เมืองมิวนิกเป็นตัวอย่างของการย้ายเครื่องจำนวนมากมาเป็นลินุกซ์ในครั้งเดียว โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่เป็นไอเดียในปี 2001 มาจนถึงคงทุกวันนี้ มีคอมพิวเตอร์ที่ย้ายมาแล้วถึง 15,000 เครื่อง นิตยสาร LinuxVoice รายงานถึงกระบวนการย้ายซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่เช่นนี้ว่าทำได้อย่างไร
ในปี 2001 ลินุกซ์ยังไม่พร้อมสำหรับการใช้งานเดสก์ทอปนัก ทั้ง Gnome และ KDE ต่างมีข้อจำกัดหลายอย่างเทียบกับวินโดวส์ แต่สมาชิกคณะกรรมการเมืองมิวนิก (Munich city council) คนหนึ่งก็ออกความเห็นว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะหาซอฟต์แวร์มาแทนที่ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ จากคำถามนี้ทางกรรมการเมืองได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาสำรวจความเป็นไปได้โดยศึกษาห้าหนทางของระบบไอที เช่น ไมโครซอฟท์ทั้งระบบ, วินโดวส์ร่วมกับ OpenOffice, ลินุกซ์ร่วมกับ OpenOffice และทางอื่นๆ จนเหลือเพียงสองตัวเลือก คือจะอยู่กับวินโดวส์ต่อไป และอัพเกรดระบบทั้งหมดไป Windows XP หรือจะย้ายไปลินุกซ์และใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งหมด
Peter Hofmann หัวหน้าโครงการ LiMux ลินุกซ์สำหรับชาวมิวนิก
รายงานการศึกษาระบุชัดเจนแต่แรกว่าการใช้งานไมโครซอฟท์ทั้งชุดนั้นค่าใช้จ่ายถูกกว่า โดยรายงานรวมค่าบำรุงรักษา 5 ปี ค่าใช้จ่ายในการย้ายระบบ, ค่าทีมเทคนิคที่ซัพพอร์ต, และค่าฮาร์ดแวร์ แต่ความได้เปรียบสำคัญคือความปลอดภัย เมื่อมีการสอบถามไปยังไมโครซอฟท์ว่ามีซอฟต์แวร์ใดส่งข้อมูลกลับบริษัทบ้างหรือไม่ ไมโครซอฟท์กลับไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน ในแง่ความโปร่งใสแล้วลินุกซ์จึงดีกว่ามาก ขณะเดียวกันนักการเมืองและพรรคการเมืองของเยอรมันเองก็ต้องการสนับสนุนบริษัทท้องถิ่นแทนที่จะส่งเงินไปยังบริษัทสหรัฐฯ อย่างไมโครซอฟท์ เสียงสนับสนุนเพิ่มเติมจึงมาจากเหตุผลที่ว่าการใช้ลินุกซ์จะช่วยอุตสาหกรรมไอทีท้องถิ่นและการซัพพอร์ตจะเป็นการจ่ายเงินให้บริษัทท้องถิ่นเอง
กระบวนการศึกษาเริ่มชัดเจนในปี 2003 และกรรมการเมืองเตรียมจะโหวตว่าจะเปลี่ยนไปใช้ลินุกซ์หรือไม่ ปีนั้นสตีฟ บอลเมอร์ถึงกับบินไปเยอรมันเพื่อพบนายกเทศมนตรีเมืองมิวนิก แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม สมาชิกกรรมการเมืองคนหนึ่งถึงกับแสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจน สุดท้ายเมื่อมีการโหวต กรรมการเมืองก็เลือกลินุกซ์
ทีมงานเริ่มวางระบบทดสอบในปี 2004 (สามปีหลังการศึกษาครั้งแรก) มีบริษัทเสนอโซลูชั่นเข้ามาถึงสิบบริษัทกับอีกหนึ่งกลุ่มบริษัทซึ่งชนะไปในที่สุด กลุ่มบริษัทนั้นคือ Gonicus และ Softcon ทั้งสองบริษัทให้คำปรึกษาขณะที่ทางกรรมการเมืองจ้างพนักงานเทคนิคเองอีก 13 คนมาทำงานในโครงการ LiMux
เริ่มแรกโครงการ LiMux ใช้ Debian เวอร์ชั่นพิเศษที่ปรับแต่งเอง จากความเสถียร แต่ปรากฎว่าเมื่อทดสอบในปี 2006 กลับพบว่า Debian ทำงานกับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ได้ไม่ดีนัก และรอบการออกรุ่นใหม่ของ Debian ก็ไม่ชัดเจนทำให้วางแผนระบบไอทีได้ยาก ทีมงานตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ Kubuntu ด้วยเหตุผลว่ามันมีหน้าตาคล้ายวินโดวส์เดิม และมีรอบการออกใหม่ที่ชัดเจนกว่า
ข่าวร้ายคือผู้ใช้ส่วนมากไม่ยอมเปลี่ยนแม้หน้าจอจะคล้ายของเดิมแล้วก็ตาม ผู้ใช้บางคนบ่นกระทั่งสีของไอคอนที่เปลี่ยนไป ทีมงาน LiMux ต้องค่อยๆ ประชาสัมพันธ์โครงการไปเรื่อยๆ จัดประชุมสัมมนา รวมถึงจัด "โซนไร้ไมโครซอฟท์" ไว้ให้ผู้ใช้เข้ามาลองเล่นลินุกซ์กัน โดยมีเป้าหมายว่าให้ผู้ใช้ได้จับลินุกซ์ก่อนจะต้องใช้งานจริงสองปีล่วงหน้า
LiMux รุ่นปัจจุบัน ส่วนรุ่นใหม่ที่กำลังอัพเกรดให้ผู้ใช้ในปีนี้ จะพัฒนาจาก Kubuntu 12.04
ปัญหาจริงที่พบมีตั้งแต่ปัญหาความเข้าใจ เช่น ผู้ใช้บางคนคิดว่าลินุกซ์ต้องพิมพ์แบบ command line เท่านั้น ผู้ใช้บางคนต้องใช้งานเอกสารในฟลอบปี้ดิสก์ ทีมงานก็ต้องสาธิตให้ดูว่าสามารถเปิดเอกสารเดิมมาใช้งานได้จริง
การย้ายระบบนั้นแต่ละหน่วยงานเป็นผู้ย้ายระบบกันเองโดยไม่มีกำหนดเส้นตายชัดเจน เมื่อหน่วยงานใดตัดสินใจเริ่มย้ายระบบ ทีม LiMux ก็จะลงไปช่วยดูแลการย้าย ทีมงานพบว่าเครื่องวินโดวส์ที่จะย้ายข้อมูลออกมานั้นมีความต้องการมากกว่า 50 แบบ เมื่อการย้ายในหน่วยงานหนึ่งเสร็จ อีกหน่วยงานก็มักมีความต้องการต่างออกไป แต่โดยรวมเมื่อผู้ใช้มาใช้ LiMux กระบวนการซัพพอร์ตก็ง่ายขึ้น ทีมงานพัฒนาสามารถออกรุ่นใหม่ และให้ความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น เพราะพื้นฐานทุกเครื่องเป็น LiMux เหมือนกันหมด
กราฟจำนวนเครื่องที่ย้ายมาใช้ LiMux ในปี 2012 เพียงปีเดียวจากเครื่องใช้ LiMux 9,000 เครื่องเพิ่มเป็น 15,000 เครื่องในช่วงสิ้นปี
