Amnesty International ได้รายงานว่า บริษัทไอทีและรถยนต์รายใหญ่ของโลกกำลังใช้แร่โคบอลต์ในแบตเตอรี่ที่ขุดโดยแรงงานเด็ก
ในรายงานกล่าวว่า แร่เหล่านี้ถูกขุดจากเหมืองในประเทศคองโก และถูกขายต่อไปยัง Congo Dongfang Mining ซึ่งเป็นสาขาของบริษัทแร่ในจีน Zhejiang Huayou Cobalt Ltd. แร่เหล่านี้จะถูกส่งไปขายยังจีนและเกาหลีใต้ และแบตเตอรี่เหล่านี้ถูกใช้งานในอุปกรณ์ไอทีของบริษัทใหญ่อย่าง Apple, Microsoft, Samsung, Sony รวมถึงรถยนต์อย่าง Daimler และ Volkswagen
Mark Dummett นักวิจัยจาก Amnesty International บอกว่าบริษัทเหล่านี้ต้องไม่หยุดการค้าขายกับซัพพลายเออร์ แต่จะต้องทำการปรับปรุงเพื่อลดอันตรายที่จะเกิดกับแรงงานเหล่านี้
รายงานจาก Amnesty International และองค์กรที่เกี่ยวข้องได้มีนักวิจัยได้พูดคุยกับแรงงานขุดโคบอลต์ทั้งอดีตและปัจจุบันทั้ง 87 คน จาก 5 เหมืองแร่ โดย 17 คนในนั้นเป็นเด็ก และได้มีโอกาสตามพาหนะของแรงงาน 18 คนขณะขนแร่จากเหมืองไปขาย รายละเอียดฉบับเต็มดูได้จากที่มา
ที่มา - Amnesty International
Comments
ผมรู้สึกว่าเรียบเรียงแล้วอ่านงงๆ นะครับ ไม่แน่ใจว่าเป็นคนเดียวหรือเปล่า โดยเฉพาะประโยคนี้ "และได้มีโอกาสตามพาหนะที่ขายโคบอลต์ 18 คนขณะขนแร่จากเหมืองไปขาย"
เพิ่มเติม: ตามไปอ่านต้นฉบับแล้ว ได้มาว่า
งง ประโยคนี้เช่นกัน อ่านวนอยู่ 5 รอบ "บริษัทไอทีและรถยนต์รายใหญ่ของโลกกำลังใช้แร่โคบอลต์ที่ขุดโดยแรงงานเด็กในแบตเตอรี่"
อันนั้นอ่านวนเหมือนกันครับแต่หลายรอบแล้วยังเข้าใจได้
จัดเรียงแบบนี้จะเข้าใจง่ายกว่าครับ
+1 อ่านตอนแรกงงตั้งนานว่าเด็กอะไรวะใส่แบตเตอรี่ด้วย
ไม่รู้ต้องเติมน้ำกลั้นด้วยเปล่า
Happiness only real when shared.
