จากประเด็นเรื่อง UberX เริ่มให้บริการในไทย แต่พบว่ากลับใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ที่เรียกกันว่าป้ายดำ) จนเกิดคำถามว่าผิดกฎหมายหรือไม่
ทีม Blognone สอบถามประเด็นนี้ไปยัง Uber ประเทศไทยแล้ว แต่ได้รับคำตอบว่าให้สอบถามไปยัง Uber ที่สิงคโปร์ และยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ระหว่างนี้เราจึงสอบถามความเห็นจากนักกฎหมายหลายท่าน และได้รับคำตอบมาดังนี้ครับ
กรณี Uber ที่แต่เดิมใช้รถลีมูซีน (รถยนต์บรรทุกคนโดยสารได้เกินกว่าเจ็ดคน) จึงอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 แต่ครั้นเปลี่ยนแนวธุรกิจมาจับตลาดล่างใช้รถยนต์นั่งธรรมดา คือรถยนต์บรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน จึงมิได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 แล้ว (เป็นไปตามข้อยกเว้นมาตรา ๕ (๒) (ก) พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ) แต่มาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ แทน โดยเข้าลักษณะเป็นรถยนต์สาธารณะตามนิยามมาตรา ๔ (“รถยนต์สาธารณะ” หมายความว่า (๒) รถยนต์รับจ้าง ซึ่งได้แก่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน หรือรถยนต์สาธารณะอื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจําทาง)
พอเป็นรถยนต์สาธารณะ หน้าที่ความรับผิดชอบของ Uber ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ทั้งในส่วนตัวรถยนต์จะต้องมีลักษณะเครื่องหมาย โคม TAXI-METER สีรถ ฯลฯ ตามกฎหมาย รวมทั้งตัวคนขับจะต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดด้วย ตัวอย่างเช่น
หาก Uber ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงเหล่านี้ เช่น ใช้รถยนต์ป้ายทะเบียนดำหรือขาว ไม่มีเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนคนขับรถรับจ้างสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน มีโทษปรับเช่นกัน (น่าจะประมาณ ๒,๐๐๐ บาท)
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำ ส่วนจะบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายได้หรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน
ส่วนประเด็นวิธีการเรียกใช้บริการ ไม่ว่าจะโดยการโบกเรียก หรือโทรศัพท์เรียก หรือผ่าน application ไม่ทำให้ความเป็นรถสาธารณะเปลี่ยนแปลงไปค่ะ เพียงแต่กรณีหลังอาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจยากขึ้นเท่านั้น
บริการแท๊กซี่เป็น "บริการขนส่งไม่ประจำทาง" ชนิดหนึ่ง ตามความในมาตรา 4(3) เป็นธุรกิจที่ควบคุมโดยกฎหมาย ผู้ที่จะให้บริการโดยได้รับค่าจ้าง ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ตามมาตรา 65 วรรค 2 และต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง ตามมาตรา 65 วรรค 1
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 126 ของ พรบ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522