แม้ว่าเหตุผลหลักที่เลือกลินุกซ์จะไม่ใช่เพื่อประหยัดงบประมาณ แต่ทีมงานก็ออกรายงานเปรียบเทียบว่าการใช้ลินุกซ์กับการย้ายไป Windows XP ในตอนนั้นมีค่าใช้จ่ายต่างกันอย่างไร และสรุปผลว่างบประมาณทั้งหมดประหยัดไป 10 ล้านยูโร ขณะที่เอชพีเคยออกรายงานระบุว่าการที่เมืองมิวนิกย้ายมาใช้ลินุกซ์นี้มีค่าใช้จ่ายถึง 60 ล้านยูโร และจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 17 ล้านยูโรหากใช้ Windows XP ทีมงาน LiMux ติดต่อเอชพีเพื่อขอกระบวนการคำนวณแต่กลับไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน
ความสำเร็จของเมืองมิวนิกประกอบไปด้วยหลายส่วนประกอบกัน ความพยายามเลียนแบบเมืองมิวนิกในยุโรปกลับล้มเหลวหลายครั้ง เช่น Wienux สำหรับเมืองเวียนนา กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองเท่าที่ควร หัวหน้าโครงการ LiMux ระบุว่าโครงการระดับนี้ต้องการรับการสนับสนุนจากฝ่ายการเมืองส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพียงกลุ่มที่เข้าใจเหตุผลทางเทคนิคไม่กี่คน
หมายเหตุ: บทความนี้แปลและเรียบเรียงจาก บทความ "The Big Switch" นิตยสาร LinuxVoice ฉบับพฤษภาคม 2014 ทาง LinuxVoice ระบุให้บทความนี้เป็นสัญญาอนุญาต Creative Commons (BY-SA)
Comments
มันก็จริง จะให้ย้ายไปใช้ลินุกซ์ทั้งหมดคงเป็นไปได้ยาก ถ้าไม่มีการปรับความเข้าใจกัน การจะย้ายงานเข้าลินุกซ์เป็นไปได้ยากหรือไม่ได้เลยครับ
มีเพียงไม่กี่กรณีจริงๆที่ย้ายไปลินุกซ์ไม่ได้คือเรื่องเอกสารภาษาไทยที่ส่วนใหญ่ ยังใช้ Microsoft Word อยู่ จะมีปัญหากับการกระจายแบบไทยซะมากกว่า (ไม่รู้ว่าตอนนี้แก้ไขไปรึยังใน LibreOffice, OpenOffice) ถ้าพวกสำนักงานต่างๆ ถ้าจะเปลี่ยนจริงๆก็ต้องปรับตัวเยอะหน่อย
ส่วนโปรแกรมอื่นๆโดยเฉพาะด้านตัดต่อวิดีโอ ยังไม่สามารถทดแทนกันได้เลยในตอนนี้ (ต่อให้ใช้ Wine ก็มีปัญหาเรื่องไดรเวอร์อยู่ดี)
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ผมเชื่อว่าสาเหตุมันเกิดมาจาก
1.ความคุ้นเคยของคนไทยที่ใช้โปรแกรมชุด Office มายาวนานน่าจะไม่อยากปรับตัว
2.โปรแกรมเถื่อนหาได้ง่ายและฟรี (คือโหลดเอาไม่ต้องซื้อแผ่น) เป็นการสนับสนุนข้อ 1. โดยปริยาย
งั้น เราต้องเริ่มด้วยการอย่าให้คุ้นเคย
ในโรงเรียนทุกโรงเรียนที่สอนคอมพิวเตอร์ จะต้องสอนด้วยชุด Office แห่งชาติ(รัฐ,หน่วยงานที่เชี่ยวชาญต้องเลือกให้ว่าจะใช้อะไร)
กระทรวงศึกษา บังคับใช้ เรียน สอนในทุกระดับชั้น ให้เราคุ้นเคยกันตั้งแต่เด็กๆ โดยยกเลิกการสอนชุด Office จาก MS
ได้ประมาณนี้ ปัญหาข้อสอง ก็จะลดลงด้วย โดยอาจใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่าน ประมาณ 12 ปี
เราต้องเริ่มจากการทำกฎให้เป็นกฎ มีคนบังคับใช้กฎให้เป็นไปตามกฎให้ได้ก่อนครับ ไม่งั้นเราจะไม่มีทางบังคับให้ใครใช้อะไรได้เลย
แม้แต่หน่วยงานของรัฐยังใช้ของผิดลิขสิทธิ์ได้ทั้งที่กฎไม่ให้ใช้ สภาพแบบนี้บังคับให้ใช้ OSS ไปก็ลงของเถื่อนใช้กันอยู่ดีล่ะครับ
งานนี้อาจจะต้องให้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. (ที่พึ่งมีข่าว)
ใช้ หลักนี้เป็นตัวประเมินสถานศึกษาด้วย รับรอง เปลี่ยนทุกโรงเรียน (ทางโรงเรียนจะอ้างว่าไม่มีงบก็ไม่ได้ เพราะมันฟรี จะบอก คุณครูใช้ไม่เป็นก็ไม่ได้ เพราะการใช้งานเหมือน ชุด Office MS ทุกอย่าง) และไม่มีปัญหากับ MS เรื่องกีดกันทางการค้าด้วย เพราะเราไม่ได้ห้ามใช้ MS แค่ บังคับให้โรงเรียนใช้ชุด Officeแห่งชาติในการเรียนการสอน
ท้ายที่สุดเราแทบไม่ต้องใช้กฏเป็นรายบุคคล ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ ถ้ามันจะแก้ยากเพราะความคุ้นเคย เราก็แค่อย่าให้เด็กรุ่นใหม่ได้คุ้นเคย ให้มาคุ้นเคยในปลายทางซะทีเดียว
ผมว่าไม่เหมือนนะครับ ถ้ามันเหมือนขนาดนั้นไม่ต้องเริ่มที่ครูกับเด็กแล้วครับ เริ่มที่ผู้ใหญ่เลยก็ได้
แต่ผมเห็นด้วยที่ว่าแก้ที่เด็กรุ่นใหม่มันแก้ได้ดีครับ ถ้าทำสำเร็จแค่รอเด็กโตก็พอ
ว่าแต่ สมศ. นี่ประเมินคุณภาพเรื่องแท็บเล็ตเด็กป. 1 ด้วยหรือเปล่าครับ?
อันนี้ผมไม่ทราบแหะ ผมก็แค่จับแพะชนแกะ
ภะ..ภะ..ภาพ โปรไฟล์ O[]o O///O -///- ฮา
มองเห็นด้วยหรอครับ ผมมีรูปเต็มนะ น่ารักดี
ห๊ะ! เดี๋ยวนะ ในภาพนั่น เด็กผู้ชายสองคน? จูบกัน? น่ารักดี?
edit. อ่า เข้าใจล่ะ ^^ เสียดายนะมีแฟนแล้ว (ไม่ใช่ละ --)
เครื่องผมมีแต่ MS Powerpoint Viewer ทุกวันนี้ใช้แต่ LibreOffice แทนมานานมากแล้ว หรือไม่ก็ Google Docs
คำตอบของข้า คือ ประกาศิต
Ubuntu Studio
ในรูปไม่ใช่รุ่น Kubuntu 12.04 ครับ แต่เป็นรุ่นเก่าที่ใช้อยู่ปัจจุบัน รุ่นใหม่นี่ยังไม่เสร็จ
และรุ่นใหม่จะใช้ KDE 4 ด้วย ในรูปเป็น Trinity Desktop ที่เป็น KDE 3 รุ่นที่ fork ออกมาดูแลโดย community ครับ สังเกตจากตรงโลโก้ startmenu ได้
(ผมสังเกตรูปประกอบ ว่ามัน KDE 3 ชัด ๆ ตอนแรกก็คิดว่าเป็นธีมให้คนคุ้นเคย แต่ไหงยังใช้ Konqueror หว่า ก็เลยมองหาโลโก้ Trinity แล้วก็ย้อนกลับไปอ่านบทความ)
ปัญหาเดียวของผมคือ ยังไม่เจอ Linux ที่ซัพพอร์ตการ์ด wifi ในคอมตัวเองสักที TvT
my blog
ใช้การ์ด Wifi อะไรครับ?
