ช่วงนี้มีวิวาทะ iPhone vs Android กลับมาอีกครั้ง (ดูบทความต้นทางที่ Droidsans) เรื่องแบบนี้เถียงกันไปยังไงก็ไม่มีทางจบ
คำถามที่น่าสนใจกว่าคือทำไมสาวกและแฟนบอยทั้งสองค่ายถึงเถียงกันอยู่ตลอดเวลา คำตอบที่ผมพยายามอธิบายคือความต่างระหว่าง 2 ค่ายนี้ มันเป็นความแตกต่างที่ลงไปลึกถึงระดับปรัชญาหรือรากฐาน (fundamentalism) ของบริษัทที่คงไม่มีใครถูกผิด (และประสบความสำเร็จกันทั้งคู่) ส่วนรายละเอียดของความแตกต่างจะอธิบายในบทความนี้
ฝั่งของแอปเปิลมีปรัชญารากฐานที่สรุปได้ในคำเดียวว่า "materialism" หรือการนิยมสิ่งที่เป็นวัตถุจับต้องได้ ที่ผ่านมาเราจึงเห็นแอปเปิลนิยมนำเสนอจุดเด่นของตัวเองในเชิง enthusiastic ต่อตัววัตถุในทุกมิติ เช่น วัสดุดีกว่า หรูหรามีระดับ ประสบการณ์ใช้งานดีกว่า หน้าสวยกว่า UI ลื่นกว่า ฯลฯ สรุปคือในภาพรวมแล้วมันเป็น "ที่สุดของ material" ที่หาใครสู้ได้ยากนั่นเอง
ตัวอย่างที่ดีที่สุดของการแสดงออกเรื่อง materialism ของแอปเปิล คือทุกครั้งที่มีเปิดตัวสินค้าใหม่ เราจะเห็นวิดีโอบรรยายสรรพคุณโดย Jonathan Ive นี่ล่ะครับ ใช่เลย
โมเดลธุรกิจทั้งหมดของแอปเปิลจึงมุ่งเข้าสู่การขายวัตถุ (ฮาร์ดแวร์) เป็นหลัก เพราะพื้นฐานของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ "ความเป็นวัตถุ" นั่นเอง เราจึงเห็นแอปเปิลเลิกคิดเงินค่าซอฟต์แวร์ (ยกเว้นบริการเพียงบางตัว เช่น iTunes ที่ถือว่าเป็นสัดส่วนรายได้ส่วนน้อยของบริษัท) และมองซอฟต์แวร์ในฐานะตัวสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) ให้แพ็กเกจฮาร์ดแวร์ของตัวเองแตกต่างจากคู่แข่ง (differentiation) และสามารถขายในราคาที่สูงขึ้นได้
ส่วนกูเกิลนั้นกลับทิศกันเลย แนวคิดของกูเกิลคือไร้สิ้นซึ่งวัตถุใดๆ และทุกสิ่งอย่างในโลกหล้าจงดึงมาจากคลาวด์ของกูเกิลเท่านั้นเป็นพอ ผมขอใช้คำว่า immaterialism ของคุณอธิป จิตตฤกษ์ มานิยามแนวคิดนี้ (อ่านเพิ่ม, วิดีโอประกอบการบรรยาย)
ฮาร์ดแวร์ Android ในสายตาของกูเกิลจึงมีค่าเป็นแค่ dumb terminal หรืออุปกรณ์ง่ายๆ ราคาถูก ตัวมันเองไม่ต้องมีความฉลาดหรือความสามารถมากนัก แต่ภารกิจสำคัญของมันคือเปิดทางให้คนเข้าสู่โลกออนไลน์ที่ไร้ซึ่งวัตถุของกูเกิลได้
ถ้าเรียกภาษาเศรษฐศาสตร์ กูเกิลมองฮาร์ดแวร์เป็น commodity ที่ใครก็ผลิตขึ้นมาได้ (ไม่จำเป็นต้องเป็นซัมซุง จะเป็นโรงงานเสิ่นเจิ้นก็ได้ หรือเดี๋ยวนี้อินเดีย-บราซิลก็เริ่มตั้งโรงงานเองแล้ว) โครงการ Nexus ถือเป็นแค่ การทดลองในวงกว้างเพื่อผลักดันความก้าวหน้าของแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์เท่านั้น เราจึงไม่เห็นแนวคิดเรื่อง enthusiastic ใดๆ ฝั่งอยู่ใน Nexus เลย (Eric Schmidt เคยพูดไว้นานแล้วว่ากล้อง Nexus จะเทพในไม่ช้า ตอนนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง) ในขณะที่โครงการ Android One เป็นการสร้าง standardized dumb terminal ให้กระจายตัวกว้างขวางมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
แต่วิสัยทัศน์เชิงซอฟต์แวร์ของกูเกิลนั้นลึกล้ำมาก แนวคิดของกูเกิลคือสร้างความฉลาดของจักรกล (machine intelligence) ซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่งหนึ่งบนโลก แล้วให้จักรกลที่ว่านี้แก้ปัญหาให้ผู้ใช้งาน โดยที่ไม่ต้องเห็นหน้าค่าตาหรือสัมผัสเชิงกายภาพกันเลย
เราจะเห็นแนวคิดนี้ถูกผลิตซ้ำอยู่ในผลิตภัณฑ์แทบทุกตัวของกูเกิล ตั้งแต่
วิดีโอสาธิต Google Self-Driving Car อันนี้ น่าจะสะท้อนแนวคิดเรื่อง "ไร้ตัวตน" ของกูเกิลได้ดีที่สุดครับ
ถ้าลองเปรียบเทียบกับ "การเดินทาง" แล้ว ฝั่งแอปเปิลจะใส่ใจรายละเอียดระหว่างทาง ในขณะที่กูเกิลจะสนใจพาเราวาร์ปจากต้นทางไปโผล่ปลายทางให้เร็วที่สุด อะไรประมาณนี้ครับ
โมเดลธุรกิจของกูเกิลจึงไม่สนใจฮาร์ดแวร์อย่างสิ้นเชิง และผลักดันทุกอย่างให้อยู่ภายใต้การหารายได้จากโฆษณา (ads) หรือบริการแบบสมัครสมาชิก (subscription) ให้หมดนั่นเอง
ทีนี้ใครจะชอบแนวทางไหน ก็ขึ้นกับปรัชญาการใช้ชีวิตของแต่ละคนแล้วว่าจะเป็นสาย immaterial หรือ material ครับ (เหมือนกับคนเชียร์บาร์เซโลนาต้อง tiki taka ส่วนคนเชียร์เชลซี ชอบนั่งรถบัส อะไรแบบนั้น คนละแนวทางแต่เป็นแชมป์ยุโรปได้เหมือนกัน)
อีกประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือขนาดของตลาด ลูกค้าที่มีกำลังซื้อสินค้าของแอปเปิล อาจมีอย่างมากสัก 300-500 ล้านคน (อันนี้ตัวเลขเดามั่วๆ แบบไร้หลักการ) แต่เป็นลูกค้าชั้นดีที่มีกำลังจ่าย พอคูณส่วนต่างกำไร (margin) แล้วส่งผลให้แอปเปิลทำกำไรมหาศาล และกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน ตอบโจทย์แง่ธุรกิจเป็นอย่างมาก
แต่ที่น่ากลัวมากคือกูเกิล ที่คาดว่ามองไกลระดับฐานลูกค้าจำนวน three to five billions ในแง่กำไรระยะสั้น คูณออกมาแล้วอาจได้เยอะไม่เท่า แต่ในแง่อิทธิพลการครอบงำโลกนั้นเยอะกว่าอย่างเทียบไม่ติด
เมื่อครั้งที่กูเกิลตั้งบริษัท Alphabet Holding มีบทความฝรั่งบางรายเปรียบเทียบว่า ความยิ่งใหญ่ของมันจะเทียบเท่ากับบริษัทอินดีสตะวันออก (East India Company) ของชาติมหาอำนาจยุโรปในยุคล่าอาณานิคมเอเชียเลยทีเดียว
ไอคอนประกอบจาก Dribble โดย Alexander Zhuravskiy
Comments
East India Empire ดีๆ นี่เอง
อ่านลิ้งค์ Droidsan แล้วนึกถึงข่าว fanboy ฝั่งหุ่นเขียวกดดาวนึงรัว ๆ ใสแอป
Move to iOS แฮะ พลัง fanboy ทั้งสองค่ายช่างน่ากลัวยิ่งนัก
ถ้าคนไม่ย้ายไป ios จะไปดาวโหลดทำไม
อย่ามองให้เป็นเรื่องแฟนบอลไร้สาระอย่างเดียวสิ แอพมันอาจจะไม่ดีจริงๆ
ก็ download เพื่อมากด 1 ดาวไงครับ
แฟนบอลไร้สาระ ฟินมากๆ คับ >,<
ผมนี่แหละ โหลดเพื่อมากด 1 ดาว แล้วลบทิ้ง โอเค้?
ทำเพื่ออะไรอ่ะครับ ถ้าสมมุติมีใน App Store บ้าง มันจะไม่เกิด Loop หรอ ทางนี้ให้ 1 ดาวบ้าง ให้ไปให้มาไม่รู้จบ ไม่เข้าใจ??
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ผมว่าจำนวนดาวมันแค่ขำๆ อย่าซีเรียสกันเลย ผมก็รู้สึกฮาดีนะที่มีคนไปโหวด 1 ดาวกันเพียบเลย
ถือเป็นเรื่องผ่อนคลายในสัปดาห์นี้เลย
เอาจริงๆแอปนี้จำนวนดาวไม่ได้มีผลอะไรมากมายแค่ขำๆซะมากกว่า
เพราะว่าถ้าผมจะย้ายไป iOS จริงๆ มันก็มีแอพนี้แอพเดียวนี่แหละที่เป็นความหวังของผม
แต่ถ้าพูดถึงแอปทั่วๆ ไปนี่ไม่ใช่เรื่องน่าขำเลยครับ สำหรับการให้เรทที่ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง เพราะมันทำให้เจ้าของแอปเขวได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในการเอาไปพัฒนาแก้ไขเพื่อให้ออกมาตรงจุดที่ลูกค้าต้องการได้
นานๆ จะได้อ่านอะไรทำนองนี้สักที ผมชอบมากๆ ครับ
เพียงแต่ผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของ materialism/immaterialism อย่างเดียวครับ ผมลองเสนอเล่นๆ นะครับอันนี้ ไม่รู้ว่ามันเป็นไปได้มากแค่ไหน คือมันเป็นจุดยืนที่คล้ายแบบ Kantian กับ Utilitarianism แบบแรกคือมองว่าถ้าระหว่างทางดี ทุกอย่างมันก็ดี ขณะที่แบบหลังมองว่าถ้าโดยรวมดี ทุกอย่างมันจะดี (อันนี้พูดแบบหยาบที่สุด มันมีรายละเอียดอีกมาก)
แต่เห็นด้วยว่าในทางปรัชญา สองจุดนี้ไม่มีทางยืนด้วยกันได้แน่นอน เพราะมันขัดแย้งทั้งทาง ontology และ epistemology ไม่ว่าจะใช้แว่นแบบไหนในทางปรัชญามองนะครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ผมก่ะว่ามันมีอะไรมากนั้น
ถ้าทั้ง 2 ทางจะมีจุดเชื่อมก็คงเป็น Samsung นี่แหละครับ
เอา Core มาจาก Google แต่พยายามเติมความเป็น(ลอก) Apple เข้าไป จนออกมาเป็น Galaxy Series อันนี้นี่เอง!
ฮา
คงต้องขออภัยด้วย แต่ผมไม่สนใจประเด็นเรื่องนี้เลยครับ สิ่งที่เป็นข้อเสนอผมเป็นข้อเสนอในเชิงทฤษฏีทางปรัชญาครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ผมอยากจะสื่อความรู้สึกว่า ผมเห็นลางๆ ว่าทั้ง 2 แนวทางไม่ใช่เหมือนเส้นขนานที่บรรจบกันไม่ได้ แต่เป็นเหมือนของ 2 สิ่งที่ทำงานคนละอย่าง แม้ไม่หลอมรวมกันแต่ก็เป็นไปได้ที่จะสามารถนำมาประกอบใส่ระบบเดียวกันแล้วได้ระบบที่สมบูรณ์มากขึ้น
ตัวอย่างของการที่ประกอบกันแล้วออกมาดีก็ยุค iPhone 1 นั่นแหละครับ:
- Hardware เลิศ, ประสบการณ์การใช้ลื่นไหล ยกความชอบให้ Apple
- ส่วนความสามารถมากมาย, ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น เช่น หาข้อมูล, ดูแผนที่, ดู clip ก็ต้องยกความชอบให้ Google
ผมก็ยังคงยืนยันครับว่าผมพูดในกรอบของปรัชญา (philosophical approach) มากกว่าจะเป็นเรื่องในเชิงเทคนิค (technical approach) ครับ สิ่งที่คุณเสนอมามันไม่ใช่ประเด็นจุดสนใจผม ยกเว้นแต่ว่าคุณจะโยงเข้ากับปรัชญาในสิ่งที่ผมเสนอได้ครับ ซึ่งก็คือความขัดแย้งระหว่างแนวคิดแบบ Kantian และ Utilitarian ครับ (ในบทความมองเรื่องของ Materialism/Immaterialism)
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ผมไม่ได้เรียนมาทางปรัชญาครับ คงพูดด้วยภาษานั้นไม่ได้
แต่ที่ผมอยากจะเสนอแย้งคือเรื่องที่ สองจุดนี้ไม่มีทางยืนด้วยกันได้แน่นอน จะจริงหรอครับ?
ระบบ 2 อย่างทำงานด้วยแนวคิดต่างกัน มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ใช่ครับ มันคงหลอมรวมกันไม่ได้ แต่ถ้าให้แยกกันอยู่แล้วทำงานที่ตัวเองถนัดไป ได้ผลลัพธ์ค่อยนำมารวมกัน ก็น่าจะไม่มีปัญหานะครับ ผมก็เห็นระบบต่างๆ ในโลกมันเป็นแบบนี้ทั้งนั้น
(ผมพูดซ้ำแบบนี้ก็คงนอกเรื่องอยู่ดีใช่มั้ยครับ)
หากคุณเป็นคนที่มีหน้าที่ในการโยกคันโยกสลับรางรถไฟนะครับ แล้วมีรถไฟขบวนหนึ่งมา เบรคไม่อยู่ แต่มีทางแยกสองทาง ทางหนึ่งมีคนทำงานอยู่หนึ่งคน อีกทางหนึ่งมีคนทำงาน 5 คน คุณรู้แน่นอนว่าใครสักคนต้องตาย คุณจะตัดสินใจโยกคันโยกเพื่อให้ชนคนหนึ่งคนตาย หรือไม่โยกคันโยกแล้วปล่อยให้ 5 คนตายครับ?
