VIA ผู้ผลิตชิป x86 ที่เคยไปทำตลาดชิปประหยัดพลังงานก่อนหน้าอินเทลหลายปี (ก่อนอินเทลจะไปบุกตลาดด้วย Atom) ตอนนี้กลับมาสาธิตชิป Isaiah II ชิปรุ่นต่อไปน่าจะเปิดตัวช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้
ชิปรุ่นใหม่นี้ได้ทีมออกแบบจาก Centaur Technology ที่ทาง VIA ซื้อบริษัททมาร่วมงาน ตัวชิปเป็นแบบสี่คอร์ ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2 GHz
VIA แสดงผลทดสอบพลังประมวลผลในด้านต่างๆ ทั้งการประมวลเลขจำนวนเต็ม, ภาพมัลติมีเดีย, การเข้ารหัส, และการประมวลทางการเงิน ผลจากทาง VIA แสดงว่า Isaiah II อยู่ในระดับเดียวกับ AMD Athlon 5350 ที่ปล่อยความร้อนระดับ 25W TDP แรงกว่า Atom Z3770 อยู่หลายเท่าตัว แต่ผลทดสอบนี้ไม่ได้บอกว่า Isaiah II จะกินพลังงานระดับใด
ปัญหาสำคัญอีกประการคือชิปทั้งสองรุ่นที่ VIA นำมาเทียบนั้นวางตลาดแล้วทั้งคู่ ทาง VIA คงต้องเร่งวางตลาด Isaiah II ให้เร็ว
ที่มา - Tech PowerUP
Comments
เคยเชียร์ VIA อยู่พักนึง แต่ตอนนั้นเข็นไม่ขึ้นจริง ช่วงนี้น่าจะพอมีโอกาสบ้าง
เชียร์ แล้วใช้เปล่า
มันหาค่อนข้างยากนะครับ - -' พวก mini-ITX นี่เคยพยายามตามหาอยู่แต่ไม่เจอเลย (สั่งนอกสถานเดียวตอนนั้น)
ไม่ได้ใช้ครับ
ไม่ใช่แค่ไม่ใช้ VIA นะครับ ตอนนั้นผมไม่ได้ใช้ทั้ง VIA, Intel, AMD หรืออะไรเลย รู้จักมันแค่อ่านจาก Computer Today ที่ห้องสมุดโรงเรียนครับ
Will Via’s 64-bit Isaiah II run both x86 and ARM code?
สมัยที่ใช้ chipset via ปัญหาเยอะมากกกกก
ชื่อนี้ยังจะขายได้อีกเหรอครับ ผมคนนึงที่ขยาด จริงๆรู้ทั้งรู้ ว่าอะไรๆ มันคงเปลี่ยนไปเยอะแล้วแต่ก็ยังขยาดอยู่
ซื้อบริษัททมา => ซื้อบริษัทมา
จริง ๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ VIA ตาย หรือผุดลำบาก เป็นเพราะในยุค LGA 775 และ AMD64(938,939,942,940,754) ทางบริษัทผู้ผลิตทั้งสองค่าย ดังอย่าง Intel และ AMD ไม่ยอมเปิดเผิยข้อมูล (CPU) อย่างละเอียดทำให้ Ship ฝัง VIA ทำงานร่วมกับ CPU จากทั้งสองค่ายไม่ค่อยเสถียร (ถึงจะเสถียรก็ไม่ทันกับยุคและเสียทุนวิจัยมาก จึงกลายเป็นว่าทั้งตลาดระดับ ล่าง กลาง บน ถูกชิปเจ้าถิ่น (Intel & AMD กินเลียบ) เพราะเขาผลิต CPU เองย่อมจะรู้ว่า ควรออกแบบชิปเซตเช่นไร ในระดับ ลาง กลาง บน ทำให้ VIA ไม่สามารถครองตลาดล่างได้ สุดท้าย ก็ตายไปในที่สุด แม้แต่ NVIDIA ก็ยังต้องยอมยกธงให้ (เอาเป็นว่าผมจำได้คร่าว ๆ ประมาณแค่นี้)(แต่ตลาดชิปของเวียทางบริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ด ก็ยังเอาไปใข้ในการควบคุมอุปกรณ์ความเร็วต่ำอยู่บ้างในยุคก่อนล้มสลายเช่น ฮาร์ดดิสก์ USB ซีดีรอม etc. พูดง่ายๆ ก็คือสะพานใต้นั่นแหล่ะ(จุดเชื่อมข้อมูลด้านล่างความเร็วต่ำ)หรือ South brige (ช่วงยุค 775 และ AMD64 นั่นเแหล่ะ โดยส่วนมากจะพบในเมนบอร์ดราคาถูก ประมาณ 1200 ถึง 2000 บาท ซึ่งถูกใช้มากในหน่วยงานราชการ ราคาถูกแต่งบแพง(อิอิ))
ขอแก้อีกนิดหนึ่ง พอดียังไม่ได้อ่านบทความด้านบน เพราะในที่นี้เขาหมายถึง CPU ของ VIA ไม่ได้หมายถึง ชิปเซต
ดังนั้นบทความและข้อความทั้งหมดด้านบนนี้ ถือว่าผมพิมพ์ไปเพราะความเข้าใจผิด ก็อ่าน ๆ ไว้ประดับความรู้โดยบังเอิญก็แล้วกัน
ผมให้ความรู้สำหรับการเขียนบทความนิดหนึ่ง การใช้คำว่า ชิปกับ CPU นั้นสามารถใช้ได้ แต่ควรต่อท้ายด้วยคำว่า : ชิปประมวลผล หากใช้คำว่าชิปเฉยๆ อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปว่า เป็น : ชิปเซต ได้ แม้แต่ผมเองก็หลงเข้าใจผิดไปชั่วขณะหนึ่ง ต่อเมื่อเลื่อนขึ้นไปอ่านบทความจนจบ จึงทำให้รู้ว่าเขียนบทความผิดประเด็น
เห็นด้วยเลยครับ ผมคิดแบบนี้เลย
ก็ CPU ตัวเอง ทำเองขาย Chipset เอง มันก็ต้องสเถียรกว่าคนอื่นมาทำให้อยู่แล้ว
อย่าง nForce ตอนแรกๆ มีจุดขายที่ SLI ยังพอขายได้บ้าง
พอหลังๆโดน Intel บีบคอซื้อไป nForce ขายไม่ออกเลย
ใช้ล่าสุด VIA Apollo Pro 133
Z3770(tablet class) =~ 3-5W TDP
J2900(desktop atom) = 10W TDP
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)