นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Rice นำเสนอกราฟีนขาวหรือโบรอนไนไตรด์โครงสร้างพันธะแบบ 3 มิติ ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานได้นานขึ้น เพราะการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าซิลิกอน
กราฟีนเป็นสสารที่รวมกันด้วยพันธะชั้นเดียวหรือ 2 มิติในรูปแบบ 6 หกเหลี่ยมคล้ายผึ้งต่อกันไปเรื่อยๆ ซึ่งความแข็งแรงขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงสร้างของอะตอมที่จับตัวกันอยู่ และมีคุณสมบัติไม่นำไฟฟ้า ส่วนกราฟีนขาวมีคุณสมบัตินำไฟฟ้าอย่างยิ่งยวด ซึ่งสามารถนำความร้อนที่ดีกว่า และทำให้สามารถออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ซับซ้อนขึ้นโดยคำนึกถึงเรื่องการระบายความร้อนน้อยลง
แม้ว่าโนเกียจะมีเทคโนโลยีกล้องบนสมาร์ทโฟนที่ล้ำหน้าผู้ผลิตเจ้าอื่นอย่าง PureView แต่ดูเหมือนโนเกียจะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้และอาจจะกำลังพัฒนาสิ่งที่อาจยกระดับเทคโนโลยีการถ่ายภาพไปสู่อีกระดับหนึ่งเลยทีเดียว
โนเกียได้จดสิทธิบัตรการจับโฟตอนด้วยเทคโนโลยีกราฟีนเพื่อนำไปใช้กับเซ็นเซอร์รับภาพ และด้วยคุณสมบัติของกราฟีนนี่เองที่ทำให้การผลิตเซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาดเล็กและถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดีกว่าเซ็นเซอร์ CMOS ในปัจจุบันมีความเป็นไปได้
ในปีที่แล้ว MIT เคยจัดอันดับให้กราฟีน (Graphene) เป็นหนึ่งในสิบเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง [ข่าวเก่า] ล่าสุดนี้ นักวิจัยจาก MIT ใช้กราฟีนพัฒนาไมโครชิปที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะดับ 1 เทราเฮิรตซ์ (THz) หรือ 1,000 กิกะเฮิรตซ์สำเร็จแล้ว ซึ่งชิปแบบกราฟีนตัวนี้จะสามารถเพิ่มความเร็วในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ รวมถึงเพิ่มความเร็วในการขนส่งข้อมูลของโทรศัพท์มือถือได้