สถานการณ์แบบนี้ แม้จะไม่เกี่ยวข้องในสิ่งที่พูดมา (และแน่นอนว่านั่นมันคนละปัญหาด้วยซ้ำ) แต่มันสะท้อนกรอบคิดแบบ Kantian และ Utilitarian ที่ผมหมายถึงเอาไว้ตอนแรกครับ นั่นก็คือเลือกเอาว่าจะทำหน้าที่ของตัวเอง (maxim) ให้ดีที่สุด (ในกรณีแอปเปิลคือ ทำให้ดีระหว่างทางไปเรื่อยๆ) ผลลัพธ์จะออกมาดีเอง หรือไม่ต้องสนใจว่าระหว่างทางจะเป็นยังไง แต่ให้มากที่สุดเอาไว้ก่อน แล้วปลายทางจะออกมาดีเอง (ในกรณี Google) (ย้ำว่าผมพูดได้แบบหยาบมากๆ นะครับ รายละเอียดปลีกย่อยมันเยอะมาก)
ในกรณีรถไฟและคันโยกนั่น เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาและเป็นตัวอย่างในชั้นเรียนเป็นร้อยๆ ปี ถ้าถามผม ความแตกต่างมันอยู่ที่ระดับ epistemology มันแตกต่างกัน เมื่อ epistemology มันต่างกัน ก็ยากจะหาจุดร่วมหรือลงตัวกันครับ ถ้าจะคิดแบบ Hegelian ก็ต้องปะทะสังสรรค์กัน (thesis, anti-thesis -> synthesis) จนกระทั่งเกิดความคิดชุดใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้อีกว่าจะมีทางหรือไม่ หรือถ้าพูดในภาษาแบบ Marxist ก็คือ ต้องทำสงครามชนกันจนกว่าจะเกิดโลกใหม่นั่นแหละครับ นั่นก็คือโลกที่ไร้ทุนนิยม คำถามคือ ทุกวันนี้เราก็อยู่กับทุนนิยม ความฝันของ Marx มาถึงหรือยังครับ?
ในความเห็นที่หยาบมากๆ ของผม (เน้นย้ำอีกรอบ ยังไม่ได้ลงรายละเอียด เพราะถ้าลงรายละเอียดคงต้องทำเป็นวิทยานิพนธ์) คำตอบคือแทบจะมีโอกาสน้อยมากๆ เพราะอย่างที่เรียน epistemological differentiation มันทำให้หลายๆ อย่าง เข้ากันไม่ได้ (จะเรียกว่า "ชาตินี้เราคงรักกันไม่ได้" ก็น่าจะพอไหว)
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
เอิ่มมม ออกไปถึงไหนแล้วเนี่ย
คือมันเกี่ยวกับตอนแรกที่ผมตอบไว้นั่นแหละ แต่ถ้าอยากให้ขยายความก็ตามนี้ครับ คงไม่ตอบเพิ่มมากกว่านี้
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
สนุกดีครับ ผมเองก็ชอบปรัชญา แต่ไม่เคยเข้าใจมันจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ผมว่าบทความนี้ ตรงใจผมที่สุด
https://www.gotoknow.org/posts/491922
โดยเฉพาะข้อความนี้ “ปรัชญาเป็นวิชาว่าด้วยการคิด” นักปรัชญาก็คือนักคิด ปรัชญาก็คือแนวความคิด แต่นักปรัชญาต่างกับนักคิดโดยทั่วไป หรือนักฝัน ตรงที่นักปรัชญาจะคิดอะไรต้องมีหลักเหตุผล(ตรรกะ) และหลักความเป็นไปได้ตรวจสอบ....
สุดท้าย มี comment ของผู้อ่านท่านหนึ่ง ถูกใจมาก
"คนประเภท คุยกับคนที่มีความเห็นไม่ตรงกับตนเองได้อย่างมีความสุข"
ขอให้คุยกันอย่างมีความสุขครับ :-)
มันมีคนประเภทที่มีความสุข เพราะได้กวน ได้ยั่วโมโหชาวบ้านที่เห็นไม่ตรงกันด้วยนะครับ 555
http://www.catholicnewsagency.com/news/vatican-hopes-apple-partnership-will-spread-popes-message/
ถ้า Vatican เป็น Partner อันนี้น่าจับตาดู Apple อยู่เหมือนกันค่ะ ว่ากันว่า Vatican รวยกว่า Apple อีกทีด้วยนะค่า และ โคลัมบัสก็เป็นคาทอลิคไม่ใช่ยิวอีกด้วยค่ะ
ไม่เก็ตมุก "เชลซีชอบนั่งรถบัส" ครับ ถ้าผมถามคอบอลเขาจะตอบได้ไหมครับ
ลองเปลี่ยนเป็น แมนยู รีสอร์ทแอนด์สปา
ปล.ผมเด็กสิงห์นะ
ถ้าเป็นแฟนบอลจริงต้องรู้จัก รถบัส ถ้าไม่รู้จักก็อย่าไปคุยเรื่องฟุตบอลกับคนอื่นเลย
รถบัสนี่หมายถึงเน้นเกมรับอยู่หน้าโกลตัวเองจนเหมือนเอารถบัสมาจอดขวางน่ะครับ
ขอบคุณครับ 5555555 แบบนี้ใช่ไหม
ขอบคุณครับ
เป็นแทคติคที่มูริญโญ่เคยใช้บ่อยๆ วิธีการคือเน้นอุดแล้วรอจังหวะสวนครับ เหมือนเอารถบัสมาขวางไว้ เลยโดนเอามาล้อกัน
จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นสไตล์ Counter Attack ซึ่งแมนยูยุคป๋าก็เคยใช้บ่อย แต่หลายคนมักไม่ค่อยเก็ต
#SaveBR #SaveVangal
Boo #RodgerOut
ยังนึกอะไรไม่ออก แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยเรื่อง materialism/immaterialism คือยังไม่รู้สึกว่ามันเป็นแบบนั้นซะทีเดียว (คหสต)
คิดๆดู เรื่องการเข้าครอบงำของ Google นี่น่ากลัวนะ ดูเหมือนพี่แกแทรกไปทุกอนุผิวโลกเลย
บทความเยี่ยมมากครับ
ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องแนวคิดปรัชญาสักเท่าไหร่ แต่อ่านแล้วก็เพลินดีครับ เรื่อง Google ตั้งชื่อแนวทาง UI เป็น Material design นี่มีนัยแฝงอะไรอยู่หรือเปล่า อารมณ์ตั้งให้มันฮาๆ ดูย้อนแย้งตามสไตล์ Google
ตามไปอ่านลิงค์ที่บทความต้นทางแล้วไล่อ่านคอมเมนต์กลายเป็นดราม่าแบ่งชนชั้นไปซะงั้น
อันนี้ตัวเลขเดามั่วๆ แบบไร้หลักการ ++
ส่วนตัวขอเดามั่วๆว่า ขนาดละเล็กลงในอนาคต
อ่านแล้วไม่เข้าใจถึงสาระของเนื้อหาเลย ยังพูดไม่ครอบคลุมถึง service mind ที่มีต่อลูกค้าด้วยซ้ำ
ส่วนเรื่อง Alphabet Holding ที่ว่าจะยิ่งใหญ่อย่างกับจะครองโลก มันก็แค่บริษัท Holding เหมือน Toyota, Porsche SE(ถือหุ้นกลุ่ม Wolkswagen) ฯลฯ ไม่เห็นแปลก
educate yourself!!
Berkeley's Immaterialism
Philosophical Materialism
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ใช้ชีวิตให้มากขึ้น อ่านให้มากขึ้น แล้วจะค่อยๆ เข้าใจครับ
ที่ผมต้องการสื่อคือเนื้อหาให้รายละเอียดไม่พอ ผมต้องไปอ่านเพิ่ม (1,2) เหตุผลที่ผมโวยเพราะคิดเหมือนกันกับท่านนี้ มันก็แค่นั้น
ผมไม่ใช่สาวกของทั้งสองค่ายนะครับ
แนวทางของ apple เหมือนจะไม่เปิดมากนัก ซึ่งต่างจาก google แล้ว ซึ่งเปิดมากกว่า แต่เอาเข้าจริงๆ google คือ กับดักปีศาจ
ในหนึงวัน ถ้า ไม่มี iphone , imac , ipad เราอยู่ได้ครับ ทำงานได้ ชีวิตอาจลำบาก แต่ถ้า ใน 1 วัน ไม่มีบริการของ google คือ ชีวิตลำบากมากๆ
การที่บริษัทหนึ่งเข้ามามีผลกระทบกับชีวิตของเรามากไปไม่ใช่เรื่องดี ยิ่งgoogle คือรวมศูนย์หมด
ในสายตา apple เราคือลูกค้า แต่ในสายตา google เราคือสินค้า คุณจะเป็นผู้ซื้อ หรือ ผู้ถูกซื้อละครับ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
เหมือนมีคนเคยพูดว่ากูเกิลก็คือปีศาจที่คอยดูดวิญญาณ(ข้อมูลส่วนตัว)ของเราโดยแลกกับการใช้งานฟรี
ไม่เห็นด้วยแฮะ ทั้ง 2 บริษัทมองเราเป็นลูกค้าทั้งนั้น
ถ้าพูดกันตามตรง google ดูแลเราได้มากกว่า apple นะ อย่างน้อยๆก็ search ที่เราใช้แทบทุกวัน
จะเรียกว่าดูแลมันก็แปลกๆ นะครับเพราะมันเป็นผลต่างตอบแทน ซึ่งคำว่าดูแลมันก็ต้องมาดูอีกทีว่าดูยังไงในแง่มุมไหน การเข้ามาดูจนรู้จักเราทะลุปรุโปร่งก็ไม่รู้ว่าเรียกว่าดูแลหรือเปล่า ส่วนดูแลในแง่ของการบริการหลังการขายตรงนี้ผมว่า Apple ก็ยังคงอยู่ในฐานะผู้นำด้านนี้อยู่
"ในสายตา apple เราคือลูกค้า แต่ในสายตา google เราคือสินค้า"
+1,000,000 เลยครับ
+googolplex เลยฮะ
"ในสายตา apple เราคือลูกค้า แต่ในสายตา google เราคือสินค้า คุณจะเป็นผู้ซื้อ หรือ ผู้ถูกซื้อละครับ"
เราคือสินค้า และถูกซื้อโดย Google ได้อย่างไรค่ะ?
เราคือสิ้นค้า ที่ google ขายให้คนอื่นครับ
เราเป็นเหมืองแร่ให้เขาขุดไปขายครับโดยได้รับค่าตอบแทนเป็นความสะดวกสบาย
ສະບາຍດີ :)
หนูเห็นด้วยค่ะ
แต่เราก็ยินยอมให้ Google ขุดเองนี่ค่ะ แลกกับการได้ใช้บริการต่างๆของ Google
หนูมองว่าบริษัทอื่นๆที่มีบริการลักษณะคล้ายๆบริการของ Google เอง
ก็ทำแบบเดียวกะที่ Google ทำ แต่แค่สเกลต่างกัน
ผมก็ไม่ได้ว่ามันไม่ดีนะ มันแล้วแต่คนเลย เหมือนเจ้าบ้าน หรือ เจ้าของที่ดินยินยอมให้ค้นดูได้ตามสะดวก ส่วนคนที่ไม่ชอบก็คือไม่ใช้ไม่ให้ค้น
แต่มันจะมาอันตรายตรงที่เราหยุดไม่ได้ เราหยุดให้เขาไม่เข้ามาอีกไม่ได้เพราะเราไปติดไปแล้ว ออกก็ไม่ได้ 55
ສະບາຍດີ :)
ก็เรียกว่าเป็นราคาที่ต้องจ่ายไป อย่างผมเนี่ยจ่ายสองเด้งเลยใช้ทั้งไอโฟนใช้ทั้งบริการของกูเกิล
ถ้าจะพูดแบบแนวทาง Apple มองตลาดในแบบดั้งเดิมคือลูกค้าจ่ายเงินแลกสินค้าและบริการที่ดี ส่วนกูเกิลมองแบบ Freeconomic คือเอาส่วนต่างของ"ความรับรู้ในมูลค่า"ของปัจจัยสองกลุ่มขึ้นไปมาแลกกัน และกูเกิลก็ได้กำไรจากส่วนแบ่งของส่วนต่างนั้น
หรือก็คือสำหรับแอปเปิล เราคือลูกค้าที่ต้องบริการอย่างดีที่สุด ในขณะที่สำหรับกูเกิล เราคือคู่ค้าที่ต้องจัดหาสิ่งแลกเปลี่ยนให้ตรงความต้องการ
ถ้าจะพูดแบบ"ให้ร้าย"กัน กูเกิลมองคุณเป็นทั้ง"สินค้า"(ข้อมูล)และ"คู่ค้า"(ผู้สร้าง Network Effect) ที่บ่อยครั้งก็แอบหยิบของบางอย่างไปโดยที่คุณไม่รู้ตัว
ในขณะที่แอปเปิลมองคุณเป็นลูกค้าที่"คิดเองไม่เป็น" (“people don't know what they want until you show it to them” ที่โด่งดังนั่นแหละ) เพราะงั้นแอปเปิลมีสิทธิ์เต็มที่จะ"คิด"แทนให้ และเก็บค่า"คิด"นั้นในรูปตัวเงิน
ถ้าจะจบประโยคของคุณอย่างแฟร์ๆ คงต้องเปลี่ยนเป็น
ในสายตา apple เราคือลูกค้า"คิดไม่เป็น" แต่ในสายตา google เราคือสินค้า
คุณจะเป็นผู้ซื้อไม่มีหัวคิด หรือ ผู้ถูกซื้อละครับ
ในสายตา apple เราคือลูกค้า"คิดไม่เป็น" แต่ในสายตา google เราคือสินค้า
อ่านถึงตรงนี้ สะเทือน(ใจ)นิดๆ ฟังดูแย่พอกันเลยนะคะ
วกกลับไปอ่านบทความอีกรอบ เริ่มเข้าใจมากขึ้น
+1 เพราะความครบถ้วนครับ อธิบายการแลกเปลี่ยนได้หมดทุกเส้นทาง
-1
คำว่า "คิดเองไม่เป็น" นี่มันดูถูกผู้ใช้สินค้า Apple อย่างแรง เป็นคำที่คิดเองจากมุมมองของฝั่งตรงข้ามอย่างเห็นได้ชัด ประโยคภาษาอังกฤษที่เอามาแปลความหมายก็ไม่ได้บอกอย่างนั้นเลย อ่านแล้วรู้สึกได้เลยว่า comment นี้มีเพื่อให้ผู้สนับสนุนฝ่าย Google ตอกหน้ากลับฝ่าย Apple แบบดุเด็ดเผ็ดร้อนพ่วงด้วยการ soft landing ให้กับฝ่ายตัวเองเล็ก ๆ ก็เท่านั้นเอง
หลาย ๆ อย่างจาก Google คุณเองก็ไม่รู้ว่าคุณต้องการจนเมื่อกระทั่ง Google ทำมันออกมาให้คุณใช้ และนี่คือคำแปลที่ถูกต้องของประโยคภาษาอังกฤษที่คุณยกมา แม้ว่าประโยคนั้นจะกล่าวโดยฝั่ง Apple ก็ตามที
บริการหลาย ๆ อย่างของ Google ก็คิดแทนผู้ใช้งานเหมือนกัน เพียงแต่ Google เลือกเก็บค่าบริการทางอ้อมเท่านั้นเอง
That is the way things are.
