Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

คดีผู้ใช้ประชาไทที่ใช้ชื่อ bento โพสข้อความหมิ่นตามมาตรา 112 เป็นคดีตั้งแต่ปี 2551 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในปี 2554 และศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาเป็นจำคุก 5 ปีในปี 2556 วันนี้คดีมาถึงชั้นศาลฎีกาให้ยกฟ้อง

ทาง iLaw บันทึกรายละเอียดคดีนี้ไว้อย่างละเอียด เท่าที่ผมทราบคดีนี้เป็นคดีๆ แรกๆ ที่ขึ้นถึงชั้นศาลฎีกา น่าจะเป็นแนวทางให้คดีในอนาคตต่อไปได้

ที่มา - Facebook: iLaw

alt="upic.me"

Get latest news from Blognone

Comments

By: Aoun
AndroidWindows
on 20 October 2015 - 18:14 #854361

โชคดี ยังได้ถึงฎีกา
ถ้าโดนเอาขึ้นศาลทหาร ศาลเดียวจบ ... เลย

นึกถึง คดีอากง

By: Hoo
AndroidWindows
on 20 October 2015 - 18:23 #854362 Reply to:854361

คดีอากง ผมว่าหลักฐานมันชัดกว่านะ ดูที่นี่

By: leeyiankun
Windows PhoneAndroidWindows
on 20 October 2015 - 18:35 #854364 Reply to:854362

เพจ"ไม่เอาควายแดง"เลยเหรอครับ

แหม่

เผลอกดเข้าไป ผมนี่ถอยกลับแทบไม่ทัน

By: blackdemon
Windows PhoneAndroid
on 20 October 2015 - 18:47 #854365 Reply to:854364
blackdemon's picture

เพจไหนชื่ออะไรไม่สำคัญเท่ากับ "ข้อเท็จจริง" ไม่ใช่หรือครับ

ข้อมูลคดีอากงนี้ผมก็พึ่งมาอ่านละเอียดก็เมื่อกี้นี่เอง (เมื่อก่อนไม่ได้ตาม) ซึ่งทางเพจก็ชี้แจงค่อนข้างมีน้ำหนักนะครับ (ซึ่งรู้แน่ๆว่าส่งจากเครื่องนี้ แต่ใครจะเป็นส่งนี่ ผมนึกหาเหตุผลมาหักล้างไม่ออกจริงๆนอกจากเจ้าของเครื่อง)

หรือท่านมีข้อมูลอื่นมาหักล้างก็โปรดชี้ลิงค์ด้วยครับ ถ้าไม่มีถือว่าโต้แย้งไม่ได้และผมก็ขอเชื่อข้อมูลด้านบนนะครับ

By: kidsdev
ContributorAndroidUbuntu
on 20 October 2015 - 19:10 #854368 Reply to:854365
kidsdev's picture

ใน blognone มีเยอะเลยครับ (google -> site:blognone.com sms อากง)
เช่น https://www.blognone.com/news/28771/

https://www.blognone.com/news/28139/

By: anoid on 20 October 2015 - 19:10 #854369 Reply to:854365

ใน เวบนี้แหละครับ เขียนไว้เยอะเลย โดยคุณ lew

By: blackdemon
Windows PhoneAndroid
on 20 October 2015 - 19:32 #854370 Reply to:854365
blackdemon's picture

ขอบคุณครับ ยาวไปหน่อยแต่อ่านแบบ speed แล้วก็เหมือนเคสนี้คือ หลักฐานมันถูกปลอมขึ้นมาได้

หลักการเดียวกัน spoof ip ของหัวข้อนี้ ดังนั้นคุณอำพลไม่ควรถูกตัดสินจำคุกจาก IMEI จนตายนี่เอง

By: Hoo
AndroidWindows
on 20 October 2015 - 20:37 #854377 Reply to:854370

ไม่ใช่ IMEI spoof ครับ

Operator Log บ่งชัดว่า ไม่มีการปลอม IMEI ครับ
เพราะถ้าปลอม IMEI
จะต้องมี IMEI เดียวกัน activate 2 เครื่องพร้อมกัน
แต่นี่ไม่มีเลย activate อยู่เครื่องเดียว แล้วสลับ SIM

การสันนิฐานว่ามีการใช้ Jammer แล้วใช้เครื่องที่ปลอม IMEI ส่ง SMS หมิ่น
ผมว่าดูหนังมากไปแล้ว

สิ่งที่ศาลดูอีกอย่าง คือ การให้การกลับไปกลับมา ก็มีผลในการสู้คดี
ซึ่งเห็นชัดว่า อากง จำนนต่อหลักฐานขนาดไหน

By: blackdemon
Windows PhoneAndroid
on 20 October 2015 - 20:41 #854379 Reply to:854377
blackdemon's picture

อันนี้ขอถามตรงนี้นะครับ ทำไมมือถือคุณอำพลถึงเสียหายครับ จงใจทำลายหรืออะไร?
หากมือถือเสียหายอยู่แล้ว แล้วมีคนปลอมขึ้น IMEI มาใช้แทนที่เป็นไปได้หรือป่าว?

และหากมือถือเสียหายหลังมีการส่ง SMS ข้ามคำถามด้านบนไปก็ได้ครับ
เพราะมันแสดงว่าศาลตัดสินจากองค์ประกอบแวดล้อมอื่นๆ ถูกแล้ว

By: zerost
AndroidWindows
on 20 October 2015 - 21:11 #854393 Reply to:854377
zerost's picture

การปฏิเสธว่าเป็นไปไม่ได้แล้วบอกว่าเป็นเรื่องในหนัง ผมคิดว่าไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมในการพิจารณาคดีนะครับ ควรต้องพิจารณาว่าเป็นไปได้แล้วมันทำได้จริงไหมถ้าทำได้จริงแล้ว โอกาสเกิดมีมากขนาดไหน ผมไม่ได้เข้าข้างบทความในเว็บนี้หรือเพจที่ท่านเอามาบอกนะครับ แต่หากเครื่องแจมมิ่งหาซื้อใช้ได้ง่ายจริงอย่างที่บทความกล่าว โอกาสเกิดระดับที่ท่านบอกว่ามีแต่ในหนังก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปได้ยากนะครับ
และหากบทความเว็บนี้เป็นเรื่องเชิงเทคนิคที่เป็นจริงคำกล่าวอ้างของท่านที่ว่า ล๊อกจากโอเปอเรเตอร์ไม่ได้บ่งบอกได้แน่นอนว่าไม่มีการปลอมแปลงอีมี่ เพราะมันเป็นไปได้แต่ท่านอ้างว่าไม่มีการปลอมอีมี่เพียงเพราะท่านเชื่อว่าเทคนิคการปลอมเป็นเรื่องระดับการแสดง ซึ่งยังต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไปครับ

By: Hoo
AndroidWindows
on 20 October 2015 - 22:23 #854414 Reply to:854393

เครื่องเสียนี่ ไม่คุ้นเลย ไม่มีในการสู้คดีเลยครับ
เพราะให้การกับศาลงวดแรกๆว่า เอาเครื่องส่งซ่อม
เพื่อหวังจะโบ้ยว่า ร้านเป็นคนส่ง SMS แต่ Log ชี้ชัดว่าไม่ใช่
เพราะ Log ส่วน CellSite มันบอกว่าส่งที่บ้านอากง
เลยต้องเปลี่ยนคำให้การ จากส่งซ่อมเดือนเมษา เป็น พฤษภา เพราะจำนนต่อหลักฐาน

...ให้การเท็จ ตัวก็ขาดไปครึ่งนึงละครับ...