คือตอนแรกผมใช้ elementaryOS ด้วยเคอร์เนล 3.2 มั้ง มันก็ไม่รับ wifi เหมือนกัน ต้องโหลดไดรเวอร์มาคอมไพล์เอง แต่พออัพเกรดเคอร์เนลเป็น 3.11 ก็ใช้ได้เลยครับ (Ralink RT3290 ดูจากคำสั่ง lspci)
แต่ยังมีปัญหาอีกนิดหน่อยคือผมใช้ Asus K450JF แล้วลีนุกซ์ดันโหลด acer_wmi ขึ้นมา ทำให้มันตีกัน เลยต้องไป blacklist ตัว acer_wmi ทิ้ง
ขอทึ่งตรงความเป็นโครงการระยะยาวของงานนี้ครับ ถ้าเป็นเราแป้บๆ ก็เลิกไปหมดทุกอย่างแต่อันนี้ลุยมาสิบปี โครงการนี้คงคืนกำไรอีกเยอะในเวลาที่ XP หยุดซัพพอร์ตแบบนี้แหละ
+1
อย่าดูถูกประเทศตัวเองครับ โครงการสนามบินที่ยาวนานที่สุดในโลก(45 ปี) คือสุวรรณภูมิครับ น่าภูมิใจจริงๆ /เผ่น
อื้มมม
ปล. เขาน่าจะประชดนะ
ปล2. Edit ไปซะแล้ว -_-
บางทีการเปลี่ยนแปลงต้องใช้ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวพอสมควร สามารถทำได้และอยู่กับมันได้ ผมเคยทำห้องเรียนโอเพนซอร์สได้ทั้งระบบเมื่อ 7 ปีก่อนกว่าจะเปลี่ยนผ่านได้
แต่เมื่อผมเดินจากมา โรงเรียนนั้นก็ได้ข่าวว่า คนรับผิดชอบต่อจากผมก็หันกลับไปคบ MS อีก และแล้วปัญหาเดิมๆ ก็วนมาอีกรอบ ละเมิดลิขสิทธิ์ทุกโปรแกรมรวมทั้งโอเอสด้วย ไวรัสเพ่นพ่านเต็มระบบ เกมส์เต็มห้อง นักเรียนไม่สนใจเรียน แล้วมาบ่นให้ฟัง
ก็ได้แต่อมยิ้ม เมื่อก่อนเด็กสอบผ่านโอเน็ตในเรื่องระบบปฏิบัติการ มีเด็กสอบผ่านได้ Cert... จาก RH ไปทำงานในองค์กรได้ แต่ตอนนี้เก่งแต่เล่นเกมส์โดยไม่คิดพัฒนาเกมส์ อนิจจาการศึกษาไทย คงรู้นะว่าทำไมจึงไม่ถึงดวงดาว
ผมว่าเพราะคิดแต่จะให้เด็กตั้งใจเรียนนี่ละ การศึกษาไทยถึงไม่ไปไหนสักที แทนที่จะสอนให้เด็กหัดใฝ่รู้ใฝ่คิดโดยที่ไม่ต้องไปสนใจว่าสิ่งนั้นมันมีประโยชน์รึเปล่า บ้าแต่แข่งเกรดกัน บ้าแต่ใบประกาศเกียรติคุณกัน แค่เป้าหมายมันก็บ่งบอกแล้ว ว่าไม่ใช่การพัฒนาตัวเองให้รอบรู้โดยแท้จริง แต่เป็นการพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่มันจะสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดี
อนิจจาผู้ปกครองสมัยนี้ ความผิดอยู่ที่ตัวเองแท้ๆแต่ดันไปโยนให้เด็ก สิ้นหวังจริงๆ
+1 เด็กรุ่นก่อนสอบแค่ entrance ก่อนเรียนอุดมศึกษา แต่สมัยนี้สอบเพียบ เกรดมีผลต่อการศึกษาต่อและคิดแต่จะวัดคุณภาพกันแต่จากการสอบ เช่น u-net
ย้ายไปไม่ได้เพราะ office ฝั่งนิก มันเข้ากันกับชาวบ้านไม่ได้
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
มาจนุคงทุกวันนี้ ?
ตัดสินใน => ตัดสินใจ
มิวนิค -> มิวนิก
+999
เลิกคิดได้แล้วว่าใช้ Software M$ ประหยัดกว่า บลา บลา บลา~ จ่ายแพงกว่าแต่เงินหมุนเวียนอยู่ในประเทศยังไงก็ดีกว่าแน่ๆ แต่ถ้าเอากันจริงๆ มีหน่วยงาน/บริษัทที่สามารถ support ผู้ใช้ Linux ได้แค่ไหน
ทำไมผมอ่านสองประโยคนี้แล้วงงๆ
"เลิกคิดได้แล้วว่าใช้ Software M$ ประหยัดกว่า บลา บลา บลา~"
"จ่ายแพงกว่าแต่เงินหมุนเวียนอยู่ในประเทศยังไงก็ดีกว่าแน่ๆ"
ทั้งสองประโยคก็หมายความว่าใช้ MS ถูกกว่าไม่ใช่เหรอครับ
ใช่ครับ หมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ ถ้าใช้ ms เงินจะออกไปยัง สหรัฐ แต่ถ้าใช้ลินุกซ์ ถึงแม้จะแพงกว่า แต่เงินยังวนอยู่ในประเทศ และอาจได้รับผลกระทบไม่มาก(หรือไม่ได้รับผลกระทบเลย)จากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศครับ
เราพลาดตั้งแต่สอนพิมพ์ปกรายงานด้วย M$ word แล้วครับ
ถ้าเริ่มใหม่ตอนนั้นด้วย opensourceOffice สักตัว อีก 20 ปีให้หลังน่าจะออกมาสวยกว่านี้
ต้องมีอาสาสมัครที่เป็นคนไทยไปทำให้มันดีขึ้นคับ user ต้องการแค่ว่ามันใช้งานได้ง่าย สะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว แค่นั้น แม้กระทั่ง dev ที่เป็น user ยังต้องการเลยคับ
เราไม่ได้พลาดครับ เมื่อ 20 ปีก่อนเรามี CU Writer และ Ratchawithi Word ใช้
แต่.... ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ทำพัง ก็อป MS Office กันทั่วบ้านทั่วเมือง ซอฟ์แวร์คนไทยก็เลยสู้ไม่ได้ ก็แพ้เลิกทำกันไป
อย่างนี้จะกล่าวว่าที่เรายังเสพติดไมโครซอฟท์ทั่วบ้านทั่วเมืองนั้น เป็นผลมาจากการที่เราละเมิดลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์เองใช่หรือไม่ ถ้าอย่างนั้นไมโครซอฟท์ก็ได้ประโยชน์โดยแทบไม่ต้องทำการตลาดมากมายแต่ซอฟท์แวร์ตนเองกลับเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม แล้วไปหารายได้จากองค์กรเป็นหลัก ซึ่งถ้าไมโครซอฟท์ไม่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่บ้าง คนคงไม่นิยมมากมายขนาดนี้สินะครับ
ถูกต้องเลยครับคุณ barcode ผมเคยได้ยินจากที่ไหนไม่แน่ใจว่า MS เองก็จงใจปล่อยปละละเลยให้มีการละเมิดในระดับ consumer พอบรรดาลูกเล็กเด็กแดงที่อยู่กับ MS ตั้งแต่เด็กโตขึ้น ถึงคราวต้องใช้ซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ก็ไม่พ้นต้องจ่ายให้ MS จะเลี่ยงไปใช้ OSS ก็ยากลำบากเพราะมันคุ้นเคยเสียแล้ว