+1 ให้กับ -1 ครับ คือเห็นด้วยว่าแปลประโยคนั้นให้ทางลบเกินไป
แต่ก็นั่นแหละครับ ความเห็นของคุณ YF-01 สื่อแบบลบๆ ว่า
เนื่องจากลูกค้าอธิบายไม่ได้หรอกว่าเครื่องมือที่เขาเหล่านั้นจะชอบมันมีลักษณะเป็นยังไง เลยทำให้ Apple ที่สามารถหยิบยื่นสิ่งนั้นให้ได้โดยไม่ต้องถามก่อนสามารถจะเก็บค่าตอบแทนจากความถูกใจที่เกิดขึ้นนั้น
ซ้ำร้ายกว่านั้น บ่อยครั้งที่คุณท่านลูกค้าพยายามอธิบายความต้องการ แต่เมื่อทำออกมาจริงๆ แล้วเขากลับรู้สึกว่ามันไม่ใช่ (#ลูกค้าผู้น่ารัก) ด้วยเหตุนี้ Apple จึงถือโอกาสยึดสิทธิ์การตัดสินใจในแนวทางการออกแบบมาทั้งหมดดีกว่า ซึ่งกรณีนี่ก็สรุปเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจาก "ลูกค้าคิดเองไม่เป็นหรอก ให้เราคิดแทนจะดีกว่า"
ผมเข้าใจเขาว่าอย่างนี้น่ะนะ
อ่า ประมาณนี้แหละครับ
ผมจงใจให้ดูลบ เพราะต้นความเห็นมามองลบแค่ฝ่ายเดียวน่ะครับเลยอยากให้เห็นว่าจะมองให้ลบก็มองได้ทั้งสองฝั่งแหละ
เอาจริงๆมันไม่ได้ลบขนาดดูถูกลูกค้าแบบนั้นหรอก แต่ผมก็เชื่อว่าแอปเปิล"มั่นใจ"ว่าตัวเองคิดให้ลูกค้า ดีกว่าที่ลูกค้าคิดเองแน่นอนนะ
[edit เพิ่ม เพื่อให้เข้าใจตรงกัน: ผมมองว่า"แอปเปิลมองลูกค้าว่าคิดไม่เป็น"กับ"ผมองว่าลูกค้าแอปเปิลคิดไม่เป็น"นี่ไม่เหมือนกันนะคร้าบ]
อ่า ขออภัยถ้าทำให้รู้สึกว่าดูถูกลูกค้าแอปเปิล"ทั้งหมด"ครับ ที่ผมจะสื่อคือ"ถ้าจะมองกันในแง่ลบทั้งสองฝั่ง" เพราะจขคห.เลือกมองในแง่ลบฝ่ายเดียว ผมก็มาแสดงว่าถ้าจะมองฝั่งนึงในแง่ลบ ให้แฟร์ก็ต้องมองลบทั้งสองฝั่ง
ถ้าตัดมาเป็นประโยคก็คง"ดิ้นได้"แบบที่คุณว่าละ แต่ลองเอาประโยคที่แอปเปิลใช้ในหลายๆพรีเซนเทชันมาร่วมด้วย เช่น "3.5 คือขนาดหน้าจอที่ดีที่สุด" หรือ "สไตลัสที่ดีที่สุดคือนิ้ว" ละครับ? แล้วกับคนที่คิดต่าง คนพวกนี้ต้อง"คิดผิด"งั้นหรือ?
หรือประโยคที่ชัดเจนที่สุดอย่าง "You're Holding It Wrong" กับไอโฟน 4 ล่ะ?
ปรัชญาการออกแบบแอปเปิลมีลักษณะการออกแบบการใช้งานที่"บังคับ"ลูกค้าที่สุดรายนึง และคงจัดได้ว่ามีความมั่นใจในตัวเองสูงที่สุดรายหนึ่ง
ซึ่งแง่นึงมันก็ดีตรงที่ได้ความสมบูรณ์แบบที่มากกว่า แต่อีกแง่ก็คือเค้ามองว่าคุณแค่ทำตามที่เค้าให้ก็พอ ไม่ต้องแก้ไข เพราะคุณคิดได้ไม่ดีกว่าเค้าหรอก
ซึ่งต่างจากบริการของเจ้าอื่น(แม้แต่อันที่คุณยกมา) เค้าเสนอให้คุณ"เลือกใช้"โดยคิดสิ่งที่"น่าจะ"ตรงกับความต้องการของลูกค้า คนละเรื่องกับการบอกว่าใช้ตามที่ผมคิดพอ ไม่ต้องปรับ
หรือกูเกิลเคยบอกว่า search engine ต้องทำแบบนี้เท่านั้นละครับ?
กลับกัน ถ้ามองบวก ผมก็มองบวกได้ทั้งสองฝั่ง และ"ผู้ใช้"ที่ไม่ใช่สาวกของทั้งสองฝั่งเองก็ใช่ว่าจะไม่คิดก่อนเลือกซื้อ ถูกมั้ยครับ?
ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณนะครับ แล้วก็คิดว่าคำที่คุณใช้ก่อนหน้าก็ไม่ได้รุนแรงอะไรในความเห็นส่วนตัว เพราะบางคำหรือบางประโยคมันก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและเข้าใจได้ตรงกันให้ได้เร็วที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานด้านการออกแบบ โดยบางทีมันอาจจะไม่ได้หมายถึงความหมายดั้งเดิมซะทีเดียว อย่างเช่นคำว่าโง่ หรือ foolproof ที่เคยมีการยกมาพูดถึงไปก่อนหน้านี้ไม่นาน
แนวทางหนึ่งของการออกแบบที่ยึดถือและเป็นที่นิยมก็คือ งานออกแบบที่ดีคือสร้างสิ่งที่ user สามารถเข้าใจและใช้งานได้เลยโดยที่แทบไม่ต้องคิดหรือเรียนรู้การใช้งานให้น้อยที่สุด ตรงนี้บางคนอาจจะตีความไปว่าลูกค้าคิดไม่เป็น ลูกค้าโง่ ก็คงจะแล้วแต่การตีความจากแบ็คกราวด์ของแต่ละคน ตัวอย่างหนังสือดังๆ ของพวก UX designer ก็ Don't Make Me Think
คำว่าคิดไม่เป็นโดดๆ มันแคบและแรงไปด้วยละครับ ความผิดของผมเองที่เลือกใช้คำสั้น
คุณ zerocool คงตีความว่าผมมองว่าลูกค้าแอปเปิลโง่ แต่ที่จะสื่อคือสิ่งที่คุณว่ามานั่นแหละ
ขอบคุณที่ช่วยขยายความครับ
ประเด็นมันอยู่ที่การมองว่า Apple คิดต่อลูกค้าอย่างไรโดย "คุณ" เองนั่นแหละครับ เพราะตัวเนื้อความภาษาอังกฤษก็ไม่ได้แปลว่าอย่างนั้น แต่คุณเลือกที่จะใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปและตีความให้มันแปลไปในทางนั้น
อย่างที่ผมบอกทุกอย่างที่เกิดขึ้นใหม่บนโลกนี้แล้วถูกค้นพบภายหลังว่าเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ก่อนหน้านั้นคนพวกนี้ก็ไม่เคยรู้ตัวเองมาก่อนว่าต้องการสิ่งนี้ทั้งนั้น และถ้าคุณเรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่าคิดไม่เป็น จากประวัติศาสตร์คนเราส่วนใหญ่ก็คงคิดไม่เป็นกันทั้งโลก
ส่วนเรื่องวาทกรรมอื่น ๆ ของ Jobs ที่คุณหยิบยกมานั้น คุณอาจจะตีความว่า Jobs ได้พยายามยัดเยียดความคิดของตัวเองให้กับผู้ใช้คนอื่น ๆ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่า Jobs มองว่าลูกค้าตัวเองคิดไม่เป็นนะครับ สองเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลที่เกี่ยวข้องกัน หากให้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบที่ใกล้ตัว ในการทำงานหนึ่ง ๆ บางครั้งย่อมต้องมีการตัดสินใจอะไรบางอย่างออกมา ลูกทีมอาจมีความคิดเห็นที่หลากหลายต่างกันนำเสนอต่อที่ประชุม แต่หลายครั้งหัวหน้าทีมกลับเลือกแนวทางที่ตัวเองต้องการและบอกกับลูกทีมว่าเขาคิดว่าวิธีนี้ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น การที่หัวหน้าทีมกระทำลักษณะนี้ไม่ได้แปลว่าหัวหน้าทีมมองว่าลูกน้องตัวเอง "คิดไม่เป็น" แต่อย่างใด
ส่วนตัวผมเองมองว่าวาทกรรมเหล่านี้เป็นทั้งการแก้ตัว การโฆษณา และการเสริมสร้างความมั่นใจต่อ brand / product มากกว่าที่จะมองว่าเป็นการชี้หน้าด่าลูกค้าตัวเองว่า "คิดไม่เป็น" การเอาคำพูดโฆษณาแล้วมาวิเคราะห์ว่าผู้พูดคิดอะไรในใจจริง ๆ ผมว่าทำได้ยากมาก แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะขึ้นชื่อว่าการโฆษณาส่วนใหญ่เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ทั้งนั้น
คนเรามีสิทธิ์จะเชื่อว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด และยิ่งมีสิทธิ์ที่จะพูดมันออกไป แน่นอนว่าคนที่ไม่เห็นด้วยย่อมต้องมี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนไหนถูกคนไหนผิด คนไหนฉลาดคนไหนโง่
ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบอีกครั้ง สมมติว่าคุณมีแฟน คุณอาจจะบอกใครต่อใครว่าแฟนคุณคือคู่ที่ดีที่สุดของคุณ และสมมติว่าผมรู้จักแฟนคุณเป็นการส่วนตัว ผมอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้ มันไม่ใช่เรื่องแปลก ผมไม่จำเป็นต้องมาเดือดร้อนกับคำพูดที่คุณเที่ยวไปบอกใครต่อใคร ไม่เห็นจะต้องไปคิดใคร่ครวญว่าในเรื่องนี้ใครคิดถูกหรือใครคิดผิด และยิ่งไม่คิดว่าคุณคง "คาดหวัง" ให้ผมเชื่อในสรรพคุณของแฟนคุณโดยที่ผมไม่ต้องคิดเองอะไรเลยด้วย
That is the way things are.
บริการของ google พยายามคิดแทน เรามากกว่า apple เยอะครับ
ยกตัวอย่าง google now จะแสดงข้อมูลให้คุณเอง
youtube แสดงรายการเพลงถัดไปจากประวัติการใช้งาน
adsens แสดงโฆษณา จากประวัติเว็บ ที่เราเข้าชม
google พยายาม ทำ data mining เพื่อคิดว่าเราต้องการอะไร
ไม่ว่าคุณจะทำอะไรถ้าคุณจะใช้บริการของ google คุณต้องส่งข้อมูลไปให้ google คิดแทนคุณ (ประมวลผล)
ผู้ใช้ google คือ คนที่ แยกแยะเองอะไรไม่เป็น แยกไม่ได้ระหว่าง email ไหนเป็นข่าวประชาสัมพันธ์ social network forum spam
ขับรถเองก็ไม่เป็น
การใช้งาน google ทำให้ ผู้ใช้โง่ลงครับ ไม่ใช่ฉลาดขึ้น
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
data mining นี่เอามาจากอะไรครับ "พฤติกรรมของคุณ"ถูกมั้ยครับ?
ข้อมูลที่แสดงออกมา เป็นวิธีคิดของกูเกิลที่"ยัดเยียด"ให้คุณ หรือกูเกิลพยายาม"จำลอง"วิธีคิดของคุณครับ?
กูเกิลยึดข้อมูล"ตัวเอง"เป็นใหญ่ หรือปรับวิธีคิดตามข้อมูลที่"คุณ"ส่งมาให้ครับ?
กูเกิลมาชี้นำ บังคับ หรือบอกว่าวิธีคิดแบบอื่น"ไม่ดีที่สุดเท่าของกูเกิล"รึเปล่าครับ?
คุณมองว่าคนที่พยายามจำลองวิธีคิดของคุณ "คิดแทน"มากกว่าคนที่เสนอแนวคิดของตัวเองให้คุณใช้เหรอครับ?
