แล้วรบกวนบอกเขาให้เล่าประสบการณ์เถอะครับ มันจะเป็นประโยชน์กับอนาคตของเด็กไทยมากๆ
นี่ผมเพชรเองนะครับ จริงๆที่มาให้สัมภาษณ์นี่ผมไม่ได้ต้องการอวดอ้างว่าผมเก่งหรือผมเทพอะไรหรอกครับเพราะผมรู้จักเพื่อนๆหรือรุ่นพี่คนไทยที่เก่งกว่าผมหลายคนมากครับ ผมแค่อยากแชร์ประสบการณ์ว่าผมมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เผื่อว่าคนอื่นจะได้นำไปใช้ประโยชน์เวลาเตรียมสัมภาษณ์กับบริษัทเหล่านี้ครับเพราะว่าผมเองก็ลองผิดลองถูกมาเยอะ อีกอย่างคืออยากให้บริษัทในเมืองไทยนำข้อคิดดีๆจากบริษัทระดับโลกไปประยุกต์ใช้ครับ แล้วก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆหลายคนที่มีความตั้งใจครับ
ขอบคุณครับ :)
ขอบคุณครับ
เป็นประโยชน์มากครับ
ขอแชร์ประสบการณ์ของผมมั่งครับ
ผมไม่ได้ฝึกงานหรือทำงานกับ Google หรือ Facebook นะครับ
สำหรับ Google ผมเคยผ่านสัมภาษณ์ Intern ครับ (ผ่านหมดทุกรอบจนถึงรอบที่ Match Project ครับ)
แต่รอบที่ผมสมัครไปคือ Fall Intern (ถ้าจำไม่ผิดนะ) แล้วก็ผมสมัครไปตอนเกือบจะหมดเขตสมัครแล้วด้วย
ช่วงนั้น Project เลยค่อนข้างจะเหลือน้อยแล้ว เลยไม่มี Project ให้ผมเข้าไปทำ ก็เลยไม่ได้ไปครับ
เค้าก็แนะนำให้สมัครใหม่ในช่วง Summer จะมี Project เยอะกว่า แต่ปีต่อมาผมก็ยุ่งๆเลยไม่ได้สมัครไปครับ
สำหรับ Facebook นี้ ผมเคยไปสัมภาษณ์ Onsite ครับ (แต่ก็ไม่ได้ :P )
อันนี้หลักๆคงเป็นประสบการณ์ในการทำ Project ของผมด้วยครับ
ขั้นตอนต่างๆ คงไม่ต่างกันเท่าไรครับ หลักๆก็คือ
screen resume -> phone interview -> onsite interview (คิดว่าเฉพาะ full time นะครับ intern คงไม่ต้อง)
สำหรับผม ผมเรียนทั้งตรีกับโทในไทยครับ
ผมคิดว่าขั้นตอน screen resume นี้น่าจะยากกว่า phone interview ครับ
ที่ผมผ่านขั้นตอนนี้ได้น่าจะเพราะ rank ใน TopCoder กับ CodeJam มั่งครับ (อยู่แถวๆ 1k ครับ)
ในส่วนของ phone interview ความยากของคำถามก็ประมาณคำถามใน CodeJam รอบแรกครับ (ไม่ใช่รอบ Qualified นะครับ)
การขยันฝึกทำโจทย์ algorithm และเข้าแข่งขับ coding ต่างๆนี้ช่วยได้เยอะเลยครับ
ปล.คิดว่าคงพอเป็นแนวทางให้น้องๆได้มั่งนะครับ :)
ขอบคุณครับ
ก็มีนะครับ คนไทยที่ทำงานที่ fb หรือ Twitter มีทั้งจบนอก จบในไทย ให้สัมภาษณ์ผ่าน The Nation ประมาณเมื่อปีที่แล้วครับ
http://www.nationmultimedia.com/technology/Five-Thais-are-making-their-presence-felt-at-Faceb-30185849.html
ผมว่าคนเก่งก็มีหลายแบบครับ เก่งแบบเงียบๆ เก่งแล้วชอบแสดงออก เก่งแล้วช่วยสังคม
ก็แล้วแต่โอกาสที่แต่ละคนได้รับ และหลังจากได้รับแล้วทำได้ดีขนาดไหนต่างหาก ผมว่านะ
บางคนได้โอกาสแล้วอาจจะทำไม่ได้ก็เป็นไปได้ แต่ถ้าทำได้ก็น่าชื่นชมนะครับ
สรุปคือการเข้าไปฝึกงาน? อ่านผ่านๆตอนแรกคิดว่าแปลกๆ นึกว่าเปลี่ยนงานปีละที่ - -)a
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
เยี่ยมมากครับ ชอบตอนสุดท้าย "สำคัญอีกอย่างนึงคือต้องไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ครับ เพราะผมเองก็โดนปฎิเสธมาจาก Google ถึง 3-4 ครั้ง"
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ ^^
ไม่ทราบว่าปกติการฝึกงานกับบริษัทใหญ่ ๆ อย่างนี้ จะได้เงินเดือนเหมือนทำงานไหมครับ
หากจะไปต้องมีทุนเยอะหรือไม่ หรือหากสภาวะของเงินทุนน้อยมากแบบไปตายเอาดาบหน้าแบบนี้จะไหวไหมครับ ?