เอกสารลับของ Edward Snowden ที่เปิดเผยออกมาเริ่มส่งผลอย่างชัดเจน ในปีที่ผ่านมาเราเห็นบริษัทต่างๆ ออกมาตรการการเข้ารหัส ทั้งการเข้ารหัสหน้าเว็บเพื่อป้องกันการดักฟังการสื่อสารจากผู้ใช้มาถึงเซิร์ฟเวอร์ และการเข้ารหัสการสื่อสารระหว่างเซิร์ฟเวอร์ด้วยกันเอง ตอนนี้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองสหรัฐฯ เองก็ออกมายอมรับว่าผลของเอกสารเหล่านี้ส่งผลในทุกระดับ ทั้งการขอความร่วมมือที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่เคยได้รับความร่วมมือ และการคำสั่งตามกฎหมายที่บริษัทต่างๆ เริ่มใช้กระบวนการต่อสู้จากเดิมที่ยอมทำตามคำสั่งแต่โดยดี
Eric Grosse หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของกูเกิลออกมาให้สัมภาษณ์ระบุว่าเขาเองยินดีให้ความร่วมมือเพื่อการป้องกัน แต่การดักฟังเพื่อหาข่าวกรองไม่อยู่ในสิ่งที่ให้ความร่วมมือได้แน่นอน ขณะที่กูเกิลเองก็เริ่มวางสายเคเบิลใต้น้ำด้วยตัวเองแล้ว
แม้การวางสายเคเบิลจะมีเหตุผลในเชิงธุรกิจว่าคุ้มกว่าการเช่าเคเบิลจากบริษัทอื่นๆ แต่ก็เป็นไปได้ว่ากูเกิลก็เริ่มไม่แน่ใจว่าการเช่าสายเคเบิลจากบริษัทอื่นจะเป็นส่วนตัวจริงหรือไม่ ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าบริษัทที่ NSA ใช้ดักฟังคือ Level 3 ผู้ให้บริการโครงข่ายไฟเบอร์รายใหญ่
บริษัทต่างๆ รวมถึงบริษัทสื่อสารอย่าง AT&T และ Vodafone มีเหตุผลชัดเจนที่จะไม่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานข่าวกรองอีกต่อไป เพราะการดักฟังเป็นวงกว้างทำให้บริการเหล่านี้อาจจะถูกถอดใบอนุญาตในหลายประเทศ รวมถึงความนิยมของผู้ใช้เองก็อาจจะหันไปเลือกผู้ให้บริการรายอื่นๆ แทน
Robert S. Litt ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ (The Office of the Director of National Intelligence - DNI) ออกมายอมรับว่าบริษัทต่างเริ่มหยุดให้ความร่วมมือที่เคยให้มาก่อนหน้านี้ พร้อมกับแสดงความเป็นห่วงว่าหากเหตุการณ์ยังเป็นเช่นนี้ งานข่าวกรองจะไม่สามารถหาข่าวกรองได้พอที่จะป้องกันประเทศ
ที่มา - The New York Times
Comments
เป็นแนวโน้มที่ดีครับ
เพราะขนาด Google ดึงข้อมูลเราเฉพาะเวลาเราใช้บริการเขายังเอาไปได้ขนาดนั้น จนหลายคนรู้สึกว่า Google รู้จักเราดีกว่าเรา ถ้าดักทั้งหมดหลายผู้บริการนี่ก็...
คุ้มว่า => คุ้มกว่า
ทำตัวเองแท้ๆ
หัวข้อนี้ที่จริงต้องระวังนะ เพราะหลายครั้งเป็นแค่การปล่อยข่าวให้ตายใจ แล้วลดการระวังป้องกันตัวเอง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ลับ ลวง พราง?
คิดแบบนี้เหมือนกันเลยครับ
A smooth sea never made a skillful sailor.
