เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2558 ในงานประชุม "เวทีประชาสังคมไทยว่าด้วยการอภิบาลอินเทอร์เน็ต" ที่มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น อานนท์ ชวาลาวัณย์ เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้กล่าวในหัวข้อเรื่อง ผลกระทบทางการเมืองต่อบรรยากาศโลกออนไลน์
ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 57 จนถึงวันที่ทำข้อมูล (13 ก.พ. 58) พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 112 แบบไม่รวมคดีแอบอ้างเบื้องสูงเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จำนวน 32 คน แบ่งเป็นคดีที่เกิดในโลกออนไลน์ 26 คน ออฟไลน์ 6 คน โดยกรณีออนไลน์นั้นเกิดบนเว็บ Facebook, YouTube, 4shared รวมถึงอีเมล ซึ่งกรณีอีเมลนั้นน่าสนใจ เพราะเป็นการส่งลิงก์เว็บไซต์ให้ชาวต่างชาติ มีคำถามว่ารัฐเข้าถึงอีเมลซึ่งเป็นการสื่อสารของคนสองคนได้อย่างไร ในอนาคต ถ้ามีกฎหมายให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงอีเมลได้ง่าย คนอาจถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 เยอะขึ้น
หลังรัฐประหาร คสช.ออกประกาศให้คดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 27 พ.ค. 57 ถูกพิจารณาโดยศาลทหาร ซึ่งมีโทษสูงกว่าศาลพลเรือน มีการพิจารณาลับ ไม่มีสิทธิอุทธรณ์-ฎีกา และไม่มีการสืบเสาะซึ่งอาจช่วยลดโทษ ทางอานนท์ ตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้ว่า ความผิดออนไลน์แม้จะโพสต์ก่อนมีประกาศดังกล่าวแต่หากสาธารณะยังเข้าถึงได้ ก็ถือเป็นความผิดต่อเนื่องทำให้ต้องขึ้นศาลทหาร อาทิ กรณี ทอม ดันดี ซึ่งถูกดำเนินคดี 112 จากการปราศรัยก่อนรัฐประหารนั้นเดิมคดีอยู่ศาลพลเรือน แต่ต่อมาในเดือน มิ.ย. 57 พบคลิปปราศรัยดังกล่าวในอินเทอร์เน็ต ก็ถูกย้ายไปศาลทหาร
อีกเรื่องที่น่ากังวลคือเรื่องการจับกุมและดำเนินคดีทั้งที่หลักฐานอ่อน อย่างกรณีจารุวรรณ สาวโรงงาน ซึ่งถูกฟ้อง 112 จากข้อความใน Facebook โดยเธอได้เดินทางไปยังสถานีตำรวจเพื่อชี้แจงว่า Facebook ถูกแฮก แต่กลับถูกส่งตัวจากราชบุรีมาฝากขังที่กรุงเทพฯ พร้อมชายอีกสองคน พวกเขาถูกฝากขังอยู่ 80 กว่าวัน ก่อนอัยการจะไม่สั่งฟ้อง โดยในวันจับกุมนั้นสื่อหลายฉบับลงข่าวทั้งชื่อ-ที่อยู่ของเธอ แต่พอได้รับการปล่อยตัวและไม่มีการดำเนินคดีกลับไม่เป็นข่าว
นอกจากนี้ อานนท์ยกตัวอย่างคดี 112 ที่จังหวัดอุบลราชธานี กรณีมีชายคนหนึ่งถูกดำเนินคดี 112 จำนวน 9 ข้อความ จำคุก 30 ปี แต่สารภาพลดโทษเหลือ 15 ปี โดยทนายเปิดเผยว่า วิธีที่หน่วยงานความมั่นคงใช้คือ ใช้โปรไฟล์ Facebook เป็นสาวสวย เข้ามาขอเป็นเพื่อน (add friend) เริ่มต้นก็คุยเรื่องสัพเพเหระก่อนจะชวนคุยการเมือง ซึ่งนี่ตรงกับที่ก่อนหน้านี้ตำรวจเคยออกข่าวว่า "เราจะไปเป็นเพื่อนกับท่าน" จึงอยากเตือนผู้ใช้ให้ระมัดระวังเวลาจะพูดอะไร แม้แต่ข้อความแชทใน Facebook หรืออีเมลก็ไม่ปลอดภัยแล้ว
ที่มา - ประชาไท
Comments
เดินทางสถานีตำรวจ ?