ขอเพิ่มเติมสักหน่อย
ไทยเราจะทำแบบเค้าอย่างแรกสุดชุมชน Open Source เราต้อง Open Mind มากขึ้น แล้วหันมาบอกว่าตัวเองดียังไง ทำคู่มือให้ดี ทำชุมชนให้คนอยากเข้ามาถาม ถ้าคู่มือ และคนที่มาช่วยเหลือปัญหายังเอะอะบอกเปิด terminal แล้วพิมพ์ๆๆๆ ตามๆๆ นี้นะ แค่นี้ก็จบแล้ว สาวๆ น่ารักๆ กว่า 99% ที่ไหนจะไปใช้ครับ!!! ><"
เรื่อง Microsoft ครองเมือง ผมว่าเป็นเรื่องช่วยไม่ได้แฮะ เพราะปัจจัยหลายอย่างทำให้มันเป็นแบบนั้น เพราะจริงๆ ผมว่ามันเกิดจากใน 20 ปีก่อน (ช่วง CW/RW อยู่อยู่) คู่มือการใช้งานของซอฟต์แวร์กลุ่มธุรกิจอย่าง Microsoft นั้นมีแปลภาษาไทยเยอะมาก ถ้าจำหนังสือ Microsoft Press แปลไทยของ Se-ed ได้น่าจะพอเข้าใจ หนังสือแปลได้ค่อนข้างดี เล่มนึงราคาแพงสำหรับตอนนั้น เล่มละ 300 บาทขึ้นไป หรือของยี่ห้ออื่นๆ ก็มี Norton Commander อะไรพวกนี้เยอะแยะมาก ผมยังอยู่ที่บ้านเป็นสิบเล่มเลย ซึ่งคู่มือพร้อม ซอฟต์แวร์ละเมิดต่างๆ ก็หาจากแหล่งต่างๆ ที่มีขาย เพราะซอฟต์แวร์กล่องของแท้มันไม่ได้ขายหรือหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเหมือนสมัยนี้ที่เราเห็นแผ่น Windows หรือ Office กันตามร้านหนังสือ หรือร้านขายของไอทีได้อย่างเป็นเรื่องปรกติ และราคาแพงมาก แผ่น Windows 3.11 ราคาหลักหมื่น กล่องอย่างใหญ่หลายสิบแผ่น Office ราคาหลักหลายหมื่น (ทองราคา บาทละ 5,000 บาทมั้งตอนนั้น) คิดถึงมูลค่าค่าเงินในสมัยนั้นนี่ต้องบอกว่าแพงสุดๆ แต่ทุกคนมองว่าคู่มือมี คนใช้กันเยอะ มีปัญหาก็ถามกันแบบส่งจดหมายได้ถามนิตยสารแล้วก็รอลุ้นเดือนต่อไปว่าจะแก้ไขยังไง (มันไม่เหมือนสมัยนี้ที่โพสเว็บบอร์ดแล้วรอไม่กี่นาที) และในยุคนั้น คนที่ใช้งานซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่อ่านหนังสือแก้ไขปัญหาเอง คู่มือแก้ไขปัญหาเยอะพอสมควร และมีแต่ Windows หรือ Office ฉะนั้น คนที่เข้ามาในสายนี้ก็มักจะเอาอะไรที่ใกล้ตัว คนสนับสนุนเยอะๆ คุยแล้วแก้ไขปัญหาได้ก่อนเป็นหลัก (ต้องอย่าลืมว่ายุคนั้น Internet ยังไม่แพร่หลาย ใช้กันแต่ BBS) ฉะนั้นอย่าถามถึง Open Source ในตอนนั้นครับ เพราะเชื่อว่าคนรู้จักน้อยมากในไทย
จากเหตุผลข้างต้นเมื่อกลุ่มธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์ใดๆ เป็นหลักแล้ว กลุ่มที่ตามมาที่หลังซึ่งซื้อเครื่องคอมฯ มาเมื่อใช้ทำงานที่บ้านก็ต้องใช้ตามเพราะไม่งั้นก็ทำงานประสานกับภาคธุรกิจไม่ได้มันก็ไม่มีประโยชน์ คือต้องไม่ลืมว่าในสมัยนั้นคนซื้อคอมฯ มาใช้ทำงานเป็นหลัก พอ Windows 3.11 เริ่มบูม Office ทำงานได้ดีมากขึ้น CW หรือ RW พัฒนาสู้ไม่ไหว สุดท้ายก็ตายไปเพราะคนไม่ใช้ เพราะ Office ดีกว่ามากทั้งเรื่อง GUI และคู่มือที่ชัดเจนกว่า แถมชุด Office มันทำงานได้หลากหลายกว่า แค่ Excel ยังทำให้ Lotus 123 ตายสนิทเลย (ในช่วงนั้นธนาคารใช้ Lotus 123 กันก่อนเพราะเครื่องเป็น Dos กัน แต่พอย้ายมา Windows ก็ย้ายไป Excel เพราะคู่มือและมีการฝึกอบรมที่ดีกว่ามาก)
พอภาคธุรกิจใช้กันเป็นปรกติ สถาบันฝึกอบรมต่างๆ เปิดกันเพื่อสอนใช้งานพวกนี้ แม่ผมทำงานธนาคารมาก่อนก็ไปฝึกอบรมใช้ Windows และ Office คือฝึกตั้งแต่การคลิ้กเมาส์ จับเมาส์ เลยนะ เพราะคนอายุมากๆ เค้าไม่คล่องเรื่องพวกนี้ ผมยังเคยไปนั่งรอเค้าอบรมเลย พอภาคธุรกิจต้องใช้จริงๆ จังๆ แล้ว มันก็ถูกผลักเข้าโรงเรียนต่างๆ ด้วยหลักสูตรเดียวกัน เพราะอย่าลืมว่าสถาบันการศึกษาก็เริ่มใช้ ตลาดแรงงานก็ต้องการ สถาบันการศึกษาก็ต้องตอบสนองต่อกระแสสังคม พ่อ-แม่ก็ถามโรงเรียน-มหาลัยว่าทำไมไม่สอน เค้าก็ทำตามกระแสสังคมครับ จึงไม่แปลก ตอนนั้นอย่าได้ถามกระแส Open Source นะ เพราะมันเป็นคำที่คนรู้จักกันบ้างหลังจาก Windows 98 ติดตลาดไปแล้ว รู้สึกจะมาหลัง Windows Me หรือ Windows 2000 ได้มั้ง และเพิ่งบูมจริงๆ จังๆ ตอนเริ่มมีการบุกจับการละเมิดซอฟต์แวร์ในช่วงที่ร้าน net cafe และร้านเกมบูมกันทั่วบ้านทั่วเมืองในไทย เพราะกระแสร้านเกมโดนจับกันเยอะ ก็เลยเริ่มมีกระแส Open Source เข้ามาเพื่อไม่ให้โดนจับ (ช่วง Linux ทะเล Office ปลาดาว นั้นแหละ) ก็เลยเริ่มบูมอีกรอบ หลังจากบูมของ Redhat ก่อนหน้านั้น (ช่วงนั้นมีแข่ง Linux ของ NECTEC ด้วย ผมจำได้ เพราะไปแข่งเหมือนกัน)
จะเห็นว่ากระแส Open Source ในไทยในช่วงเริ่มต้นสักปี 2540 (ช่วง Red Hat 5.0) ไม่ใช่กระแสเพื่อการลดต้นทุนหรอก มันเป็นกระแสเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้ตัวเองกระทำผิดจากความเคยชินเป็นหลักเสียมากกว่าครับ
ขอเล่าแบบความทรงจำลางๆ ปีและลำดับอาจจะผิดไปบ้าง ><"
เอาหัวโขก Like ให้กับ "Open Mind"