ตามนี้ละกันครับ
งงๆ แต่ก็พอเข้าใจได้ครับ จริงๆ ประโยคนี้
เป็นประโยคด้านล่างน่าจะสละสลวยกว่ามั้ยครับ
+1
+1
บริษัทไอทีและรถยนต์รายใหญ่ของโลกผลิตแบตเตอรี่โดยใช้แรงงานเด็กขุดแร่โคบอลท์ หรือ บริษัทไอทีและรถยนต์รายใหญ่ของโลกใช้แรงงานเด็กขุดแร่โคบอลท์เพื่อผลิตแบตเตอรี่
นึกว่าเรางงอยู่คนเดียว
คิดไปว่า ให้เด็กไปเอาโคบอลมาจากแบตเตอรี
icon ข่าวขึ้น Apple แต่เนื้อหาข่าวกล่าวอ้างถึงหลายบริษัท ตอนแรกผมนึกว่า แอปเปิ้ลใช้แรงงานเด็กขุดบริษัทเดียวครับ (จะโดนว่า สาวกออกมาปกป้องไหมครับเนี่ย)
ดูเหมือนว่า tag ชื่อไหนนำหน้าก็เอา icon นั้นมาขึ้นให้นะครับ
ผมไม่ได้หาโลโก้ของ Amnesty International มาครับ พอเวลาใส่แท็กบริษัทต่างๆ ระบบจะเลือกอันแรกให้ ตอนนี้ใส่แล้วน่าจะไม่มีปัญหาแล้วครับ
เยี่ยมเลยครับ
ไม่ควรเอา รูป logo apple ขึ้นนะครับ
เอาโลโก้ Amnesty International จะเหมาะกว่าไหมครับ
ผมก็เข้าใจว่า Amnesty อยากให้ยุติการสนับสนุนการผลิตโคบอลต์โดยใช้แรงงานเด็กในจีน
แต่ว่า Amnesty ต้องบอกกล่าวกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องในจีนและโรงงานผลิต ไม่ใช่มาโทษใส่บริษัทที่ซื้อ มันไม่เห็นเกี่ยวกันเลย
อีกอย่างดีไม่ดีพวกคนใน Amnesty ก็ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตจากโคบอลต์โดยใช้แรงงานเด็กเหมือนกันนั่นแหละ
ขออภัยหากเสียมารยาทถ้าใครมาอ่านแล้วม้นตะหงิดใจ
เรื่องแบบนี้มันคงเหมือนปัญหาไก่กับไข่ คือรู้ว่ามีความผิดปกติในอุตสาหกรรมนี้แต่ไม่รู้จะชี้นิ้วไปตรงไหนหรือโทษใครก่อนดี การมุ่งเป้าไปที่ตัวใหญ่ๆ ก่อนเพราะดูเหมือนจะมีอำนาจและสร้างผลกระทบในการหยุดวงจรนี้ได้ก็ดูมีความสมเหตุสมผลขึ้นมาอยู่นะครับ
เห็นด้วยครับกับความเห็นนี้ที่มองว่าเป็นทางบริษัทขุดเหมืองกับทางหน่วยงานของจีนต่างหากที่ต้องเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ ผมว่าเผลอๆ พวกบริษัทที่รับซื้อ cobalt (เพื่อเอามาทำแบตเตอรี่) ยังไม่รู้เลยว่าตัววัตถุดิบที่รับซื้อมานั้นมีส่วนนึงมาจากการใช้แรงงานเด็กอย่างผิดกฏหมาย
แต่ผมก็เข้าใจว่าการที่ Amnesty เลือกที่จะระบุชื่อบริษัทคู่ค้า (Apple, Microsoft, LG, etc.) เพราะต้องการให้คนเข้ามาอ่านข่าวนี้ให้มากที่สุด เพราะถ้าไม่ระบุ คาดว่าคนคงไม่เลือกที่จะกดเข้ามาอ่านเท่าที่ควร และคงไม่มีการกระตุ้นจากภาคเอกชนให้มีการตรวจสอบมากนัก