http://ilaw.or.th/node/1229

นอกจากนี้ เนื่องจากหมายเลขอีมี่ในคดีนี้ตรงกับหมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่าที่นายอำพลใช้ และรับว่าใช้อยู่ผู้เดียว จึงยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้ และพบว่ามีการใช้โทรศัพท์เครื่องนี้กับซิมการ์ดสองเลขหมาย ซึ่งจากหลักฐานชี้ชัดว่า ซิมการ์ดทั้งสองหมายเลขถูกใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน จึงเชื่อได้ว่าผู้กระทำความผิดได้นำซิมการ์ดมาสลับใช้อย่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งสมมติฐานไว้ นอกจากนี้ข้อมูลการจราจรยังระบุว่าข้อความถูกส่งโดยเซลไซต์ จากย่านที่จำเลยพักอาศัยอยู่ด้วย

การที่จำเลยอ้างว่า โทรศัพท์มือถือของจำเลยเสียจึงนำไปซ่อมที่ร้านค้าในห้างอิมพีเรียลสำโรง ศาลเห็นว่าจำเลยให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน กล่าวคือ แจ้งในชั้นจับกุมว่าโทรศัพท์มือถือเคยเสียและนำไปซ่อมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 แต่แจ้งในศาลว่านำไปซ่อมเมื่อเดือนเมษายน 2553 อีกทั้งยังจำร้านที่นำโทรศัพท์ไปซ่อมไม่ได้ ทั้งที่การนำไปซ่อมต้องไปที่ร้านถึงสองครั้งคือตอนนำไปซ่อม และไปรับคืน จึงถือว่าข้อมูลส่วนนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือ

เท่าที่เข้าใจ แนวทางในการพิจารณาคดีคือ
ถ้าไม่มีหลักฐานชี้ชัด
"ความเป็นไปได้ที่มากกว่า ย่อมมีน้ำหนักที่มากกว่า"
ไม่ใช่แค่ "ขอให้มี story ที่ % เป็นไปได้ โคตรน้อยมากๆยังไง ศาลก็ต้องให้หลุด"

เห็นได้ชัดว่า สมตติฐาน combo การแจมสัญญาณ+ใช้มือถือที่ปลอม IMIE เป็นไปได้ยากมาก
จุดนึงคือ ถ้ามีการแจมจริง มันจะหลุดเป็นวงกว้างหลายๆเครื่อง บริเวณบ้านลุงทั้งหมดเลย
Log จะบ่งชี้ได้ด้วยครับ

ดังนั้น มันจึงเป็นสมมติฐานลอยที่คนเขียนบทความ คิดขึ้นมา โดยมีธงจะปกป้องอากงในใจแต่แรกอยู่แล้ว

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 20 October 2015 - 22:49 #854424 Reply to:854414
lew's picture

อันนี้ผมตอบในฐานะคนเขียนบทความเดิมนะครับ

บทความผมชี้หลายประเด็น หลักๆ คือ

  1. การชี้ถึงเครื่อง (เลข IMEI) ถือเป็นหลักฐานของการกระทำของเจ้าของเครื่องได้ไหม? เครื่องมันไม่ใช่อวัยวะของผม ผมเองอยู่บ้านก็วางทิ้งไว้ ผมไม่รับโทรศัพท์ด้วยซ้ำ กรณีนี้ผมคิดว่าคล้ายกับคดีนี้ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์มันวางอยู่ในบ้าน คนอื่นมาใช้ได้เหมือนกัน แม้ว่าชื่อเจ้าของบัญชีอินเทอร์เน็ตจะเป็นจำเลยก็ตามที
  2. ไม่เคยมีการพิสูจน์ว่าเครื่องนี้เป็นเครื่องส่งจริง เครื่องเสีย ฝ่ายพิสูจน์หลักฐานก็บอกว่าเสีย (เสียเมื่อไหร่ยังเป็นประเด็นที่จำเลยระบุวันไม่ได้ แต่ ณ วันที่จับกุมมันเสียไปแล้ว) เราไม่เคยเห็นข้อความ draft ในเครื่องหรืออะไรทั้งสิ้น คดีนี้ก็ไม่พบข้อความที่เหมือนกับในฟ้องในเครื่องจำเลยเหมือนกัน
  3. ตัวเลข IMEI ไม่ใช่ตัวเลขวิเศษที่ระบุถึงตัวเครื่องได้อย่างแน่ชัด มันเหมือนตัวเลขอื่นๆ ที่ assign ใหม่กันได้ log ที่เปิดเผยมามีเพียง log การโทรและ SMS ห้วงเวลาไม่ได้บีบแน่นชนิดว่าเครื่อง offline แล้วมีอีกเบอร์ออนไลน์ขึ้นมาทันทีในนาทีนั้น อันนี้ในคดีนี้ก็พูดถึง แต่เท่าที่อ่านจาก iLaw ยังคงไม่แน่ใจว่าสู้กันอย่างไร ไว้มีคำพิพากษาเต็มเปิดเผยออกมาคงเอามาคุยกันอีกครั้ง
  4. ตัว log เองไม่มีข้อความ ทั้งหมดคือภาพถ่ายหน้าจอ ที่ระบุว่าได้รับ SMS มาจากเบอร์ที่ระบุเท่านั้น ถ้าผมได้รับ SMS จากใครสักคนจริงแล้วแปลงข้อความตามใจผมได้ ถ่ายภาพหน้าจอได้ log จากผู้ให้บริการตรงกัน แบบนั้นคือเอาผิดได้?

lewcpe.com, @wasonliw

By: mode on 20 October 2015 - 23:28 #854432 Reply to:854424

ขอตอบห้อยท้ายเม้นต์นี้ละกัน...

อันนี้รายการ คม ชัด ลึก เมื่อนานมาแล้วนะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=7UMK8MwXvAU

  • ในรายการเขาบอกว่าหมายเลข IMEI ปลอมได้แต่ยาก ปกติแล้วจะเป็นผู้ก่อการร้ายทำ ในไทยก็คงมีคนทำได้แต่เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตนเพราะต้องไปแก้อีพรอมเครื่อง และเครื่องยี่ห้อดัง ๆ ก็ยิ่งปลอมยาก

  • ทนายไม่รู้เรื่องเทคโนโลยี่เลย พูดในรายการก็งง ๆ เข้าใจยาก จะเน้นดราม่ามาก คดีอะไรถ้าทนายห่วยโอกาสติดคุกก็สูงอยู่แล้วแหละครับ

By: Hoo
AndroidWindows
on 20 October 2015 - 23:38 #854436 Reply to:854424

บน iLaw นั่นน่าจะเป็นตัวเต็มละครับ (เวป iLaw กะชูเรื่องนี้เต็มที่ตั้งแต่วันตัดสินออกมาแล้ว)

แล้วอย่างที่บอก ศาลเค้าดูบริบทอื่นด้วย
โดยเฉพาะ "ทนาย" ที่ให้แนวทางสู้คดีอากง กลับคำให้การไปมาให้เป็นพิรุธในศาล จนมีน้ำหนักมากขึ้น

