นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเสนอแนวคิดว่าจะสร้างดาวเทียมใช้เอง โดยมีเหตุผลด้านความมั่นคง จากทุกวันนี้ที่หลายกระทรวงเช่าดาวเทียมเอกชนใช้งานประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท และงบประมาณสร้างดาวเทียมก็ใช้เงิน 7,000-8,000 ล้านบาท แต่ไม่รวมค่าดำเนินการ
ตอนนี้ยังการสร้างดาวเทียมเองคงเป็นแค่แนวคิด เพราะในความเป็นจริงงบประมาณที่แต่ละกระทรวงใช้ก็ใช้งานต่างกันไป ทั้งดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียมสำรวจทรัพยากรแบบต่างๆ
ตอนนี้เรื่องจะส่งไปยังคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติให้ศึกษารายละเอียดต่อไป
ที่มา - Thai Post
Comments
ถ้าทำจริงงบประมาณคงไม่พอครับ ต้องมีดาวเทียบหลายตัวในแบบต่างๆ เพราะใช้งานต่างกัน
แต่ถ้างบถึงก็ทำได้อยู่แล้วล่ะ
ผมว่าตัวเลขนี่หลอกตามากครับ ดาวเทียมสื่อสารนี่ส่วนมากเป็นดาวเทียมค้างฟ้า (GEO stationary) จะเอาวงโคจรจากไหนยังน่าสงสัย และใช้งานจริงจะใช้คุ้ม? ภาครัฐต้องการดาวเทียมสื่อสารมากขนาดนั้น? ส่วนดาวเทียมสำรวจนี่เท่าที่เห็นเป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO)
ถ้าจะสร้างแล้วจะสร้างกี่ดวง ถ้าจะเอาดาวเทียมวงโคจรต่ำมาสื่อสารก็ต้องสร้างหลายๆ ดวง สุดท้ายแล้วสร้างมา capacity เหลือแล้วจะเอาไปทำตลาดเอง?
lewcpe.com, @wasonliw
สร้างเถอะ ผมโหวดให้1เสียง
อ่าว แล้ว ไทยคม ล่ะครับ? นึกว่าของรัฐฯ o_O?
^
^
that's just my two cents.
ไทยคมเป็นบริษัทลูก ของ intuch ครับ ชินคอร์ป เดิม
ไทยคมอยู่ภายใต้สัมปทานและ license น่ะครับ
สร้างเลยครับ สนับสนุน
แต่ขอให้ใช้อย่างคุ้มค่าด้วยนะครับ อย่าให้เป็นขยะอวกาศล่ะ
พูดยังกะว่า สร้างเสร็จก็จบ
สื่อสารอะไร ขอบเขตแค่ไหน
ความมั่นคงนี่เป็นความมั่นคงของอะไร ทางทหารหรือเปล่า
เอาจริงๆ ดูที่ขอบเขตน่าจะพอเห็นอะไรบ้างนะว่ามันคุ้มค่าจริงๆ หรือเปล่า
ผมว่าภาครัฐ ควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งบริษัทเอกชนมาทำเฉพาะด้านนี้จะดีกว่า ตอนนี้ไม่แน่ใจมีเฉพาะไทคมหรือเปล่า ควรให้เกิดการแข่งขันในตลาด และมีความเป็นมืออาชีพในการดำเนินการ ที่สำคัญควรให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามากกว่าซื้อมาใช้จ้างเค้าทำ
Texion Business Solutions
ไม่สร้างพื้นฐานก่อน งบ R&D เพิ่มหรือยัง? ปฏิรูปการศึกษาไปถึงไหนแล้ว?
ปฏิรูปการศึกษาคงไม่ใช่หน้าที่ ICT ล่ะมั้งครับ
ปฏิรูปการศึกษา?
