จากวารสารวิชาการ the National Academy of Sciences. ที่มีการรายงานว่าคนที่ถูกปลุกให้ตื่นจากหลับลึกจะมีผลกระทบต่อการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการต้านทานอินซูลิน เป็นผลทำให้ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง น้ำหนักเพิ่มแและเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานแบบที่ 2
ทีมนักวิจัยได้ทดสอบกับอาสาสมัครชายหญิง 9 คน เพื่อติดตามระบบการเผาผลาญน้ำตาลภายในร่างกาย โดย 2 คืนแรกอาสาสมัครจะนอนแบบปกติเพื่อดูว่าสภาวะหลับปกติร่างกายจะมีสภาพแบบไหน และในอีก 3 คืนต่อมาอาสาสมัครจะถูกปลุกให้ตื่นจากเสียงดังเมื่อเข้าสู่ภาวะการหลับลึก และเมื่อฉีดกลูโคสเข้าสู่ร่างกายในตอนเช้า และติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ก็พบว่า 8 ใน 9 คนจากอาสาสมัครมีการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงระดับการหลับมีผลต่อความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานแบบ 2 ซึ่งข้อมูลเก่าได้ยืนยันถึงการนอนไม่เพียงพอซึ่งเป็นสาเหตุของเบาหวานแบบ 2 อีกสาเหตุหนึ่งด้วย
หากจะหลีกเลี่ยงและป้องกันเบาหวาน การนอนอย่างเพียงพอและการที่ไม่ถูกปลุกะหว่างหลับเป็นสิ่งเป็นจำเป็นนะครับ
ที่มา - BBC.co.uk
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
1.เบาหวานแบบที่ 1 เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus/ IDDM)
เป็นชนิดที่พบ ได้น้อยแต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคน อายุต่ำกว่า 25 ปี ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลย หรือได้น้อยมากผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลิน เข้าทดแทนในร่างกายทุกวันจึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้นร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรงจะมีการคั่งของสาร คีโตน (ketones) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้รวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสาร คีโตน หรือ คีโตซิส (Ketosis)"
2.เบาหวานแบบที่ 2 เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน(Non-insulin-dependent diabetes mellitus /NIDDM)
เป็น เบาหวาน ชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีความรุน แรงน้อยมักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้าง อินซูลินแต่ไม่เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยชนิดนี้ยังอาจแบ่งเป็นพวกที่อ้วนมาก ๆ กับพวกที่ไม่อ้วน ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เช่นที่เกิดกับชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหารหรือการใช้ยาเบาหวาน ชนิดกิน ก็มักจะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมากๆก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราวแต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป จึงถือว่าไม่ต้องพึ่ง อินซูลิน
ที่มา - Thailabonline.com
Comments
ถ้านาฬิกาปลุกล่ะ
ด้วยความง่วงๆ มึนๆ อ่านหัวข้อเป็น ระวัง!! การนอนกับผู้อื่น อาจส่งผลให้คนนั้นเป็นเบาหวาน
---------- iPAtS
iPAtS
1. เบาหวานแบบที่ 2 คืออะไรครับ 2. วรรคสาม "ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป้นการยืนยัน..." เป็นครับ
หาข้อมูลเพิ่มเติมมาให้แล้วครับ และ แก้ไขข้อความที่พิมพ์ผิดแล้วครับ
Please go to My site at molecularck.wordpress.com
http://www.digimolek.com
ขอบคุณครับ
โดนประจำ มิน่าอ้วนขึ้น 55
@TonsTweetings
ดีมากครับ ได้ความรู้ดี
ตรงส่วนข้อมูลเพิ่มเติม แบ่งวรรคประโยคไม่ค่อยต่อเนื่องเลยครับ
สงสัยตรงย่อหน้าสุดท้ายน่ะครับ
ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลิน "แต่ไม่เพียงพอ" กับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มี "น้ำตาลที่เหลือใช้" กลายเป็นเบาหวาน
ที่จริงแล้วน่าจะเป็น สร้างเกินความต้องการ หรือเปล่าครับ?
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
อินซูลินทำให้เกิดการเผาผลาญของน้ำตาลในร่างกายครับ หากสร้างไม่เพียงพอน้ำตาลจะเผาผลาญไม่หมดครับ ทำให้เหลือน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นน้ำตาลส่วนเกินครับ
Please go to My site at molecularck.wordpress.com
http://www.digimolek.com
อินสุลินเป็นตัวพาน้ำตาลเข้าเซลล์ เพื่อให้เซลล์นำไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน พอมันมีน้อยลง น้ำตาลก็เลยเข้าเซลล์ได้น้อยลง เหลืออยู่ในกระแสเลือดมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหากับหลอดเลือด และอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ตา หัวใจ ไต เป็นต้นครับ
เพิ่มเติมเรื่องโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินนะครับ เดี๋ยวนี้ผู้ที่อายุประมาณ 10 กว่าปี ก็เป็นโรคนี้กันแล้ว เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นคาร์โบเดรตมากขึ้น ของเด็กยุคปัจจุบันครับ
Little RX
My Twitter
เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณครับ :)
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
อู้วววว์ งดคนสะกิดเวลาดึกดื่น
ปลุกแบบเสียงไม่ดัง ไม่เป็นไรมั้ง :-)