มันเหมือนกะจะส่งอากง ตรงเข้าคุกชัดๆ เลยครับ

เท่าที่จำได้
1) มีคนเทียบแนวกับ "เจ้าของวัตถุแห่งคดี" เช่น รถ มอไซ ปืน ฯลฯ ที่ไปก่อคดี
ก็ต้องรับผิดชอบ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง อะไรทำนองนี้
2)-3) หลักฐานต้องบีบขนาดไหน?? ต่อให้มีหลักฐานระดับ ภาพกล้องวงจรปิด อากงกำลังกดโทรศัพท์ ณ เวลานั้น
ก็ยังสามารถพูดได้ว่า "อากงอาจจะกำลังเล่น แคนดี้ครัช อยู่ก็ได้" แล้วก็ต้องให้หลุดหรือเปล่า??
4) คุณสันนิฐานซะจนมัน Advance มากๆ ... "ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในคดีนี้" เพราะเท่าที่ตามข่าว
4.1) เจ้าของเครื่อง ให้ จนท.ดูว่า มันเป็น SMS มาในโทรศัพท์เค้าจริง
แล้ว จนท. จึงถ่ายภาพเก็บไว้แสดงในศาล
ไม่ใช่ เจ้าของเครื่อง ถ่ายภาพไว้เองแล้วส่งให้ จนท.มาแสดงในชั้นศาล
4.2) เจ้าของเครื่อง และ อากง ไม่รู้จักกัน
จะให้คิดว่า เจ้าของเครื่อง ส่งคนไปแจมสัญญาณ+มือถือปลอม IMEI ส่ง SMS
เผลอๆมี โปรแกรมแก้เนื้อความ SMS ก่อนส่งให้ จนท. เพื่อจะได้ยัดอากงติดคุก "มันไม่สมเหตุสมผล"
4.3) นอกจากนี้ การส่ง SMS ต่างกรรมต่างวาระ 5 ครั้ง (แต่ศาลยกไป 1 ข้อความเหลือ 4)
รวมระยะเวลาทั้งหมด ร่วมเดือน จะบอกว่าเป็นการทำ 4.2) ทั้ง 5 ครั้ง
นี่มันก็ "ไม่สมเหตุสมผล" อีก

คือ เวลาคิด ถ้าคิดแต่ "สิ่งที่เป็นไปได้ทางเทคนิค" จนมองข้ามความ "สมเหตุสมผล"
อันนี้ผมว่าไม่ใช่ละ

By: soginal
AndroidIn Love
on 20 October 2015 - 23:47 #854440 Reply to:854436
soginal's picture

1) ไม่ใช่ว่าผู้กล่าวหาต้องพิสูจจนสิ้นสงสัยว่าเจ้าของเกี่ยวข้องไม่ใช่รึ ทำไมกลายเป็นว่าผู้ถูกกล่าวหาต้องพิสูจน์ตัวเองล่ะครับ
2-3) เออการจะจับใครเข้าคุกนี่ เอาหลักฐานแค่คร่าวๆก็ได้เหรอครับ
4) ในเมือไม่รู้จักกันเลย เขาจะส่ง sms ให้ทำไมล่ะครับแถมส่งไปก็ไม่ได้ด่าเจ้าของมือถือซะด้วย พอบอกเจตนาได้ไหม

By: mode on 21 October 2015 - 00:59 #854452 Reply to:854440

ก็ต้องดูว่าต้องหลักฐานระดับไหนนั่นล่ะครับ ที่จะถือว่าน่าเชื่อถือเพียงพอระดับว่าผู้ต้องหากระทำผิดจริง แต่โดยปกติมันก็ไม่ใช่ระดับมีกล้องถ่ายผู้ต้องหากระทำจริง ๆ ชัด ๆ เน้น ๆ ในคลิปผู้ต้องหากล่าวว่าตนกำลังทำผิดอะไรแบบนั้น

ส่วนแรงจูงใจในการกระทำผิดมันก็มีได้ร้อยแปดอย่างนั่นแหละครับ ใครจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร

ที่สำคัญก็อย่างที่บอกครับ อะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้าทนายห่วย และอยากบอกเพิ่มด้วยว่ายิ่งเกิดได้ยิ่งขึ้นถ้าทนายไม่ห่วยแต่จงใจว่าความให้ผู้ต้องหาได้รับโทษ

บางทีอากงอาจจะเป็นเหยื่อจริง ๆ ก็ได้ แต่เหยื่อของฝ่ายที่ต้องการแก้ม.112 น่ะครับ

By: ibeauty
iPhoneUbuntuWindows
on 21 October 2015 - 03:51 #854462 Reply to:854440
ibeauty's picture

คุณ soginal

+ใจไปทั้งดวง ชอบค่ะ ความคิดความอ่าน รวมถึงตรรกะที่แสดงออกมา ทำไมคุณเลอค่าจังเลยค่ะ

By: Hoo
AndroidWindows
on 21 October 2015 - 09:04 #854491 Reply to:854440

ส่วนตัวเห็นว่า ถ้าจะโวยว่า ศาลตัดสินไม่ถูกต้อง
อยากให้ ตั้งอยู่บนหลักนิติศาสตร์ นะครับ

การคิดแต่ว่า "ศาลห่วย ตัดสินบนความไม่รู้เรื่อง IMEI"

บางที เราเองอาจจะ "ตัดสินบนความไม่รู้เรื่อง นิติศาสตร์" ก็ได้

1) การยกหลักต้อง "พิสูจน์จนเห็นชัดว่าจำเลยผิดจริง" แล้วคิดว่าศาลต้องใช้หลักนี้เท่านั้น
เป็น Dunning–Kruger effect กับนิติศาสตร์ เต็มๆ

เพราะที่อ่านมา จริงๆ แล้วในการตัดสินของศาล มันมีเคสที่
จำเลยต้องแก้ต่างให้ตัวเอง เพราะหลักฐาน,เหตุการณ์ มันบ่งชี้มา อยู่

เหมือนกับ คนไม่รู้เรื่อง ไปอยู่ในวงเด็กแว๊นซ์,วงไพ่,อยู่บนรถยนต์คันเดียวกับยาเสพติด
ก็ต้องหาหลักฐานมายืนยันความบริสุทธิของตนเอง

เพราะ นิติศาสตร์มองว่า "เป็นไปได้มากกว่า" ที่จะอ้างลอยว่า ตนไม่เกี่ยวข้อง

เอาแค่การให้การ
1)ฝั่งนึง เอาโทรศัพท์พร้อมข้อความให้ จนท.
ตรวจสอบก็ สอดคล้อง กับ log
แถมไม่มีส่วนได้เสียกับอากง => หลักฐานมีน้ำหนักในเชิงนิติศาสตร์

2)ฝั่งนึง อ้างว่าเอาโทรศัพท์ไปซ่อม ตอนส่ง sms เดือน เมษ.
แต่ log กลับ ฟ้องว่าไม่ใช่
เลยเปลี่ยนคำให้การว่า ส่งซ่อมเดือน พค.
ก็กลายเป็น เดือน เมษ. ยังไม่เจ๊ง และยังอยู่ในมืออากงเต็มๆ
แล้วมีแต่อากงใช้อยู่คนเดียวด้วย => นิติศาสตร์ถือเป็นข้อพิรุธจำเลย

ศาลตัดสินเค้าดูบริบทแวดล้อมอื่นๆ ด้วยมาตรฐานทางนิติศาสตร์
ไม่ใช่ตัดสินด้วยเหตุผลแค่ IMEI ตามที่ กูรูตามเน็ตชี้นำ ให้ศาลดูโง่กว่าความเป็นจริงครับ

By: soginal
AndroidIn Love
on 21 October 2015 - 09:24 #854505 Reply to:854491
soginal's picture

งั้นถ้าสมมติว่า ตอนที่เขาตัดสินคดีกันอยู่ ผมกระโดดเข้าไปกลางศาล
และประกาศว่า ผมเป็นคนแอบเข้าไปในบ้านและแอบใช้มือถือส่งข้อมูล

