ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือ GPS ทำงานโดยถอดรหัสสัญญาณที่รับมาจากชุดของดาวเทียม GPS ที่โคจรอยู่รอบโลก ด้วยการเทียบสัญญาณที่ถูกส่งจากดาวเทียมหลายๆ ดวงที่โคจรอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันออกไปเพื่อนำมาคำนวณหาพิกัดบนโลก
อย่างไรก็ตามการประมวลผลดังกล่าวใช้เวลาและกินพลังงานมาก (เป็นเหตุให้แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือหมดเร็วเมื่อเราเปิดใช้แอพพลิเคชั่นที่ใช้การระบุตำแหน่งด้วย GPS) ไมโครซอฟท์จึงหาทางแก้ปัญหาข้างต้นด้วยแนวคิดใหม่ดังจะเห็นได้จากสิทธิบัตร Cloud-Offloaded GPS ที่นำเสนอวิธีการระบุตำแหน่งบนโลกโดยย้ายการคำนวณสัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมไปไว้บน cloud แทน
จากงานวิจัยของไมโครซอฟท์เมื่อปี 2012 โดยปกติการหาตำแหน่งตั้งต้นด้วยโทรศัพท์มือถือแบบเดิมใช้เวลาถึง 30 วินาทีในการเก็บข้อมูลที่จำเป็นจากดาวเทียม GPS เพื่อการระบุพิกัด ส่วนการประมวลสัญญาณเพื่อจะเชื่อมต่อและติดตามดาวเทียมที่กำลังเคลื่อนตัวก็เป็นงานที่หนักหนาเอาการ แต่ด้วยการย้ายงานประมวลผลดังกล่าวขึ้นไปไว้บน cloud ข้อมูลเพียงไม่กี่มิลลิวินาทีก็เพียงพอสำหรับการหาตำแหน่งตั้งต้นแล้ว ระบบบน cloud เองยังสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสาธารณะอย่างฐานข้อมูลวงโคจรของดาวเทียมและระดับความสูงต่ำของพื้นโลกเพื่อช่วยในการคำนวณได้อีกด้วย นอกจากนี้อัตราการใช้พลังงานก็ต่ำกว่าเดิมมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีปัจจุบันที่ใช้พลังงานถึง 1 จูลในการหาตำแหน่งตั้งต้น ด้วยเทคนิคใหม่ทีมวิจัยสามารถตัดพลังงานที่ต้องใช้จนเหลือเพียง 0.4 มิลลิจูล ประหยัดพลังงานได้ 99.96 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ทีมวิจัยจากไมโครซอฟท์เชื่อว่าด้วยประสิทธิภาพและมีอัตราการใช้พลังงานที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดจะช่วยให้เกิดการพัฒนาบริการใหม่ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากการระบุตำแหน่งได้อย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น การสร้างแผนที่ข้อมูลมลภาวะทางเสียงภายในเมือง หรือระบบที่แนะนำเส้นทางและให้ผลการค้นหาสถานที่ที่ปรับแต่งตามเส้นทางที่แต่ละคนใช้ประจำ และแน่นอนว่าเมื่อเทคนิคในสิทธิบัตรถูกนำมาใช้งานจริงเมื่อไหร่เราก็จะได้ใช้บริการที่ต้องพึ่งพา GPS อย่างไม่ต้องคอยพะวงว่าแบตเตอรี่มือถือจะหมดเร็วอย่างที่เป็นกันอยู่ในปัจจุบันครับ
ที่มา - WMPoweruser, The Verge
Comments
ที่ถูกจากส่งจาก => ที่ถูกส่งจาก
เห็นได้สิทธิบัตร => เห็นได้จากสิทธิบัตร
ใว้ => ไว้
แบตเตอรรี่ => แบตเตอรี่
ขอบคุณครับ
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
นี่แหละสิ่งที่หลายๆ คนรอคอย
nsa ตั้งหน้าตั้งตาดักข้อมูลที่ server (เพราะข้อมูลสถานที่ต้องผ่าน server)
operator ตั้งหน้าตั้งตารอเก็บเงินค่า data (เพราะตอนรับข้อมูลสถานที่จาก server ไช้ data)
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
data เยอะขนาดนั้นเลยเหรอ เห็นตามข่าวเหมื่อนแทบไม่ต้องใช้ดาต้ามากเลย
