Alex Neill นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิผู้บริโภคของสหราชอาณาจักร ยื่นฟ้อง Sony PlayStation ในข้อหา "ขูดรีดผู้บริโภค" จากการจำหน่ายเกมแพงเกินไป เพราะโซนี่กินส่วนแบ่ง 30% จากยอดขายเกมดิจิทัลบน PlayStation Store
Neill บอกว่าโซนี่มีอำนาจเหนือตลาด (dominant posision) เพราะควบคุมช่องทางการขายเกมดิจิทัลทั้งหมดบน PlayStation และใช้อำนาจนี้บีบทั้งนักพัฒนาเกมให้ยอมรับส่วนแบ่ง 30% อย่างไร้อำนาจต่อรองใดๆ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อเกมในราคาแพงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
ช่วงหลายปีที่ผ่านมาค่าบริการโทรคมนาคมโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่การใช้บริการมักเป็นการโทรศัพท์หากันหรือการส่งข้อความสั้น บริการขยายตัวโดยเฉพาะบริการอินเทอร์เน็ต, บริการเนื้อหาราคาพิเศษเช่นหมายเลขพิเศษต่างๆ, หรือบริการเสริมเช่นการซื้อแอปพลิเคชั่น
Telecom Reulatory Authority of India (TRAI) หน่วยงานกำกับดูแลโทรคมนาคมแบบเดียวกับกสทช. ของไทย ได้ออกประกาศหมายเลข 308-1/2015 แก้ปัญหาค่าบริการสูงเกินคาด (bill shock) ระบุให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะต้องเปิดให้บริการแจ้งเตือนผู้ใช้ว่าใช้อินเทอร์เน็ตไปมากแค่ไหนแล้วเป็น SMS โดยส่งทุกครั้งที่การใช้งานครบ 10MB
ถ้ายังจำกันได้ ไม่นานมานี้เราเห็นข่าว ซัมซุงและ Oppo โดนฟ้องในจีน ข้อหาพรีโหลดแอพโดยไม่แจ้งลูกค้า-ลบออกไม่ได้ ผลกลับเป็นว่าคำฟ้องครั้งนี้ได้ผล เพราะซัมซุงออกแพตช์ให้ผู้ใช้สามารถลบแอพที่ไม่ต้องการได้แล้ว
มือถือของซัมซุงรุ่นที่ระบุในข่าวคือ SM-N9008S (Note 3 จีน) ที่มีแอพพรีโหลดมาให้ 44 ตัว และมี 24 ตัวที่ลบออกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลว่าแพตช์ของซัมซุงจะอนุญาตให้ลบแอพ 24 ตัวนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม แพตช์ตัวนี้มีผลเฉพาะผู้ใช้ในประเทศจีนเท่านั้นครับ
ที่มา - The Korea Times
คณะกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Consumer Rights Protection Commission) ประกาศว่าจะฟ้องผู้ผลิตมือถือสองราย คือ ซัมซุงและ Oppo ในประเด็นว่าพรีโหลดแอพที่ผู้บริโภคไม่ต้องการ และไม่สามารถลบแอพเหล่านี้ได้
คณะกรรมการเผยผลการศึกษาสมาร์ทโฟน 20 รุ่น และยกตัวอย่างมือถือ Samsung SM-N9008S (Note 3 จีน) ว่าพรีโหลดแอพมาให้ 44 ตัว ส่วน Oppo X9007 มีแอพมาให้ถึง 71 ตัว ทั้งสองบริษัทไม่ได้แจ้งผู้บริโภคถึงแอพเหล่านี้ก่อนซื้อ ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคด้านข้อมูลสินค้า (rights to know)
รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศเผยแพร่ร่างรัฐบัญญัติว่าด้วยการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน (Consumer Privacy Bill of Rights Act of 2015) ซึ่งเคยมีการเผยแพร่ร่างฉบับแรกเมื่อปี 2012 มาก่อนแล้ว
เมื่อวันที่ 24 ที่ผ่านมาผมได้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยกับทีมงานของนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เรื่องการกำกับดูแลค่าบริการโทรคมนาคม ร่วมกับคุณ @octopatr จาก DroidSans, นักวิชาการจาก TDRI, และตัวแทนองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอีกหลายคน
ประเด็นการคุัมครองเรื่องค่าบริการโทรศัพท์มือถือเป็นประเด็นที่ผมพูดในเว็บนี้และที่อื่นๆ มานาน งานนี้มีโอกาสได้เสนอถึงกสทช. แม้จะเป็นแบบไม่เป็นทางการ (ไม่ใช่การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามกฎหมาย) แต่ก็คิดว่าประเด็นที่พูดในงานครบตามความตั้งใจ เลยขอเอามาเรียบเรียงอีกครั้งถึงข้อเสนอของผม
สภาสูงของสหรัฐอเมริกา ได้ผ่านร่างกฎหมายใหม่ที่ต้องการเพิ่มการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค โดยกฎหมายใหม่นี้จะทำให้การปลดล็อคมือถือเพื่อที่จะย้ายค่ายกลับมาถูกกฎหมายอีกครั้ง ซึ่งนายบารัค โอบาม่าเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนร่างกฎหมายนี้มาโดยตลอด
ก่อนหน้านี้ การปลกล็อคมือถือในสหรัฐกลายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเมื่อต้นปี 2013 เนื่องจากส่วนหนึ่งของกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act ได้มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการปลดล็อคมือถืออยู่ด้วย แต่เพิ่งมีผลบังคับใช้จริงในเดือนมกราคม 2013 หลังจากมีการ “ยกเว้น” กฎนี้ไว้ระยะหนึ่ง
เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ได้ยื่นฟ้องบริษัท DTAC และ AIS ต่อศาลแพ่งรัชดา เรียกค่าเสียหายในกรณีที่ทั้งสองบริษัทไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 กันยายน 2549
ซึ่ง ข้อ 11 ของประกาศกสทช. ระบุไว้ว่า
ก่อนหน้านี้ ACCC หรือหน่วยงานรักษาการแข่งขันและสิทธิของผู้บริโภคของออสเตรเลีย ต้องการจะฟ้องแอปเปิลกรณีทำการตลาด iPad รุ่นล่าสุดว่ารองรับเครือข่าย 4G แม้ว่า iPad รุ่นดังกล่าวจะไม่สามารถใช้งานกับเครือข่าย LTE ของ Telstra ผู้ให้บริการเครือข่าย LTE รายเดียวของออสเตรเลียในตอนนี้ได้ โดยแอปเปิลได้ถูกศาลบังคับให้แอปเปิลให้ข้อมูลกับลูกค้าก่อนการขาย และเสนอให้ลูกค้าสามารถนำ iPad มาคืนได้หากเข้าใจผิดจริง ๆ