ผิดตั้งแต่ src เลย เหอๆ ก็ว่าแสกนแล้วเพิ่มคำเชื่อมครบละนะ ยังมีหลุดมาได้ แต่แก้ละครับ
Youtube -> YouTube
ต้องถามแบบความเป็นจริงนะคับ มันเคยปลอดภับด้วยหรอ
คือแต่ก่อนต้องมีหมายศาล(?)ครับ แต่ตาม พรบ. ฉบับนี้ไม่ต้องมีหมายศาลครับ
ผมว่าไม่เลยคับ จริงๆทุกประเทศมีทำแบบให้คนอื่นไม่รู้แต่ในไทยทำอยากเพราะไม่ได้เป็นผู้ผลิดเทคโนโลยีเอง เลยทำให้ทำได้ยาก
เทคนิคแบบนี้เรียกว่าการล่อซื้อ
ส่วนใหญ่คนเล่นเฟสมักจะใช้โปรไฟล์จริงหน้าจริงอยู่แล้ว
คนที่ยังใหม่กับ social network มันไม่ระมัดระวังข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองบอกกระทั่งตอนนี้ตนเองอยู่ตรงไหนยังกับจะยั่วให้ไปจับ
ขนาดบอร์ดที่ผมเคยคุมสงสัยมีพวกมาแกล้งยั่วเพื่อหาเรื่องยัดข้อหา 112
ทั้งๆที่บอร์ดไม่เกี่ยวกับการเมืองคุยแต่เรื่องเกมแถมมีกฎห้ามอยู่แล้วอยู่ๆมาโพสต์พาดพิงยั่วให้โดน 112
ผมแบนเลยแล้วตาม IP ด้วยว่ามาจากไหน
วิธีแบบในข่าวนี้ผมบอกเลยครับทุเรศสุดๆยังไงก็ควรระมัดระวัง
มันมี Social Network Monitoring ครับ ทำงานคล้ายๆ Prism เลยคือจับ Keyword ที่สนใจบน Node ต่างๆ เข้าไปในฐานข้อมูล แล้วเจ้าหน้าที่จะทำยังไงต่อก็ได้ครับ
ถ้าจะคุยเรื่องนี้ ผมใช้อีกเฟจ และคนวิ่งบน tor สบายๆ
เค้าไม่กลัวว่าอีกฝั่งจะได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้หลังเค้าลงจากอำนาจเหรอครับ หรือเค้าจะอยู่ยาว :)
ห๊ะ (แกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องมาก่อน :P )
มีนะ จำพวกสาวสวยประหลาดๆ แต่พอกดรับแล้ว
พอมีเวลาว่างไหมคะ บลาๆๆๆๆๆๆๆ
กด unfriend ทันที
email หลุดนี้ผมว่าหลุดจากวงใน ใช้mailของ บ.ที่ทำงาน หรือไม่ก็ส่งผ่านเน็ทที่ทำงานมากกว่า
ไม่คิดว่าไทยจะมีความสามารถมอนิเตอร์ได้ขนาดนั้น
iLaw ลองค้นกูเกิ้ลดู ก็แหม พี่มีพฤติกรรมแบบนั้น มันก็เสี่ยงสิครับ
ส่วนตัวนะครับ
เลิกดูถูกความคิดคนไอทีบ้างเถอะครับ มันถึงกันหมด เขาพินิจพิเคราะห์กันได้
ผมว่า ประชาไท เขาค่อนข้างเลือกข้างชัดเจน ไม่เหมาะ กับการมาลงในเว็บนี้ครับ
ยกเว้น เจ้าของเว็บขอสงวนสิทธิ์อันนี้ก็แล้วแต่