มาดูว่าผมมีอะไรบ้าง
- ผมไม่มีหลักฐานว่าผมแอบเข้าไปจริงหรือไม่ได้แอบเข้าไปจริง
- ผมไม่มีหลักฐานยืนยันที่อยู่เลยในขณะเกิดเหตุ
- ผมไม่มีหลักฐานว่าผมใช้โทรศัพท์หรือไม่ได้ใช้โทรศัพท์
- ผมไม่มีหลักฐานว่าผมเป็นคนส่ง sms หรือไม่ได้เป็นคนส่ง sms
- ไม่มีใครรู้เจตนาว่าผมแอบเข้าไปในบ้านทำไม และส่ง sms ทำไม
- ผมไม่รู้จักกับคนได้รับ sms
- ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับอากง ไม่รู้จักกันด้วย
- ตอนซักถามผมก็ตอบวกไปวนมาเพราะผมจำไม่ได้ชัดเจน

ขอถามว่าผมจะโดนลากเข้าห้องขังเลยรึเปล่าครับ ผมสารภาพเองเลยนะเนี่ย

By: OrangeJuice
iPhone
on 21 October 2015 - 21:24 #854769 Reply to:854505

ไม่ใช่ทนาย แต่ดู CSI มาก ตอบคุณ Soginal แบบงูๆปลาๆ ผมมองว่าโดยบริบทแล้วก็คง(ยัง)ไม่ติดคุก จนกว่าจะหาหลักฐานมาได้ (เช่นมีรอยนิ้วมือคุณติดอยู่ในบ้าน ถ้าให้ดีก็ที่โทรศัพท์เครื่องนั้นเลย รึมีพยานวินมอเตอร์ไซค์เห็นคุณเดินเข้าเดินออกในบ้านหลังนั้นตามเวลาที่กล่าวอ้าง) ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าศาลท่านไม่ใช่ว่าได้ข้อมูลพวกนี้ไปแล้วด้วยเหรอแต่ไม่ได้เอามาบอกคนทั่วไปรับทราบ ผมก็มโนๆไปนะครับ

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 21 October 2015 - 11:43 #854586 Reply to:854491

จริงๆตามหลักนิติศาสตร์ ทนายก็ต้องชี้จุดบอดจุดอ่อนของน้ำหนักพยานโจทก์มากกว่าซึ่ง
เป็นข้อเสียของระบบกล่าวหาที่ทำมีแพะเกลื่อนในเมืองไทย มีอัยการ ผู้พิพากษาหลายท่านแนะนำว่าให้เปลี่ยนไปใช้ระบบไต่สวนแทนระบบกล่าวหาได้แล้ว
ผมยกตัวอย่างชัดเจน คดีจับแท็กซี่ผิดตัวครับ
หลักฐานทุกอย่างชี้มาที่ตัวผู้ต้องสงสัยทั้งหมด หลายคนก็เห็นตรงกันว่าหากคนร้ายตัวจริงไม่ก่อคดีซ้ำอีกระหว่างที่ผู้ต้องสงสัยถูกจับกุม รายนี้ผู้ต้องสงสัยจะต้องถูกศาลพิพากษาลงโทษ 100%
หลักฐานเรื่องเลขทะเบียนรถที่พยานเห็นในรถ (ถึงมันจะเป็นเลขปลอมก็เถอะ)เพราะหลักฐานมาทั้งประจักษ์พยาน (ที่ปลอมปนพยานโดยให้ผู้เสียหายเห็นข้อมูลผู้ต้องสงสัยก่อนชี้ตัว)

จากประสบการณ์ตรงของพวกนี้มาจากพนักงานสอบสวนล้วนๆทั้งการปนเปื้อนพยานและอื่นๆ
คุณรู้รึเปล่าครับมีหลายคดีมากๆที่ศาลตัดสินผิดเพราะการทำสำนวนของพนักงานสอบสวน และการซักซ้อมพยานฝั่งโจทก์
เคสอากงจริงๆ เสียเปรียบมากๆ สมมตินะครับว่าอากงไม่มีทนายเลยหรือได้แค่ทนายขอแรง ผมว่าโดนหนักกว่านี้อีก
เพราะอะไร เพราะในหลายๆครั้งจำเลยไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้เนื่องจากถูกคุมขังอยู่ ติดต่อทนายก็ลำบาก บางคนทนไม่ไหวจนถึงต้องแกล้งรับสารภาพไปขออภัยโทษเอาทีหลัง

ถ้าเป็นผม ผมจะถามอัยการว่า IMEI มันยืนยันได้ยังไงว่าเป็นมือถืออันเดียวกับที่อากงถือ
ในเอกสารนั้นพยานโจทก์อ้างว่า IMEI เปลี่ยนไม่ได้ แต่จากประสบการณ์ผมบอกเลยครับว่าเปลี่ยนได้เคยทำมาแล้วด้วยเพราะสมัยนั้นมีการล็อค IMEI ป้องกันไม่ให้้ใช้มือถือข้ามค่ายผมก็ใช้วิธีเปลี่ยน IMEI นี่แหละปลดล็อค (เรื่องนี้ผ่านมาเป็นสิบปี) วิธีต่อสู้ก็คือต้องสู้ว่ามันเป็นไปได้ ที่มีมือถืออีกเครื่อง

อีกหนึ่งความน่าเกลียดของคดีคือพยานโจทก์ ผมมองว่าเตี๊ยมมาแล้วทนายตามเกมไม่ทัน เท่าที่อ่านดูมีบางอันที่พยานโจทก์น้ำหนักไม่พอและสามารถโต้แย้งได้
วิธีที่จะหักล้างพยานโจทก์ได้ดีที่สุดคือหาพยานผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือกว่าพยานผู้เชี่ยวชาญฝั่งโจทก์ เหมือนอีกคดีที่ยกฟ้อง

By: zerost
AndroidWindows
on 21 October 2015 - 06:11 #854468 Reply to:854436
zerost's picture

คุณไปว่าเขามีธงแล้วในใจ ไล่ตอบเขาทุกเม้นเลยแต่พื้นฐานของคุณเป็นการมโนล้วนเลยอะครับ โดยไม่คิดถึงความเป็นไปได้อื่นๆเลย คุณเดาเองว่าบริเวณนั้นทั้งหมดต้องโดนแจมด้วยถ้ามีการใช้คลื่นรบกวนจริง แต่จากหลักฐานมีบอกหรือเปล่าครับว่าบริเวณนั้นไม่มีการรบกวนสัญญาณแล้วการรบกวนสัญญาณจริงนั้นเขามีเทคนิคตีวงให้แคบได้หรือไม่เราก็ไม่ทราบมันอาจจะทำได้ก็ได้ เพราะเซลไซท์ก็ไม่สามารถบอกตำแหน่งที่ชัดเจนได้เช่นกัน ข้อมูลจากเซลไซท์จึงใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ กรณีนี้มีการตัดสินคดีทำนองนี้ในต่างประเทศเช่นกันว่ายกฟ้อง
แล้วลองมาเดาเอาเรื่องที่คิดง่ายๆนะครับ เกิดมีคนต้องการใส่ความอากงจริง เขารู้หรือมีวิธีที่ทำให้แน่ใจได้ว่าอากงจะปิดเครื่องเมื่อไหร่หรือทำให้อากงปิดเครื่องได้ในเวลาที่ต้องการละ แบบนี้หลักฐานของอีมี่ก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน ผมว่าการฟ้องจนถึงที่สุดกับหลักฐานที่อ่อนขนาดนี้ไม่ใช่วิสัยและมาตรฐานของการพิจารณาคดีเลยครับ หลักการพิจารณาคดีนานาชาติเขายึดว่ายอมปล่อยคนผิดดีกว่าลงโทษคนไม่ผิดนะครับ ดังนั้นถ้าไม่มีอะไรที่ยืนยันได้ชัดเจนเขาไม่เอาผิดหรอกครับ ไหนจะการมองถึงเหตุจูงในและความน่าจะเป็นของการกระทำแบบที่คุณ soginal กล่าวอีกส่วนนี้ก็เป็นส่วนนึงที่ใช้ในการพิจารณาคดีเช่นกัน เคสกรณีข่าวนี้เป็นเรื่องที่บ่งชี้ได้ชัดเจนเช่นกันว่าเขายกฟ้องเนื่องจากหลักฐาน IP นั้นไม่สามารถระบุผู้ใช้งานได้จริงแน่นอนจึงยกฟ้อง เช่นเดียวกับอีมี่ซึ่งมีความไม่แน่นอนชี้ชัดผู้ใช้ไม่ได้จริงเหมือนกัน