จริงๆไม่ใช่ว่าฝ่ายไหนดีกว่ากันหรอก
ถ้ามองในแง่ดี แอปเปิลก็คิดให้อย่างดีที่สุดเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ซึ่งอาจจะดีขนาดที่คุณคิดเองไม่มีทางถึง แต่กูเกิลจำลองความคิดคุณเพื่อให้ใกล้เคียงกับตัวคุณมากที่สุด
ถ้ามองในแง่ร้าย แอปเปิลไม่คิดจะสนว่าคุณมีความเห็นว่าอะไร ส่วนกูเกิลก็ดักข้อมูลคุณไปจนจะรู้ดีกว่าตัวคุณนั่นแหละ
ไม่ว่า Apple หรือ Google ก็ต่างต้องทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคหมดครับ
ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทจะใช้วิธีไหน
Apple อาจใช้วิธีส่ง feedback จากการใช้งาน beta program หรือจากความเห็นของผู้ใช้ หรือการจ้างบริษัททำวิจัย และอาจรวมทั้งสถิติ การ download app เพลง หนังสือ vdo
Apple ขายสินค้าและบริการ สิ่งที่ Apple ทำคือ พัฒนาสินค้าภายใต้จุดสมดุลระหว่าง Apple และ ผู้บริโภค
สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภคอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ Apple
แต่ที่ต่างกันคือ google ใช้ข้อมูลของเราในการขายพื้นที่โฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
Google บันทึกทั้ง Google DNS , Stat web site, mobile app ผ่าน google anaytics
ผมเป็นคนนึงที่ไม่ใช้ google dns และ block domain google adsens , google anaytics ใน host file และ disable การบันทึกประวัติการเปิดเว็บ
Apple และ google พยายามเข้าใจเรา พยายามเข้าใจความต้องการของเราทั้งคู่แต่วิธีการต่างกัน
สิ่งที่ต่างจาก Apple กับ Google คือ Apple ไม่ได้ตามคุณทุกฝีก้าว แต่ Google จะตามคุณทุกฝีก้าว
สินค้าบริการของ Apple เกือบทุกตัว คุณยังจะสามาถใช้งานได้ ถ้าคุณไม่สามารถติดต่อกับ Server ของ Apple ได้
แต่ สินค้าบริการของ Google เกือบทุกตัวคุณจะไม่สามารถใช้งานได้ ถ้าคุณไม่สามารถติดต่อกับ server ของ google ได้
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
จอบส์เคยให้สัมภาษณ์ว่า"“We do no market research. We don’t hire consultants."นะครับ
เป็นคำที่โด่งดังมากคำนึงในวงการการตลาด เพราะคนที่จะพูดคำนี้ออกมาได้ต้อง"มั่นใจ"ว่าคิดนำลูกค้าไปแล้วอย่างน้อยก้าวนึง
แอปเปิลไม่ได้แค่พยายามเข้าใจเราครับ แต่เหนือไปกว่านั้นด้วยการเชื่อว่า"เข้าใจความต้องการของเราได้ดีกว่าเรา"โดยไม่จำเป็นต้องถามความเห็นเราโดยตรง (เพราะถามไปก็ตอบไม่ได้ เนื่องจากเรายังคิดไม่ถึง)
ซึ่งพูดตรงๆว่าจอบส์พิสูจน์ไปแล้วว่าทำได้จริง จากยอดขายและความพึงพอใจของสินค้าทั้งหมด
ที่คุณกลัวกูเกิล ผมเข้าใจครับ นั่นเพราะคุณให้"มูลค่า"ของข้อมูลคุณมากกว่าบริการที่ได้รับจากกูเกิล
แต่กับคนที่ไม่ได้ให้มูลค่ามันเท่านี้ "ส่วนต่าง"ที่ได้รับคือบริการดีที่ไม่เสียเงิน และข้อมูล(โฆษณาก็เป็นข้อมูล)ที่ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการ ไม่ต้องเจอขยะข้อมูลที่คุณไม่ได้สนใจด้วยนะครับ
ในมุมมองแบบ Freeconomic นี่เป็นสถานการณ์ Win(เราไม่เสียเงินใช้บริการ แถมได้ข้อมูลที่เราต้องการ) - Win(กูเกิลได้กำไรจากค่าโฆษณา) - Win(เจ้าของสินค้าไม่ต้องจ่ายเงินสะเปะสะปะเพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย) ระดับโมเดลเลยครับ
แต่ก็นั่นแหละ ถ้าคุณเห็นว่าข้อมูลของคุณสำคัญกว่า คุณไม่ Win ก็หลีกเลี่ยงถูกแล้วครับ
ถ้ามองการ 'ปรับเข้าหาผู้ใช้' และการ 'อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้' เป็นลบ งั้นก็ไม่ต้องมีเทคโนโลยี ไม่ต้องมีการออกแบบกันแล้วครับ
ที่พูดว่า "ถ้า ไม่มี iphone , imac , ipad เราอยู่ได้ครับ" นี่เท่ากับสรุปว่า Apple ไม่ได้ทำให้ชีวิตเราสะดวกสะบายขึ้นมากเท่าไหร่เลยนะครับ
(ส่วนตัวผมถือหาง Google)
สะดวกสบายขึ้นครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าขาดไปแล้วจะอยู่ไม่ได้
แต่กับบริการของ Google ถ้าไม่มีนี่ เดือดร้อนเลยนะครับ ลองจินตนาการดูว่า ถ้าโลกนี้ไม่มี Google search. Gmail, Youtube.
ใช่ครับ พิจารณาที่ประเด็นสะดวกสบายนี้นะครับ อะไรกันแน่ที่ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น
App และบริการต่างๆ มีตั้งแต่ จดบันทึก, ฟังเพลง, social network, เปิด web, รับส่งและแจกของ เช่น เพลงหรือเอกสาร, และอีกมากมาย ซึ่งนั่นเป็นบริการของผู้ผลิต app ต่างๆ
แต่สิ่งที่เป็นคุณสมบัติของ iPhone จริงๆ ก็คือ สภาพแวดล้อมแบบใหม่ที่ Apple สร้างขึ้นเอง เช่น App Store แต่เด่นๆ เป็นมุมของความรู้สึกเสียมากกว่า เช่น สวยงาม, ถนัด, มั่นใจได้
จะเห็นว่า Apple ควรถูกเปรียบเทียบในจุดยืนเดียวกับ Samsung จะเหมาะกว่า เพราะงั้นถ้า Apple ไม่อยู่แล้ว เราก็คงได้ใช้บริการเหล่านั้นจากเครื่องอื่นแทนเท่านั้นเอง
Bing ร้องไห้เลย (เห็นหัวกันบ้างดิ)
จะว่าไปผมว่า Apple ก็เป็นกับดักปีศาจ(ทางจิตใจ)
เป็นบทความที่ดีมาก ขอคาระวะ
ที่เถียงกัน ผมว่าแค่ผู้ซื้อกลัวเสียหน้าเท่านั้นเอง
คุณจะบอกว่าเชียร์บอลคนละฝ่ายแล้วเกทับกันเพราะเสียหน้าหรอครับ มันไม่ตื้นขนาดนั้นนะครับ เพาะขนาดผมมีดีไวซ์ทั้งสามเจ้า(ไมโ๕รซอฟท์ด้วยเอ้า) ผมยังเชียร์ไมโครซอฟท์เลย
ใช่ครับ ไม่เห็นต้องค้นหาปรัชญาอะไรมากมาย ก็แค่แฟนบอยเกทับกันแค่นั้น
อ่านแล้วยังวิเคราะห์ลึก ๆ ไม่ออก เพียงแต่ได้แนวความคิดเรื่อง Hardware และ Software
ในขณะที่ฝั่งผลไม้ต้องการขาย Hardware และคอนเทนต์ในมือที่มีมากมายมหาศาล กลับกันฝั่งหุ่นกระป๋องเน้นขายละมุนภัณฑ์และบริการที่จับต้องไม่ได้แต่ขาดไม่ได้ และทำ Hardware มาเพียงแค่แนวทางให้เจ้าอื่นที่เข้ามาร่วมได้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้นเอง (ทั้ง Nexus และ One)
ในฐานะบุคลากรของประเทศไทยผู้ยากจน ผมสามารถหาซื้อสุดยอดเรือธงของด๋อยตกกระป๋องในราคาที่พอกัดฟันจนเลือดซิบไหว ในขณะที่ฝั่งผลไม้ต่อให้ตกรุ่นราคาก็แรง หรือลดก็มาลดพื้นที่ มันเอื้อมไม่ถึงจริง ๆ ครับ
สุดท้ายไม่ว่าแต่ละเจ้าจะเน้น จะขายอะไร จะมีแนวทางอย่างไร แต่สุดท้าย ตลาดผู้บริโภคจะเป็นคำตอบ เรื่องนี้มันถูกพิสูจน์มาแล้วเรื่อง UI ของ Desktop ที่สุดท้าย ทุกเจ้าก็เดินทางมาสู่จุดหมายเดียวกัน หน้าตาคล้ายคลึงกันไปทุก Platform แล้วตอนนี้
ถ้าพูดถึงเรื่องทะเลาะกัน ผมว่าเพราะ OS ในมือถือมันคล้ายกันมากกว่าครับ
เหมือนตอนก่อนหน้านี้ที่แฟน MS และ Apple เถียงกันบ่อยๆ
ส่วนผมยังมองว่าต้นแบบของแอนดรอยคือไอโฟนอยู่วันยังค่ำ
แก้ไขนิดนึง เอาจริงๆ ต้นแบบลำดับแรกของ android คือ blackberry
อันนี้พยายามทำตามเขาแล้วยังดีที่ไหวตัวทันว่าน่าจะไม่เวิร์ค
เลยทำตามส่วนต้นแบบลำดับสองคือ iPhone ออกมา
หน้าตา OS คล้ายกันก็จริง เพราะเกิดจากการปรับให้เข้ากับผู้ใช้ได้ดีที่สุด
แต่บทความนี้นำเสนอแนวคิดที่ว่าจริง ๆ แล้วหัวใจของทั้งสองบริษัทมันแตกต่างกันเลยนะ ฝ่ายหนึ่ง HW จ๋า อีกฝ่ายก็ SW จ๋า ถ้ายังจำได้ iPhone 1st นี่บริษัททั้งสองรักกันอย่างแนบแน่น
จริงครับ
MS ล่ะ
นายสับสนและหลงทางอยู่
พึ่งจะมาได้แนวทางเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง แต่ว่าแนวทางนั้นมันก็ซ้อนทับกับ Google แหละนะ ก็ต้องดูว่าเฮียกูจะยอมง่าย ๆ ฤา
Microsoft แนวคิดจะออกไปทางแนวเดียวผสมกับ Google และ Apple มากกว่า แต่เหมือนจะเฟลๆ เพราะทำอะไรไม่ชัดเจนสักอย่าง แฟนบอยก็เลยหมดหวังเลิกสนับสนุนไปเยอะ (ผมคนหนึ่ง) คือพี่ไฟแรงแค่ช่วงแรก แล้วก็มอดหายไป
ใช่ครับ เหมือนกำลังค้นหาตัวเองอยู่ ทำอะไรไม่เต็มที่สักอย่าง
ไม่ว่าฝั่งไหนจะชนะ Microsoft ก็จะติดตามเราไปทุกที่ O_o
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
กู่ไม่กลับแล้วครับ แนวทางไม่ชัดเจน ท่าทีก็ไม่ชัดเจน
MS จะอยู่กับระดับผู้ใช้ไปอีกนานในฐานะ retro software ครับ
เอาไว้เล่น Starcraft, C&C Red Alert, DotA, และอีกมากมาย
ไปรู้มาได้ไง
ระยะยาว ผมถือฝั่ง android เท่านั้น
apple คือ วัตถุดูมีราคารอวันเสื่อมความนิยม
เห็นด้วยน่ะครับ
สำหรับผมใช้ Hardware Apple(เป็นหลัก) IPhone5s, Ipad mini2, Ipad2 พวกนี้มันดูดีกว่า ในหลายๆด้านการใช้งานมันง่ายกว่า แต่ Software หลักๆยังไปอยู่กับ Google ใน IOS เองก็ยังใช้ทั้ง Gmail, Search, Map, Drive, Youtube, Chrome
เอาจริงเวลานี้ผมว่าจับตามอง Microsoft ดีกว่า
ปล. Apple ซื้อมาแล้วติดใช้แล้วชินไม่อยากขาย(ถ้าไม่ตกรุ่น ช้าเกิน) แต่กับ Android ผมเวียนไปเรื่อย มีที่อยู่นานๆจริงแค่2เครื่อง Meizu M9(ฝังเพลง) กับ Nexus S(ทนจริง)
ถ้าจับตาดู MS และว่าชอบเชียร์มวยรองสินะ :)
ผมว่า MS ตอนนี้ก็ใช้แนวทาง Google ของยุค real smart phone (ช่วง iPhone the 1st) คือเกาะให้ได้ทั้งหมด เราจะต้องอยู่ให้ได้ทุกกลุ่ม และหลังจากนั้นค่อยว่ากัน
ผมชอบพันธ์ผสมครับ Software ก็เน้น Hardware ก็เอา
ถ้าเป็นไปได้ผมขอดีในทุกด้าน ไม่เอาดีมากแต่อีกด้านห่วยอันนี้รับไม่ได้
ปล. แต่ดูเหมือน MS ตอนนี้จะยังหาคำว่าดีไม่เจอสักด้าน T-T
โลกที่มองกระจกคนละด้าน
จากที่ถือทั้ง iOS และ Android ผมมองว่าสองค่ายนี้เป็นเส้นขนานกันครับ คือให้ผลลัพธ์การใช้งานเหมือนกัน แต่ต่างกันที่วิธีการ ราคาขายฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำของแอปเปิ้ลสูงกว่า แต่ได้ตัวเลขสเปกต่ำกว่า ผมถือว่าส่วนต่างเป็นค่าประสบการณ์ใช้งานครับ (ซึ่งวัดไม่ได้จากตัวเลขบนตารางข้อมูลจำเพาะครับ)
ถ้ามองย้อนกลับไปตอนสมัยร ios 2.0 กับ Donut นี่เหมือนกับอยู่กันคนละฝั้ง ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่ปัจจุบันทั้งสองเขยิบเข้ามาใกล้กันมากๆ แต่ผมกลับรู้สึกว่าการที่แอนดรอยมีแอพต่างๆ ให้เลือกใช้เหมือนกับ iOS เป็นเหมือนการ "ล่อ" ผู้ใช้ให้เข้ามา เพื่อในที่สุดจะได้ใช้บริการของกูเกิ้ลเอง นอกจากนี้ iOS ยังมี "ชีวิตชีวา" เพิ่มขึ้น ในขณะที่แอนดรอยยังคงความเป็นจักรกลไม่เปลี่ยน (หรือยิ่งกว่าเดิม)
เวลาที่ใช้ iPhone เป็นเครื่องหลัก ผมก็รู้สึกสบายใจกว่า เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องสเปก แรม ไม่หาเรื่องโมดิฟาย (ไม่เจลเบรก) กลับกันเวลาถือดรอย คงเป็นนิสัยเสียของผมมาตั้งแต่ 2.0 ที่ระแวงแรมหมด แคชเต็ม จนต้องรูทแล้วไล่ลบ apk ที่ไม่ใช้เกลี้ยงเพื่อไม่ให้มันทำงานขึ้นมา (ล่าสุดรูท S6 ลบไป 1.4 GB จนเครื่องบริกไปสองรอบ) ทั้งทีก็รู้อยู่ว่าแรมสมัยนี้เหลือเยอะมาก และระบบจัดการแรมก็ดีขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่ทำถ้าใช้ดรอยแล้วไม่รูทนี่ มันคันมากๆ เลยครับ
สุดท้ายนี้อยากฝากว่า (แหม พูดเหมือนเป็นดารา) แฟนบอยทั้งสองค่ายเลิกเอา iPhone มาเปรียบกับ Android กันซะทีเถอะครับ ปรัชญาการออกแบบสองแพลตฟอร์มมันต่างกัน สู้เปรียบเทียบระหว่างแอนดรอยด้วยกันเองสนุกกว่าตั้งเยอะ.