นโยบายของ Blognone คือไม่เชื่อในความเป็นกลางครับ และอย่าอายที่จะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวออกมา ถ้าแหล่งข่าวเชื่อถือได้แม้จะเลือกข้างเขาก็ไม่ห้ามครับ จะเอาไทยโพสต์หรือแนวหน้าที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับประชาไทมาลงก็ได้ (ถ้าความน่าเชื่อถือได้ยังมีเหลืออยู่น่ะนะ)
ส่วนข่าวนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องความเสี่ยงจากพฤติกรรมของตัว iLaw เองเลยครับ อ่านให้เกิน 3 บรรทัดหน่อยครับ เขาเป็นแค่คนมารายงาน
เรื่องดูถูกสติปัญญานี่ยิ่งแล้วใหญ่เลยครับ in the other way การที่คุณคิดว่าเขากำลังดูถูกสติปัญญานั่นแหละ คุณกำลังดูถูกสติปัญญาคนอื่นๆ อยู่เช่นเดียวกัน
เสริมให้อีกนิดว่าข่าวที่เกี่ยวกับ iLaw นี่ Blognone มีมานานแล้วครับ แถมแหล่งข่าวเองก็ยังมาจากประชาไทเหมือนกันด้วย แค่ข่าวนี้เป็นอันแรกที่ติดแท็ก iLaw
"อานนท์ยกตัวอย่างคดี 112 ที่จังหวัดอุบลราชธานี กรณีมีชายคนหนึ่งถูกดำเนินคดี 112 จำนวน 9 ข้อความ จำคุก 30 ปี แต่สารภาพลดโทษเหลือ 15 ปี โดยทนายเปิดเผยว่า วิธีที่หน่วยงานความมั่นคงใช้คือ ใช้โปรไฟล์ Facebook เป็นสาวสวย เข้ามาขอเป็นเพื่อน (add friend) เริ่มต้นก็คุยเรื่องสัพเพเหระก่อนจะชวนคุยการเมือง ซึ่งนี่ตรงกับที่ก่อนหน้านี้ตำรวจเคยออกข่าวว่า "เราจะไปเป็นเพื่อนกับท่าน" จึงอยากเตือนผู้ใช้ให้ระมัดระวังเวลาจะพูดอะไร แม้แต่ข้อความแชทใน Facebook หรืออีเมลก็ไม่ปลอดภัยแล้ว"
ท่านคิดว่า คนไอทีอย่างๆเราๆจะเชื่อหรือไม่ว่ามันเป็นจริง
เชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่วิจารณญาณส่วนบุคคลหรือเปล่าครับ? ทำไมต้องไปคิดแทน?
ตรงไหน คิดแทน
มันคือความเห็นส่วนตัว ประชาธิปไตยหน่อยสิ วิจารณ์อะไรก็รับฟังหน่อย
"ท่านคิดว่า คนไอทีอย่างๆเราๆจะเชื่อหรือไม่ว่ามันเป็นจริง" -> นี่ไงครับจะให้ไปคิดแทน
ส่วนที่บอกว่า "วิจารณ์อะไรก็รับฟังหน่อย" อันนี้จริงๆ ก็เป็นการคิดแทนตัวผมอีกแล้วนะครับ เพราะถ้าผมไม่รับฟังจริงๆ ป่านนี้กด toggle ปิดคอมเม้นไปแล้วไม่มานั่งกด reply ถกเถียงให้เสียเวลา
หรือจำเป็นจะต้องคิดเหมือนคุณก่อนใช่ไหมครับ ถึงจะเรียกว่ารับฟัง?