ผมเคยพยายามจะใช้ Ubuntu เมื่อนานมาแล้ว ตอนนั้นยังใหม่กับอะไรพวกนี้ (แต่ก็ใช้ XP เถื่อน)
ปัญหามันก็เกิดตั้งแต่ติดตั้ง OS เสร็จ (เรียกว่าปัญหา แต่มันคือการที่เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ OS เลย) ก็ลองไปถามในบอร์ด Ubuntu เว็บในบ้านเรานี่แหละ(มารยาทเรื่องค้นหาก่อนถาม หรืออะไรทำนองนี้ยังไม่รู้) แต่พลาดด้วยประโยคประมาณว่า "...ใน Windows ทำแบบนั้นได้ ไม่ทราบว่าใน Ubuntu ทำยังไงครับ" คำตอบที่ได้คือการโดนเหยียดว่า "เป็นผู้ใช้วินโดวส์" ผมไม่ได้คำตอบของคำถามเลย และอีกอันหนึ่งผมบอกว่าผมอยากลองใช้ Ubuntu เพราะ "มันดูเท่ดี" เพียงเท่านี้ผมกลายเป็นผู้ร้ายทันที ผิดมากเลยเหรอ
ลง Ubuntu ได้ 2 วัน ผมลบทิ้งเลย คิดว่าไม่เอาแล้ว สังคมช่างโหดร้าย (มันเกี่ยวกับ OS ตรงไหนฟร่ะ)
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
Linux Community ในไทยเป็นสังคม"เรื้อน"ครับ Noob เข้ามาถามทีไรเป็นอันโดนด่าตลอด และเห็นแทบทุกกระทู้ แต่ปัจจุบันนี้ก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆละ เพราะบั๊กเริ่มลดลงเรื่อยๆ ตัว Installer ก็ดีขึ้นกว่าเดิมเยอะ เลยไม่ต้องง้อมัน
ส่วนตัวไม่เคยเข้าไปถาม (ก็มัน"ปากไร้ตะกร้อครอบ"อะ) เลยไปค้นจากเว็บ ตปท. แหล่งข้อมูลดีกว่า ไม่เสียสุขภาพจิตด้วย
เสร็จสรรพแล้วก็อาจจะมีบาง Comment มาบ่นกับผมเหมือนครั้งก่อนๆว่า "ใช้ฟรีแล้วจะบ่นทำไม?" ซึ่งก็และดู"เรื้อน"เหมือนกัน
เห็นคนอื่นถามแล้วตอบกันแบบนั้น ผมเลยไม่ยุ่งกับบอร์ดไทยเลยเหมือนกันครับ คุ้ยเว็บนอกก็ได้
board นอกก็มา drama เหมือนกันนะครับ มันอยู่ที่สิสัยมากกว่า คนตอบไม่ได้ตอบในนามองค์กร อาจจะเพิ่งโดนเมียด่ามาก็ได้เลยใส่อารม
ถ้าจะใช้ Linux จริงๆจังๆ ตอนนี้คุณภาพก็มาไกลมากแล้วครับ นิ่งเสถียร แล้วถ้ามีปัญหาแนะนำให้ปรึกษา Community นอก ดีกว่า เพราะที่นั่นจะแนะนำแบบ How to ไปเป็นเสต็ปๆ ผมจะใช้ของไทยก็ต่อเมื่อมีปัญหาเกี่ยวเนื่องกับตัวภาษาไทยเท่านั้นแหล่ะครับ
ส่วนตัวใช้ Linux บน production server อยู่หลายสิบตัวก็โอเคดีครับ แต่นั้นคืองานระดับที่มีคนที่เข้าใจใช้อย่างจริงจัง ซึ่งแตกต่างจากเนื้อหาหลักด้านบนที่เน้นกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งความรู้ ความเข้าใจนั้นไม่ได้มากเท่ากลุ่มที่ดูแลงาน server ครับ
อุต๊ะ แกร่จริมๆ :3
แหม่ ... ใครทัน nc, dn นี่ถือว่ามีความทรงจำที่หวานหอมนะครับ บอกอายุดีจริงๆ
"ช่วงนั้นมีแข่ง Linux ของ NECTEC ด้วย ผมจำได้ เพราะไปแข่งเหมือนกัน"
เราเคยเจอกันรึเปล่าครับ?
คิดว่าน่าจะผ่านๆ ครับ ตอนนั้นอยู่แต่กลุ่มคนในทีมมั้ง ไม่ได้ไปสุงสิงใคร (หรือเปล่าหว่า) เพราะมันเป็นงานแข่งอะไรสักอย่าง ผมก็จำไม่ได้ค่อยได้แหละ
คุณนี่มันบันทึกความทรงจำจากโลกแห่งอดีตชัดๆ ผมอ่านไปขนลุกไป บางอย่างลืมเลือนไปแล้วก็เห็นภาพลางๆ ขึ้นมาตอนอ่านความเห็นคุณนี่แหละ
เห็นด้วยเรื่องที่ว่าการเปลี่ยนมาใช้ Open Source เพราะต้องการเลี่ยงการกระทำผิดมากกว่าเพื่อลดต้นทุน ทุกวันนี้หลายที่พยายามใช้ซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์เพราะกลัวติดคุกหัวโตเพราะ BSA นี่ล่ะ 555+
จะไปว่าก็คิดถึงวันเก่าๆ ที่ไปซื้อหนังสือ Microsoft Press มานั่งหัดใช้ Windows 95 ตอนนั้นคำว่า Desktop ยังเรียกว่าพื้นโต๊ะอยู่เลยก็หัดไปงงไป
+1
โดนใจครับ
จริงอยู่ครับที่ 20 ปีที่แล้วเรายังไม่มี OSS ดีๆ อีกทั้งยังเรื่องของการบุกของ Windows 3.11 ที่ก๊อบแจกๆ ทั่วบ้านทั่วเมืองทำให้เราตกเป็นทาส M$ อยู่ทุกวันนี้ แต่... ตอนนี้ก็พร้อมแล้วนี่ครับ จะมีใครกล้าไหม เริ่มต้ังแต่สอนเด็กทำปกรายงานด้วย opensourceOffice แล้วก็รอดูผลอีก 20 ปี (ฟังดูซีเรียส)
ทาสM$
ใช้คำหรูนะฮับ T_T
ก็อบเขาใช้ฟรี ยังโดนด่าซ้ำได้อีก
น้ำตาไหลแทนเลยเนี่ย
ไป "ทะเล" กันดีกว่า
บทความทรงคุณค่าครับ ได้ความรู้เชิงปฏิบัติการดีมาก
เขาเก่งจริงๆ ครับ
เห็นด้วยว่าเรื่องนี้ต้องใช้การเมืองขับเคลื่อนเป็นหลัก
+1
ผมเคยอยู่เยอรมันมากว่าสิบปี นักการเมืองเขามีวิสัยทัศน์ครับ ย้ำนะครับ มีวิสัยทัศน์ ไม่ใช่นักการเมืองคนดี และที่เป็นอย่างนั้นเพราะสภาพบังคับ เพราะผู้เลือกต้องการอย่างนั้น มีการตรวงสอบตามกระบวนการ ดังนั้นปัจจัยจึงอยู่ที่ประชาชน และประชาชนเขาวุฒิการศึกษาต่ำมากครับเมื่อเทียบกับไทย มีคนเพียง 40 กว่าเปอร์เซนต์ ที่จบ ม. ปลายสายสามามัญ และมีเพียงส่วนหนึ่งจากในนั้นที่เรียนมหาวิทยาลัย แต่โรงเรียนเขาสอนให้คิดวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริงครับ มันต่างจากบ้านเราที่ บ้าเกรด บ้าวุฒิ ตามที่ @UltimaWeapon บอก
บ้านเราบ้าวุฒิจริง ๆ จบ ป.เอก มาแล้วสามารถเป็นผู้เชียวชาญทุกสาขาได้อย่างหน้าตาเฉย วัดกันที่คำนำหน้ามากกว่าผลงาน
ชื่นชมครับ
