Qualcomm กำลังจะเจอวิกฤตครั้งใหม่ในยุโรปเสียแล้ว หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เริ่มเดินหน้าสอบสวนประเด็นผูกขาดการค้าของ Qualcomm รวดเดียวถึงสองประเด็น
ประเด็นแรกคือทาง EC ตั้งข้อสงสัยว่า Qualcomm อาจใช้วิธีคุมตลาดด้วยการให้แรงจูงใจทางการเงินกับผู้ผลิตที่ใช้ชิปของ Qualcomm ทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด เช่น การขายชิปราคาพิเศษให้กับลูกค้าที่ซื้อยกล็อต หรือจ่ายเงินให้กับพนักงานที่มาดีลด้วย เป็นต้น ส่วนอีกประเด็นระบุว่า Qualcomm อาจยอมขายชิปเซ็ตในราคาที่ต่ำกว่าทุนเพื่อบีบคู่แข่งออกจากตลาด
ทางเจ้าหน้าที่ระบุว่าการเข้าไปขวาง Qualcomm ในครั้งนี้ของ EC อาจขัดกับแนวทางที่ต้องการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์พกพาได้มากขึ้น แต่ก็มิอาจทำให้เกิดสภาวะผูกขาดตลาดที่จะทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพได้
ที่มา - European Commision
Comments
อะไรคือความชอบธรรมในโลกทุนนิยม หรือการค้าเสรี หรอครับ
เท่าที่อ่านมามันก็การแข่งกันทางธุรกิจธรรมดาๆ นี่เองนี่นา
เราว่ามันก็ปกตินี่นา ซื้อเยอะก็ได้ส่วนลด แปลกยังไงหว่า -_-
กตหมายพวกนี้มีไว้ป้องกัน monopoly ครับ
ลองคิดว่า บ. แห่งหนึ่งขายข้าว บ. นี้มีเงินมาก เลยขายข้าวต่ำกว่าทุน สุดท้ายร้านขายข้าวอื่นๆตายไปจากตลาดหมด
แต่หลังจากนั่นร้านนี้ก็หยุดขายข้าวในราคาถูก หันมาเน้นกดกำไรแบบเท่าไร่ก็ใด้ไม่มีใครแข่งสิครับ
กตหมาพวกนี้กำหนดเฉพาะ บ. ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเยอะ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
+1 ไทยเจอบริษัทขายไก่กับตัวแล้วไงครับ
งี้นี่เอง กระจ่างเลยค่ะ
งั้นถ้าเราไปเหมาข้าวราคาต่ำกว่าทุน มาขายต่ออีกทอดให้หมดละครับ
พฤติกรรมแบบนี้เรียกว่า Predatory Pricing ผู้ขายที่จะทำได้ต้องแน่ใจก่อนว่ามี supply เพียงพอต่อความต้องการ
+1
บ้านเราบริษัทขายไก่ ขายของกินในร้านราคาแพงกว่าที่อื่น ชาวบ้านได้แต่บ่น แต่ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายฉบับนี้ล่ะ
เรามีกฏหมายครับแต่ว่ากฏหมายเราไม่ได้ระบุพรรฤติกรรมไว้ เช่น กรณีนี้เป็น predatory pricing กว่าจะทำ model test ว่าเป็นจริงได้ก็ยากพอสมควรเลย
Price Dumping นี่มองยังไงก็ผิดนะนั่น
ส่วนสำคัญคือการลดราคาทำเพื่อกำจัดคู่แข่งจริงๆหรือปล่าว ถ้าการลดราคามีเหตุผลเหมาะสม เช่นราคากลางในตลาดลดลง ต้นทุนต่ำลง มีของเหลือในสต๊อกมากเกิน หรือแค่จัดรายการในระยะสั้นๆ ก็สามารถอ้างใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถึงต้องมีการ test ทางเศรษฐศาสตร์ครับซึ่งมีกระบวนหรือแบบจำลองทางปฏิบัติอยู่ครับ และปกติจะทำกับเฉพาะผู้ที่ถูกระบุว่ามีอำนาจตลาดก่อน (Significant Market Power) ปกติมีการ test ก่อนล่วงหน้าเป็น an ante ในตลาด
ดังนั้นแน่นอนว่าปกติทำได้แต่ predatory pricing คือต้องลดราคาต่ำกว่าทุน (ชั่วคราว) และมีอำนาจตลาด (ให้ราคาตลาดเป็นไปตามที่เขาต้องการ) คนที่ cost สูงกว่าก็เข้าไม่ได้
Pricing Dumping มักจะใช้การค้าระหว่างประเทศมากกว่าครับและปกติ trade policy ก็จะมีการระวังเรื่องนี้พอสมควรเช่นใช้ Quota และภาษีช่วย
ถ้าไม่ยกตัวอย่างในไทย
แต่ยกระดับโลก
INTEL หรือ AMD ก็น่าจะมีศักยภาพ ไม่ว่าจะด้านเทคโนโลยี หรือด้านเงินทุน น่าจะสู้ได้สบายนะครับ แค่ไม่ได้รับความนิยม ตีตลาดไม่แตก เท่านั้นเองนี่นา
กรณี INTEL ขายต่ำกว่าทุน ก็เคยไม่ข่าวนิครับ?
คิดว่าเพราะยังไม่มีผลกระทบต่อส่วนแบ่งในตลาดมั้งครับ
เสริมนิดหนึ่งนะครับปกติจะส่วนแบ่งตลาดเยอะไม่ได้บอกโดยตรงต้อง test ว่าเป็น Significant Market Power ก่อนถึงจะนำไปทดสอบว่ามีพฤติกรรมดังกล่าวที่ส่งผลจริงหรือไม่ (รายเล็กก็อาจจะทำได้)
ตามรอย Intel สมัยก่อนเลยครับ
ยังไงอะครับผมไม่เคยเห็นอินเทลขายถูกเลยแพงกว่าเอเอ็มดีจากอดีตยันปัจจุบัน??
สิ่งที่อินเทลทำคือการทุ่มตลาดครับยัดเงินให้ร้านค้าปลีกพร้อม+ข้อเสนออื่นๆเพื่อไม่ให้ขายสินค้าของคู่แข่ง
ซึ่งกรณีนี้ใน EU ศาลตัดสินว่าอินเทลผิดครับ
อ้ออันนี้คือติดสินบนคนขายสินะ เลยมาฟันกำไรกับผู้ซื้อ= ="
โดยส่วนตัวผมมองว่าเป็นการกระทำที่น่าเกลียดครับ
สินค้ามันต้องวัดกันด้วยสินค้า ไม่ใช่ไปยัดเงินคนขายให้เชียร์สินค้าตนเองมันไม่แฟร์ครับ
ข่าวเก่าครับ Intel โดนค่าปรับ 1.45 พันล้านดอลลาร์ ข้อหาผูกขาดสินค้าในยุโรป
หาเงินค่าปรับไปไว้ให้กรีซกู้เหรอครับ //เผ่น
อันนี้หมายความว่า Qualcomm
ติดสินบนให้คอมมิชชันกับคนจัดซื้อเหรอครับ
บริษัทระดับนั้นยังทำแบบนี้อีกเหรอ