"สู้เปรียบเทียบระหว่างแอนดรอยด้วยกันเองสนุกกว่าตั้งเยอะ."
+1
"เวลาที่ใช้ iPhone เป็นเครื่องหลัก ผมก็รู้สึกสบายใจกว่า เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องสเปก แรม ไม่หาเรื่องโมดิฟาย (ไม่เจลเบรก) กลับกันเวลาถือดรอย คงเป็นนิสัยเสียของผมมาตั้งแต่ 2.0 ที่ระแวงแรมหมด แคชเต็ม จนต้องรูทแล้วไล่ลบ apk ที่ไม่ใช้เกลี้ยงเพื่อไม่ให้มันทำงานขึ้นมา (ล่าสุดรูท S6 ลบไป 1.4 GB จนเครื่องบริกไปสองรอบ) ทั้งทีก็รู้อยู่ว่าแรมสมัยนี้เหลือเยอะมาก และระบบจัดการแรมก็ดีขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่ทำถ้าใช้ดรอยแล้วไม่รูทนี่ มันคันมากๆ เลยครับ"
อันนี้ตรงกับผมเลยครับ iPhone ผม นาน ๆ ทีนึกครึ้มก็จะปิดโปรแกรมอื่นออกไปให้หมดทีนึง แต่ตอนใช้ Nexus แทบจะกดเคลียแรมทุก 5 นาที
เรื่องต้องเคลียร์แรมนี่ถือว่าเป็นโรคจิตหน่อยๆ ม่ะ ผมเองก็เป็น คันไม้คันมืออยากเคลียร์ตลอด
เป็นเหมือนกัน
ผมสรุป(ของผมเอง)ว่า droid user ระดับ hardcore ต้องเคลียร์ ram บ่อยๆ 55555
ส่วนผมนี่เป็นประเภทจำใจต้องเคลียร์ แอพเคลียร์เมมนี่เป็นแอพที่ใช้งานบ่อยอันดับต้นๆ ในเครื่องเลยทีเดียว
เสนอมุมมองทางนวัตกรรมเพิ่มเติมนะครับ
มองว่าแอปเปิลจะสร้างนวัตกรรมเพื่อตอนโจทย์ทางการตลาด เป็นหลัก
ขณะที่กูเกิลจะสร้างนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
อ่านแล้วเข้าใจยากจังเลยค่ะ ไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ไม่ทันจริงๆ
แต่โดยส่วนตัว มี iPhone5, Z Ultra, Tab A 8.0
เครื่อง iPhone5 ใช้งานหลักๆจะเป็นแอพและบริการของ Google เสียส่วนใหญ่ Youtube(สำคัญมาก) รองลงมาก็ Gmail (ตอนนี้เครื่องนี้กลายเป็นเครื่องสำรอง เพราะเดี๊ยวนี้เปิดเว็บเปิดอะไรแล้วชอบเด้ง Facebook นี่เด้งได้เด้งดีกว่าใครเพื่อน เพลีย) ส่วนบริการของ Apple เลิกซื้อเพลงใน iTunes ตั้งแต่พี่โยน Z Ultra มาให้ใช้
เครื่อง Z Ultra นอกจากบริการของ Google ที่ยัดเยียดพ่วงติดมากับเครื่องประหนึ่งกาฝาก (ลบก็ไม่ได้ บางแอพบริการนั้นยังใช้ในไทยไม่ได้ เหอะๆ) เป็นสิบๆแอพ ก็ยังใช้บริการของ Microsoft ร่วมด้วย (อันนี้ตั้งใจโหลดลงมาเองอะไรเอง ไม่ได้ติดมากะเครื่อง) หลักๆก็ Skype, OneNote(อันนี้เริศจนต้องแนะนำเพื่อนๆ), OneDrive(แอพนี้เหมือนยังขาดๆไงไม่รู้ - -") , แอพเมล์ที่ติดมากับเครื่องก็ใช้ Hotmai ด้วย
Tab A 8.0 ปากกาลื่นเป๊ะ ฟังก์ชันเริศ แต่จอกากสุดจะบรรยาย และ UI ก็โบร๊าณโบราณ ไม่มีไรแค่อยากด่า!
สรุป
ถ้าไม่มี Hardware ของ Apple และบริการต่างๆของ Apple ไม่กระทบกับชีวิตหนูแต่อย่างใด
แต่ถ้าไม่มีบริการของ Google นี่กระทบชีวิตหนูมากๆเลย
จุดจบของ east india company นี่จบลงตรงที่รัฐบาลสหราชอานาจักรเข้ามาเทคโอเวอร์ไป เพราะขนาดมันใหญ่เกินกว่าจะเป้นบริษัท (เล่นมีกำลังทหารต่อกรได้ทั้งทวีป) ไม่รู้เหมือนกันว่าวันนึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีพลังระดับในแบบรูปธรรมนั้นไหม
** ผมไม่สามารถหาเงินได้ซักแดงเดียวถ้าขาด Microsoft **
ผมว่าบทความนี้ ชวนงง
พูดเรื่องมือถือแต่ทำไม มี search engine มาปะปน
ตรงไหนเหรอครับที่พูดถึงเฉพาะมือถือ หัวข้อยังชัดเจนว่า แอปเปิล vs กูเกิล ไม่ได้เขียนว่า iPhone (หรือ iOS) vs Android เลยนะ
วีดีโออันแรกยังเป็น Macbook เลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
" ช่วงนี้มีวิวาทะ iPhone vs Android กลับมาอีกครั้ง "
มันแปลกเพราะเหมือนเอาโคคาโคล่ามาเปรียบกับ cp ผลิตภัณฑ์ก็คนละอย่าง แค่เผอิญมีผลิตภัณฑ์บางตัวมาชนกัน
ก็จับมาเปรียบกัน แต่ตอนเปรียบเอาผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกันมาเปรียบกัน มันเป็นการเปรียบที่งงมาก
ถ้าจะพูดถึงปรัชญาการหาเงินของบริษัทก็อีกเรื่องนึง แต่ไม่ใช่นิยามของ materialism / immaterialism
เพราะมันเป็นข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์และความชำนาญของบริษัท
ไม่ใช่เรื่องของปรัชญาอะไรเลย
ผลิตภัณ์ของกุกเกิลหากินกับข้อมูล ก็ต้องทำสินค้าที่สูบข้อมูลเข้าระบบให้มากที่สุด
แพร่ให้คนช่วยเก็บข้อมูลให้ตนมากที่สุด เพื่อประโยชน์ของบริษัทที่มากที่สุด แค่นั้นเอง
เอาบรรทัดต่อมาด้วยสิครับ
"คำถามที่น่าสนใจกว่าคือทำไมสาวกและแฟนบอยทั้งสองค่ายถึงเถียงกันอยู่ตลอดเวลา คำตอบที่ผมพยายามอธิบายคือความต่างระหว่าง 2 ค่ายนี้ มันเป็นความแตกต่างที่ลงไปลึกถึงระดับปรัชญาหรือรากฐาน"
ประโยคที่คุณยกมามันเป็นตัวเกริ่นเพื่อเข้าบทความน่ะครับ อ่านดูยังไงก็เห็นว่าบทความนี้จงใจจะเปรียบเทียบแนวคิดของกูเกิลกับแอปเปิลชัดเจน
ส่วนที่คุณเห็นว่ามันแข่งกันแค่บางส่วน อันนี้ผมว่าไม่แปลกนะ เพราะปัจจุบันมันเป็นอย่างนั้นจริง
แต่ก็มีบางคนที่"เก็ง"ว่าสมรภูมิ"หลัก"ของสองเจ้านี้จะเขยิบเข้ามาใกล้กันเรื่อยๆ บทความนี้น่าจะตอบโจทย์คนประเภทหลังน่ะครับ
บทความดีคับ ชอบ
แต่ละคนเก่งๆ ทั้งนั้นเลย คงอยากมีตัวตนสินะ
สุดยอดการวิเคราะห์ครับ อ่านแล้วถึงบางอ้อ ว่าทำไมถึงชอบทั้ง 2 ค่าย และ ทำไมตัวเองถึงใช้อุปกรณ์ Apple แต่ในเครื่องเต็มไปด้วย Google services ทั้งนั้น ผมว่าสองบริษัทนี้ ส่งเสริมกันดีทีเดียวนะ
Google นี่เรื่องSoftware เค้าเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากจริงๆ
แต่ฝั่ง Hardware เค้าเนี่ยทำสงครามกันดุเดือดมากแล้วน่ะ และอีกทั้งสงครามนี้ดันไม่ใช่สงครามที่ทำกับApple แต่เป็นสงครามราคาระหว่างผู้ผลิต Hardware ด้วยกันเอง
ซึ่งถ้าหากผู้ผลิตHardwareยังทำสงครามกันต่อไปอย่างนี้ Googleเองจะตายตามไปด้วยในทีสุดน่ะ
การบ้านที่Googleต้องทำให้หนักขึ้นในขณะนี้ก็คือ ทำอย่างไรให้สงครามราคาของผู้ผลิตHardwareของตัวเองนั้นจบลง และให้ทั้งหมดหันไปปะทะกับAppleโดยตรงให้ได้ ถ้าทำได้Googleครองโลกแน่นอน
กูเกิลไม่ตายตามหรอกครับ เพราะบริการของกูเกิลใช้ได้กับทุก os ผู้ผลิตมือถือที่ปรับตัวไม่ได้แหละที่จะตาย แต่ตอนนี้ก็เห็นมือถือ แอนดรอยด์ยี่ห้อใหม่ๆเปิดตัวกันเรื่อยๆ เพียงแต่เป็นบริษัทเล็กๆเน้นขายออนไลน์ หวังส่วนแบ่งไม่มากพออยู่ได้เช่นเน้นขายในประเทศของตัวเอง os กูเกิลก็พัฒนาให้ และดีขึ้นเรื่อยๆเป็นรอง ios ไม่มากเหมือนเมื่อก่อน
บทความดีมาก ชวนมอง concept ถอยมานิดแล้วจะเห็น แปลกใจกับหลายคอมเม้นท์ในข่าวมากกว่า -..-' #เกรียนก็เยอะขึ้นเนอะ
my blog
+111 แปลกใจเหมือนกันครับ หลังๆ เหมือน trolls เยอะขึ้น
แอปเปิลคือสำหรับผู้ใช้ที่ไม่อยากปวดหัวกับการใช้งาน ไม่ต้องปรับแต่งมาก ไม่ต้องปวดหัวกับ hardware ที่เข้ากันไม่ได้ driver ไม่สมบูรณ์
ส่วนกูเกิลหรือ MS ก็สำหรับผู้ใช้ที่มีความรู้เรื่องคอมมากขึ้น และอยากมีอิสระกับการปรับแต่ง software hardware ได้มากขึ้น
คนเราไม่เหมือนกัน ใครชอบแบบไหนก็ใช้แบบนั้นครับ
ไม่รู้ว่าในอนาคต ความชาญฉลาดของเทคโนโลยี จะทำให้คนกลายเป็นลิงหรือไม่
รับทำเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์
ถ้าเป็นฝั่ง iOS น่ะใช่ครับ เพราะคุกกระจกที่สวยงามและปลอดภัย ผู้ใช้โดนข้อจำกัดมากมายจนจะทำให้คิดเองไม่เป็นแบบถาวร
ส่วนฝั่ง Android เนื่องจากปล่อยให้ผู้ใช้เผชิญโลกแบบให้รับผิดชอบตัวเอง จะทำให้ผู้ใช้พัฒนาตัวเองขึ้นได้จากการที่สามารถหาและจำเป็นต้องหาวิธีทำงานตามเป้าหมายให้สำเร็จแต่ปลอดภัยได้ด้วยตัวเอง
ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์สดๆ เมื่อคืนของผมเลยครับ ต้องการเก็บเพลง MP3 จาก Windows PC ใส่โทรศัพท์
- กรณี iOS: Install iTune ใส่ PC เสียบสายแล้ว Sync ซะ - จบ -
- กรณี Android:
1. เสียบสาย USB แล้ว copy
2. ถอด SDCard มา copy
3. ส่งขึ้น internet เช่น ส่ง mail, upload ขึ้น Google Drive, Dropbox, หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มีให้ไปแปะไว้ แล้ว download ด้วยโทรศัพท์
จะเห็นว่าฝั่ง iOS ง่ายและปลอดภัย แต่ถ้าตอนนั้นไม่มี iTune ที่ sync ของตัวเองไว้ให้ใช้ล่ะ
ส่วนฝั่ง Android มีหลายวิธีให้เลือกแล้วแต่เครื่องมือที่มีอยู่ แต่เสียวกว่าเพราะแต่ละวิธีเสี่ยง malware ได้ทั้งนั้น
ผมว่าผู้ใช้ Android จะเข้าใจโครงสร้างของระบบและสามารถพลิกแพลงไปใช้กับระบบอื่นได้มากกว่าผู้ใช้ iOS ครับ
ป.ล. ถึงลิงจะมีความรู้ไม่มากแต่ไหวพริบดีมากเลยนะครับ ก็เพราะมีความรู้ไม่มากนี่แหละทำให้บางครั้งคิดนอกกรอบแก้ปัญหาที่คนคิดไม่ออกได้อย่างง่ายๆ (เพราะที่จริงมันไม่มีกรอบมาตั้งแต่ต้น)
ถ้ามองว่า iOS = คุก
ผมว่า Android ก็ = คุก แต่เป็นคุกที่กว้างกว่า
iOS ใช้วีธีออกจากคุกได้โดยเรียกว่า Jailbreak
Android ก็ออกจากคุกได้โดยการ root
"ผู้ใช้โดนข้อจำกัดมากมายจนจะทำให้คิดเองไม่เป็นแบบถาวร"
"ผมว่าผู้ใช้ Android จะเข้าใจโครงสร้างของระบบและสามารถพลิกแพลงไปใช้กับระบบอื่นได้มากกว่าผู้ใช้ iOS ครับ"
ใช้ความคิดของตัวเองดูถูกคนอื่นหรือเปล่าครับ?