หมายเหตุ: คัดลอกจากความเห็นคุณพิชัยในข่าวเดิม
ประเด็นเรื่องแท็กซี่ป้ายดำถือเป็นการใช้รถส่วนบุคคลไปทำการรับส่งผู้โดยสาร ถือว่าผิด พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 มาตรา 21 เรื่องการใช้รถผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้อยู่แล้ว ดังนั้น Uber ในฐานะผู้ประกอบการจัดให้บริการที่ผิดกฎหมาย ตามหลักกฎหมายทั่้วไป ก็อาจถือได้ว่าประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย
Comments
จับไม่ยากหรอก
เรียกมาโรงพักวันเดียวก็เกลี้ยงทุกคัน
ง่ายกว่าเดิมอีก
บางจุดใช้เลขไทย บางจุดใช้เลขอารบิค อันนี้จงใจมั้ยครับ
เป็นวิธีพิมพ์ของนักกฎหมายครับอันนี้
แต่ตรงนี้ดูขัดกันมากๆเลยครับ
ไม่ขัดนะครับ ปกติการปรับในโลกความเป็นจริงไม่ได้ปรับตามระดับสูงสุดตามกฎหมายกันอยู่แล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
น่าจะหมายถึงเลขอารบิคกับไทยครับ 55555
ผมว่าไม่ใช่นะครับ ปกติจะพิมพ์เลขไทยเพราะอยู่ในระบบราชการ อย่างเช่น อ.จันทจิรา ก็สอนอยู่ที่ธรรมศาสตร์ ส่วนคุณพิชัย อยู่สำนักกฎหมายธรรมนิติ ซึ่งเป็นสำนักงานทนายความปกติติดต่อราชการกับทางศาล ก็ต้องใช้เลขไทย
ในขณะที่นักกฎหมายในบริษัทเอกชน (in house lawyer) หรือบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างชาติ (Law Firm) โดยปกติที่ไม่ได้มีการติดต่อกับส่วนราชการก็ไม่ได้ใช้เลขไทยครับ
นอกจากเรื่องตัวเลขไทยกับเลขอารบิคที่ขัดกันแล้ว ก็มีตัวอักษรย่อด้วยครับ อย่าง
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
ควรเลือกใช้ไปเลขครับว่าจะใช้ พ.ร.บ. หรือพระราชบัญญัติ
A smooth sea never made a skillful sailor.
ผมเข้าใจว่าคุณ MK หมายถึงเขาพิมพ์มาเองแบบนั้นนะครับ
ผมก็คิดว่าผิดกฎหมาย
ในแง่ของกฎหมาย ผมก็ว่ามันผิด แต่เพราะรถที่ถูกกฎหมายสร้างปัญหาให้เรา ทำให้เราคิดที่จะมองหาทางเลือกอื่นๆ จนมองข้ามเรื่องกฎหมายไป
ในแง่กฎหมายคงจะผิด แต่ถ้ามองในแง่บริการแท๊กซี่แล้วบางทีมันก็คือตัวเลือกที่ดีก็ได้นะ
อย่าเอา uber ชั้นไป
ใช้การ์ดกฎหมายป้องกันมะ?
Taxi ป้ายเหลืองไม่รับผู้โดยสารไม่เห็นใช้กฎหมายควบคุมเลย
ตำรวจช่วยโบกแท็กซี่หน้าMBK 3คันไม่ไปสักคัน สุดท้ายโดนจับเลย
ผมเซ็งมากกว่าเวลาเจอ Taxi และรถตู้ป้ายแดง
เพราะป้ายเหลืองของพวกท่านไม่รับผมไงครับ ผมถึงต้องมาใช้ทางเลือกนี้ เฮ๊อะ เอาผิดป้ายเหลือง+จอดให้เป็นที่ ไม่ปาดหน้าก็พอ ขับทียังกับทัวร์นรก จะงีบสักหน่อยก็หัวโขกกระจก
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
ถ้าป้ายเหลืองไม่รับ แล้วสามารถถ่ายคลิปแจ้ง มีรางวัลนำจับให้ ก็น่าจะดีครับ
พอไม่รับ โทรแจ้ง แล้วไม่รู้จะเกิดมรรคผลอะไร แท็กซี่ก็ไม่หลาบจำ ไม่มีไรดีขึ้น
เห็นด้วยครับ ผมว่าควรจะมีระบบติดตามความคืบหน้าว่าดำเนินการอะไรไปถึงไหนบ้าง