ชอบเหตุผลนี้จริงๆ เลย "ต้องการสนับสนุนบริษัทท้องถิ่น"
เมืองต่างๆ ควรคิดแบบนี้ ไม่งั้นความเจริญจะกระจุกตัวอยู่แต่กับเมืองหลวง
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ทำได้จริงครับ องค์กรผมใช้ 3 OS ทำงานได้โดยไม่มีปัญหาครับ จุดสำคัญคือต้องสร้างบรรยากาศการใช้งานที่ดี และต้องมี Software ที่ใช้งานได้จริงครับ
ตัวที่มักเป็นปัญหามากสุดนั้นคือ Office Suite ซึ่งผมแก้ปัญหาโดยการใช้ GDocs บน Chrome แทนซึ่งทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการทั้งหมดได้ครับ ที่เหลือหากเป็นงานเฉพาะทางก็จะเลือกใช้ OS ที่เหมาะสมต่อไปครับ : )
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ในระดับองค์กรยังพอเป็นไปได้ครับถ้าผู้บริการผลักดัน แต่ในระดับใหญ่กว่านั้นฝ่ายการเมืองมักจะไม่คิดทำอะไรที่ไม่เห็นผลในเร็ววัน ไม่ได้ช่วยเพิ่มคะแนนเสียง/ความนิยมภายในสมัยการทำงานเดียว
แค่คิดว่าจะต้องปรับทางฝั่ง software กับ hardware ให้ไปต่อได้ก็หนาวแล้ว นี่ยังปรับ peopleware ให้ตามได้อีก โครงการนี้คนคิด คนทำ คนหนุน สุดยอดจริงๆครับ 0_0
"มาจนถึงคงทุกวันนี้ " -> " มาจนถึงทุกวันนี้"
ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับ
ผมอ่านๆดูสรุปไมโครซอฟท์กลายเป็นผู้ร้าย เป็นสิ่งมอมเมาซะงั้น ไมโครซอฟท์ไม่ใช่มูลนิธินิก็ต้องแสวงหากำไร ถ้าของมันดีใครๆก็จ่ายครับ ยกเว้นมันจะมีอะไรที่ดีกว่า
ที่ทำไมเยอรมนีไม่ใช้ MS เพราะไม่ใช่เรื่องเสียเงิน แต่เป็นเรื่องเงินไม่เข้าประเทศของเขาเองครับ
มันคือการลดต้นทุนครับ MS มีข้อดีตรงที่ learning curve ต่ำ หาคนมาทำงานง่าย
แต่ถ้าแก้ปัญหาดังกล่าวได้ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงิน มันถึงใช้เวลา 12 ปีไงครับ
คุณ doanga2007 ยังไม่เลิกใช้ทฤษฎีแปลกๆ อีกเหรอครับ
นั่นสิคับ เวลาผมเจอคนที่เกลียด MS นี่ผมละเแปลกใจจริงๆว่าทำไมเขาถึงเกลียดได้ขนาดนั้น เกลียดยังกะถูก MS ขืนใจมายังไงยังงั้น ยิ่งถ้าคนคนนั้นเทิดทูน OSS และรัก Apple ด้วยนี่ผมยิ่งแปลกใจไปใหญ่
ชาตินิยม เงินตราไม่รั่วไหล กระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา
ถูกต้องครับ แต่ญี่ปุ่นชาตินิยมเหมือนกัน แต่ใช้ Windows เป็นหลักครับ
คำว่า "ชาตินิยม" เป็นคำต้องห้ามในเยอรมันครับ คนเยอรมันส่วนมากเป็นพวกลิเบอรัลหัวเอียงซ้าย การตัดสินใจเรื่องนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับชาตินิยม แต่น่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความปลอดภัย และความยั่งยืนมากกว่า
จริงเหรอครับคุณโบว์ ของเราต่อไปคำว่ารักชาติอาจเป็นคำต้องห้ามก็ได้ ขอโทษด้วยไม่เกี่ยวกับกระทู้
ไม่มีใครห้ามพูดหรอกครับ แต่ "ชาตินิยม" ในการรับรู้ของคนเยอรมันไม่ต่างกับนาซีมากนักครับ คนเยอรมันเพิ่งเริ่มเอาธงชาติมาประดับ หลังบอลโลก 2006 ครับ แต่ประดับเฉพาะช่วงบอลยูโร กับบอลโลก ตอน 2006 คนยังถามกันอยู่เลยว่า "ทำได้เหรอ?" คนเยอรมันจำนวนมาก (มากจริง ๆ) ร้องเพลงชาติไม่ได้ และไม่รู้ที่มาของสีธงเยอรมัน
ขอบคุณครับ :)
เหตุผลที่ยังใช้ Windows อยู่คือแอพใน Ecosystem กดปุ๊บๆ ทันใจ (งาน Rapid Programming)
แต่พอเป็น Linux เหนื่อย ไม่ทันกิน บางทีก็ลุ้นอีกว่าลงโปรแกรมลงไปจะมีบั๊กไหม
ผมและบริษัทไม่แคร์ว่าจะต้องจ่ายหรือไม่จ่าย แต่ที่สำคัญคือเลือกแล้วมันคุ้มค่ากับที่ลงทุนหรือไม่? ซึ่ง Windows ทำจบทีเดียว ไม่ต้องเรียนรู้เยอะ แต่พอเป็น Linux ล่ะก็แทบจะอัญเชิญวิทยากรมาทำ ซึ่งมันเสียเงิน + เวลา เหมือนเคย
+1
บน Linux นี่กว่าจะเซ็ต Server เสร็จแต่ละอันน้ำตาจะไหล แต่บน Windows นี่กดๆแปบๆก็เสร็จ หนึ่งในข้อเสียของ Command Line เลยคือเวลาเจอโปรแกรมที่มีออปชั่นเยอะๆนี่กว่าจะกด Enter ได้แต่ละทีอ่านกันตาแฉะ แต่ถ้าเป็น GUI มาถึงมันก็บอกอยู่แล้วว่าต้องกรอกอะไรเลือกอะไร ย่นเวลาและความจำได้อย่างดี
การแก้คอนฟิกแบบ Text file เหมือนกัน กว่าจะแก้เสร็จนี่อ่านกันตาแฉะ อะไรที่เป็น Text แบบนี้เสียเวลาสุดๆ ยิ่งบางอันที่ไม่ค่อยได้ทำบ่อยๆ กลับมาทำแต่ละทีก็ต้องอ่าน Doc ตลอด
เวลาผมเจอบริษัทที่มีปัญญาจ่ายค่า Windows Server และงานมันก็เหมาะกับ Windows Server มากกว่าแต่กลับเลือก *nix ด้วยเหตุผลที่ว่าต่างประเทศเขาใช้กันนี่ผมจะสิ้นหวังสุดๆ อาจจะดูเหมือนผมเป็นสาวก แต่จริงๆแล้วไม่ใช่หรอก อะไรดีผมก็ว่าดี อะไรแย่ผมก็ว่าแย่ อะไรเหมาะกับงานนั้นๆผมก็เลือกอันนั้น (ไม่ใช่เอา GIT ไปวางอยู่บน Windows หรือเอา PHP ไปรันบน Windows หรือเขียนโปรแกรมที่ Binary ต้องทนทานต่อการอัพเกรด OS โดยใช้ C/C++ แล้วรันใน *nix ฯลฯ)
พิมพ์ man ตามด้วยชื่อโปรแกรม กด enter จะเข้าสู่หน้า manual page หลังจากนั้นกด / แล้วตามด้วยคำที่ต้องการค้นหา กด enter อีกที เท่านี้ก็ไม่ต้องไล่อ่านทุก option แล้วครับ