แต่ประการณ์ตรงเขาก็ใช้วิธีแบบนี้แหละ
แบบเดียวกับล่อซื้อยาบ้า
นกต่อล่อจับลิขสิทธิ์เป็นเทคนิคโบราณมีมานานแล้ว
มุมมองคนไอทีกับทนายไม่เหมือนกันครับ
แต่ผมเรียนทั้งสองสายมองเห็นภาพชัดเจนครับ
ถ้าสายไอทีจะบอกว่ามันเข้ารหัสจะไปรู้ได้ยังไง
เขาก็ใช้วิธีแอบเนียนมาเป็นเพื่อนเพื่อที่จะเอาข้อความส่วนนั้นไงครับต่อให้เข้ารหัสก็ไม่มีประโยชน์
ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีการพวกนี้มานานแล้วเพราะมันเป็นวิธีการที่ง่ายต่อการยัดข้อหา
อย่าง ยุหรือยั่วให้ผู้อื่นกระทำผิด บางครั้งตัวจำเลยไม่ได้ตั้งใจแต่โดนยั่วยุก็มี
เช่นการ ล่อซื้อลิขสิทธิ์ที่ไปจ้างให้จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์จนมีคดีออกมาเป็นฎีกา
ถ้าเอาตามกฎหมายจริงๆคนยุมันต้องผิดด้วย ไม่ใช่แค่จำเลย
ในบางประเทศถือว่าวิธีการพวกนี้เป็นวิธีการแสวงหาพยายานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมายศาลจะไม่รับฟังพยานปากนี้
ถามว่าทนายคนนั้นทำไมถึงรู้ว่าใช้วิธีนี้ ทำไมจะไม่รู้ครับเวลานำสืบในศาลโจทก์ต้องอ้างพยานแล้วต้องบอกด้วยว่าพยานพวกนี้ได้มายังไง ซึ่งส่วนนี้เวลาพิจารณาคดีทั้งทนายจำเลยและอัยการผู้ฟ้องคดี จะต้องได้เห็นทั้งสองฝ่าย
ที่เขาบอกว่าไม่ปลอดภัยก็คือเราไม่มีทางรู้ว่าพวกที่ add มาน่ะนกต่อรึเปล่าทางที่ดีก็ไม่ควรคุยเรื่องพวกนี้บนเฟส
สมัยนี้คนใช้เฟสเป็นอย่างเดียว
จากข่าวด้านบน ประชาไท ก็เป็นแค่ผู้รายงานซึ่งข้อความที่อยู่ในข่าว ก็เป็นสิ่งที่ iLaw พูดในงานประชุม ผมคิดว่า กรณีนี้ ประชาไท ก็ทำหน้าที่สื่อได้สมบูรณ์คือรายงาน fact เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
สิ่งที่กล่าวถึงเค้าเรียกกันว่า social engineering นะครับ ได้ผลดีด้วยแหละ
ถูกครับทาง cyber security เรียกว่า social engineering แต่ในทางกฎหมายเรียกอย่างอื่น
ลงข่าวเลือกข้างมากๆเข้าระวังจะกลายเป็นเวปการเมืองแทนเวป IT นะครับ :)
ผมกด track ของคุณดูแล้วก็ไม่รู้สึกถึงความเป็นกลางของคุณที่จะมาพูดคำนี้กับผมได้นะครับ
ที่สำคัญผมมองว่าเป็น false dilemma อย่างนึงนะครับ ที่แยกระหว่างเรื่อง IT กับการเมืองออกจากกันในกรณีนี้
แล้วผมพูดตรงไหนครับว่าผมเป็นกลาง? อ้างอิงประโยคไหนผมมาพูดครับ?
ถ้าจะวัดเพื่อดิสเครดิตกัน ผมก็มองไม่เห็นว่าคุณ tgst จะมีความเป็นกลางเช่นเดียวกัน
ความเห็นของผมคือข่าวที่คุณ tgst ลงหลายข่าว ลงไปทางการเมืองมากกว่าข่าว IT มาก หลักฐานคือ comment ในข่าวนั้นๆคุยการเมืองกัน แทบจะไม่ได้คุยเกี่ยวกับเรื่อง it เลย เลยสงสัยว่ามันเป็น tech news ตรงไหน?
ถ้าไม่สามารถแยกระหว่างเรื่อง IT กับการเมืองออกจากกันได้ ก็เพิ่ม tag การเมืองไว้เลยไหมครับ?
