เครือข่ายพลเมืองเน็ตเผยแพร่บทความสัมภาษณ์ ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต หนึ่งในผู้บุกเบิกอินเทอร์เน็ตไทย ด้วยการนำอีเมลเข้ามาใช้ในไทยตั้งแต่ช่วงปลายยุค 1980 เธอระบุว่าที่ผ่านมาอินเทอร์เน็ตไม่ได้พึ่งภาครัฐนัก และการที่รัฐมาตื่นตัวก็เป็นเรื่องที่ดี
อย่างไรก็ดีเธอแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. เศรษฐกิจดิจิทัลทั้งสิบฉบับ "เท่าที่สังเกตดู ร่างพ.ร.บ.เหล่านี้เขียนมาโดยคนที่ไม่ค่อยซาบซึ้งกับพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต คิดว่ามันจะเป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตมากกว่าจะส่งเสริม ในขณะที่รัฐบาลต้องการที่จะทำให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัล กฎหมายทั้ง 10 ฉบับนี้จะทำให้เป็นอุปสรรคมากกว่า"
ร่างพ.ร.บ. ทั้งสิบฉบับร่างมาโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ศ.ดร.กาญจนา ระบุถึงจุดบกพร่องในกฎหมายทั้งสิบฉบับว่าให้อำนาจกับคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างมาก และการสนับสนุนก็สามารถออกมาจากนโยบายรัฐบาลได้โดยไม่ต้องตั้งองค์กรใหม่แบบนี้
ในบทความยังพูดถึงอีกหลายประเด็น นับแต่การตั้ง BKNIX และอนาคตของอินเทอร์เน็ต ไปจนถึงการใช้คลื่นความถี่ในอนาคต แนะนำให้ผู้สนใจตามไปอ่านกัน
ที่มา - Thai Netizen Network
Comments
ศ.ดร.กาญจนา กาญจนาสุต => ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต
เศรฐกิจ => เศรษฐกิจ
ซาบซึ้งประโยคนี้มากครับ
+1
+1
I need healing.
กราบ
เหมือนมีดจะใช้งานก็เป็นประโยชน์ได้หลาหลายตั้งแต่งานครัวยันงานช่าง แต่คนถือคือผู้กำหนด ปัญหามันเลยเกิดเมื่อคนถือมองว่ากำลังจะเกิดภัย(หรืออยากให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย)เลยอยากจะใช้มันไปควบคุม มันเลยเหมือนสวนทางกับแนวคิดพื้นที่อิสระเสรีไม่มีตัวตน
ตอนนี้ไม่ได้สำคัญว่า "ใครพูด" แต่สำคัญที่ "ใครฟัง"
และสำคัญที่สุดคือ "เขาอยากจะฟังเราไหม"
ในยุคที่ คำพูดผู้มีอำนาจเป็นดั่งกฎหมาย พรุงนี้อาจไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ. อีกต่อไป
กระทืบ Like เลยครับ