คอนฟิก text file ทำครั้งแรกๆ อาจเงอะงะหน่อย แต่หลังจากรู้ว่าต้องแก้อะไรตรงไหนบ้างแล้ว ครั้งต่อๆ ไปเขียนเป็น sed / awk script ให้มันทำแบบ automate ก็เสร็จแล้วครับ
เวลาใช้อะไรใหม่ๆเราไม่รู้หรอกคับ ว่าคำที่เราต้องการจะค้นหาคืออะไร ก็ต้องไล่อ่านทั้งหมดเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับมัน ว่ามันมีอะไรให้ใช้มั่ง มาถึง เรียก --help เจอตัวอักษรย่ออะไรมั่งก็ไม่รู้ ก็ต้องไล่ดูที่ละตัวอีก แล้วบางอันนานๆครั้งจะใช้ที พอจะกลับมาใช้อีกรอบ จำไม่ได้ละว่าต้องใส่ options อะไร เสียเวลาหาวิธีใช้อีก
เรื่อง sed หรือ awk นี่กว่าจะได้ใช้แต่ละทีก็นานๆครั้ง จะใช้แต่ละทีก็ต้องหาวิธีใช้ เพราะลืมวิธีใช้ตลอด
ยิ่งเวลา rm ไฟล์นี่อันตรายสุดๆ ผมและรอบตัวผมเกิดอุบัติเหตุมาหลายทีละ ลบผิดไฟล์ทีนี่นั่งเซ็งกันเลยทีเดียว ไม่ก็ตอนใช้ > เผลอกันไปหลายทีละ ทับไฟล์เก่าหมดทั้งที่ความตั้งใจคือ >> แถมตอนใช้ Git แบบ Command Line นี่กดคีย์บอร์ดกันจนมือหงิก git status, git diff ที่บางครั้งจะต้องไล่ดิฟทีละไฟล์เพราะต้องการที่จะแยกคอมมิต, git add พาธที่บางอันจะยาวเฟื้อย กดแท็บกันมันส์, ขึ้นสองที, git commit, กดปุ่มลูกศรไปจนถึงจุดที่จะเขียน Commit message, i, พิมพ์เสร็จกด Escape, :w กว่าจะเสร็จ แต่พอเป็น GUI มาถึงกด Commit เลือกไฟล์ที่จะดูดิฟและคอมมิต พิมพ์ข้อความ กดปุ่ม เสร็จแล้ว
ผมไม่รู้หรอกนะคับว่าทำไมคนอื่นเขาใช้แล้ว Happy กันจัง แต่สำหรับผม การใช้ GUI จะช่วยย่นระยะเวลาการทำงานได้อย่างมหาศาล Learning Curve ต่ำ ไม่ต้องจำมันทุกอย่าง ไม่ต้องเมื่อยนิ้วด้วย การจิ้มแต่คีย์บอร์ดอย่างเดียวเป็นอะไรที่เหนื่อยมาก แถมพิมพ์เสร็จ พิมพ์ผิดก็ต้องกดปุ่มลูกศรเพื่อที่จะไปแก้ไขอีก
ผมรักที่รู้ให้ลึก แต่ไม่รักที่จะใช้วิธีการที่ยากลำบาก
การใช้ GUI ไปซะหมดเลยบางทีก็ได้งานที่ไม่ถูกต้องออกมา อย่าง หลายคนใช้ Word ไม่เคยใช้ Style เปลี่ยนฟอนท์เอา เปลี่ยนขนาดเอา ผลลัพท์ที่ได้ก็ออกมาดูแลรักษายาก อ่านยาก ไล่ยาก แก้ไขลำบาก บางทีการใช้ Editor แบบ WYSIWYM นั้นได้ผลลัพท์ที่คุณภาพดีกว่า WYSIWYG ก้ได้ (อันแรกนี่ที่ Blognone ก็ใช้เวลาเขียนข่าว) ทั้งนี้ Editor แบบแรกนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นกราฟิค แค่มี Textbox อันเดียวก็ทำงานได้ละ แค่คนใช้ต้องทำความเคยชินกับมันนิดนึง
ส่วนตัวผมก็ใช้ GUI นะ ถ้าไม่จำเป็นไม่แตะ command line เลย (แต่งานที่ทำมันบังคับ ฮา) คนส่วนใหญ่ที่เขาใช้ command line กันก็จะสาเหตุแบบนี้แหละครับ
ผมมองว่าคอมมานด์ไลน์เป็นเรื่องของ automate ครับ ผมพอจะเข้าใจแล้วหละว่าทำไมคุณถึงฝังใจกับการ set up linux ที่ทำให้น้ำตาตกในขนาดนั้น
เรื่อง learning curve ต่ำเป็นสิ่งที่ดีครับ อย่างไรก็ตามด้วยธรรมชาติของโปรแกรมหลายๆ ตัว ยังไง learning curve ก็ยังสูงอยู่วันยันค่ำ แต่เพื่อแลกกับการเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ อันนี้ก็ต้องชั่งน้ำหนักเลือกเองแล้วหละครับ ว่าจะยอมปืนเขาเอเวอเรสต์เพื่อไปชมวิวที่หลายคนยอมแพ้เพราะคิดว่ามันสูงเกินเอื้อมมั้ย
เข้าสู่ช่วงตอบคำถาม
git status
พิมพ์ยาวถึง 10 เคาะแป้นคีย์บอร์ดก็จริง แต่ก็สามารถทำ tab completion ได้ หรือถ้าอยากให้มันย่อสุดๆ ก็ตั้งค่าว่าgit config --global alias.st status
ก็ได้ ครั้งต่อๆ ไปพิมพ์แค่git st
พอgit diff
ผมยังงงว่ามันเป็นปัญหาตรงไหน สั่งgit diff
แค่นี้มันก็โชว์ diff ของทุกไฟล์ให้แล้ว คุณก็แค่เลื่อนขึ้น-ลงอ่านว่ามีไฟล์ไหนถูกแก้บ้าง ซึ่ง diff นี้ถ้ายาวมากๆ มันจะถูกแสดงด้วย interface ของ less อยู่ดี จะย้ายไปดูไฟล์อื่นก็พิมพ์ / ตามด้วยชื่อไฟล์แล้ว enter ครับgit add
ถ้า path ยาวมากจริงๆ ใช้git add '*/filename.ext'
ได้ครับ (อย่าลืม quote path เพื่อกันมันทำ bash glob) สั่งแบบนี้แล้ว git จะ recursive หาไฟล์ชื่อนี้ในทุกๆ directory แล้วจัดการเพิ่มมันให้ครับgit commit
มันมี option-m
แล้วพิมพ์ข้อความผ่านคอมมานด์ไลน์ได้เลย ไม่ต้องเปิด editor interface ขึ้นมาเขียน commit แล้วเซฟครับถ้าในฝั่ง server เนี่ย ใช้ gui มันช่วยให้เร็วขึ้นได้แค่ระดับนึงครับ พอเอาระดับ ultra fast ยังไง command line ก็กินขาดหมด ยิ่งถ้าเขียนสคริปไปด้วยนี่ยิ่งเร็ว
แต่บางทีก็ไม่รู้จะเถียงกันไปเพื่ออะไร เพราะสองสายนี้มันต่างกันโดยสิ้้นเชิงอยู่แล้ว เพราะไม่มีใครเอา php มารันใน windows เพื่อใช้งานจริงหรอกถ้าไม่ใช่เคสพิเศษจริงๆ เพราะปัญหาจุกจิกมันเยอะ แถมได้ perf ต่ำ แล้วกลับกันก็ไม่มีใครเอา .net มารันใน linux ด้วยเหตุผลเดียวกัน
+1
แต่บางที่ในไทยพี่แกเอา Windows server รัน php นะครัช :P //บางที่ใช้ Appserve เสียด้วยเอ้า!