ผมเคยร้องเรียนครับ 3 ช่องทาง
โทร 1584, โทรไปหมอชิต 2, ออนไลน์ http://history.dlt.go.th/pddc_ppt/jsp/security/initLogin.action
ในเว็บจะตรวจสอบสถานะได้ตลอดครับ แต่ว่าผมเห็นค้างอยู่ที่ "ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ" นานโข ก็เลยเลิกสนใจไปเลย ผ่านไปประมาณ 9-10 เดือนครับ มี SMS ส่งมาแจ้งว่าได้ดำเนินการเทียบปรับเรียบร้อย
ช้าไปนะครับ แบบนี้
ผมเคยแจ้งไป 3-4เคส เร็วสุดก็ 3เดือน กว่าจะเรียกมาเปรียบเทียบปรับ
ระยะเวลาดำเนินการมันนานไปครับ
ถ้าจดทะเบียนก็จบใช้ไหมครับ
ตายห่ะ เมื่อวานพึ่งสนับสนุนผู้ทำผิดกฏหมายไป
คนขับรถแท็กซี่ทำผิดกฎหมายเยอะมากจนจะเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว
มีบริการมีตัวเลือกใหม่ๆ ก็พยายามขวนขวายหาความผิดขัดแข้งขัดขา(ซึ่งก็ผิดจริงตามเนื้อข่าวแต่ผมว่าเป็นความผิดที่ไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเหมือนแท๊กซี่บ้านเรา) ส่วนคน(แท๊กซี่บ้านเราส่วนใหญ่)ที่ทำผิดอยู่เห็นๆ ดันจัดการไม่ได้เห็นอยู่ว่าประชาชนเดือดร้อนแต่ไม่แก้ไข
ตกลงกฏหมายมีไว้เพื่ออะไรเหรอครับ(เพื่อป้องกันคนใหม่ๆ ห้ามทำผิดนะแต่คนก่อนๆ ที่ทำผิดอยู่แล้วไม่เป็นไร? นี่ยังไม่รวมพวกคดีฆ่าข่มขืนที่คนทำสารภาพแล้วลดโทษอีกนะ)
ถ้ามีเวลาช่วยจัดการสิ่งเดิมให้ดีก่อนดีไหมครับ
ใครเจอคนใจดีอยากพาเราไปส่ง เราก็ใจดีให้เงินตอบแทน
อยากให้เกิดการแข่งขันแท็กซี่ที่มีคุณภาพด้านความปลอดภัยที่ดีกว่านี้ แต่ก็ไม่อยากให้ฝ่าฝืนข้อกฎหมายครับ
+1
ทำเหมือน CAR POOL แบบเก็บเงิน(ประมาณแชร์ค่าน้ำมันกัน)ก็ผิดไหมครับ ตั้ง facebook page แล้วใครจะไปไหนก็แปะเลย สถานที่ เวลา อะไรแบบนี้
uber คือ uber ไม่ใช่ taxi นี่ครับ
ไม่ได้รับจ้างสาธารณะ ที่ขับๆไปใครโบกก็รับนี่ครับ
แต่เป็นการนัดหมายส่วนบุคคล ว่าจะเจอกันที่ไหนตอนไหนและไปไหน
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522
มาตรา 4 "รถยนต์สาธารณะ" หมายความว่า
(2) รถยนต์รับจ้าง ซึ่งได้แก่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน หรือรถยนต์ สาธารณะอื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทาง
องค์ประกอบคือ รถยนต์ + เกิน 7 ที่นั่ง + รับจ้าง เท่านี้ก็เข้าหลักเกณฑ์แล้วครับ
A smooth sea never made a skillful sailor.
ความหมายของผมคือ uberไม่สาธารณะ
แต่ก็ตามที่คุณว่า มันเข้าข่ายจริงๆ
ถ้าไม่เคยมีuberเกิดขึ้นเลย
รถกระบะรถตู้ป้ายดำที่วิ่งรับนักเรียนผิดมั้ย
รถเก๋งป้ายดำที่วิ่งรับตามรร.ไปสนามบินล่ะ
และพวกรถป้ายดำที่วิ่งรับส่งคนงานอีกล่ะ
พวกนี้ไม่เข้าข่ายอะไรนี่เหรอครับ
เคยมีใครเอาพวกนี้มาตีความด้านกฎหมายมั้ย
อย่างว่าuberดั้นไปทับเส้นกะคุณชายแท็กซี่กิตติมศักดิ์ซะได้
...ถ้าตัดถูกผิดออกไปนะยังไงก็เชียร์uberก็แท็กซี่ดีๆเจอยากมากทั้งที่มันเกลื่อนเมืองขนาดนั้น
รถตู้ป้ายดำตอนนี้มีเพียบ เห็นด้วย
รับส่งคนตามหน่วยงานต่างๆ เช้า-เย็น