ผมว่าคุณมีปัญหาเรื่องการแยกคอมเม้นกับตัวข่าวออกจากกันครับ
ส่วนเรื่องแท็กก็ลองส่งให้ Founder พิจารณาดูละกันนะครับ เพราะผมลองเข้าแท็ก Thailand แล้ว ตามมาตรฐานของคุณน่าจะต้องมีแท็กการเมืองเพิ่มอีกหลายข่าวเลย (อันที่จริง ข่าวผมดูจะเป็นส่วนน้อยด้วย เพราะเพิ่งเริ่มลงในปีนี้)
แต่ส่วนตัวคิดว่าคงไม่ต้องมี เพราะมองว่าการเมืองอยู่ในชีวิตประจำวันหมดอยู่แล้วครับ แล้วก็เพราะคิดแบบนั้น ก็เลยไม่ใช่พวกที่ว่ามีคนลงข่าวไม่ถูกใจตัวเอง แล้วมาโวยวายบอกให้แยกออกจากกันหรือไล่ไปลงที่อื่น
ผมไม่มีปัญหาหรอกครับ ที่ผมพูดเรื่อง comment เพื่อให้เป็น support evidence ว่าบางข่าวที่คุณนำมาลง มันไม่ใช่ข่าวไอทีหรือ tech news แต่เป็นข่าวการเมืองไงครับ
เช่นข่าว "พลเอกประยุทธ์บอกโลกโซเชียลโหดร้าย มีแต่ข้อมูลสร้างความแตกแยก" ถ้าคุณไม่สามารถ classify ข่าวนี้ว่ามันเป็นข่าวการเมือง ผมก็ว่าคุณมีปัญหาในการลงข่าวนะครับ
อ้อ แล้วตกลงอ้างอิงประโยคไหนผมมาพูดน่ะครับ?
ก็เป็นข่าว Tech ที่มีเรื่องการเมืองไงครับ? ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องแยกขาดจากกัน (หรือจะเอาตามมตรฐานคุณเป็นหลัก ก็เป็นข่าวการเมือง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเรื่อง Tech เพราะพลเอกประยุทธพูดถึงโลกโซเชียล) นอกนั้นตอบไปหมดแล้วนะครับ ไม่มีความจำเป็นจะต้องตอบเพิ่ม
ส่วนอันล่าง ไม่มีอะไรจะตอบ เพราะคุณไม่เข้าใจสิ่งที่ผมบอกเองครับ ก็เอาเป็นว่ามุมมองต่างกัน
มันไม่ใช่ข่าว tech ที่มีเรื่องการเมืองครับ มันคือข่าวการเมือง เนื้อหาข่าวและการทำตัวหนาก็เป็นไปทางด้านการเมือง เวปไซต์ที่นำข่าวนี้มาลงก็มีแต่เวปไซต์การเมือง comment ในข่าวก็เป็นไปทางการเมือง
อีกตัวอย่างคือข่าวที่มีบริบทเดียวกัน
ปตท.ห่วงสังคมออนไลน์ ทำ ปชช.สับสนข้อมูลด้านพลังงาน (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424235911)
ทำไมไม่เอาข่าวนี้มาลงครับ? ถ้าตามมาตรฐานคุณก็ควรนำข่าวนี้มาลง เพราะมีการพูดถึงโซเชียลเหมือนกัน ก็ถ้าให้ผมตอบก็เพราะมันไม่ใช่ข่าวไอทีไงครับ
ซึ่งแน่นอนว่ามติชนก็ไม่ classify ข่าวนี้เป็นข่าวไอทีเช่นเดียวกัน ถึงจะมีการพูดถึงโลกโซเชียลก็ตาม
แล้วมันคงจะตลกถ้าเวปอย่าง engadget ต้องติดตามรายงานข่าวไอซิสฆ่าตัดคอนักบินจอแดน เพราะมีการลงคลิปผ่าน youtube
อันล่าง ไม่มีอะไรจะตอบ ผมถือว่าคุณ tgst false accuse ผมนะครับ
จริงๆ ไม่ต้องมาตามมาตรฐานอะไรหรอกครับ อาจจะง่ายมากกว่านั้น แค่
แต่ตอบกันตรงๆ ก็ 1 และพอเข้าไปอ่านก็ 2 ครับ
เห็นคุณ tgst ชอบอ้างอิงตามมาตรฐานคุณ เลยนึกว่าคุณจะชอบมาตรฐาน ขออภัยด้วยครับ :)
ข่าวนี้ก็ลงในหน้าแรก matichon/voicetv ซึ่งเป็น source ที่เห็นนำมาอ้างอิงบ่อยๆ
ส่วนในการเลือกว่ามันไม่น่าสนใจ ก็แสดงว่าคุณ tgst ต้องมีมาตรฐานในใจอยู่แล้วนะครับ ไม่งั้นเอาอะไรมาวัดว่าอันไหนน่าสนอันไหนไม่น่าสน ถ้ามองว่าข่าวการเมืองน่าสนใจและนำมาลงก็เป็นถือมาตรฐานของคุณได้เหมือนกันครับ
ส่วนที่คุณยืนยันว่าเป็นข่าว Tech ที่มีเรื่องการเมือง ผมก็ต้องยืนยันเหมือนกันว่ามันคือข่าวการเมืองและมันไม่ใช่ตามมาตรฐานผม โดยข่าวที่มีบริบทแบบเดียวกันคือประยุทธพูดถึงโลกโซเชียล
http://hilight.kapook.com/view/115476
http://www.thairath.co.th/content/479560
ก็ต้องถามว่าคุณ tsgt คิดยังไงกับการที่ thairath / kapook classify ว่ามันเป็นข่าวการเมือง ไม่ใช่ข่าว Techครับ?