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 21 October 2015 - 08:48 #854488 Reply to:854436

ประเด็นอากง ตอนนั้นไม่มีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมเป็นพยานจำเลยมากกว่าครับ พูดตรงๆ หลายคนก็ไม่อยากเอาตัวเองไปเสี่ยง

ถ้ามีการนำพยานผู้เชี่ยวชาญมาแย้ง โดยจำลองการปลอม IMEI เพื่อหลอก CDR อีกที ก็อาจจะพอช่วยได้ เรื่องที่ว่าIMEIนี้ไม่เคยเจอเวลาเดียวกัน ได้ตรวจสอบซ้ำจากทุกเครือข่ายหรือไม่?(อันที่จริงถ้าเป็นการตั้งใจปลอมแปลง ก็อาจจะไม่เคยใช้เลยก็ได้ แต่เลือกเวลาที่จะเปิดเครื่องเฉพาะเวลาสำคัญ) และเรื่องIMEIซ้ำน่าจะพบเจอได้บ่อยๆอยู่แล้ว จากสมัยที่นิยมเปลี่ยนIMEI เป็น IMEIกลาง(ผมก็ยังมีเครื่องนั้นใช้งานได้อยู่เลย)

ที่เรามาพูดกันคือหลังตัดสินจบไปแล้ว ข้อมูล หลักฐานหลุดออกมา เราเลยพิจารณาหาจุดอ่อน ข้อโต้แย้งได้ แต่ในขณะพิจารณาคดี เป็นการพิจารณาคดี"ลับ"นะครับ คนนอกไม่รู้เรื่องอะไร จะไปออกตัวก็คงไม่ได้

พยานฝั่งโจทก์เอง ก็เป็นจนท.ของบ.มือถือ แต่บางคนก็ดูไม่เกี่ยวข้อง เช่นเจ้าหน้าที่ธุรการ ไม่ใช่วิศวกร นำมารับรองว่าCDRปลอมแปลงไม่ได้ เอาจริงๆถ้าซักค้านตรงประเด็นก็คงพอจะโต้ได้บ้าง แถมเท่าที่เห็นCDRบางเจ้าก็ขาดรายละเอียดสำคัญไปเช่นกัน

ส่วนเรื่องทนาย ผมมองว่า ณ ขณะนั้นตัวเลือกจำกัดครับ ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะมีหน่วยงานช่วยเหลือจริงจังกว่านี้โดยเฉพาะจากตปท.(EU/UNHCR/Amnesty)

เรื่องสมเหตุสมผล ก็อาจจะขึ้นกับว่ามองในมุมไหน เท่าที่ตามอ่านคดี เขาตามจับกุม แล้วค้นหามือถือมาเป้นวัตถุพยาน ก่อนที่จะมีหลักฐานจากทางบ.มือถือเสียอีกนะครับ นั่นแสดงว่ามีการ"ชี้เป้า"จากทีมงานไว้แล้ว ซึ่งการชี้เป้านี้ จะมาจากหลักฐานอะไรก่อนหน้าล่ะ? ถ้ามองในแง่ร้ายก็อาจจะทำเป็นเชือดไก่ให้ลิงดู เพื่อเป็นการขู่แนวร่วมด้วยส่วนหนึ่งเช่นกัน

By: Hoo
AndroidWindows
on 21 October 2015 - 09:03 #854495 Reply to:854488

ให้ตายเถอะ ที่เขียนมานี่คือ ไม่มีการอ่านรูปคดีอะไรเลย
จะเชียร์อากง แล้วหลอนกับ 112 กันอย่างเดียว

เค้าก็เขียนอยู่ชัดๆ ว่า ที่ตามไปบ้านอากง เพราะ IMEI ลงทะเบียนเป็นชื่อลูกสาว อากง
แล้วพอตามตัวลูกสาว ลูกสาวบอกว่าให้อากงใช้
ถึงตามไปบ้านอากง

ไม่ใช่อยู่ๆ บุกเข้าบ้านอากง โดยไม่มีอะไรบ่งชี้

By: thanyadol
iPhone
on 21 October 2015 - 09:38 #854509 Reply to:854495

ประเด็นผิดไม่ผิด สำหรับผมขอข้ามไป

แต่ประเด็นหลอนกับ 112 นี่มันทุเรดไปหน่อย

ขอถาม มีคนควรติดคุกหลักสิบปี เนื่องจากแค่ส่ง SMS หมิ่นประมาทคน ?

By: mode on 21 October 2015 - 10:43 #854549 Reply to:854509

ทำผิดหลายครั้งความผิดก็คูณจำนวนครั้งไป ทำผิดกฎหมายข้ออื่นก็อย่างนี้ ไม่ใช่เฉพาะ 112 ครับ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 23 October 2015 - 15:13 #855451 Reply to:854495

ประเด็นขอหลักฐานทีหลัง ผมจำได้ว่าเขาทำเรื่องขอทีหลังนะครับ(แต่ที่อ้างว่าได้หลักฐานก่อนหน้านี่จากไหนไม่รู้?) แต่อันนี้ยอมรับว่าอาจจำผิดกับคดี 112อื่นๆ ที่"สอบสวนลับ" แล้วค่อยขอหมายศาลไปขอIPจากISPทีหลังจริงๆ

ส่วนประเด็นหลอน 112 ผมก็ยังยืนยันว่าไม่คิดว่าจะมีความสมเหตุสมผลที่ใดในโลก ที่จะบอกว่า ข้อความ คำพูด นั้นรุนแรงและควรมีบทลงโทษรุนแรงเท่าการฆ่าคนตายนะครับ ยิ่งการนับทบโทษตามจำนวนครั้งการส่ง เท่ากับการฆ่าคนตายหลายศพทวีคูณ นี่ผมมองยังไงก็ไม่เข้าใจจริงๆ คนด่าพ่อแม่ผม ผมโกรธ แต่จะไปบอกว่ามีความรุนแรงเท่าการฆ่าพ่อแม่ผม ก็คงไม่ใช่แล้วล่ะ ไม่ความคิดใครก็บิดเบี้ยวมากเกินไปแล้วล่ะครับ

ป.ล. ผมจำได้ว่าคุณเคยไปเรียนหรือทำงานที่จีนใช่ไหมครับ? ถ้าใช่ ผมก็ไม่แปลกใจกับข้อความท้ายสุดของคุณล่ะนะ

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 21 October 2015 - 05:09 #854464 Reply to:854414

Cell site จากบ้านอากงกับย่านเดียวกันกับบ้านอากง ไม่เหมือนกันในแง่การระบุสถานที่นะครับ
นอกจากนี้ข้ออ้างว่าถ้าปลอมอีมี่ต้องเจอสองเครื่องส่งข้อความมีอีมีเดียวกันนั้นก็เป็นข้ออ้างที่ขัดแย้งในบางเหตุการณ์ เพราะถ้าเป็นความจริงแล้วกรณีถ้าอีกเครื่องไม่ได้ส่งข้อความเลย แต่อีกเครื่องส่งข้อความก็ยังเป็นไปได้ ผมว่าทนายรู้ไม่ทันเทคโนโลยีมากกว่าเลยแพ้
อีกอย่างถ้าจำเลยใช้งานมือถือเก่งจริงขนาดเปลี่ยนซิมเองได้ก็หามือถือจากตลาดมืดอีกเครื่องมาส่งข้อความน่าจะสะดวกกว่าถอดเปลี่ยนซิม