คุกที่กว้างกว่า ถูกต้องแล้วครับ แต่กว้างกว่านี่คือกว้างกว่ามากๆ จนเรียกว่าคุกแทบไม่ได้เลยนะครับ
มองหาความต่างของแนวคิดของ 2 ระบบได้ง่ายๆ ที่นึงเลยครับ คือ setting ที่ให้ install app จากนอก store ได้ ซึ่งสามารถทำได้ใน Android โดยไม่ต้อง root (iOS ก็ทำได้แต่ต้องทำในฐานะผู้สร้าง app ไม่สามารถใช้สำหรับแจกจ่ายและขายได้ และผู้ใช้ระดับนั้นไม่ถือเป็นผู้ใช้ครับ เพราะเขาใช้ในบทบาทของผู้สร้าง)
ใช่ครับ ที่ iOS ปิดกั้นเราขนาดนี้เพราะเขาห่วงความปลอดภัยมากกว่า ทั้งความปลอดภัยของผู้ใช้ และความปลอดภัยของ Apple เองจากการโดนด่าและการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
กลับกันที่ Android เริ่มจากเปิดให้ทำได้อยู่แล้วคงเพราะเกิดมาจากมุมมองแบบ IT geek มั้ง ปล่อยผู้ใช้ไปเผชิญโลกกว้างเอง อันตรายหรือไม่ก็ช่างหัวพวกคุณ อยากได้อิสระก็รับผิดชอบตัวเองนะ มีช่วงหลังนี่แหละที่ใส่คุกแคบๆ มาให้เหมือนกันแต่ให้กุญแจบางดอกมาด้วย คือ default ปิดกั้นไว้แต่เจ้าของสามารถเปิดเองได้
เน้นนะครับ ว่าพูดถึงแค่โทรศัพท์คือ iOS กับ Android ไม่เกี่ยวกับ PC เช่น OSX จุดประสงค์ของเครื่องมันต่างกัน แนวทางของ Apple และ Google ที่ใช้กับเครื่องนั้นๆ ก็ต่างออกไปครับ
จะตีความว่าผมดูถูกผู้ใช้ iPhone ก็ไม่ผิดครับ ผมว่าผมดูถูกเป๊ะเลยด้วยซ้ำ
ที่ผ่านมานึกว่า Jailbreak กับ root มีความหมายเดียวกับ crack
ผมว่าสิ่งที่คุณยกมามันเป็นเงื่อนไขข้อจำกัดในปัจจุบันมากกว่าเลยทำให้ต้องทำแบบนั้นโดยสภาวะจำยอม
จริงๆ แล้วทั้งสองฝั่งต่างก็มุ่งไปบนเส้นทางนี้ "Hey Siri! | OK Google Copy songs on my PC to my phone now" นั่นคือการเพิ่มความฉลาดเจ้าไปในระบบให้มากขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้ทุกปีโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านฮาร์ดแวร์ใดๆ
Copy file MP3 ใส่ในเครื่อง iPhone ได้แล้ว แต่เปิดเล่นไม่ได้เพราะไม่ได้ sync ผ่าน iTune นี่มันข้อจำกัดเรื่องอะไรครับ ทำไมต้องรอเวลา
ในเรื่องของทางเทคนิคของ iOS ผมไม่ทราบครับเพราะแทบจะจำไม่ได้เลยว่าเคยทำแบบนั้นหรือเคยเจอปัญหาแบบนั้นมาก่อนหรือเปล่า ซึ่งเห็นขั้นตอนวิธีการในแอนดรอยด์ที่คุณยกมามันก็มีหลายแง่มุมคือดีตรงมีทางเลือกหลากหลายแต่มันก็จะตามมาด้วยการต้องเรียนรู้ในแต่ละวิธีการเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
ที่ผมจะชี้คือทั้งสองฝั่งหวังว่าจะสร้างเครื่องมือให้ฉลาดยิ่งๆ ขึ้นและเรียนรู้พฤติกรรมมนุษย์ให้ได้มากที่สุด ไม่น่าจะเป็นการพยายามทิ้งความยุ่งยากเพื่อเป็นปริศนาให้คนต้องมาขบคิดแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มพูนความฉลาดให้กับมนุษย์แบบที่คุณกำลังเข้าใจอยู่แน่ๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ เลยคือ Google car ครับ ในตัวรถเราคงเห็นแล้วว่าด้านในรถมีเพียงชิ้นส่วนเท่าที่จำเป็น โดยไม่ต้องมี dashboard ที่อลังการแบบของเครื่องบิน
ผมว่าคุณคิดแค่ในกรอบมิติเดียว คือมิติของ geek ที่ต้องการทำอะไรหลาย ๆ อย่างบนระบบและอุปกรณ์ IT ด้วยตัวเองในรูปแบบที่ตัวเองต้องการ การมองแต่มิตินี้แล้วนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าผู้ใช้ iPhone คิดเองไม่เป็นแบบถาวร ผมว่ามันคือ fallacy แบบ irrelevant conclusion
เอาแค่การตัดสินว่าใครคิดเองเป็นหรือคิดเองไม่เป็น อันนี้ก็ต้องวิเคราะห์เจาะจงเป็นเรื่อง ๆ มีกรอบหัวข้อที่ชัดเจน และการตัดสินนั้นก็เป็นเรื่องที่อิงกับดุลพินิจของแต่ละบุคคลอย่างมากด้วย
คุณบอกเป็นนัยว่าการ install iTunes เสียบ iPhone แล้วสั่ง sync จบนั้นเป็นกระบวนการ copy ที่ไม่ต้องคิด เพียงทำตามขั้นตอนที่กำหนดมาโดย Apple ก็สามารถทำงานที่ต้องการให้เสร็จสิ้นได้ ในขณะที่ฝ่าย Android ต้องคิดต้องเตรียมอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม flash drive, SD card หรือส่ง file ขึ้น host ต่าง ๆ แล้ว download มายังโทรศัพท์ในภายหลัง แสดงถึงการใช้สติปัญญาความคิดเพื่อหาทางทำงานที่ต้องการ
แล้วคุณก็สรุปว่าฝ่ายแรกที่ทำตามขั้นตอนนั้นสุดท้ายจะคิดไม่เป็นแบบถาวร
คุณรู้ได้อย่างไรว่าฝ่ายแรกนั้นคิดไม่เป็น เขาอาจจะคิดแล้วว่างานแค่การเอา mp3 เข้าเครื่องโทรศัพท์เป็นงานที่ไม่สำคัญ เขาควรแค่สามารถเสียบเครื่องแล้วกดปุ่มให้ application ทำงานแทนเขา ประหยัดเวลาส่วนเกินที่ไม่จำเป็น เพื่อนำเวลาส่วนนั้นไปใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน
ถ้าเขาคิดแบบนี้คุณยังกล้าสรุปว่าเขาคิดไม่เป็นอีกอย่างนั้นหรือ ?
คนเรามองว่าอะไรจำเป็นหรือไม่จำเป็นต่างกัน การเอามุมมอง ประสบการณ์ชีวิต แนวทางการแก้ปัญหา กรอบทางวิชาชีพ รวมไปถึงความรักความชอบของตัวเอง ไปตัดสินคนอื่นจึงเป็นเรื่องที่ตื้นเขินอย่างมาก
หากจะให้ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือ คุณเชื่อจริง ๆ หรือว่าบนโลกนี้ทุกคนที่ใช้ Android คิดเองเป็นมากกว่าคนที่ใช้ iPhone ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิชาชีพไหน ๆ ย่อมต้องมีคนที่ใช้ iPhone แล้วเก่งกว่า Android และย่อมต้องมีคนที่ใช้ Android แล้วเก่งกว่า iPhone อยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าจะเป็นงานด้าน IT ก็ตาม
เลิกเถอะครับ วาทกรรมดูถูกคนอื่น สุดท้ายมันจะวนมาเข้าตัวเอง
That is the way things are.
+1
โดนใจจนผมไม่ต้องพิมพ์อะไรเพิ่มละ
เราทุกคนล้วนมีกะลาเป็นของตนเอง...แต่มันน่าเบื่อเวลาบางคนคิดว่ากะลาตนเองใหญ่กว่าคนอื่น...ทั้งที่ความจริงมันแค่ครอบกบคนละตัว...แค่นั้น
กราบ... ความเห็นนี้โดนใจสุดๆ แล้ว
++ ชอบความเห็นนี้ครับ
+1 ชัดเจนนนน
+1 ถูกต้องทุกบรรทัดครับ บางครั้งผมก็อยาก feed troll เล่นๆ เบาๆ เท่านั้นเอง ถ้าไม่มีคุณมาตอบผมก็จบไม่ลงเลยนะ
ชอบ Google มากกว่า ความรู้และความเจริญจากทุกประเทศได้มาเพราะ Google.com ทั้งนั้น ผมสนับสนุนให้ความเจริญและความรู้เข้าไปสู่ทุกประเทศ แม้อาจเป็นดาบสองคม แต่ดีกว่าให้คนด้อยความรู้เพราะมีปัญหาที่ตอบได้ไม่หมดจำนวนมาก
ส่วน Apple ออกแนวพ่อค้าที่ขายของเก่งมากกว่า หยิบเทคโนโลยีเก่ามาปัดฝุ่นใหม่ ทำให้ดูดี และขายได้ (Apple จะดูดีมาก ถ้าแฟนคลับไม่ชอบดูถูกคนอื่น และมองตามความเป็นจริงว่ามองภาพลักษณ์ภายนอกอย่างเดียวไม่ได้ ลองไปอ่านประวัติบุคคลสำคัญของโลกอย่าง มหาตมะ คานธี แล้วจะเข้าใจ)
รู้หรือไม่ครับว่าการที่มีคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้าข้างฝั่งใดฝั่งหนึ่งแบบไม่ลืมหูลืมตา สิ่งนี้คือเชื้อร้ายในการสร้างความแตกแยกให้กับสังคม ซึ่งจากครวามเห็นของคุณก็ดูเหมือนจะพยายามโน้มน้าวให้คนเชื่อในแบบที่คุณเชื่อและโจมตีอีกฝั่งโดยไม่ได้มองว่าฝั่งของตัวเองก็มีคนที่มีพฤติกรรมแบบที่ว่าเช่นเดียวกัน
ในความคิดผม สาวก apple & android ก็พอกันน่ะครับ ทนเห็นคนคิดต่างไม่ได้หรืออย่างไรกันนะ
คิดต่างก็ถกความคิดกันไป ไม่เห็นต้องมาแดกดัน พาดพิง ดูถูก เหยียดหยามกันเลย
อย่าลืมว่าตอนแรกคนใช้ Android ก็ใช้กันไปทั่วโลก เป็นคนกลุ่มใหญ่สุดในระบบมือถือโลก ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร จนมีแฟนแอปเปิ้ลบางคนที่ดูถูกว่าคนใช้ Android จน แค่นั้นล่ะครับ ทุกอย่างก็พังทลาย ด้วยคำพูดของคนไม่กี่คน (ทั้งที่มือถือเครื่องละ 2หมื่นบาทใครก็ซื้อได้ ไม่ใช่ของแพงขนาดเที่ยวรอบโลก กับรถยนต์และบ้านส่วนตัวซะหน่อย)
ปล.ตอนนี้อยากให้หยุดนิสัยแบบนี้ทั้งสองฝ่าย เพื่อความสงบสุข และเว็บข่าวได้น่าอ่านขึ้น
อยากให้หยุดนิสัยแบบนี้ แต่ดูรูปประโยคที่คุณเขียนแล้ว คงได้แต่บอกว่า เริ่มที่ตัวเองก่อนโดยด่วนเลยครับ
แต่คนบางคนมันก็น่าเหยียดอยู่เหมือนกันนะ อันนี้ไม่ได้ตอบแบบโลกสวย
แรงกันไปแรงกันมาก็ไม่มีใครจบครับ แล้วก็ลงเอยแบบพวกข้าจะมาฆ่าเจ้าเพราะพ่อเจ้าฆ่าพ่อข้าที่ไปฆ่าพ่อของพ่อเจ้าที่ถูกพ่อของพ่อเจ้าฆ่า
ส่วนตัวมองว่า Google จะก้าวข้ามคำว่า IT เข้าสู่ Everything to Digital โดยตนเองเป็นผู้ให้บริการ และเชื่อมโยงข้อมูล น่ากลัวสุดและ เพราะต่อไปเราจะพบ Google อยู่ทุกที่ (Everywhere)
ส่วน Apple ผมว่าคงจะอยู่ในจักรวาลของตนเองไปอีกพักใหญ่ๆ โดยให้เน้นสิ้นค้าที่เป็น HW แล้วให้ SW เป็นกำลังหนุน อันนี้ผมว่าถ้า Apple ยังไม่ก้าวข้ามจุดนี้ไปยุคถัดไปน่าจะหนักพอสมควรเลย เพราะคงต้องสู้กับผู้ผลิตอื่นๆ ทั้งรถยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า , หุ่นยนต์ ฯลฯ ถ้าผลิต HW ออกมาสู้ด้วยก็คงพาเข้าสู่ niche market ที่ขายน้อยลง เน้นงาน Design แต่คงกำไรต่อชิ้นสูง ยังคงเอาตัวรอดได้แต่คงไม่หวือหวาเหมือนปัจจุบัน
ส่วน MS ยักษ์หลับผมว่า น่าจะกลับมาเป็นคู่แข่งกัน MS ในการเปลี่ยนผ่านยุค Digital ครั้งถัดไป ตอนนี้คงได้แค่พยุงตัวเอง ผมยังถือหาง MS จะเป็นคู่แข่งกับ Google ได้อย่างสูสีในยุคถัดไปนะ เพราะใน Line การผลิตของ MS มีของดีๆ อยู่เยอะ และ CEO คนใหม่เริ่มก็เข้าใจในสินค้าของตนเองดีกว่าบัลเม่อร์ ถ้าหลุดจากคำว่า Mobile ไปได้ MS น่าสนใจมากเพราะ Position ของ MS ค่อนข้างเป็นมิตรกับผู้ผลิต แล้วยังมีจุดแข็งทั้ง Enterprise และ Consumer ถึงแม้ตอนนี้ Consumer จะป้อแป้อยู่ก็ตามเถอะ
แงะ IT ไป Everything to Digital แต่ Everything to Digital มันก็การนำทุกสิ่งมาผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีซึ่งก็เรียกว่า IT อยู่ดีนะครับอย่าสับสนครับ = =
ผมว่าไปดูคำนิยามคำว่า Digital ให้ดีก่อน ดีกว่านะครับ มันกว้างกว่า IT คำว่า Digital ไม่จำเป็นจะต้องใช้ IT เสมอไป ในวงการอื่นก็มีการใช้อยู่ไม่ใช่แค่วงการ IT อย่างเดียว ผมยังยืนยันการประมวลผลทาง Digital ไม่จำเป็นต้องใช้ IT ยังมีวิธีการประมวลผลแบบอื่นๆ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ประมวลผลที่เราคุ้นเคยกันอยู่อีก
สมมุติว่าถ้าเปรียบ Apple กับ Google เป็นผู้หญิง
และกำลังถูกพวกเธอทั้งสองบังคับให้เลือกคนใดคนหนึ่งมาอยู่ด้วย แต่จะต้องทิ้งอีกคนไปจากชีวิต
จะเลือกใครดี 555
ถึงแม้ Apple อาจจะสวยเซ็กซี่กว่า
แต่พี่ขอเลือกอยู่กับเธอนะ Google <3
คุณชอบเมียที่รู้เรื่องคุณมากแล้วรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนได้ทุกที่ทุกเวลาหรอครับ รักเมียมากเน้อะ :P
เป็นผมคงเลือก Apple ครับ เพราะเธอเซ็กซี่ และไม่อยากรู้ไปทุกเรื่อง 5555
คนใจร้าย โลกนี้ไม่ได้มีผู้หญิงแค่สองคนนะ ยังมี Microsoft ที่อาจจะดูธรรมดาแต่เข้ากับใครก็ได้, Linux สาวเนิร์ด และอื่นๆ อีกมากมายให้เลือกคบหา
เอิ่ม อย่างนี้ผมก็แย่สิ คบทุกคนเลย
ใครที่บอกไม่มี Google อยู่ลำบาก ไม่จริงหรอกครับ เดี๋ยวก็มี บริษัท A B C มาแทนที่
ตอนนี้มันก็แค่ Google ครองตลาด Search engine และ Video รายใหญ่ระบดับโลก
ที่มี Content ขนาดใหญ่ สิ่งที่พวกคุณขาดไม่ได้ได้คือ Content ต่างหากล่ะครับ
ทั้ง Search ทั้ง Video ถ้าไม่มีคนทำ Content ให้พวกคุณเสพ คุณไม่เข้าไปหรอกครับ
จริงๆผมอยากได้ video streaming เดือนละ 50 บาท แลกโดยไม่มีโฆษณา
ตอนนี้เบื่อโฆษณาใน youtube มากกกกกก บางอันข้ามไม่ได้ แถมเจอซ้ำๆอีกน่าเบื่อ
สำหรับผมที่ขาดไม่ได้คือ Github และผมเชื่อว่า Google และ Apple ก็ขาด Github ไม่ได้เช่นกัน
จริงๆแล้ว Google กับ Apple ขาด Github ได้ครับ เพราะเขาใช้เทคโนโลยี Git มาสร้างระบบของตัวเองครับไม่ต้องพึ่ง Github เลย ที่ขาดไม่ได้น่าจะเป็น Git มากกว่า (แต่ขาดไปก็ได้เพราะจริงๆแล้วมันก็มีเทคโนโลยีอีกมากที่มาแทนได้)
จะ apple จะ google หรือ ios เเอนดรอย มันก็ทำเพื่อ ไซออนิส ยิว อยู่ดีเเหละ เพื่อผลประโยชน์อเมริกา นี่คือเท็จจริงๆ ข้างหน้าเเข่งขัน รับหลังจับมือกันหมดเเหละ จะชี้นำคน มันต้องใช้หลายลูกเล่น
วฎฟรรค!