นี้กระทรวง ICT นะครับ
ไทยคมเป็นของรัฐ (กสทช. ถือสัมปทาน) เพราะค้องโอนให้เป็นของชาติ แต่เงินทุนที่สร้างและมาจากเอกชน เพราะรัฐไม่มีเงินมากพอที่จะสร้างและส่งขึ้นวงโคจรได้
IPstar เป็นบทเรียนนึงที่ย้ำเตือนผมเป็นอย่างดีว่า ถ้าวันไหนฝนตกก็จอดสนิทเลย
(มโนล้วนๆ) เดิมจ้าง outsource 7000 ล้าน จะสร้างเอง 8000 ล้าน(งานเพิ่มระหว่างก่อสร้าง 1000 ล้าน ) และจบด้วยจ้างคนมาดูแลคิดค่าดำเนินการปีละ 7000 ล้านบาท
ช่างนี้ไม่มีใครกล้าตรวจสอบ ก็อร่อยเค้าหละ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ช่าง -> ช่วง
สรัางเอง 8000 ล้านก็จริง
แต่ค่าดำเนินการล่ะ 7000 ล้านเท่าเดิมหรือเปล่า? ที่สำคัญกว่านั้นคนไทยที่มีประสบการณ์ด้านดาวเทียมมีไม่มาก มีสองทางคือ
1. จ้างต่างชาติ
2. ทุ่มค่าหัวแย่งตัวจากบ.ไทยคม
เงินเดือนสวัสดิการ ต้องดีกว่าเอกชนนะถึงจะดึงดูดได้ แต่ถ้าจะเอาเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอยู่มาจัดการเวลามีปัญหาจะทำยังไง ประสบการณ์มันสำคัญมาก ๆ
คือดาวเทียมมันไม่ได้สร้างแล้วจบ มันต้องมีเสาที่ใช้รับ มี Gateway มีสถานีส่ง มีการบำรุงรักษา ถ้าดาวเทียมสื่อสารจริง ๆ ก็ต้องมี Diversity Site อีกป้องกันตอนฝนตก
สิ่งที่ได้เพิ่มขึ้นมาคือความรู้และประสบการณ์ครับ ของพวกนี้ถ้าไม่เริ่มต้นทำเองเราจะไม่กระดิกไปไหนเลย
แต่ผมว่าเล่นของสูงเกินไป ผมอยากให้เริ่มที่ทำรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าความเร็วสูงเองก่อนครับ ตัวขบวนรถและหัวรถจักรนั่นแหละ
กำลังจะพูดแบบเดียวกันเลยว่า ของง่ายๆมีเยอะแยะทำไมไม่คิดจะทำแต่ดันไปทำของยากซะขนาดนั้น
แต่จริง ๆ แล้วถ้าอยากลงทุนต้องยอมครับดูดคนเข้ามาให้ได้
ไทยคม 1 2 เนี่ยแม้จะมีทีมออกแบบของทางต่างประเทศช่วยเหลือ มี Consult ที่เทพมาก ๆ ก็ยังมีความผิดพลาดบางอย่างครับ จนทำให้มันอยู่ที่วงโคจรเดียวกันไม่ได้ (และอาจจะเป็นเรื่องการรักษาวงโคจรด้วย)
แต่เอาจริง ๆ คิดอีกทีก็ดีเหมือนกันครับ เราอาจจะปล่อยจรวดได้เองในบ้านเราก็ได้ เพราะถ้าไม่มีดาวเทียมก็ไม่รู็จะสร้างจรวดไปปล่อยอะไรเหมือนกัน ดาวเทียมที่ว่าผมว่า LEO น่าจะง่ายหน่อย แต่ก็พวกดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ส่วน GEO ผมว่าเหนื่อยพอตัวเพราะต้องไปคุยกับเจ้าของวงโคจรข้างเคียงด้วยว่าเค้าโอเคมั้ย
ช่างเป็นข่าวที่ทำให้คิดถึงวีรกรรมของ Theos จริง ๆ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ขออยากทราบรายละเอียดอ่ะครับ วีรกรรมอะไรเหรอครับไม่ทราบจริงๆ
ช่วยกรุณาด้วยนะครับ
ดาวเทียมไทยโชต
ใช้สำรวจทรัพยากรทั้งภายในประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน แสดงความประสงค์นำข้อมูลดาวเทียมธีออสไปใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาข้อมูล และใช้ทำแผนที่ในภารกิจที่รับผิดชอบ เช่น การสำรวจหาชนิดของพืชผลการเกษตร, การประเมินหาผลผลิตการเกษตร, การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้, การสำรวจหาพื้นที่สวนป่า, การสำรวจหาชนิดป่า, การสำรวจหาพื้นที่ทำนากุ้งและประมงชายฝั่ง, การสำรวจหามลพิษจากคราบน้ำมันในทะเล, การสำรวจหาแหล่งน้ำ, การสำรวจหาแหล่งชุมชน, การสำรวจหาพื้นที่ปลูกฝิ่น, การวางผังเมือง, การสร้างถนนและวางแผนจราจร, การทำแผนที่, การสำรวจหาบริเวณที่เกิดอุทกภัย, การสำรวจหาพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม, การสำรวจหาพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ
^
^
^
ที่โม้มาด้านบน เกินครึ่งทำไม่ได้ หรือทำได้ก็ไม่ดีครับ เพราะความละเอียดของดาวเทียมมันระดับ "หลายเมตร" ภาพสีซักไปสิบกว่าเมตร ขาวดำดีหน่อย สองสามเมตร ลองนึกภาพ "ต้นลำไย" ซักต้นนึง มีภาพให้เห็นเป็นสีขาวดำต้นละ 3 พิกเซล ส่วนภาพสีพิเซลเดียว จะแยกออกได้ยังไงว่าอันนี้ต้นลำไย อันนี้ต้นทุเรียน??? ขนาดภาพระดับความละเอียดสูง "ต่ำกว่าเมตร" ยังแยกยากเลยครับ
วางผังเมืองก็ยาก บ้านเดี๋ยวนี้แต่ละหลังเล็กนิดเดียว และการใช้ภาพความละเอียดต่ำมากำหนดผังเมือง มันจะนำไปสู่กรณีพิพาทได้มากมาย เพราะเวลาไปวัดสถานที่จริงเขาวัดกันเอาเป็นเอาตาย ผิดมาเมตรนึงก็ทะเลาะกันตายแล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะวางผังเมือง สร้างถนน วางแผนจราจร ทำแผนที่ มันทำได้แค่คร่าว ๆ คร่าวมาก ๆ แบบระดับนโยบายเลยครับ
ที่ดูน่าจะพอมีประโยชน์ก็คง การสำรวจหาบริเวณที่เกิดอุทกภัย, การสำรวจหาพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม, การสำรวจหาพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ เออ ดูดี เพราะวงโคจรมันวนมาที่บริเวณเดิมทุก ๆ เกือบสองชั่วโมง แต่เอาเข้าจริง ๆ สถานการณ์บางอย่างสองชั่วโมงมันไม่ทัน และการวนมาที่เดิมของมันก็ไม่ได้แปลว่าจะถ่ายได้สวย ๆ ทุกครั้ง (อาจเจอเมฆหมอก) และถ่ายแต่ละครั้งมันก็ใช้เวลาประมวลผลไม่น้อย ภาพมันไม่ real time มาก ๆ อย่างที่หวังกันหรอก แต่ก็ไม่เถียงนะครับว่ามันก้พอมีประโยชน์บ้าง อย่างน้อยก็ได้ภาพที่ทันเหตุการณ์พอสมควร (แต่แค่ไม่ชอบการโฆษณาเกินจริงของมันเอามาก ๆ)
และสุดท้ายครับ ดาวเทียมนี้ขึ้นสู่อวกาศ ต.ค. 2551 กว่าจะได้ภาพแรก ๆ ออกมาอย่างเป็นทางการก็เกือบปี 52 อยู่ละ
ไอ้ที่ผมบอกว่าประโยชน์ที่มันทำได้แค่ "คร่าว ๆ" ในย่อหน้าก่อน เปลี่ยนจากไปดึงภาพจาก Google Map หรือ Open Street Map มายังทำได้ดีกว่าเลยครับ ปลายปี 51 ภาพพวกนี้มีให้บริการฟรี ๆ บนอินเตอร์เน็ตกันให้ลึ่ม
สิ่งเหล่านี้มันทำให้คนในวงการสงสัยกันว่าไอ้ดาวเทียมดวงนี้มันคุ้มค่าตรงไหนกัน?? (6,000 ล้านบาท)
และเราชาวไทยรู้จัก Theos หรือไทยโชตแค่ไหน ถ้าไม่ค่อยจะรู้จักหรือไม่เคยได้ยินกันเลย ต้องถามตัวเองแล้วครับว่าทำไม? ถ้าประโยชน์มันมหาศาลอย่างที่โม้ไว้จริงทำไมเราถึงไม่ค่อยได้เห็นภาพมันในทีวี ในข่าว ในหน่วยงานรัฐอะไรก็ตาม ทำไมเขายังใช้ภาพจากเจ้าอื่นมาขึ้นโชว์อยู่เรื่อย ๆ (เอ หรือนักข่าวแค่พูดว่าภาพถ่ายดาวเทียม แต่ไม่ได้บอกว่าของเจ้าไหน เราเลยไม่รู้ว่าจริง ๆ มันมาจาก Theos???)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!