ความน่าสนใจก็เป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ผมใช้ตัดสินใจในการลงข่าวครับ อีกเกณฑ์ก็ที่บอกบนๆ (ไม่ได้ตอบคุณ) ไปว่าแหล่งข่าวมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ จริงๆ มีอย่างอื่นอีก ก็เอาเป็นว่าประโยคนี้คุณ false accused ผมนะครับ
Fallacy of relative to absolute
นอกนั้นตอบไปหมดแล้ว ไม่ต่างอะไรจากการพายเรือในอ่างครับ
ข่าวนี้เป็นทั้งข่าวการเมือง (ในมุม context ว่าคนพูดคือนายก) และข่าว IT (พูดถึง social network) ในข่าวเดียวเลยครับ ทำไมถึงมองเป็นข่าวการเมืองอย่างเดียวเหรอครับ
นิยามข่าวไอทีของคุณคงไม่ตรงกับเว็บนี้แล้วล่ะครับแบบนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
5555 มาแล้ว ตรรกะการเมืองอยู่ในชีวิตประจำวันหมด
แบบนี้เวปประชาไทกับ arip.co.th ก็เป็นเว็บข่าวประเภทเดียวกันรึเปล่าครับ?
ตอบอย่างลดทอนที่สุด นักปรัชญาสมัยกรีกอย่าง Aristotle ก็บอกอยู่แล้วครับว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมือง (political animal) ซึ่งถ้ายึดตามตัวบทที่มีชื่อว่า Politics คนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางการเมืองก็มีแต่เฉพาะเทพหรือไม่ก็สัตว์ประหลาดครับ (อยู่ในหมวด 1253a)
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ทฤษฎีของอริสโตเติลก็มีความผิดพลาดเช่นกันครับ เช่น ทฤษฎีวัตถุที่หนักกว่าจะตกถึงพื้นได้เร็วกว่าวัตถุที่เบากว่า ซึ่งถูกหักล้างภายหลังโดยกาลิเลโอครับ :)
ครับ เรื่องนี้ไม่ปฏิเสธในฝั่งปรัชญาวิทยาศาสตร์ แต่ทำไมคำอธิบายเรื่องทฤษฏีทางการเมืองยังคงมีคนใช้มาอยู่จนถึงปัจจุบันล่ะครับ?
