Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักวิจัยจาก IBM Research ประกาศความสำเร็จด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ใน 2 ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน

อย่างแรกคือเทคนิคการตรวจจับความผิดพลาดของควอนตัม แนวคิดของควอนตัมคอมพิวเตอร์มาจากทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ที่เราไม่สามารถฟันธง "สถานะ" ของอนุภาคได้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ (ทุกอย่างคือความน่าจะเป็น) เมื่อนำอนุภาคมาทำเป็นบิต (หรือคิวบิต qubit ในภาษาของควอนตัม) จึงต้องมีวิธีตรวจสอบให้ชัดเจนว่าคิวบิตนั้นเป็น 0 หรือ 1

เทคนิคที่ใช้กันในวงการแต่เดิมสามารถตรวจจับข้อผิดพลาดแบบ bit-flip (สถานะผิดจาก 0 เป็น 1 หรือกลับกัน) เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีข้อผิดพลาดอีกแบบที่เรียกว่า phase flip (มุมการหมุนของคิวบิตเพี้ยนไป) ซึ่งเทคนิคใหม่ของ IBM สามารถตรวจจับได้ทั้งสองแบบ

No Description

ความสำเร็จอย่างที่สองที่ต่อเนื่องกันคือ IBM พบวิธีการเรียงคิวบิตเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส (square) เพื่อรักษาตำแหน่งของคิวบิตให้เท่ากัน และสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดระหว่างกันได้ เดิมทีการออกแบบควอนตัมคอมพิวเตอร์ใช้วิธีเรียงคิวบิตเป็นเส้น (line) ซึ่ง IBM มองว่าการเรียงเป็นสี่เหลี่ยมดีกว่ามาก

วิธีการเรียงของ IBM ยังรองรับการขยายจำนวนคิวบิตในอนาคต ที่จะมีคิวบิตจำนวนมากมาต่อกันเป็นกริดขนาดใหญ่ ตอนนี้ IBM ประสบความสำเร็จในการทำชิปควอนตัมแบบ 4 คิวบิตแล้ว และกำลังทดลองสร้างชิป 8 คิวบิต (2x4) ในห้องแล็บอยู่

IBM ระบุว่าความสำเร็จ 2 ประการนี้จะช่วยให้โลกของเราเข้าสู่ยุคของควอนตัมคอมพิวเตอร์เร็วกว่าเดิม และเรียกมันว่าเป็นยุคทองของการวิจัยด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ (the golden age of quantum computing research)

ตัวเปเปอร์ฉบับเต็มตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ใครพลังแก่กล้าพอลองไปอ่านกันได้

ที่มา - IBM, Technology Review

Get latest news from Blognone

Comments

By: tanapon000 on 11 May 2015 - 22:53 #812085
tanapon000's picture

เอามาทำอะไรได้มั่งเนี่ย

By: presitige on 11 May 2015 - 23:08 #812088 Reply to:812085

tower of hanoi

ถอด passowrd

By: Eagle Blue Eyes
ContributorWindows PhoneAndroidSymbian
on 11 May 2015 - 23:11 #812089 Reply to:812085
Eagle Blue Eyes's picture

งานวิจัยหลากหลายเลยครับ แต่งานที่ออกจาก NECTEC (เท่าที่ผมเห็น)คือ ThaiRand เป็นสุ่มเลขแบบสุ่มแท้ แต่น่าจะปปิดไปแล้วเพราะแลป OQC ที่ NECTEC ถูกยุบครับ

By: chalitbur
iPhoneWindows PhoneAndroidRed Hat
on 12 May 2015 - 02:09 #812115 Reply to:812085

พลังประมวลผล สูงกว่าปัจจุบันเยอะมากๆ ถ้าทำได้สำเร็จ

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 11 May 2015 - 23:37 #812091
MaxxIE's picture

มันเป็นแบบนี้รึปล่าวครับ

มิติที่0 จุด
มิติที่1 เส้น
มิติที่2 พื้นที่(เส้นดิ่ง-เส้นนอน) ***
มิติที่3 รูปร่าง (เส้นดิ่ง-เส้นนอน-เส้นลึก)
มิติที่4 รูปร่าง ณ ช่วงเวลา

ตอนนี้พัฒนถึงแค่ตรง *** ใช่มั้ย

ไม่อยากนึกถึงศักยภาพคอมในอนาคตเลย

By: comdevx
AndroidUbuntu
on 12 May 2015 - 02:05 #812114
comdevx's picture

ตัวอย่างจาก avenger 2 ไงครับ

By: COLONY
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 12 May 2015 - 05:03 #812119

อ่านกี่ทีกี่ทีก็อยากรู้พอไปหาข้อมูลยิ่งไม่รู้ไม่เข้าใจ
ท่านไดมีความรู้บอกทีครับ เอาแบบอธิบายคำสั่งง่ายๆซักคำสังแบบ a + b ครับ

By: 255BB
Android
on 12 May 2015 - 05:45 #812121

หวังว่าจะได้ใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์กับกราฟีนเร็วๆ ภายใน ๒๐ ปีนี้ (เพราะถึงตอนนั้นผมใกล้จะหกสิบ เดี๋ยวหูตาฝ้าฟาง ใช้ไม่เป็น)

By: waroonh
Windows
on 12 May 2015 - 09:03 #812149

จากใน link ref: ตัวเปเปอร์ฉบับเต็มตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications

ปรกติจะ observate ค่าจากตัว คิวบิต ตรงๆ ซึ่งใน LAB ตอนนี้มันจะได้ ค่าที่คำนวน ผิด และ ถูก
เป็น % เท่ากัน คือ ราวๆ 50% แต่ speed การคำนวนค่าที่ซับซ้อนเช่น ปรกติต้องวน loop คำนวน
มันจะทำงานได้เร็วมาก ๆ

คราวนี้ IBM เอา คิวบิต มา cross กัน 4 ตัว แล้วใส่ XOR OR gate ลงไป
ให้มัน check กันเองว่า ค่าที่ได้ออกมา ถูกหรือเปล่า

แสดงว่า ถ้าจะทำให้ คิวบิตเสถียร พอที่จะใช้งานได้ คือ เอา 4 คิวบิตตัว ชุดที่เห็นนี้
ใช้แทน 1 คิวบิต เดิมแล้วจะได้ค่าที่ถูกเสมอ
มันถึงออกมาเป็นชุด (? x 4) คิวบิต

ถ้าทำได้ แล้วเสถียรจริงๆ
อีก 20 ปี อาจจะได้ใช้ในระดับ desktop จริงๆ นะฮะ

By: PathSNW
iPhoneAndroidSymbianWindows
on 12 May 2015 - 09:48 #812161
PathSNW's picture

หวังว่าราคามันจะไม่แพงมาก.........

By: LinkWii1GT
iPhoneAndroidWindows
on 12 May 2015 - 15:29 #812257
LinkWii1GT's picture

นึกถึงต้นแบบมือถือที่บางเท่ากระดาษที่เคยมีตัวอย่างออกมา

By: att
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 12 May 2015 - 17:41 #812295
att's picture

Ultron!!!