ใจเย็นๆ เปิดใจให้กว้าง
มุขใช่ไหม ตามไม่ทันเลยครับ
https://www.youtube.com/watch?v=4tG274QuqHM
https://www.youtube.com/watch?v=6j7O56laZ6g
:P
ถ้าแบบจริงจังก็... (facebook)
https://www.youtube.com/watch?v=im_M8fnCHvw
เพื่อความเท่าเทียม...
https://www.youtube.com/watch?v=q-G6Yiny1nc
ผมว่าฝั้งเเอนดรอย ถ้า cpu 4-8 คอร์ ram 2 GB ก็ไม่มีปัญหาอะไรเเล้ว เดี่ยวนี้มือถือราคา 5000 บาทก็มีสเปคเเบบนี้บ้างเเล้ว เค้าก็ยังทำมาขายกันโครมๆ เเต่ apple ขาย 25000 บาท น่าจะยัด ram มาให้ตั้งเเต่ ip5s เเล้ว ทำไมถึงไม่ทำ เพราะ ip6 plus เด้งกันเยอะมากๆ คนไม่รู้ก็โทษ app นั้นๆทำไม่ดี ความจริงมันเป็นเพราะ ram เเสนถูกนี่เเหละ ที่ให้มาน้อยเกินไป
แต่มันก็นานๆ เด้งทีนะ แล้วเด้งแค่ครั้งเดียว แล้วใช้ยาวๆ เลย แล้วระบบโดยรวมก็ลื่นตลอดเวลา
แต่แอนดรอยด์เปิดแอปกลับไปกลับมามีชะงักให้เห็นเรื่อยๆ ต่างกับ ios แทบไม่เจอเลย
มันเลยทำให้ผู้ใช้รู้สึกสัมผัสได้จริง ว่ามันลื่นไหลจริง ไม่ใช่เอาสเปคกระดาษมากาง
5s ผมแทบไม่เด้งเลยนะ
6plus จะเด้งเยอะขนาดนั้นเลย?
ผมก็เด้ง รู้สึกว่าแอปเปิลขี้เหนียวจัง
จะเอากำไรไปถึงไหน
สู้กันแทบตาย สุดท้ายMicrosoftก็ครองโลก...
ทั้ง Apple และ Google ถึงกับเงิบสู้กันแทบตาย Microsoft ครองโลกเฉย 555555555555555555555
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ความเห็นผมอาจจะไม่เกี่ยวกับกระทู้เท่าไร
iPhone 4s นั้นสามารถอัพเดท iOS9 ได้ ซึ่งแน่นอนก็ได้อัพเดทความปลอดภัยล่าสุดเข้าไปด้วย แต่จะลื่นหรือป่าวอยู่ที่ความพึงพอใจของคนใช้แล้วกันครับ
เมื่อเทียบในช่วงเวลานั้นผมขอยก S2 มานะครับ เวอร์ชั่นล่าสุดหยุดอยู่ที่ 4.1.2 (ถ้าเทียบแบบนี้จะกลายเป็น AP vs SS ไปสะอย่างงั้น) ทางออกเลยต้องไปพึ่ง CustomRom แล้ว CustomRom ที่เราใช้หละไว้ใจได้แค่ไหน?
ผมขอเอา CM มานะครับ
ข้อดี ก็คือได้ใช้ Android Version ล่าสุดแพทความปลอดภัยก็ออกไวกว่าตัว Android Pure อีกมั้งแถมลื่นใช้ได้เลยถึงอาจจะมีบัคอยู่บ้าง ส่วนบริการของ GG เองก็มีคนใจดีคอยทำ GAPPS มาให้
ข้อเสีย ความเข้ากันได้ของ HW ครับเช่น การเข้าถึงกล้องถ่ายภาพ
แล้วเพราะอะไรหละถึงต้องลง GAPPS เพราะแอปอื่น ๆ ต้องใช้บริการของ Google Play services ไงครับ ก็เลยกลายเป็นเหมือนที่ คห. บน ๆ บอก แล้วเราจะมีไหมครับ Android ที่ไม่ต้องพึ่ง Google Play services เลย
จากการใช้งานทั้ง 3 ecosystem ผมรู้สึกว่าตอนนี้ผมสามารถตัดการใช้งานผลิตภัณฑ์ของกูเกิลได้เกือบหมดแล้ว เพราะผมสามารถหาบริการที่เทียบเท่ากันได้แล้ว
ส่วน 3 รากเหง้าที่ยังต้องพึ่งไปอีกนานคือ search (แต่พักหลัง ๆ ใช้งานน้อง Cortana บ่อยขึ้น เลยต้องใช้ Bing ด้วย ซึ่งไม่แย่เท่าไร), YouTube และ Translate แค่นั้น ชีวิต Happy ดี ใช้งาน cross กันบน iPad กับ Lumia ได้สบายโดยไม่กังวลสักนิด
Coder | Designer | Thinker | Blogger
แต่ผมว่าผลการค้นหา bing ภาษาไทย แย่มากๆ
แย่กว่า Yahoo อีก
เหมือนผมจะเขียนไม่เคลียร์ (อีกแล้ว เมื่อคืนยิ่งมึน ๆ เบลอ ๆ อยู่)
ผมหมายถึงภาษาอังกฤษครับ ภาษาไทยไม่ได้แตะ Bing เลย กากมาก แต่ภาษาอังกฤษไม่ได้แย่เลย หาดีพอสมควร
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผมก็เหมือนกันครับ แค่ย้ายจาก MS มาเป็น Google และ Bing สำหรับผมมันกากมาก
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
bing ในไทยกากมาก ถ้าน้อง Cortana ภาษาไทยมาต้องมีการปรับปรุง bing ครั้งใหญ่ในไทย เพราะน้อง Cortana ต้องไปดึกข้อมูลใน bing
Bing ไทยนี้กากมากกก กากจนไม่รู้จะสรรหาคำมายกย่องให้ Bing เลยอ่ะ
ติดใจตรงที่มันจะช่วยเติมคำให้ถ้าต้องการ(เช่นจะหาภาพติดเรทอย่างงี้ก็จะมีคำแนะนำเพิ่มมาอีกนิดๆหน่อยๆ :D)
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
เห็นด้วยครับ Apple ขายสินค้าแบบขายงานศิลป์ Google ขายสินค้าแบบน้ำเปล่า
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
อาจจะไม่เกี่ยวกะบทความซะทีเดียว แต่อยากแสดงความเห็นจากคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือมาแล้วหลายระบบปฏิบัติการดังนี้ครับ
Palm Treo 650 (Palm OS) - เป็นตัวแรกๆ ของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบมีหน้าจอสัมผัส พร้อมปุ่มกดแบบ keyboard โดยรวมใช้งานง่ายโดยเฉพาะการพิมพ์แป้น แต่ลูกเล่นกับ app ที่ support ยังไม่เยอะมากในสมัยนั้น ใช้ไปหลายปีระบบเริ่มรวน มีสายเข้าแล้วเครื่องรีบูตเอง ซ่อมไปไม่คุ้มก็เลยตัดสินใจซื้อเครื่องใหม่
Nokia N95 (Symbian) - ประทับใจกับคุณภาพ hardware ไร้ที่ติโดยเฉพาะกล้องถ่ายรูปกับลำโพง ชาร์ตหนึ่งทีใช้ได้นานหลายวัน ขนาดกะทัดรัดมือ และไม่จำเป็นต้องมีเคสมาใส่ (เอาจริงๆ เคสรุ่นนี้หาได้ยากมาก) แต่ Symbian ขาด app ที่ดีมา support และการ browse internet ทำได้ค่อนข้างลำบาก เลยจำใจต้องเปลี่ยนไประบบปฏิบัติการอื่น .. ตอนนั้นยังแอบหวังเล็กๆ ว่า Nokia N900 หรือ Meego ว่าจะทำได้ดีขึ้น แต่สุดท้ายก็เหลว
iPhone 4s (iOS 5) - ซื้อมาครั้งแรกรู้สึก wow กับนวัตกรรม ระบบ app store ที่ยอดเยี่ยม และบริการหลังการขาย (เคยเอาเครื่องไปเปลี่ยนที่ apple store หนึ่งครั้งเพราะแบตโดนสูบแบบบ้าคลั่ง) คุณภาพ hardware ส่วนตัวมองว่าเป็นรอง Nokia แต่หลังจากใช้งานไป 2-3 ปี และอัพเกรด iOS ไปอีกหลายเวอร์ชั่น ก็เริ่มรู้สึกว่า ecosystem apple มันค่อนข้างจำกัดในการ customize และ iOS เวอร์ชั่นหลังๆ สูบแบตหนักกว่าเดิม ต้อง factory reset บ่อยครั้ง .. Wow factor ที่เคยมีมาในตอนแรกหายไปตั้งแต่ iPhone 5 เป็นต้นมา ข้อเสียอีกอย่าง คือ ถ้าอัพเกรด iOS แล้วจะถอยกลับทำได้ยากมาก (ต้อง jailbreak อย่างเดียว) .. ส่วนตัวมองว่า iPhone รุ่นหลังๆ นี่ออกมาตามแก้ปัญหาของรุ่นก่อนหน้า และเพิ่ม feature ใหม่ที่คนอื่นมีอยู่แล้วมาใส่ของตัวเอง ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าจำเป็นต้องซื้อใหม่เท่าไหร่ แล้วมองว่า Apple อัพราคาสินค้า(เพื่อให้สินค้าตัวเองดู premium) กะเน้นการตลาดมากกว่าการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
Sony Xperia Z3 Compact (Android KitKat) - ส่วนตัวไม่อยากใช้โทรศัพท์จอใหญ่ และหลังจากอ่านรีวิวจากหลายสำนัก ก็ตัดสินใจลอง Android ดู (จริงๆ เล็ง Moto X 2014 ไว้แต่หาเครื่องลองเล่นไม่ได้ กะกลัวว่าจะหาที่ซ่อมลำบากถ้าพัง) ค่อนข้างประทับใจระบบปฏิบัติการ Android แต่ไม่ถึงกะ Wow เพราะ feature หลายๆ อย่างเหมือน iOS แต่สามารถ customize ได้มากกว่าเยอะพอสมควร ที่ประทับใจสุดกับระบบปฎิบัติการ Android คือ notification bar ซึ่งเป็นอะไรที่ใช้บ่อยมาก และ home menu/launcher ที่มีลูกเล่นเยอะกว่า iOS หลายขั้น ใช้งานมาปีกว่ารู้สึกว่า Android ยังเพิ่มลูกเล่นต่อไปได้อีกเยอะ ส่วนในแง่ของ hardware ก็คงหลากหลายตามแต่บริษัทผู้ผลิต .. แต่ส่วนตัวเลือก Sony เพราะ แบตอึดสุดๆ และคุณภาพของกล้องค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น
ถ้าถามความเห็นส่วนตัว การใช้ Apple ที่เน้น materialism มาหลายตัวจะทำให้รู้สึกว่าตัวเองมี ego สูงขึ้น และอาจจะมีมุมมองการเหยียดผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นแบบเล็กน้อยถึงปานกลางโดยไม่ได้ตั้งใจ(หรือจะตั้งใจก็ตาม) อาจจะเป็นเพราะราคาที่ต้องจ่ายเลยต้องบอกตัวเองเสมอว่าของแพงมันต้องดี ถ้าไม่ดีคงไม่แพงขนาดนี้ อารมณ์เหมือนว่านอกจากผลิตภัณฑ์ apple แล้ว อันอื่นมันดูแย่ไปหมด (โดยหารู้ไม่ว่า apple product ก็มีจุดแย่ๆ เหมือนกัน แต่เลือกที่จะมองข้ามมันไป)
พอเปลี่ยนมาเป็นระบบปฏิบัตการอื่น รู้สึก ego ตรงนี้จะต่ำลง และเริ่มมองเห็นว่าการที่มีการแข่งขันในการทำ hardware หรือแม้กระทั่ง price war ระหว่างผู้ผลิตนั้นย่อมเป็นสิ่งดีกว่าสำหรับผู้บริโภค เพราะอย่างน้อยผู้บริโภคมีตัวเลือกเพิ่มขึ้น การที่ผูกขาดอยู่เจ้าเดียวนั้นทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างล่าช้า (ซึ่งเห็นได้ชัดกับผลิตภัณฑ์รุ่นหลังๆ ของ Apple อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้)
