หลังจากโดนศาลสั่งคุ้มครองผู้ใช้ไปเมื่อปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) ตอนนี้สภานิติบัญญัติของเยอรมันก็มีมติผ่านร่างกฏหมายการเก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตออกมาแล้ว โดยระบุว่าผู้ให้บริการทั้งหมดต้องเก็บข้อมูลของผู้ใช้เอาไว้อย่างน้อยหกเดือน โดยเริ่มบังคับใช้ในปี 2008
ก่อนหน้านี้มีผู้ให้บริการอีเมลรายใหญ่ที่สุดของเยอรมัน คือ gmx.de ต้องพบความลำบากในการทำธุรกิจ เมื่อบริษัทจำเป็นต้องบังคับให้ผู้ใช้ใส่ชื่อและที่อยู่จริง พร้อมกับมีระบบตรวจสอบก่อนเข้าใช้งาน
บริการที่คาดว่าจะมีปัญหากับกฏหมายนี้ต่อไปคือบริการ Gmail ของกูเกิล ที่ทางตัวแทนของกูเกิลออกมาระบุว่ากฏหมายนี้บังคับให้กูเกิลต้องทำสิ่งที่ขัดแย้งกับนโยบายของกูเกิลเอง ทำให้บริษัทอาจจะต้องถอนตัวออกไปจากเยอรมัน
ในปลายปี 2005 สหภาพยุโรปก็มีการผ่านมติให้มีการเก็บข้อมูลการใช้งานการสื่อสารทุกรูปแบบตั้งแต่ โทรศัพท์, SMS, และการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยเหมือนกัน
ที่มา - Newslaunches.com, EDRI.org
Comments
อ่าว...เพิ่งรู้นะเนี่ยะ
ของไทย 90 วัน แต่ก็เห็นด้วยกับเยอรมันนะที่จะต้องให้ข้อมูลจริงก่อนการใช้งาน ใครทำไม่ดีจะได้ตรวจสอบได้ อีกมุมมองหนึ่งน่าเป็นห่วงเหมือนกัน ถ้าข้อมูลนั้นไปอยู่ในมือของผู้มีอำนาจ ใครเป็นปรปักษ์กับใครเสร็จเลย ยิ่งกว่าดักฟังโทรศัพท์อีกมั๊งเนี่ย
เมื่อได้เข้าไปอ่านตาม url ที่ให้มา จะระบุด้วยว่า technology TOR ก็ถือว่าผิดกฏหมาย .... โอ้ว ช่างเป็นประเทศที่เข้มงวดเสียนี่กระไร
TOR ผมยังต่อเข้าไปในมหาลัย Aachen อยู่เลย -- My blog: poomk.blogspot.com