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ผมว่าเว็บนี้เขาเปิดกว้างนะข่าวไอทีที่มีการเมืองปนเขาก็ลงถ้ามันเกี่ยวกับไอทีด้วย Social network นี่ไอทีเต็มๆ
ถ้าคุณไม่พึงพอใจข่าวอื่นๆด้านไอทีมันก็มี
แล้วที่นี่ก็ไม่ได้อยู่ในลักษณะเฉพาะ ผมชอบตรงมีให้อิสระในความคิดได้ในระดับหนึ่ง
เว็บไซต์ไอทีของเมืองนอกเขาก็ไม่ได้จำแนกแบบคุณครับแต่เขามาแบบเดียวกับที่นี่คือมีข่าวที่มีส่วนของการเมืองมาเกี่ยวด้วยถ้ามันเกี่ยวกับไอที
เท่าที่ผมดูภาพรวมก็ยังเป็นเว็บไอทีอยู่เพราะลองดูสัดส่วนของข่าวทั้งหมดก็ยังเป็นไอทีจริงๆ
บางข่าวผมยังยืมไปทำ report ส่งแบบมีอ้างอิงเลย
ถ้าเอาตรรกะตามที่คุณคิดข่าวพวกกฎหมายไอทีไม่มีวันได้ลงแน่ๆเพราะการเมืองเต็มๆ (การเมืองคือรัฐศาสตร์+นิติศาสตร์ อยู่แล้ว)
ถ้าคิดว่าคนอื่น "เลือกข้าง" ทางแก้คือเขียนข่าวอีกข้างเสนอเข้ามาครับ ไม่ใช่ไปบอกให้คนอื่นหยุดเขียนข่าวที่เขาอยากเขียน
กระบวนการเลือกข่าวของ Blognone เปิดให้สมาชิกทั่วไปเห็นอยู่แล้ว สมาชิกทุกคนก็มีสิทธิเขียน
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่จำเป็นนี่ครับ ผมเข้าใจว่า blognone เป็นเวปข่าวไอทีนะครับ ผมแค่ comment บอกว่า 'ระวัง'จะกลายเป็นเวปการเมือง ซึ่งก็ไม่เห็นว่ามันจะผิดกฎเวปนี้ตรงไหน แล้วก็ไม่ได้บอกให้คุณ tgst หยุดเขียนข่าวที่เขาอยากเขียนแต่อย่างใด
ถ้าทำอย่างคุณ lew ว่าให้เขียนข่าวอีกข้าง มันจะไม่ยิ่งทำให้ blognone เป็นเวปการเมืองรึครับ?
แล้วส่วนตัวก็ไม่ได้อยากเป็น contributor นะครับ
ไปทานร้านอาหารนอกบ้านแล้วพบว่าเค็มเกินไป ก็ไม่จำเป็นต้องขอไปสมัครเป็นพ่อครัวหรือลูกมือเขานี่ครับ :)
จากประโยคนี้
ผมเข้าใจว่าสาระที่คุณจะสื่อคือ 'ไม่ควรลงข่าวเลือกข้าง' ซึ่งแนวโน้มของคำพูดคือ 'ควรหยุดเขียนข่าวที่อยากเขียน' นะครับ?
อันนี้คงต้องตามที่คุณ lew โพสครับ 'เขียนข่าวอีกข้างเสนอเข้ามา'
ส่วนจะกลายเป็นเว็บการเมืองหรือไม่ ถ้ามันยังเป็นข่าวการเมืองที่มีส่วนผสมของ 'IT' อยู่ ผมว่าคุณ lew/mk ไม่น่าจะขัดข้องนะครับ? ส่วนถ้าคุณจะขัดข้องอันนี้ก็คงแล้วแต่ตัวคุณแล้วหล่ะครับ ว่าจะอยู่ต่อหรือจะไป อันนี้ไม่มีใครห้ามได้ครับเรื่องความชอบส่วนตัวของบุคคล
ส่วนตัวผมว่าเราไม่สามารถ'หยุดคุยเรื่องการเมือง'ได้ครับ เพราะมันส่งผลต่อ'ชีวิตประจำวัน'ของเรา และผมว่าที่คุณไม่พอใจไม่ใช่เรื่อง blognone จะกลายเป็นเว็บการเมือง แต่เป็นเรื่องลงข่าวที่คุณไม่ชอบมากกว่าครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
คุณกำลังบอกว่า iLaw มีพฤติกรรมแบบไหนหรือครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ผมสงสัยว่าถ้าข้อมูลโดนเข้ารหัสแบบ SSL แล้วยังปลอดภัยอยู่ไหมครับ
ผมก็ยังคิดอยู่ว่าจะปลอดภัยไหม ? เพราะถ้าถูกเข้ารหัสไม่น่าจะอ่านออกผ่านทางตัวมอนิเตอร์นะ
แต่ก็อย่างว่านะครับ..... แคปภาพหน้าจอแล้วปริ้นออกมาก็สามารถฟ้องได้(ถึงจะโดนเข้ารหัสก็ยังสามารถอ่านได้) :P
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ผมใช้ ProtonMail ครับ
ProtonMail ไร้ค่า ถ้ามีปืนจ่อหัว