มันก็คงต้องมีทางออกหรือสิ่งที่ต้องแลกแหละครับ ถ้าคิดมากหรือกลัวการติดตามขนาดนั้นก็ตัดเน็ต ถอดปลั๊ก ปิดมือถือ ไปใช้ชีวิตแบบตอนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้น่าจะควบคุมความเป็น Privacy ได้ดี
มองในแง่ดีเครื่องหายก็สบายละ ซัพพอตเรื่องที่ Apple จะทำให้ Device สามารถระบุตำแหน่งตัวเองได้ตลอดเวลา ต่อไป GPS จะถูกเปิดทิ้งไว้โดยไม่ต้องกังวลพลังงาน แต่ถ้ามองแง่ร้ายก็เรากำลังจะให้ข้อมูลเรากับผู้ให้บริการ อย่างละเอียดขึ้น และ ถี่ขึ้นเรื่อยๆ - -"
เหมือนตอนนี้ android ก็ใช้แบบนั้นนะครับ พอเปิด gps อย่างเดียว หาแผนที่นานมาก พอต่อ 3G แค่นั้นแหละ รู้ทันที ว่าอยู่ไหน
อันนั้นน่าจะเป็นพวก A-GPS และระบบช่วยเหลือต่างๆ นะครับ
A-GPS น่าจะใช้เสาสัญญาณโทรศัพท์ในการช่วยระบุตำแหน่งครับ การประมวลผลยังน่าจะทำบนมือถือ
ต่างกับ MS ที่ย้ายไปทำข้างบนเลย
น่าจะช่วยพวก smartwatch ได้เยอะเลย
เป็นแนวทางที่เข้าท่าดีครับ
มันส่งข้อมูลไม่เยอะใช่มั้ย? เผื่อกรณีติด FUP
ข้อมูลน่าจะไม่เกิน 5-6byte นะครับ headerใหญ่กว่าด้วยซ้ำ=_=
ให้ MS ทำคงต้องรอกันอีกนาน
ผมสงสัยว่าปกติ GPS แบบบนอุปกรณ์นำทางเช่น garmin มันไม่ได้ต้องการอินเตอร์เน็ตใช่ไหม
ถ้าเป็นงี้แสดงว่าเทคนิคนี้จะใช้ไม่ได้ถ้าดีไวซ์ไม่ได้เชื่อมเครือข่ายน่ะสิ
อุปกรณ์นำทางที่ไม่ได้ต่ออินเตอร์เน็ต มันก็ไม่ค่อยกังวลเรื่องแบตล่ะครับ เพราะแบตมันใช้กับการนำทางเท่านั้น แต่พวก มือถือหรือนาฬิกา ถ้าใช้หาตำแหน่ง แต่ต้องใช้แบตเยอะคงไม่เหมาะ
รอดูว่า Apple จะออกมาแก้เกมยังไง
ขอใช้ แลกกับอะไรสักอย่าง
Apple, Microsoft, Nokia เขาเซ็นสัญญาแลกใช้งานสิทธิบัตรระหว่างกันอยู่นะครับ
เอาไปใช้และตั้งชื่อหล่อ ๆ ใหม่
คิดได้ แต่จะเอามาใช้หรือป่าว หรือ เจ้าอื่นจะเสียเงินมาใช้มั้ย ถ้าเจ้าใหญ่ไม่เริ่มเอาไปใช้ก่อน
ทำไมผมรู้สึกว่าถ้าเป็นที่บ้านเราที่สัญญาณ 3G ผีเข้าผีออก แนวคิดนี้อาจจะไม่เวิร์กเท่าไร
อย่างงี้ต้องทำเป็น Hybrid ครับ บน Cloud ก็ได้ ในมือถือเองก็ได้
ใช้วงจรคำนวณพิเศษ ที่ประหยัดพลังงานมากมาก จะ ดีกว่ามั๊ง
ข้อมูลวิ่งไปมาบนเครือข่าย ช้า ไม่แม่น ซะมากกว่า
ผมคิดว่ายังไม่ใช่ช่วงเวลานี้หรอกครับที่เอามาใช้ น่าจะเป็น ยุค 5G อะไรนั่นแหละ แต่พอดีคิดได้ก็ต้องรีบจดไว้ก่อน ไม่งั้นอาจจะโดนพวก Patent Troll แย่งไป
เชื่อว่าก็ทำอยู่แหละครับ แต่ทำมาเป็นสิบปีแล้วก็ยังได้กันแค่นี้
อย่างน้อยๆ ก็ดีกว่ารุ่นแรกๆ ที่ต้องเปิดตลอดเวลาปิดเครื่องไม่ได้แล้วตัวใหญ่เบ้อเร่อนะครับ :p
ส่วนข้อมูลวิ่งบนเครือข่าย ทำไมมันถึงจะไม่แม่นล่ะครับ?
เรื่องวิ่งบนเครือข่ายแล้วช้าไม่แม่น นี่คงจะกังวลเรื่อง response time มั้งครับ
แต่จริงๆ ตัว GPS แบบเก่าก็มีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่แล้วล่ะจะกี่เมตรก็ว่ากันไป ถ้าช้าไปไม่กี่วินาทีไม่น่าเป็นประเด็นเท่าไหร่
ถ้าสมมติว่าเน็ตเวิร์คดีระดับเล่นเกมออนไลน์ได้ (ซึ่งผมเดาว่าธรรมชาติของข้อมูลที่วิ่งคงคล้ายๆ กันคือ ข้อมูลเล็กๆ แต่คุยกับเซิร์ฟเวอร์บ่อยๆ)ก็ lag กันระดับ millisecond เองครับ
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
เฮ้ย อันนี้คือดีอะ ชอบๆๆๆ ><