รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศเผยแพร่ร่างรัฐบัญญัติว่าด้วยการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน (Consumer Privacy Bill of Rights Act of 2015) ซึ่งเคยมีการเผยแพร่ร่างฉบับแรกเมื่อปี 2012 มาก่อนแล้ว
สาระสำคัญของร่างรัฐบัญญัติฉบับนี้ จะอยู่ที่การกำหนดขอบเขตว่าบริษัทหรือหน่วยงานสามารถเก็บข้อมูลจากลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้มากน้อยเพียงใด โดยไม่กำหนดว่าจะเป็นการใช้ในแบบใด (ไม่ว่าจะภายในองค์กร ผู้โฆษณา หรือแม้กระทั่งขายต่อให้กับบริษัทอื่น) นอกจากนั้นแล้วบริษัทเหล่านี้ต้องอธิบายให้กับผู้ใช้อย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเอาไปทำอะไรบ้าง รวมถึงยังมีข้อกำหนดยิบย่อยอีกพอสมควร เช่น จะต้องมีการอธิบายถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยและเป็นส่วนบุคคลของลูกค้าให้ชัดเจนด้วย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังคงเป็นเพียงร่างเท่านั้น ซึ่งกว่าจะเป็นรัฐบัญญัติได้ก็จะต้องใช้เวลาอีกยาวนาน โดยเฉพาะการผลักดันผ่านสภาคองเกรส ที่ตอนนี้พรรครีพลับลิกันครองเสียงส่วนใหญ่เอาไว้ทั้งสองสภา
ทั้งนี้ไม่มีรายงานข่าวว่า ในสหรัฐอเมริกาจะมีการทำรัฐประหาร เพื่อทำให้การผลักดันร่างรัฐบัญญัตินี้ดำเนินไปได้อย่างเต็มที่ด้วยความรวดเร็วแต่ประการใด
ที่มา - The Verge
Comments
ผมชอบวรรคสุดท้ายมาก
ในบางเรื่องผมก็อิจฉาอเมริกาจริง ๆ นะครับ
มันตรงกันข้ามกับประเทศเราเลย
น่าจะทำมาหาเสียง มากกว่าจะได้ใช้จริง
เพราะหลักเค้ามีอยู่ว่า
*** สิทธิประโยชน์ส่วนบุคคล ต้องไม่อยู่เหนือประโยชน์ของสังคม ***
ถ้าเป็นเรื่องความมั่นคง ยังไงก็ดักได้เสมอ เพราะเป็นประโยชน์ของสังคม
ก็โดน NSA ดักไปเรื่อยๆนะฮ๊าฟฟฟ
ทำเพื่อกำหนดสิทธิที่เอกชนและหน่วยงานเล็กๆจะเก็บข้อมูลประชาชน มิใช่กำหนดสิทธิที่รัฐจะเก็บข้อมูลกับประชาชนซินะ
ว่าแต่มันเกี่ยวอะไรกับรัฐประหาร ที่อเมริกามีการเฝ้าระวังการรัฐประหารหรอ ถึงมีการคอยรายงานข่าว
ใส่ใข่ กับแสดงความเห็นส่วนตัว มันต่างกันน้อ
ภัยต่อความมั่นคงมีการมอนิเตอร์ทุกรูปแบบครับ แค่มันไม่เคยเกิดขึ้นแค่นั้นเอง แต่รายงานอันนี้จะเป็นที่นรู้กันว่าเพิ่มมาเอง:P
คำอธิบายของไทยว่ากฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (หลักคิดเดียวกัน แต่ลายละเอียดคงต่างกันมาก) ต้องรีบออกพร้อมๆ กับกฎหมายมั่นคงไซเบอร์และกฎหมายอื่นๆ คือรัฐบาลปกติผลักดันมานานแล้วแต่ออกไม่ได้ครับ เลยอาศัยช่วงนี้รีบผลักออกมา
ไม่ได้ตามข่าว ตามไม่ทัน ถามกันตรงๆ ได้ครับ
lewcpe.com, @wasonliw