Tags:
Node Thumbnail

วันที่ 19 เมษายน 1965 กอร์ดอน มัวร์ ที่ยังเป็นพนักงานของบริษัท FairChild เขียนบทความลงในวารสาร Electronics ระบุว่าจำนวนอุปกรณ์ในไอซีจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกๆ หนึ่งปี นับเป็นจุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์นับแต่วันนั้น ต่อมาในปี 1975 เขาปรับการคาดการณ์ไว้ว่าจำนวนอุปกรณ์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ สองปี และจนวันนี้ กฎนี้จะคงใช้คาดการณ์ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนสูงได้อย่างต่อเนื่อง

สามปีหลังตีพิมพ์บทความนี้ตีพิมพ์ มัวร์ก็ร่วมกับ Robert Noyce และ Andrew Grove ก่อตั้งบริษัทอินเทล

กฎของมัวร์เคยถูกทำนายว่าจะไม่สามารถทำนายจำนวนอุปกรณ์ในไอซีได้อีกต่อไปเพราะข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่เราไม่สามารถทำไอซีด้วยเทคโนโลยีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ หรือไม่สามารถทนต่อความร้อนที่เกตจำนวนมากถูกวางต่อกันอย่างหนาแน่นจะทนได้ แต่จนวันนี้หลังการทำนายไปนับสิบปี กฎของมัวร์ก็ยังคงค่อนข้างแม่นยำอย่างมาก กฎของมัวร์กลายเป็นหลักชัยให้กับวงการซีพียูที่มุ่งจะวิจัยพัฒนากันให้ไปถึงเส้นที่กฎนี้กำหนดไว้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีครั้งนี้ กอร์ดอน มัวร์ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ระลึกความหลังถึงการคาดการณ์ในครั้งนั้น และที่มาของชื่อกฎที่เพื่อนของเขาคนหนึ่งเป็นคนเรียก (วิดีโออยู่ท้ายข่าว)

ที่มา - Intel, Engadget

alt="upic.me"

alt="upic.me"

Get latest news from Blognone

Comments

By: COLONY
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 20 April 2015 - 22:08 #807826

ผมว่ามันน่าจะเอากฏมาเป็นการผลักดันบริษัทมากกว่าเหมือน ติกตอก เพราะกฏนี้ใช้ไม่ได้กับบางบริษัท

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 20 April 2015 - 22:11 #807828 Reply to:807826
lew's picture

อันนี้ไม่จริงเท่าไหร่ครับ แต่ละบริษัทมีรอบออกซีพียูไม่เท่ากัน (อินเทลจะถี่หน่อยเพราะยอดขายเยอะ) แต่จริงๆ แล้วซีพียูระดับสูง อย่างพวก SPARC, POWER หรือ Opteron เอง ก็ยังเกาะๆ เส้น Moore's Law กันอยู่


lewcpe.com, @wasonliw

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 20 April 2015 - 22:09 #807827
panurat2000's picture

กฎของมัวร์ก้ยังคงค่อนข้างแม่นยำอย่างมาก

ก้ => ก็

By: tinydavilmc
iPhone
on 20 April 2015 - 22:21 #807831 Reply to:807827

กอร์ดอน มัวร์ ที่ยังเป็นพนักงานของบริษัท FairChild 'เขียนเขียน'บทความ

By: dajazzkitten
AndroidWindows
on 20 April 2015 - 22:32 #807832 Reply to:807827

แอบเสริม ผมว่า "ค่อนข้าง" หรือว่า "แม่นยำมาก" นี่คำเดียวก็พออะครับ ความหมายมันขัดกันด้วยซ้ำ

By: astider
AndroidWindows
on 20 April 2015 - 22:13 #807829

ผมแอบสงสัยเล็กๆ นะว่ากฎมัวรแม่นจริง
หรือการขาย/เปิดตัวเทคโนโลยีนั้นทำตามกฎมัวร์

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 20 April 2015 - 22:53 #807836 Reply to:807829
devilblaze's picture

มันเหมือนความพยายามให้เป็นโดยบังเอิญซะมากกว่า เทคโนโลยีนาโนพัฒนาไปได้ไกลเทียบเคียงกับกฏมัวร์ เลยทำให้นักพัฒนายัดทรานซิสเตอร์ได้มากเท่าที่มันมากได้

และแน่นอนเทคโนโลยีไปไกลแล้ว ผู้ผลิตจะเดินแซงกฏมัวร์ก็ได้ แต่ที่ไม่ทำ เพราะเหตุผลเรื่องธุรกิจ สินค้าใหม่ที่เราใช้ใช่ว่าเพิ่งจะพัฒนาได้ในปีนี้ ความจริงแล้วอาจทำได้เมื่อหลายปีที่แล้ว ยกตัวอย่าง maxwell ของ nvidia ใครจะคิดเมื่อ 4-5ปีที่แล้ว มันจะทำได้ตาม roadmap ทั้งๆที่ตอนนั้นการ์ดจอซดไฟเพิ่มทุกปี แสดงให้เห็นว่ามีของดีอยู่ในมือคิดว่าทำได้แน่ แค่รอให้ถึงเวลาที่พร้อมเท่านั้น