คิดเล่นๆ ว่าแปะโลโก้ Amnesty กะแปะโลโก้ Apple ไว้ในหัวข่าว แต่เนื้อข่าวเหมือนกันทุกอย่าง ข่าวไหนจะมีคนกดเข้ามาอ่านมากกว่ากัน
คุยเรื่องสิทธิมนุษยชนกับจีน ก็อารมณ์คุยกับไทยให้คืนประชาธิปไตยทันทีอะครับ มันง่ายกว่าที่จะบีบให้บริษัทซื้อซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นสัญชาติตนหามาตรการแก้ไขครับ เพราะ ถ้าไม่มีคนซื้อ -> ขายไม่ได้ -> ปรับตัวครับ นี้คือเทคนนิคที่ดีกว่าไปไล่บีบกับรัฐบาลจีนหรือบริษัทของรัฐบาลจีนซึ่งคุณก็รู้ว่าเขามีสิทธิมนุษยชนระดับไหน ไทยก็เป็นข่าวอยู่หลายรอบนะครับ
ปล.บริษัทไม่สามารถอ้างตนไม่รู้ว่าซัพพลายเออร์ผลิตของมาป้อนอย่างไรครับ ไม่ใช่ผู้บริโภคปลายทางครับที่ได้อ่านฉลาก บริษัทเหล่านี้กว่าจะดีลงานกันได้ต้องไปตรวจสอบมากมายมหาศาลครับ เอกสารต่างๆ ตรวจกันเป็นปีก็มี ไม่มีทางไม่รู้ไม่ได้ครับ ตอบแบบบริษัทไทยที่ขายกุ้งให้ต่างชาติแต่ไม่รู้ว่าซัพพลายเออร์รับกุ้งมาด้วยวิธีการอะไรธงแดงก็รออยู่ครับ
ร้องกับบริษัทพวกนี้มันได้เป็นข่าวไงครับ
ถ้าร้องกับบริษัทขุด คงได้เป็นข่าวกรอบเล็กๆ ในหนังสือพิมพ์
แต่แบบนี้ได้ลงสื่อยักษ์หลายเจ้าเลย
การกดดันคู่ค้า ให้ไปกดดันผู้ผลิตอีกต่อ ผมว่าก็ไม่ได้เลวร้ายนะ
คุณคิดอย่างนั้นก็ไม่ผิดครับแต่มันเหมือนเป็นกรสนับสุนให้ทำ
เหมือนCP ที่เค้าว่าใช้แรงงานทาสในการ ทำประมง
จริงๆแล้ว cp ไม่ได้มีธุรกิจการจับปลาเลยครับ เพียงแต่ว่า วัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างกุ้งเนี่ย เค้าใช้ปลาป่นกันซึ่งปลาป่นตามข้อกำหนดสักอย่างมันมีบอกไว้ว่า ต้องรู้ที่มาของแหล่งจับว่าถูกต้องตามกฏหมายไหม
แล้วดูพี่ไทย เหมือนจะใครๆไปจับก็ได้ แค่มีเรือ ไม่รู้ขึ้นทะเบียนไหม
เพราะว่าขึ้นทะเบียนมันก็ต้องมี log การเดินเรือ ว่าไปจับที่ไหน มีการตรวจแรงงานเรียบร้อย
ปัญหาเพราะว่า ปลาที่เอามาทำปลาป่น นี่เรือบางเรือเค้าเอา แรงงานทาสมาทำ ใครจะไปรู้หละครับ 55555
ถึงรุู้ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะว่ามันจำเป็นต้องใช้
CP เลยโดนโลกประนาม เนี่ยแหละครับ
เคสนี้คงไม่ต่างกัน
การใช้ COBOL เป็นอาชญากรรม !
แถมบังคับให้เด็กขุดอีกด้วย !!
Java แทนได้ไหมครับ?
ว่าแล้วต้องมีคนเล่นมุกนี้
เข้าใจผิดนึกว่าเป็น ตัวใส่หน้ากาก กระโดดไปๆมาๆ ในแม๊บ อ๊อกฮีโร่ ซะอีก
งง ชิบหาย
อ่านผ่านๆรอบแรกแรกเข้าใจว่าเด็กเก่งๆโดนใช้แรงงานกับ COBOL .....