เห็นด้วยกับคำที่ว่าซื้อมาแพงมันต้องดีครับ เพราะตัวเองได้ Mac Pro มาไม่เสียเงิน(แต่แลกกับการทำงาน)แล้วสิ่งที่รู้สึกคือ มันมีปัญหาเยอะมากนะ เยอะกว่า วินโดวส์ 8-10 เยอะ เวลาบูสต์ของวินโดวส์เร็วกว่าสองถึงสามเท่า ถึง sleep จะweak up ช้ากว่าเล็กน้อย ซึ่งบางคนก็บอกว่าใช้ sleep สิฟีเจอร์นี้แหละที่ฆ่าวินโดวส์แต่ผมใช้ไปๆก็ต้องรีเครื่องปิดเครื่องอยูดี เพราะแอปมันรวน แถมเปลืองแบตด้วย สรุปก็ไมได้รู้สึกดีกับแมคมากมายอาจเป็นเพราะว่าไม่ได้เสียตังค์ซื้อมันมาก็เป็นได้
บางทีของราคาแพงก็ไม่ใช่ว่าดีที่สุด :D แต่เมื่อเราซื้อมาในราคาสูงแล้ว มันจะเป็นการบังคับ(ทางจิตวิทยา)ให้เรามองว่ามันต้องดีกว่าแหละ .. ขอบคุณที่แชร์ประสบการณ์ครับผม
ที่พิมพ์มายาวๆ แค่อยากจะบอกว่า ไม่มีสินค้าแบรนด์ไหนดีกว่าแบรนด์อื่น ยิ่งมีการแข่งขันเยอะยิ่งดีกับการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งผลดีต่อผู้บริโภค เทคโนโลยีมันเปลี่ยนเร็วมาก ไม่มีใครอยู่อย่างยั่งยืนได้โดยการไม่พัฒนา ดูได้จาก Nokia Symbian ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครคิดว่าจะมีคนมาโค่นได้ สุดท้ายก็โดน iOS + RIM + Android ชิงส่วนแบ่งตลาดไปได้หมด
ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็เลือกผลิตภัณฑ์ตามความเหมาะสมกับสภาพฐานะและการใช้งาน อย่ายึดติดกะแบรนด์หรืออวยแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งมากจนเกินไป ในขณะเดียวกันก็อย่าไปดูถูกสินค้าแบรนด์อื่นด้วย ทุกคนย่อมมีเหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าแตกต่างกัน
ตอนนี้ผมรู้สึกเหมือนหลายคนเมายากับคำว่า Materialism ไปหมดแล้ว
มันตลกมาก เพราะ UI design ของกุกเกิลเองตะหากที่ใช้คำว่า "Material Design"
ส่วนแอปเปิลพยายามทำสิ่งที่เป็น intuitive มาตลอด อยู่ๆก็มีคนแปะฉลาก "Material" ให้เฉยเลย ..?
มันเป็นเรื่องของ "ความชำนาญของบริษัท" ก็ในเมื่อแอปเปิลเป็น บ ขายคอม ก็ทำสิ่งที่ตนชำนาญมายาวนาน
กุกเกิลเป็น บ เสิจเอนจิน ก็ต้องทำบริการที่ connect และเอื้อประโยชน์กับระบบอื่น ของตนเองให้มากที่สุด
แค่นั้นเอง
ไปตีความให้ A เป็น "Material" นี่ผมว่าตลกมาก ก็โฆษณาขายมือถือ
วัสดุทำจากอะไร ก็เป็นเรื่องที่คนเขียนบท Ads จะทำขึ้นมา เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการขายสินค้า ที่ทีม Ads ทำ ไม่ใช่ "ปรัชญา" อะไรเลย
ในขณะที่บริการของกุกเกิลหลักๆคือขายโฆษณา ดูดข้อมูล ขายข้อมูล สร้างพลวัตของข้อมูล
หากกุกเกิลจะทำอะไรขายเป็นชิ้น ก็ต้อง "โฆษณา" เหมือนกัน
เป็น"ข้อจำกัด" และ "ความพร้อมความชำนาญ" ของบริษัทต่างหาก
เหมือนเห็นแผ่นดินไหวก็นึกว่ามีปลาดุกใต้ดิน แต่จริงๆเราแค่รู้ว่าปลาดุกดำดิน เราก็คิดไปแล้ว
ใช้ชีวิต ให้ อยู่กับปัจจุบัน ดีกว่า ครับ
(หายใจเข้า หายใจออก
กำลังคิดพิมพ์ คำตอบดีๆ อยู่ เผื่อจะมีคนมา reply
แต่จะว่าไป เราก็ใช้ สินค้า และ บริการ ทั้ง 2 บริษัท อยู่ ทุกวัน
จริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร มากมาย ขนาดนั้นนี่นา?
แต่ ทำไมอ่าน แต่ละ comment แล้ว อารมณ์มันพุ้งพล่าน
อยากแสดง ความเห็น บ้างจัง!
เฮ้อ... นั่งคิดมา หลายนาที คิดไม่ออก แต่ ที่แน่ๆ เริ่มหิวข้าวเช้าละ
ไปกินข้าวเช้าดีกว่า เดี๋ยวแฟนจะบ่น ว่าวันๆ มัวแต่เล่น คอม
ไม่แน่นะ อาจจะคิด คำตอบดีๆ ออกตอนกินข้าว ก็ได้
หรือไม่บางที แฟนอาจจะชวนไป shopping เพลิน
จนเรา วันต่อมา อาจจะลืม ไปก็ได้ว่า กำลังคิดอะไรอยู่...?
เริ่มคิดไปถึง วันพรุ่งนี้แล้ว ไม่ใช่ละ!)
เป็นบทความที่ดี ครับเขียนเองด้วยใช่ไหมครับ
เขียนซะไม่มีที่ยืนให้ Microsoft เลย 5555
เกมนี้ MS ชนะ เพราะ MS ลงทุนในทั้ง 2 บริษัท แหละที่สิทธิบัตรที่ทุกๆคนต้องจ่าย
ผมชอบนะ (หมายถึงบทความและไอค่อนประกอบ)
เราเลยเดินทางสายกลางโดยใช้ HW จาก Apple และ SW จาก Google วิน วินเค่อะ
มันใช่เร๊อะ 55555
AndroidรันบนRam1GB
เอาจริงๆมั้ย
เป็นบทความที่ดีมากครับ ชอบนะครับ ที่เอาเรื่องปรัชญามาเปรียบเทียบ
ผมว่า Google ใช้อีเมลง่ายดี ความปลอดภัยพอใช้ได้
ผมว่า Google app เยอะดี มีทั้งใช้ได้ และไม่ได้ แต่รวมๆ แล้วดู อิสระกว่า Apple
ผมว่า Apple ผลิตของที่ ท้าท้าย ความเป็นอุปกรณ์ที่น่าใช้ แต่แพงเกินไปหน่อย
ผมว่า Apple app มีคนทำดี แต่ส่วนใหญ่จะขาย
มองในแง่ ที่ เปิดกว้าง ตอนรับทุกคน Google ดีมากๆ
มองในแง่ ที่ อุปกรณ์หน้าจับตามอง Apple ก็น่าสนใจ
สรุปจาก คน ที่มีเงินไม่เยอะ Google ตอบสนอง และทำให้ เรา มีซอฟแวร์ที่น่าจะเป้นไปได้ในชีวิต มากกว่า โดยไม่
ต้องซื้อมากจนเกินไป
ทำไมไม่มีไมโครซอฟท์เลยครับ
ประเด็นต้นทางมันเกิดจากวิวาทะ Apple vs Google ครับ
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ขอฮาร์ดแวร์ของแอปเปล + เสปกเทพของแอนดรอยด์ + อิสระของแอนดรอยด์ + กราฟฟิกลื่นไหลของ iOS + ซับพอร์ตหลังการขายของแอปเปิล = ฟินนน
ไม่ต้องทะเลาะกัน จับมือกันดีกว่าๆ
^
^
that's just my two cents.
ผมอ่านบทความนี้ตั้งแต่วันแรกที่ลง หลับตื่นข้ามวันไปสามรอบ (เพราะนอนกลางวันด้วย)
ยังเถียงกันไม่จบ
ยังคิดอยู่ว่า ถ้ามีมีดหรือปืน คงเอามายิงกันตายไปละ
แต่ละคอมเม้นท์ อารมณ์ดุเดือดเลือดพล่าน ประมาณว่า ฆ่าได้แต่ห้ามหยาม
ความคิดเห็นหรือความรู้ของข้า เหนือกว่าบุคคลใดในภพนี้
ไม่รู้ว่าคนเถียงชนะจะได้อะไร น่าจะได้ประมาณนี้
ว่าแล้วก็ยังงงกับตัวเอง จะโพสเพิ่มคอมเม้นอีกทำไม
ขอตัวไปนอนกลางวันต่อครับ goodbye
เป็นบทความที่ดีมากๆเลยครับ ชอบมากๆ
apple เนี่ยลอกชาวบ้านเค้า เเต่ตัวเอง เอามาปรับให้ ดูดีน่าใช้ ขายของสเปคกาก ราคาเเพง เเต่ก็มีคนซื้อ นี่พูดถึง iphone
เเอนดรอย พยายามทำให้เหมือน pc ให้มากที่สุด ทำอะไรต่างที่ตรงกันข้ามกับ apple เพื่อเป็นจุดขาย ทำให้ คนส่วนมากเข้าถึงได้ง่าย
ทุกอย่างเป็นไปตาม new world order
ถ้าเอาแค่เรื่องสเปคกาก ผมว่า android กากกว่านะ
เพราะถ้าระบบดีจริง รันบนแรม 1 GB ได้แบบ ios มันคงไม่เกิด android one หรอก จริงมั้ย
นี่ยังไม่รวมเรื่องกินแบตอีก
UI Android ตั้งแต่ 3.xx เป็นต้นมานี่ผมว่าเอามาจาก OS X แทบทั้งนั้นเลยน่ะ
เริ่มจากหน้าHome ที่มีDockด้านล่างไว้วางShortcut + หน้าจอโล่งๆ(ยังไม่ลงWidget) ต้องกดปุ่มAppเพื่อเข้าสู่หน้าAppทั้งหมดในเครื่อง(นี่มันปุ่มLaunchpadชัดๆ)
น้อยมากๆที่จะมีผู้ผลิตมือถือAndroidเจ้าไหนที่จะฉีกหนีUIหลักๆแบบนี้
เป็นเพราะคุณอยู่ในโลกของ Apple มากไปครับเลยคิดแบบนั้น เห็นอะไรคล้ายของที่คุณใช้แปลว่าต้องลอกของที่คุณใช้ไปหมด
คำว่า Konfabulator ยังใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยจริงๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ลอกนี่ผมว่าเกิดทุกผลิตภัณฑ์เลยนะ ฮ่าๆ
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
เอาจริงๆ spec ของ iPhone ตั้งแต่ยุค iPhone 5 ไม่กากนะครับ ขัดใจเรื่องเดียวคือเรื่อง RAM นี่แหละ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
สรุปให้
ซื้อ iphone มาใช้ service google
แค่นี้ล่ะ
ทำอยู่เลยครับ
ทำสถิติเมนต์สูงสุดตลอดกาล(หรือเปล่า)
จะว่าไปEcosystemของระบบทั้งสองบริษัทนี้มันดูเหมือนในAttack on Titanเลยน่ะ
Apple ก็เหมือนกับกำแพงชั้นใน คับแคบกว่า แต่ก็ปลอดภัยกว่า
Google ก็เหมือนกำแพงชั้นนอก กว้างขวางกว่า แต่ความปลอดภัยก็น้อยกว่า
ส่วนผู้ใช้อย่างเราๆก็เหมือนกับประชาชน ใครอยากอยู่ส่วนไหนก็เลือกกันเอาเองน่ะครับ
ส่วนMicrosoft ผมนึกไม่ออกจริงๆว่าจะเอาไปเทียบกับอะไรดี คงเหมือนตัวกำแพงละมั้ง ไม่ว่าชั้นนอกหรือในก็ยังต้องการกำแพงอยู่ดี
บริการหลายอย่างของ Google เกิดได้เพราะพึ่งพาผู้ใช้ที่เปรียบเสมือนพนักงานนอกบริษัท อย่างพวก Adsense google+ แต่บริษัทก็ไม่เคยเหลียวแล กฏระเบียบก็เหมารวมแบบกว้างๆ
ไม่มีสองแนวคิดนี้ ก็ไม่มีอะไรแข่งขันกันเพื่อให้ชูจุดหลักของตัวเอง
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
พลัง แควนๆ นี่เหนียวแน่น แต่ตอนนี้ผมให้คะแนน google มาก่อน