เป็นที่ทราบกันดีว่า สังเวียน Social Networking ของโลกกำลังร้อนระอุ จากการโต้ตอบกันระหว่างสองยักษ์ คือ Google ยักษ์ใหญ่โลกออนไลน์ กับ Facebook ผู้นำหมายเลขสองของตลาด Social Networking
ผู้คร่ำหวอดและคนที่คอยสังเกตการณ์ มาตั้งแต่ช่วงแรกๆที่ Facebook ได้เปิด Platform ของตัวเองให้นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลก เข้ามาใช้ในการทำมาหากิน (เหมือนเป็นเปิดตลาด ให้พ่อค่าแม่ค้าเอาสินค้ามาขายคนเดินตลาด) ด้วยเหตุผลนี้ รวมกับการเปิดให้คนจากทั่วโลกเข้ามาลงทะเบียนใช้บริการได้ซึงจากเดิมจำกัดเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐเพียงอย่างเดียว ทำให้ช่วงนั้น ใครๆก็คิดว่า Facebook คงจะเอาชนะ Myspace ได้ในอีกไม่นาน ทั้งที่ ณ ตอนนั้น ตัวเลขผู้ใช้ของ Myspace ราวๆ 150 ล้าน และของ Facebook ราวๆ 30 ล้านได้ ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วต่างกันถึง 5 เท่า!
(รายละเอียดคลิกตามลิงค์ครับ)
ที่มา: Worawisut.in.th
Comments
ผมเข้าใจว่าการเขียนข่าวโดยการ link ไปที่เวบของตัวเองแบบนี้ โดยที่ในเนื้อหาที่เขียนไม่มีเนื้อข่าวเลย ต้องคลิกเข้าไปอ่านต่อเท่านั้น ไม่น่าจะถูกต้องตามนโยบายของ blognone นะครับ คิดว่าถ้าเป็นบทความยาวๆ แบบนี้เอามาลงเป็น in-depth น่าจะเหมาะกว่า
Don't think, Just read
pittaya.com
คุณ worawit เขียนข่าวได้น่าสนใจนะครับ แต่ว่าการเขียนแบบให้คนกลับไปอ่านที่ web ตัวเองแบบนี้ ไม่ผ่านมาตรฐานของ blognone นะครับ (จำได้ว่า lew เคยเตือนแล้ว) ถ้าเป็นไปได้ ลองเขียนให้ข่าวมันมีเนื้อหามากกว่านี้ได้มั้ยครับ เช่น สรุปความออกมา (มีขึ้นต้น มีลงท้าย) ให้คนอ่านสามารถได้สาระของข่าวอย่างสมบูรณ์(แบบย่อ ๆ) จากข่าวที่คุณเขียนใน blognone และอาจจะมี link ข่าวต้นฉบับ และ link ของเว็บคุณเอง สำหรับคนที่อยากอ่านเพิ่มเติม ผมว่าจะดีกว่านะครับ :)
ตามที่ผมเข้าใจนะครับ
ขอให้แยกแยะออกมาเป็น 2 กรณี
1. ถ้าเป็นข่าว (News) แปลมาก็ยอมรับว่าเป็นข่าว ถึงจะเป็นการแปลแบบมีการเรียบเรียง ก็เป็นข่าวอยู่ดี มีแหล่งอ้างอิง นี่เป็นข่าวที่ลง Blognone ทุกๆวัน
ผมคิดว่า ข้อเขียนอันนี้เป็นข้อ 2 นะ ไม่ใช่ข้อ 1
แน่นอนว่าแหล่งข่าวที่มามันก็มี ถ้าจะให้ผมแปลข่าว ตามแหล่งอ้างอิงนั้น ก็ใช้เวลาไม่มาก ซึ่งก็จะได้อ่านข่าวที่ "แปล" มา หรือ อาจจะเป็นการ สรุปความมาเขียนต่อ ก็จะได้ข่าวอีกแบบหนึ่ง
ความแตกต่างของมันก็คือ article นอกจากมี opinion แล้ว ยังมี sequence เช่น อาจจะมีการปูทาง ลำดับเรื่อง เพื่อเหตุผลบางอย่าง (เช่น ทบทวน ดู history etc.)
นั่นคือความแตกต่างนะครับ
อย่างกฏหมายลิขสิทธิ์ ก็จะเขียนไว้ว่า ถ้าเว็บไซต์ จะลอกข่าว เช่น ถ้าผมลอกไทยรัฐ ข่าวสด ไปลงเว็บตัวเอง ไม่ผิดกฏหมายนะ ต่อให้เนื้อข่าวจะแตกต่างกัน เพราะกฏหมายบอกว่า ข่าว (fact) เป็นข้อยกเว้น
แต่ถ้าไปลอกข้อเขียนใน BrandAge Magazine , Microcomputer มาลงเว็บ ถือว่าผิดกฏหมาย เพราะนั่นคือ "thought" , opinion ,idea
หัวข้อก่อน ที่เตือนมา อันนั้นเป็นข้อ 1 อันนี้ยอมรับนะครับ
สำหรับเรื่องไอที ต้องยอมรับนะครับว่า ไม่ได้มีเฉพาะคนไอที เท่านั้นที่อ่าน ผมเชื่อว่ามีคน non-IT จำนวนมาก เริ่มรู้จักและเข้ามาอ่านข่าวไอที คนวงการ Marketing,Finance และอื่นๆ ก็เริ่มจะสนใจ นั่นคือ Target Segment ที่ผม ก็อยากให้เข้ามาอ่าน โดยที่มีความรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่ยาก (ซึ่งอาจจะคนละ Target กับ Blognone ที่เน้นคนไอที) ซึ่งวิธีการเขียนแบบนี้ ผมสำรวจมาแล้วว่าคนอ่านเข้าใจ (โดยการส่งให้เพื่อนๆ MBA ของผมซึ่งแต่ละคนไม่มี background ด้าน IT เลย ตัวเลขก็ราวๆร้อยกว่าๆ) นั่นคือ measurement ของผมที่ใช้ปรับปรุงวิธีการเขียนมาตลอด โดยอาศัย feedback จากคนรอบๆตัว (ทุกวันนี้ก็ยังต้องแก้ไขกันอยู่ เพราะติด jargon มากไป)
การที่ผมจะเอามาแปะทั้งหมด คงยาวไป และไม่เข้าข่าย "ข่าว" คิดว่าอาจจะไม่ถูกตามกฏ (ส่วน in-depth ผม ไม่แน่ใจว่าจะเลือกลงตรงนั้นได้อย่างไร รบกวนถามด้วยครับ:)
ผมยินดีแก้ไขนะ แต่อยากให้ทางนี้ต้องมีความชัดเจนก่อน ในการ Clarify อะไรบางอย่าง เพื่อจะ apply อะไรบางอย่าง
ทั้งนี้ไม่ใช่้แค่ Clarify เฉพาะคนดูแลเว็บ คนอ่านก็ต้อง clarify ด้วย เช่น อาจจะแยกข่าวหรือบทความออกจากกันไปเลย
ใส่แท็ก in-depth แล้วก็เขียนลงได้เหมือนปกติครับ ถ้ายาวไปก็ใส่ break เข้าช่วย ลองดูตัวอย่างของบทความใน in-depth เก่าๆ ดูนะครับ ผมก็เคยขอบทความจากที่อื่นมาลงออกบ่อย