ผมอ่านหัวข่าวแล้วนึกว่ามีเด็กอยู่ในแบตเตอรี่
เกือบแกะดูแล้วเชียว
อ่านซ้ำอยู่หลายรอบ ขออนุญาตเรียบเรียงใหม่ทั้งหมด
==========
องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) เปิดเผยรายงานว่าบริษัทไอทีและบริษัทรถยนต์รายใหญ่ของโลกกำลังใช้แบตเตอรี่ที่มีส่วนประกอบของแร่โคบอลต์ซึ่งถูกขุดโดยแรงงานเด็ก และแรงงานที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
รายงานระบุว่าเมื่อแร่ถูกขุดขึ้นมาจากเหมืองซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ จากนั้นจึงนำไปขายต่อให้บริษัทใหญ่อย่าง Congo Dongfang Mining ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Zhejiang Huayou Cobalt Ltd. ที่ตั้งอยู่ในจีน
หลังจากนั้นแร่จึงจะถูกขายต่อให้กับโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในจีนและเกาหลีใต้ โดยแบตเตอรี่เหล่านี้ถูกนำไปใช้งานในอุปกรณ์ไอทีของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple, Microsoft, Samsung, Sony รวมถึงรถยนต์จากค่าย Daimler และ Volkswagen
Mark Dummett นักวิจัยขององค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวว่าบริษัทเหล่านี้ต้องไม่ใช้วิธีแก้ปัญหาง่าย ๆ อย่างเช่นการหยุดค้าขายกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง แต่จะต้องหามาตรการเพื่อช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับแรงงานเหล่านี้
นักวิจัยได้พูดคุยกับแรงงานและอดีตแรงงานจำนวน 87 คน จาก 5 เหมืองแร่ โดย 17 คนในจำนวนนั้นเป็นเด็ก และยังได้มีโอกาสสัมภาษณ์พ่อค้าคนกลางจำนวน 18 คน พร้อมกับได้ติดตามพาหนะของพวกเขาขณะขนแร่ไปขายด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จากฉบับเต็มในที่มาครับ
ขอรับไปปรับปรุงละกันนะครับ
เสนอแก้ไขชื่อองค์กร ใช้ภาษาไทยทับศัพท์ไปเลยครับ (แม้ว่าใน wikipedia จะแปลอย่างนั้น) แต่ตัวหน่วยงานเขาเอง เขาเรียกตัวเองว่า "แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล"
ตามนี้ -- เกี่ยวกับเรา | Amnesty International Thailand
ปกป้อง | เฟสบุ๊ก | ทวิตเตอร์
ขอบคุณนะครับ ถ้างั้นผมขอใช้ภาษาอังกฤษไปเลยก็ได้
พึ่งรู้ ว่าผิดที่ คนใช้ หรือคนนำมาใช้ นี้สรุป ใครจัดหา ไม่ผิดสินะ
มันผิดแหละครับ แต่ว่ามันยากที่จะไปจัดการได้ตรงๆ
อยากเรียกว่ากล่าวโทษเป็นคนผิดเลยครับ เรียกว่าขอความร่วมมือโดยบังคับดีกว่า ในเมื่อแก้ปัญหาคนทำผิดโดยตรงไม่ได้ก็ต้องมาแก้โดยอ้อมนี่ล่ะ ส่วนเห็นด้วยกับวิธีการแบบนี้ไหมขอโนคอมเมนต์
ความรู้สึกผมตอนนี้เหมือน ว่า กำลังจะ ปลูก แตงโม แต่ต้องไปจ้าง คนปลูกสับปะรด มาปลูกให้
มันก็คงจะเหมือนกับคุณจ้างคนปลูกแตงโม แต่คนที่จ้างมาเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแบบผิดกฎหมาย
ตรงหัวข้อข่าว
"Amnesty International เผย บริษัทไอทีและรถยนต์หลายแห่งใช้โคบอลต์ในแบตเตอรี่ที่ขุดโดยแรงงานเด็ก"
ผมว่าน่าจะเปลี่ยนเป็น
"Amnesty International เผย บริษัทไอทีและรถยนต์หลายแห่งใช้แบตเตอรี่ที่มีส่วนประกอบของแร่โคบอลต์ซึ่งขุดโดยใช้แรงงานเด็ก"