+1 บริษัทไหนก็ไม่อยากเสียลูกค้าเสียความน่าเชื่อถือ ก็ยังคงยืนกรานว่าไม่ได้ยอม แต่ความจริงจำเป็นก็ต้องให้
ข้อควรระวังอีกอย่างคือ การ "ไม่ร่วมมือ" ไม่ได้แปลว่าไม่ได้ส่งข้อมูลให้ เพียงแต่ไม่ส่งข้อมูลในกรณีคำสั่งไม่ชัด หากคำสั่งชัดก็อุทธรณ์คำสั่งจนถึงที่สุดซึ่งจะดึงระยะเวลาออกไป
แต่กระบวนการที่มีปัญหาของสหรัฐฯ ก็ยังอยู่ ศาล FISA ยังคงเป็นศาลลับ คำพิพากษาต้องเปิดเผยย้อนหลังเป็นรอบๆ และเปอร์เซ็นต์การยกเลิกคำสั่งก็ยังต่ำมาก
lewcpe.com, @wasonliw
ในไทยก็มีความพยายามทำการดักข้อมูลดักฟัง เช่นกัน
แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เป็นของต่างประเทศเลยรอดไป
ยกเว้นพวกโทรศัพท์มือถือนะครับ
ส่วน internet ปัจจุบันเขาเข้ารหัสกันหมด ISP ในบ้านเราดักได้ก็จริงแต่ดักได้เป็น ciphertext
แต่เคสจับบก.ลายจุด เป็นเรื่องทีน่าสนใจขึ้นมา ว่าใช้วิธีการไหนจนหาต้นตอของเจ้าตัวได้ ทั้งๆที่postผ่าน facebook ที่เข้ารหัสน่าจะทั้งเวบ มีคนคาดเดาถึงขั้นว่า คอยดักการaccess ข้อมูลที่วิ่งไปที่FBทั้งหมด แม้จะไม่รู้ว่าไปที่เพจไหน แต่ดูจากเวลาที่post ข้อความในเพจ แล้วค่อยๆกรองออกจากเวลาที่post หลายๆหน (คล้ายๆกับวิธีหาตำแหน่งในการแก้memory เพื่อโกงเกม)
ช่วงนี้เนทเจ้านึง ออกตปท.ช้าๆและเจอข้อมูลขยะบ่อยมาก จนบางครั้งต้องยอมวิ่งผ่าน proxy ของISPนั้นๆ ถึงจะdownload ข้อมูลบางอย่างได้ครบถ้วน ไม่รู้จะมีการพยายามทำอะไรเบื้องหลังหรือเป็นแค่เรื่องบังเอิญจริงๆ
ส่วนมือถือไปที่MSCได้นี่จบเลยครับ ยกเว้นเปลี่ยนเบอร์ทุกครั้ง(ทั้งฝั่งโทรเข้าและออกนะ เพราะไม่งั้นดักจากการโทรออกของเบอร์คนรอบข้างได้)เมื่อก่อนใช้เบอร์ roaming เพื่อป้องกันดักฟัง เดี๋ยวนี้น่าจะหาวิธีแก้ได้แล้ว
ผมเชื่อว่าใช้วิธีสืบทั่วไปครับ เพราะ บก.นี่ก็คงรู้และใช้วิธีอื่นๆเพิ่มเติม เช่น TOR
การดักฟังกับการหาตำแหน่งนี่ผมว่าน่าคนละเรื่อง
เพราะวัตถุประสงค์ต่างกัน
การดักฟังคือล้วงเอาข้อมูลครับประมาณว่าที่เข้ารหัสคือไม่ต้องการให้รู้ว่าโพสต์อะไรถึงแม้จะรู้ที่อยู่คนโพสต์ก็เถอะ
แต่การหาตำแหน่งนี่ไม่ต้องการข้อมูลที่โพสต์ แต่ต้องการรู้ว่าคนที่โพสต์อยู่ที่ไหนดังนั้นการถอดรหัสได้หรือไม่จึงไม่สำคัญ
สำหรับในข่าวนี้คือการดักฟังเพื่อล้วงข้อมูลไม่ใช่การดักเพื่อหาตำแหน่งครับ
“CatchMe If You Can”
ประเด็นทางเทคโนโลยี
เอา IP มาได้อย่างไร?
ร้องขอบ.ที่อเมริกา ให้ส่งให้?
หรือใช้วิธีอื่นๆ เช่นดักที่gateway?
ประเด็นทางเทคโนโลยีนี่แหละที่น่าจะพูดคุยกันได้
มันวิ่งแปลก จริงๆนั่นแหละ