By: nowingnoid
iPhoneAndroidUbuntu
on 20 October 2015 - 18:52 #854367 Reply to:854364
nowingnoid's picture

แล้วถอยทันมั๊ย

By: thanyadol
iPhone
on 21 October 2015 - 09:30 #854506 Reply to:854364

ถ้าความเห็นไม่ตรงกับในเพจก็ถือว่าเป็นควายแดง แล้วป่ะ 55+

By: atjr
AndroidRed HatUbuntu
on 20 October 2015 - 19:43 #854371
atjr's picture

อยากอ่าน คอมเม้นท์ ที่จะช่วยกันหาทางออก ว่า ถ้า IP Address ยังไม่พอในการเป็นหลักฐานการทำความผิด ควรจะทำอย่างไรถึงจะเพียงพอต่อการใช้เป็นหลักฐาน ในการระบุตัวผู้ทำความผิด และ เราจะมีเครื่องมืออะไรในการทำเรื่องแบบนี้ ให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และตรวจสอบได้..

By: soginal
AndroidIn Love
on 20 October 2015 - 20:02 #854373 Reply to:854371
soginal's picture

ก็หาประจักษ์พยานหรือหลักฐานอื่นครับ เหมือนกับคดีวางระเบิดราชประสงค์ เขาก็ไม่ได้ใช้แค่ภาพกล้องวงจรปิดเบลอๆอันเดียวเป็นหลักฐานหรอกครับ ก็ต้องหาหลักฐานอื่นด้วย
หากไม่มี ก็ต้องถือว่าเป็นผู้บริสุทธ์ครับ

By: Hoo
AndroidWindows
on 21 October 2015 - 11:51 #854588 Reply to:854371

ปกติศาลมองหลักฐานอื่นๆ แล้วให้น้ำหนักตามหลักนิติศาสตร์ อยู่แล้วครับ
IP / IMEI เป็นแค่หลักฐานประกอบอย่างนึง เท่านั้นเอง

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 20 October 2015 - 20:19 #854374

เคสนี้ข้อต่อสู้คือIP ชี้ไปที่ internetที่ใช้ในโรงงาน ในโรงงานมีpcหลายเครื่อง(ที่ใช้เนทเส้นเดียวกัน) แต่คนที่สามารถใช้pcได้มีหลายคน แค่ IP ไม่สามารถชี้ตัวบุคคลได้ครับ และไม่มีหลักฐานอื่นใดว่าเคยpostจาก pc ในนั้นด้วย

แต่ถ้าIPชี้ไปที่pcส่วนบุคคล เจ้าของเครื่องคนเดียว อยู่บ้านคนเดียว ก็อาจจะยกมาต่อสู้ไม่ได้...ยกเว้นว่าไม่ได้IP(เช่นFBไม่ให้IP) แต่เป็นการสร้างหลักฐานเท็จขึ้นมาแบบอีกคดีนึง

By: blackdemon
Windows PhoneAndroid
on 20 October 2015 - 20:25 #854375 Reply to:854374
blackdemon's picture

แล้วถ้า spoof ip เหมือนเคสคุณอำพลที่พูดๆกันละครับ?

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 20 October 2015 - 20:50 #854387 Reply to:854374
put4558350's picture

การสร้าง proxy มีหลายแบบที่ทำใด้ครับ

ไม่ว่าจะเป็น fake mac address
botnet/virus ที่ให้คอมเครื่องอื่นไช้ net ผ่านเครื่องของตัวเอง
หรือการไช้ wifi สาธารณะ


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 21 October 2015 - 07:57 #854479 Reply to:854387

ประเด็นนี้น่าจะอยู่ที่log ของผู้ให้บริการ ว่าเก็บข้อมูลการเข้าเวบไซต์ของแต่ละIP ละเอียดแค่ไหน

ถ้าlogผู้ให้บริการ บอกลูกค้าหมายเลขA ได้IPในช่วงเวลาB และเข้าเวบไซต์C ทุกอย่างตรงหมด ก็พอจะชี้ชัดได้

แต่ถ้าlogผู้ให้บริการไม่ได้เก็บละเอียด หรือเวบที่เข้าเป็นเวบที่เข้ารหัส(HTTPS) ก็อาจจะบ่งชี้ไม่ได้

By: iq180
Android
on 21 October 2015 - 09:16 #854500
iq180's picture

บางคนกล้าทำแต่ไม่กล้ารับ

By: aomnaruk
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 21 October 2015 - 10:11 #854531 Reply to:854500

บางคนไม่ได้ทำแต่จำใจต้องรับ


"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.

By: waroonh
Windows
on 21 October 2015 - 11:15 #854571

รู้สึกยินดีที่ระบบกฏหมาย เริ่มเข้าใจแล้วว่า
การใช้ ip address ในการระบุตัวตนไม่ได้ เหมือน MAC Address
เพราะมันเปลี่ยน หรือ ปลอม ip หรือ ผ่าน proxy เอาก็ได้ ครับ

By: Hoo
AndroidWindows
on 21 October 2015 - 11:57 #854591 Reply to:854571

ต้องดูบริบทแวดล้อมครับ
ไม่ใช่ IP จะใช้ไม่ได้ทั้งหมด
ต้องดูเนื้อคดี ครับ

อันนี้ที่หลุด เห็นว่าเพราะเป็น IP และเครื่องเป็นสาธารณะในโรงงาน
ใช้เป็นหลักฐานเจาะจงบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่ได้ เลยหลุด

แต่ถ้า IP + เวลาเข้าใช้งาน จากบ้าน/3G แล้วใช้อยู่คนเดียว
มันจะมีน้ำหนักเป็นหลักฐานเจาะจงบุคคลได้มากขึ้น

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 21 October 2015 - 13:47 #854613 Reply to:854591

แต่ถ้าจำเลยมีพยานยืนยันที่อยู่ เช่นในขณะเวลาที่ log ระบุว่าจำเลยใช้งานเครื่องดังกล่าวนั้น จำเลยอยู่กับคนอื่นซึ่งมีพยานหลักฐานที่อยู่และจำเลย มีเพียงโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้โทรได้เท่านั้น + ภาพจากกล้องวงจรปิดว่าจำเลยอยู่ที่อื่นในช่วงนั้นไม่ได้อยู่ที่โรงงาน จะทำให้ IP + เวลาเข้าใช้งานก็ไม่มีน้ำหนักอะไรครับ
วิธีลดน้ำหนักพยานของโจทก์จริงๆก็มีมากมาย อย่างเคสนี้พยานโจทก์ไม่ชัดเจนเองว่าใครเป็นผู้กระทำผิด IP ส่งจากเครื่องนั้นจริงแต่ใครเป็นคนส่ง มันต้องยกข้อสงสัยให้จำเลย
ส่วนอีกคดีที่ยกฟ้องก็เพราะพยานโจทก์น่าสงสัยว่าจะปลอมแปลงมา (จริงน่าฟ้องพยานโจทก์พวกนี้ฐานปลอมเอกสารหรือใช้เอกสารปลอมด้วยนะ เพราะอ่านดูคำให้การพยานผู้เชี่ยวชาญบอกชัดเลยว่าน่าจะปลอมในส่วนพวกเอกสารที่ แจ้งพวก IP เพราะมันมีพิรุธบางอย่าง)
แต่ถามจริงๆว่ากว่าจำเลย จะถูกพิสูจน์ว่าบริสุทธิ์โดนคุกคามจากเพื่อนบ้านไปถึงไหนแล้ว
หลายครั้งผมก็เหนื่อยใจกับระบบกระบวนการยุติธรรมของไทย