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 21 April 2015 - 00:52 #807862 Reply to:807836

มันก็ไม่ได้ถูกเสมอไปหรอกครับ เวลาผลิตอะไรมันก็ต้องมีตัว prototype ก่อนอยู่แล้วแต่ 4-5ปีที่แล้วกระบวนการผลิตที่ 28nm ยังไม่ค่อยดีนักต้นทุนการผลิตสูงมาก
ตอนนี้ผู้ผลิตชิบส่วนใหญ่ไม่มีโรงงานของตัวเองตัวเองแค่ทำหน้าที่ออกแบบเท่านั้นแล้วจ้างโรงงานผลิตมีไม่กี่เจ้าที่มีโรงงานของตัวเอง จริงๆแล้วที่ออกมาช้าเหตุผลหลักไม่ใช่แค่ธุรกิจที่กั๊กไว้แต่โรงงานผลิตจะต้องพร้อมที่จะผลิตในแบบ mass production ด้วยซึ่งสองอย่างนี้ไปควบคู่กัน ชิบนั้นออกแบบไว้ล่วงหน้านานแล้วแต่ปัญหาคือโรงงานที่ผลิตต่างหาก
ถ้า TSMC ทำได้ตาม roadmap เราก็ไม่เห็ 28nm ยาวนานกันแบบนี้หรอกครับ
แล้วก็ Maxwell ไม่ได้ทำได้ตาม roadmap นะครับถูกเลื่อนอีกต่างหาก
ในปีนี้หลายเจ้าเลยที่โโนเลื่อนแม้กระทั่งยักษ์ใหญ่จาก Intel ซึ่งต้องออก broadwell มาตั้งแต่ปีที่แล้วสุดท้ายต้องมาออกปีนี้พร้อมๆกับ Skylake เพราะปัญหาความไม่พร้อมของโรงงานผลิตล้วนๆเลยครับ

ตอนนี้ข่าวล่าสุดคาดว่าในปลายปีจะได้เห็น 14nm กันเยอะในขณะที่ TSMC ยังค้างๆคากับ 16nm จน Nvidia เตรียมย้ายไปใช้บริการเจ้าอื่นแล้ว

By: the mee
iPhoneAndroidWindows
on 21 April 2015 - 01:51 #807870 Reply to:807862

จริงครับ ปัญหามันอยู่ที่การผลิต ระดับ Mass มากกว่า จริงๆๆผมว่าดีไม่ดี CPU ที่ intel จะขายให้ปี 2020 นี้ intel อาจจะออกแบบเสร๊จแล้ว กำลังทดสอบอยู่ และ พัฒนา เทคนิคการผลิตแบบ mass อยู่แล้วด้วยซ้ำไปนะครับ

By: Jessy
Red HatUbuntuWindows
on 20 April 2015 - 23:30 #807849 Reply to:807829

เขาทำได้ดีกว่ากฏของมัวร์ แต่ที่ทำตามกฏ เพราะคงต้องเก็บไว้เป็นแรงกระตุ้นให้วิจัย พัฒนา แต่การที่ไม่เอาสิ่งที่วิจัยเสร็จใหม่ๆ มาขายเพราะ ของเก่า เทคโนโลยีที่วิจัยเก่าๆ ยังขายได้ จะรีบเอาของใหม่มาขายให้เสียของทำไม งบวิจัยเสียไปเยอะอยู่นะครับ ในเมื่อยังเป็นผู้นำตลาด ก็ไม่ต้องห่วงอะไรมาก

นอกเสียจากไม่มีเทคโนโลยีในสต็อคเพียงพอ จึงมีสิทธิแหกกฏมัวร์ คือ ทำไม่ได้ตามที่บอก

By: jarujit
ContributoriPhoneAndroid
on 20 April 2015 - 23:45 #807852
jarujit's picture

สงสัยเหมือนกันว่ากฎของมัวร์เป็นแค่กลยุทธ์ทางการตลาดหรือเปล่า? (ที่หลายบริษัทบังเอิญเห็นตรงกันว่ามันควรทำตามนี้ แถมอินเทลก็เป็นเจ้าตลาดระดับนึงด้วย)


:-)

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 21 April 2015 - 00:12 #807860

ผมมองว่ากฏของมัวล์ มีเหตุผล เพราะการจะวิจัยจดสิทธิบัตร ผลิต ทดลอง ทำการตลาดมันใช้เวลาก็ ประมาณ 2 ปี มันไม่ใช่วิจัยเสร็จปุ๊บทั้งโลกได้ใช้ทันที ต้องเก็บบัค หาความผิดพลาดอีก ออกแบบมันง่ายมาก แต่มาจัดการความผิดพลาดมันยากมาก