คณะตุลาการของศาลยุติธรรมยุโรปหรือ ECJ ได้มีคำพิพากษาให้ข้อตกลง เซฟ ฮาร์เบอร์ (Safe Harbour) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทต่างๆ ของสหรัฐ สามารถส่งข้อมูลส่วนตัวพื้นฐานของผู้ใช้และลูกค้าชาวยุโรป กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ ณ ประเทศแม่ มีผลเป็นโมฆะ
คดีดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่นักศึกษาด้านกฎหมายชาวออสเตรีย ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการด้านการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของรัฐบาลไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานเฟซบุ๊คในยุโรป ให้ตรวจสอบว่าเฟซบุ๊คว่าส่งข้อมูลใดกลับไปยังสหรัฐบ้าง แต่ทางการไอร์แลนด์ปฏิเสธคำร้องดังกล่าว โดยอ้างอำนาจของข้อตกลงเซฟ ฮาร์เบอร์ ทำให้นักศึกษาด้านกฎหมายผู้นี้ยื่นเรื่องต่อศาลยุติธรรมยุโรปแทน
คำตัดสินของคณะตุลาการครั้งนี้ ทำให้บริษัททั้งหลายของสหรัฐ ไม่เฉพาะบริษัทด้านเทคโนโลยี ที่มีการส่งข้อมูลของลูกค้าและผู้ใช้ในยุโรปกลับไปยังประเทศแม่ ต้องเผชิญกับข้อกฎหมายด้านการควบคุมข้อมูลของแต่ละประเทศโดยตรง เนื่องจากพิพากษาของ ICJ ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อได้ ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทที่มีข้อมูลของผู้ใช้เป็นจำนวนมหาศาลอย่างเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์หรือแม้แต่กูเกิล อาจจะต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์ในยุโรปแทน
ทั้งนี้ข้อตกลงเซฟ ฮาร์เบอร์ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กับรัฐบาลสหรัฐ ได้ก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนักในยุโรป เนื่องจากเกรงว่าข้อมูลของชาวยุโรปที่ถูกเก็บอยู่ในประเทศสหรัฐนั้น อาจไม่รอดจากการถูกสอดแนม นับตั้งแต่นายเอ็ดเวิร์ด สโนวเดน อดีตเจ้าหน้าที่ NSA ของสหรัฐ เปิดโปงระบบโครงข่ายสอดแนมของรัฐบาลสหรัฐจนเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ที่มา - Business Insider
Comments
เอาแล้วไง
งานนี้สนุกแน่ครับ
แหม่ ฟังดูดี๊ดี นึกถึงข่าวเมื่อวานแล้วลั่น สโนวเดนเผย รัฐบาลอังกฤษสามารถแฮคสมาร์ทโฟนประชาชนได้
my blog
จริงๆใน 5 eyes น่าจะแบ่งข้อมูลกันอยู่ ถ้า GCHQ มีอะไร ฝั่งเมกาคงมีเหมือนกัน ฮา
ให้ตรวจสอบว่าเฟซบุ๊คว่าส่งข้อมูลใด => ให้ตรวจสอบว่าเฟซบุ๊คส่งข้อมูลใด / ให้ตรวจสอบเฟซบุ๊คว่าส่งข้อมูลใด
เนื่องจากพิพากษาของ => เนื่องจากคำพิพากษาของ
ICJ => ECJ
มีผลแต่ใน EU เท่านั้น ส่วนพื้นที่อื่นๆทั่วโลกสามารถส่งได้ว่างั้น
ไม่ต้องใช้ Single Gateway ก็ได้ข้อมูลคนทั่วโลกเลยทีเดียว
ในแง่ปฏิบัติมันจะแบ่งกันยังไงครับว่าข้อมูลนี้มันจะอยู่ที่ไหนบ้าง เพราะว่าบริษัทใหญ่ๆ ต้องเก็บข้อมูลไว้หลายๆที่อยู่แล้ว
อย่าง Facebook หรือ Google งี้ล่ะจะทำยังไง ปกติก็น่าจะ dup data ไว้ server ทั่วโลก
Engineer คงเจอโจทย์ยากละ
น่าจะเป็นการบังคับให้ "ตั้งศูนย์ข้อมูล" ในประเทศนั้นๆ ครับ
datacenter ใน EU หน่ะบางบริษัทมีอยู่แล้วครับ(Google,Microsoft) แต่สถาปัตยกรรมของโครงสร้างข้อมูลและความเป็น internet/cloud based ในปัจจุบันมันทำให้ข้อมูลของแต่ละแหล่งต้อง sync กันเพื่อ availability/access time ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
นี่สินะ ประชาธิปไตย ที่เรียกร้องในแบบเมกา
ไทยทำบ้างได้มั้ย