แต่ศาลบ้านเราบางทีก็ออกแนวงี่เง่าไปนึกคดีจับแท็กซี่ผิดตัวนี่เปิดเผยความแย่ของกระบวนการยุติธรรมชัดเจนเลย
ไม่ให้ประกันอ้างคดีมีโทษสูง ไม่กี่วันถัดมาคดีที่ศาลพิพากษาประหารชีวิตจำเลยอุทธรณ์กลับให้ประกันตัว
คนเลยถามเลยมาตรฐานอยู่ตรงไหน ผมไปถามอาจารย์ แกก็จวกผู้พิพากษาเละเลยล่ะเรื่องการให้ประกันตัว (ขนาดชาวบ้านยังสงสัยทำไมผมจะไม่สงสัย)
ส่วนผมน่ะเหรอหมดความเชื่อมั่นไปนานแล้วหลังจากได้สัมผัสระบบจริงๆแล้วพบว่าสอนอย่างทำจริงดันเป็นอีกอย่าง

ผู้ต้องสงสัยมีพยานที่อยู่ชัดเจนว่าระหว่างเกิดเหตุอยู่อีกจังหวัดทำงานประจำอยู่
แต่ในความเป็นจริงศาลมักเชื่อประจักษ์พยาน ที่อ้างว่าเห็นหน้าผู้ต้องสงสัยจริงทั้งๆที่จริงๆพอซักถามหนักๆเข้าก็พบว่าแค่คลับคล้ายคลับคลาจำหน้าไม่ได้ชัดนัก แต่ตอนชี้ตัวในชั้นพนักงานสอบสวนทำไมชี้ได้ตรงหมด จนน่าสงสัย
อัยการก็อ้างว่าพยานที่อยู่ของจำเลยนั้นปลอมแปลงขึ้นมาอยู่ดี

By: Hoo
AndroidWindows
on 21 October 2015 - 22:31 #854807 Reply to:854613

ถ้าจะว่าระบบยุติธรรม ส่วนที่มันเละหลักๆคือ
1) ตำรวจ/พนักงานเก็บหลักฐาน/สืบพยาน
คดีที่ผู้ต้องหาผิดจริง ไม่ส่งหลักฐานให้ศาล => หลุด
คดีแพะ ส่งหลักฐานให้ผิด กับศาล => โดน
(ปัญหาชี้ตัวถูก ที่คุณว่ามันอยู่ขั้นนี้)

2) อัยการ
คดีที่ผู้ต้องหาผิดจริง ตำรวจน้ำดีส่งหลักฐาน อัยการไม่ฟ้อง => จบ!!

3)ในส่วนผู้พิพากษา ผมว่าปัญหาน้อยสุดละ (ไม่ใช่ว่าไม่มีนะ แต่น้อยกว่า 2 ขั้นแรกมาก)

แชร์ข้อมูลส่วนตัวคือ
ผมมีญาติทำอยู่ ทำแต่ละคดี อ่านจนหัวหมุน อย่างคดีง่ายๆยังสูงเป็นคืบ
แถมไม่ใช่แค่ทำทีละคดีด้วย ขนาดนี้คดียังล้นศาล เรียกว่า อ่านจนไมเกรนขึ้น
ก็ไม่รู้หรอกใครเป็นใคร ตำรวจยัดหลักฐานมาหรือเปล่าก็ไม่มีทางรู้เลย
ได้แต่ตัดสินไปตามหลักฐาน/กระดาษที่ตำรวจส่งมา (กระดาษบอกว่าชี้ตัวถูก ก็ต้องถือว่ามีน้ำหนักในชั้นศาล)
แล้วลงโทษตามกฎหมายกับข้อหาที่อัยการสั่งฟ้องมา

ตัดสินเสร็จ มีคนรีวิวอีกว่าที่ตัดสินไป ถูกต้องตามหลักนิติศาสตร์มั๊ย
ตัดสินแย่ อดเลื่อนขั้น เผลอๆจะหลุดเอา ไม่ใช่อยากตัดสินอะไรก็ตัดสินตามใจชอบได้นะ

อย่างการให้ประกันตัว มันมีหลักของมันอยู่
ให้ประกันซี้ซั้ว คนให้ประกันจะซวยเสียเอง มันมีระเบียบอยู่
ขณะที่ถ้ามีเหตุผล อย่าง profile เป็นนักโทษชั้นดี ที่ผ่านมาไม่เคยหนี ก็พอเอามาเป็นดุลพินิจให้ประกันได้
เพราะถ้าโดนสอบขึ้นมา ตัวเองจะไม่ซวย อะไรทำนองนี้

มันมีระเบียบพวกนี้อยู่ ผู้พิพากษาเนี่ย เอียงคดีตามใจอะไรได้ยากมากๆ

ถ้าอยากพัฒนาคุณภาพ ระบบยุติธรรมไทย
เล่นตำรวจ/พนง.หลักฐาน ก่อนเลยครับ เชื่อผม
ต้องออกแบบให้มีการถ่วงดุล หรือ เก็บหลักฐานจากหลายฝ่าย หรือ อะไรซักอย่าง
(ดูอย่างคดีเกาะเต่า ชงหลักฐานกันเป็นแก๊งค์
ผู้พิพากษาไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย ทำไมมาด่าศาล???)

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 22 October 2015 - 03:38 #854866 Reply to:854807

เรื่องพวกนั้นไม่จำเป็นต้องบอกหรอกครับผมจบนิติศาสตร์โดยตรงครับ
สิ่งที่คุณพยายามพูดคือผมรู้อยู่แล้วครับรู้ลึกกว่านั้นด้วยเพราะถกกับผู้พิพากษาบ่อย
แล้วเรื่องผู้พิพากษาฉะกันเองบ่อยมากครับแค่ไม่ออกเป็นข่าวเท่านั้น ไม่งั้นผู้พากษาบางคนไม่โดนเรียกว่าลูกร้านทองหรอกครับคือวันๆอยู่แต่กับหนังสือแต่เรื่องโลกภายนอกไม่รู้อะไร
ผู้พิพากษาที่ทำตัว passive แบบที่คุณว่า ฆ่าคนดีๆทางอ้อมมาเยอะแล้วครับ แล้วเป็นตัวต้นเหตุของคดีแพะต่างๆนานาด้วยอย่าไปโทษพนักงานสอบสวนเลยครับโทษทั้งระบบนั่นแหละ
ผู้พิพากษาที่มีประสบการณ์และความรู้รอบสำคัญมากเพราะบางอย่างไม่มีในหนังสือ

ส่วนเรื่องการให้ประกันตัว อาจารย์ คณิต ณนคร พูดเองว่าไม่ใช่สองมาตรฐานแต่ไม่มีมาตรฐานต่างหาก มันมีหลักของมันอยู่ แต่ผู้พิพากษาหลายคนไม่ค่อยทำตามหลัก สภาพมันเลยออกมาแบบที่เหตุ เรื่องพวกนี้ใน เนติรู้กันหมดแต่ไม่มีออกมาเป็นข่าวครับ ที่เขาด่าๆกันในคดีจับแท็กซี่ผิดตัวคือดุลยพินิจที่ระบุมาครับว่าเป็นคดีร้ายแรง ซึ่งถือตามมาตรฐานนี้ คดีหลังก็ไม่ควรให้ประกันเพราะจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่รัฐและเป็นคดีร้ายแรง อาจเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพยานในคดีได้
เคสนี้ถึงขั้นอธิบดี ผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น ต้องออกมาพูดเองแสดงว่ามันมีปัญหาถกเถียงกันระหว่างผู้พิพากษามาก