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
appserv ของแท้ต้องเปิด register_globals on ด้วยนะครับ 55555
เข้าใจว่า ในเยอรมันมี Software House จำนวนมาก แล้วก็มีบ.ที่ทำงานเกี่ยวกับ Linux มากอยู่แล้ว (เช่น Suse) การเปลี่ยนมาใช้ Linux ก็เลยเป็นการสนับสนุนธุรกิจในประเทศจริง ๆ
เทียบกับประเทศไทย ผมเห็นมีคนไทย active อยู่ไม่กี่คน (เช่นคุณ thep ) การจะผลักดันคงลำบาก ยิ่งในส่วนภาครัฐนี่ลืมไปได้ (เคยอ่านเจอว่า การทำงานกับภาครัฐนั้น ภาครัฐไม่เคยช่วยอะไร แต่ถ้ามีผลลัพท์จะเอาหน้า ขอส่่วนแบ่ง แถมบางทีมีค่าดำเนินการต่าง ๆ ด้วย และเคยอ่านเจออีกอย่างว่า เรื่องสำคัญ ๆ ต่อโลกนั้นภาครัฐมีส่วนน้อยมาก ๆ )
นึกว่าจะใช้ SUSE :3
suksit.com
SUSE ไทเฮา?
มีคนเล่นมุกเดียวกันนี้วันก่อน ตอนนี้ยังไม่ออกจากรพ.เลยครับ
เค้าทำงานที่โรงพยาบาลเหรอครับ?
ว่าแต่ตอนนี้ป๋า PaPaSEK แอดมิดไหนครับ
รพ.จิตแห่งหนึ่งครับ
เวลาพิมพ์ suse ใช้คีย์บอร์ดให้ถูกภาษาด้วยนะฮัฟฟฟฟฟฟ
คุณพระ!!! ไม่เคยรู้มาก่อนเลย ว่าคำนี้มีที่มา
เวลาบรรยาย linux แล้วสอนคำสั่ง sudo ผมพลาดมาแล้วครับ
+1
It's may be easier to start with the largest community linux like Ubuntu first then let the new generation children explore by themselves.
เห็นหลายคนพูดถึง OOo แล้วพาดพิงไปถึงปลาดาวออฟฟิศ น่าจะมีหลายคนสนใจเรื่องปลาดาวออฟิศ ลองไปอ่านที่บล็อกของคุณ McDuck หนึ่งในผู้พัฒนา (และเป็นผู้พัฒนาส่วนภาษาไทยของ Office 97 ด้วย)
ส่วนตัวผมคิดว่าพี่ป้อผอมลงมากทีเดียวครับ :)
บนความทรงจำที่เลือนลาง ตอนนั้นผมโหลด Office Pladao มา burn ลง CD แจกใน pantip.com แล้วมีคนมา donate ค่าแผ่นอยู่เนืองๆ จำได้ว่าส่งไปเป็นร้อยแผ่นเลย
ผมจะได้ว่าเคยหักดิบตัวเองใช้ Office Pladao อยู่หลายปี (ถ้าจำไม่ผิดคือ ม. 6 ถึงปี 1-2 มั้ง) และมาใช้ OpenOffice อยู่อีกหลายปี (ปี 2-4) พอเรียนจบ ป.ตรี มีตังแล้วกลับมาใช้ MS Office
แต่ทุกวันนี้ยังคงขอบคุณคนพัฒนาภาษาไทยใน Office Pladao และใน OpenOffice ที่ทำให้รู้สึกว่า Open Source ที่เข้าถึงได้ง่ายๆ มันก็มี ><
จริง ๆ ผมว่า OOo นี่เป็นฝันร้ายของผู้ใช้หลายคน แถมพัฒนาช้าเพราะปัญหาการเมือง พอแยกออกมาเป็น LibeOffice นี่การพัฒนาเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังเท้าเลย
ส่วนตัวผมกลับสนับสนุนให้ใช้ Google Docs มากกว่า LibreOffice นะ (ส่วน OOo นี่ลืม ๆ ไปเถอะ 555)
จริง ๆ นอกจาก บ. Algorithm (ที่พัฒนาปลาดาว) แล้วผมอยากขอบคุณกลุ่ม TLWG (Thai Linux Working Group) เพราะถ้าไม่มีกลุ่มนี้นี่ประเทศไทยเราคงล้าหลังมากในด้าน Open Source ภาษาไทย (เผลอ ๆ ป่านนี้ Firefox ยังใช้ภาษาไทยไม่ได้เลยมั้ง ?)
ถ้าสมมติว่า ไม่มี TLWG พัฒนาภาษาไทยใน Linux มีวิธีแก้ให้ใช้ภาษาไทยได้ คือ เอา Font ของ MS ตัวฟรีมาลงใน Linux ได้ เช่น Tahoma เป็นต้นครับ
ไม่มี libthai และแพทช์ภาษาไทยต่างๆ แล้วจะแสดงผลได้เหรอครับ?
Firefox ตัวแรกๆ บน windows ยังมีปัญหากับภาษาไทยเลยครับ
ในความคิดของผม ใช้ UTF ในการแสดงผลภาษาไทย โดยไม่ต้องใช้ libthai เพราะใน FreeBSD ที่ไม่มี libthai นั้น แสดงผลไทยได้ด้วย UTF ซึ่งรองรับถึง KDE ครับ
http://forum.ubuntuclub.com/forum/?topic=22590.15 - Link ภาพยืนยัน ดูตรง comment แรกได้เลย และปัญหา Firefox กับภาษาไทยตอนนั้น คือ ตัดคำ วิธีแก้ในตอนนั้น คือ คนทำเว็บตัดคำเอาเองหรือใช้ Patch ตัดคำไทยครับ
ขอผมนึกย้อนหลังกลับไปปี 40นะครับ... - - (นานจัง)
หรือจริงๆ มันก็แสดงผลได้ (เพราะ ttf มันก็รองรับหมดแล้ว) แต่มันไม่จัตัดคำหว่า (ลืม)
อีกอย่างน่าจะเป็นการอินพุตภาษาไทยมั้ง
Edit อ้อครับ แค่ตัดคำจริงๆ ด้วย (น่าเบิ้ดกะบาลตัวเองจริงๆเขียน lib อ่านไฟล์ ttf มาแล้วแค่นี้กลับนึกไม่ออก)
OOo นี่บริษัทเพื่อนผมเอาไปใช้ โดนปัญหาเรื่อง Performance แก้ไม่ตกด้วย
จนต้องถอยกลับมา MS Office เสียค่าคำเนินการไปหลายล้าน
I need healing.
Google Docs ตัดคำไทยไม่ได้ไม่เป็นปัญหาเหรอครับ ผมเองก็ใช้อยู่แต่ต้องเลี่ยงบางงานเพราะเรื่องตัดคำไทยนี่แหละ
ผมลองบน windows (chrome) แล้วมีปัญหาอยู่ แต่ลองบน ubuntu (chromium) มันตัดคำได้แล้วแฮะ
ผมมีแต่เอกสารภาษาอังกฤษครับ เลยลืมนึกไปสนิท แฮะๆ
ภาษาอังกฤษ อย่างเดียว ไม่ใช้ wps office ล่ะครับ ok เลย
GDoc มันดีตรงไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มน่ะครับ :)