นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Rice นำเสนอกราฟีนขาวหรือโบรอนไนไตรด์โครงสร้างพันธะแบบ 3 มิติ ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานได้นานขึ้น เพราะการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าซิลิกอน
กราฟีนเป็นสสารที่รวมกันด้วยพันธะชั้นเดียวหรือ 2 มิติในรูปแบบ 6 หกเหลี่ยมคล้ายผึ้งต่อกันไปเรื่อยๆ ซึ่งความแข็งแรงขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงสร้างของอะตอมที่จับตัวกันอยู่ และมีคุณสมบัติไม่นำไฟฟ้า ส่วนกราฟีนขาวมีคุณสมบัตินำไฟฟ้าอย่างยิ่งยวด ซึ่งสามารถนำความร้อนที่ดีกว่า และทำให้สามารถออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ซับซ้อนขึ้นโดยคำนึกถึงเรื่องการระบายความร้อนน้อยลง
การถ่ายเทความร้อนโดยทั่วไปจะถ่ายเทได้ดีในลักษณะแนวระนาบของวัตถุ แต่กราฟีนขาวสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีเมื่อซ้อนเป็นกันชั้นๆ ได้เช่นกัน และระบบการจัดการความร้อน 3 มิติ (3D thermal-management system) อาจเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาสวิตช์อุณหภูมิ (thermal switches หรือ thermal rectifiers) อีกด้วย
กราฟีนถูกตั้งความหวังให้เป็นสสารที่จะมาใช้แทนซิลิกอนระยะหนึ่งแล้วด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่า และกราฟีนขาวนี้จะช่วยให้เทคโนโลยีการระบายความร้อนพัฒนาควบคู่กันไปด้วย
ที่มา – Fortune
Comments
เทคโนโลยีคงก้าวกระโดดถ้าเอามาใช้อย่างจริงจัง
ข่าวนี้น่าจะลง Jusci มากกว่านะครับ
ผมก็ว่างั้นนะครับ เนื้อหานี่วิทย์จ๋าเลย
Boron Nitride(BN) ก็ดีอยู่แล้ว ไม่น่าจะเรียกเป็น white graphene ให้สับสนเลย
รอดูกราฟีนเงิน (จะมีใครรับมุขไหมนะ)
ไอแมวตัวส้มๆใช่ไหม /โดนถีบ
นั่นมันการ์ฟิว(ใช่มั้ย)
//เผ่น//
วิธีผลิตกราฟีนตอนนี้ไม่ใช้เทปกาวแล้วหรือครับ คือถ้ายังทำแบบนั้น ดูยังไงก็ไม่มีทางผลักเข้ากระบวนการอุตสาหกรรมได้เลย -_-
ไปไกลแล้วครับ ในไทยยังขนาดนี้มาครึ่งทศวรรษแล้ว