ผมยกตัวอย่างคดีแพ่งที่ดูธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาก็แล้วกันครับ
จำเลยนี่เป็นเพื่อนกับโจทก์ขอยืมตังกันจำเลยก็เอาตังไปคืนเพราะเพื่อนกันเลยไม่ได้เก็บใบเสร็จไว้
โจทก์เอาคดีมาฟ้องอีกหวังกินตังอีกรอบ จำเลยโมโหมาก แทบจะฆ่ากันตาย ถ้าตัดสินแบบ passive นอกจากจะอำนวยความยุติธรรมไม่ได้ จำเลยลงศาลไปฆ่าโจทก์ตายแน่ๆ ได้คดีอาญาเพิ่มมาอีก ผู้พิพากษาคิดออกเลยแนะนำคู่ความว่าให้ทำคำท้าไหม ใครพูดจริงก็ไปสาบานต่อหน้าใครไม่กล้าสาบานก็แพ้ไป โจทก์รับคำท้าแต่ไม่กล้าสาบานเพราะตนเองรับเงินที่ยืมที่เขาคืนมาแล้วทรุดไปกองกับพื้น จำเลยชนะคดี เคสนี้บอกได้อย่างนึงว่าถ้าตัดสินแบบ passive pattern นอกจากจะวุ่นวายบ้านเมืองไม่สงบ แล้วความยุติธรรมก็ไม่มี

ถามว่าผู้พิพากษารู้ไหมครับว่าใครผิดรู้ตั้งแต่อ่านคำฟ้องแล้วครับว่าใครจะแพ้จะชนะ

แล้วผู้พิพากษานี่คนในอยากออกคนนอกอยากเข้าครับตัดสินผิดทีนึงได้เจ้ากรรมนายเวรมาเพิ่มทีนึง
สมัยก่อนผมเคยจะปกป้องผู้ผู้พิพากษาเหมือนกันแต่พอมาดูการทำงานแล้วปล่อยให้คนด่าก็ดีเหมือนกันศาลจะได้ระวังในการทำงานมากขึ้น รอบคอบมากขึ้น ถือว่าทำอะไรก็ได้อย่างนั้น

ผู้พิพากษาสมัยนี้ควรคิดมากกว่าหน้าที่การงานตัวเองสั่งอะไรผิดหลงไป จับผู้บริสุทธิ์ แม้จะถูกพนักงานสอบสวนปั้นหลักฐานมาก็ต้องรับกรรมส่วนนั้นไปด้วย

ส่วนพนักงานสอบสวนนั้นเป็นงานที่ไม่มีใครอยากทำเงินเดือนน้อยเบี้ยเลี้ยงต่ำ บางทีต้องเอาตังตัวเองออกไปก่อนเวลาทำคดี
ที่กระบวนการยุติธรรมในบ้านเรามันไม่โปร่งใสมันก็เพราะค่าตอบแทนวิชาชีพไม่เหมาะสมด้วยส่วนหนึ่ง รู้รึเปล่าว่าตำรวจจะขึ้นจากประทวนเป็นสัญญบัตรต้องถูกบังคับให้เป็นพนักงานสอบสวนก่อนและไม่มีใครอยากทำงานด้านนี้ทุกคนหนีได้หนีหมด

ความเห็นของคุณผมไม่เห็นด้วยในแง่ที่บอกว่าให้เล่นงานตำรวจกับพนักงานสอบสวนก่อน ถ้าทำแบบนั้นก็จะกลายเป็นไม่มีใครมาทำงานส่วนนี้เลย

เคยมีคนเสนอความเห็นให้แยกพนักงานสอบสวนออกมาเป็นองค์กรต่างหากมีค่าตอบแทนแบบเดียวกับอัยการเลย
ผมคิดว่าเข้าท่าเพราะอย่างน้อยมันจะได้ลดเรื่องการจ่ายเงินใต้โต๊ะได้ แต่โดนยกเลิกไป

โดยส่วนตัวผมบอกเลยว่ามีปัญหาทุกจุดตั้งแต่พนักงานสอบสวนยันผู้พิพากษา
เรื่องระเบียบอะไรพวกนี้มันไม่ใช่ข้ออ้างที่ฟังขึ้นหรอกครับ
ผมว่าคุณมองง่ายไปที่บอกว่าเล่นตำรวจก่อนเลยโดยไม่ดูผลของการกระทำที่จะตามมาถ้าทำตามที่คุณบอกเขาก็จะอ้างว่าถ้างั้นให้อัยการไปรวมหลักฐานเองเลยเดี๋ยวเขาไปเข้าเวร ทำอย่างอื่นเพราะเขาไม่อยากจะเสี่ยงด้วยเงินเดือนยิ่งน้อยๆอยู่

จริงๆผมเห็นจุดอ่อนทั้งระบบคลุกคลีมาหลายปีแต่ทำอะไรไม่ได้ได้แต่เซ็ง
ผมถึงได้แนะนำว่านำระบบไต่สวนมาใช้เถอะ ระบบกล่าวหามันสร้างแพะไว้เยอะแล้ว
ระบบไต่สวนนี่มีในศาลปกครองครับ

By: Hoo
AndroidWindows
on 22 October 2015 - 18:44 #855139 Reply to:854866

ผมถึงวงเล็บไว้ว่า (ไม่ใช่ว่าไม่มีนะ แต่น้อยกว่า 2 ขั้นแรกมาก) หนะครับ

ถ้ามีระบบตรวจสอบ การเก็บหลักฐานดีๆ มีระบบตอบแทนพนักงานสอบสวนชัดเจน ฯลฯ
มันจะช่วยระบบยุติธรรมได้มาก
ภาษาฝรั่งคือ Garbage in, Garbage out เอาขยะใส่เข้าไปก็ได้ขยะออกมา

อย่างเช่น ถ้าส่งสำนวนมา ว่า "ชี้ถูกตัว"
แต่ผู้พิพากษาบอก เชื่อทนายว่า คนชี้ตัวดูเลิกลั้ก ส่อพิรุธ แล้วไม่ให้น้ำหนัก
ผู้พิพากษาจะโดนอะไรบ้างครับ??

หรือ แก้ปัญหาแบบให้สาบาน
แล้วคนมันไม่มีหิริโอตัปปะ มันสาบานออกทั้งคู่ ทำไงครับ?? ก็ต้องตามสำนวนใช่มั๊ยครับ??

ผมถึงเชื่อว่าการ "จัดการคุณภาพระบบหลักฐาน" คือ คำตอบของปัญหาระบบยุติธรรมไทยครับ
- ทำอย่างไรจึงตรวจสอบ/คานอำนาจ ว่า ตำรวจ/พนง.สอบสวน กำลังทำสำนวนแพะ ได้
- ทำอย่างไรจึงตรวจสอบ/คานอำนาจ ว่า ตำรวจ/พนง.สอบสวน กำลังทำเกียร์ว่าง ทำสำนวนอ่อน ได้

ไม่ใช่ หวังว่าศาลจะต้องมีไวพริบต่อสำนวนหลักฐาน
ซึ่งมันเป็นการยกปัญหาไปอยู่ที่คน (ผู้พิพากษา) ไม่ใช่ระบบ
ซึ่งตามหลักแล้ว แนวคิดที่ดี ควร "แก้ปัญหาเชิงระบบ" ไม่ใช่หวังพึ่ง ดุลพินิจ/ไหวพริบ ของคน ครับ