หลังจากมีประกาศว่าจะพัฒนาสายการผลิตจากปัจจุบันที่ 14-16 นาโนเมตรไปเป็น 10 นาโนเมตรภายในปี 2016 ก่อนจะมีข่าวว่าเลื่อนไปเป็นปี 2017 แทน ตามมาติดๆ ด้วย 7 นาโนเมตรในปี 2018 ล่าสุดมีรายงานว่า TSMC มีแผนเพื่ออนาคตต่อเนื่องไปถึงสามเด้งถึง 5 นาโนเมตรแล้ว
ในรายงานที่ออกมาระบุว่า TSMC ได้ทดลองการผลิตบนขนาด 5 นาโนเมตรมากว่าปีแล้ว ซึ่งได้ผลออกมาเป็นกระบวนการพิมพ์แผงวงจรด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตกำลังสูง (EUV) ซึ่ง TSMC จะผลักดันให้เป็นแนวทางการผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 5 นาโนเมตรต่อไป โดยคาดว่าจะได้เริ่มผลิตจำนวนมากในปี 2020 นี้
นอกจากเรื่องการผลิตที่เล็กลงแล้ว TSMC ยังประกาศว่าในไตรมาสสองของปีนี้ จะเริ่มส่งมอบชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี integrated fan-out (InFO) ซึ่งวางชิปทับกันเพื่อลดเนื้อที่ของตัวเครื่อง และทำให้เครื่องบางลง แลกกับค่าใช้จ่ายการผลิตที่เพิ่มขึ้นราว 5-10% โดยมีรายงานว่าแอปเปิลจะเป็นหนึ่งในลูกค้ากลุ่มแรกที่ใช้เทคโนโลยีนี้กับชิป Apple A10
ที่มา - DigiTimes
Comments
แค่นี้ก็บางจนใส่กระเป๋าหน้าจนจะงอแล้ว จะบางไปไหนกันนนนนนน
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
เรื่องงอแก้ไม่ยากครับ แค่เพิ่มความหนาของฝาหลังก็จบแล้ว... เอิ่ม
บางมาก
สงสัยนิดนึง ทำไมแผ่นเวเฟอร์ถึงต้องเป็นวงกลม ผลิตมาเป็นสี่เหลี่ยมไม่ได้เหรอครับ น่าจะประหยัดพื้นที่ขอบได้เยอะเลยนะ
มันมีขั้นตอน หยดน้ำยาลงแผ่น แล้วปั่นให้กระจายเท่าๆกันทั้งแผ่นครับ
เป็นทรงกลม ดีที่สุดแล้วครับ
เคยเห็น ก็ ไม่เชิงกลมเป๊ะนะ
เข้าใจว่า ตอนเอาผลึกไปล่อ สารที่หลอมเหลวให้จับเป็นผลึกพร้อมกับดึงขึ้นมาให้แข็งตัว
เลยมีรูปร่างเป็นแท่ง แบบไส้กรอก
จากนั้น จึงเอาไปตัดเป็น แผ่นบาง แล้วเอาไปทำ ลายวงจร ต่อไป
แผ่นบางนั้น ก็ ดูกลมกลม ตามภาพ ครับ
ถ้าผิดพลาดอย่างไร ก็ ชี้แนะด้วยครับ
youtube แสดงกรรมวิธีผลิต
https://www.youtube.com/watch?v=AMgQ1-HdElM
ในกระบวนการผลิต CPU Wafer
-> เริ่มจากการเอาซิลิกอนมาหลอมให้ละลาย
-> ใส่ Seed Crystal ลงไป เพื่อให้ซิลิกอนที่หลอมละลายเริ่ม ฟอร์มผลึกคริสตัลขึ้นรอบๆ Seed
-> จากนั้นก็ค่อยๆ ดึงซิลิกอนที่ฟอร์มตัวเป็นคริสตัลแล้ว ขึ้นมา เรียกว่า Ingot ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เย็นตัวลงทีละนิดด้วย
-> ตอนที่ค่อยๆ ดึงขึ้นมา มันมีการหมุนไปรอบๆ ช้าๆ นั่นแหละ มันถึงกลายเป็นทรงกระบอก
-> จากนั้นก็เอาแท่ง Ingot มาตัดเป็นแผ่น แล้วเอาไปขัดทั้งเชิงกล และทางเคมี ให้เรียบที่สุด
-> แล้วก็เข้าสู่กระบวนการอื่นต่อไป
เท่าที่เข้าใจนะครับ ผิดถูกลองเช็คดูอีกทีละกัน
เทคโนโลยีผลิตชิปใกล้ถึงทางตันแล้ว ถ้าไม่รีบหาวัสดุใหม่ๆมาทดแทนซิลิกอน
เข้าใจว่าน่าจะใช้แล้วนะครับ ซิลิกอนน่าจะตันไปแล้วหรือเปล่า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำในปัจจุบันนั้น ล้วนสร้างมาจากธาตุ ซิลิกอน(Si) และธาตุ เยอรมันเนี่ยม(Ge)
เนื่องจากมีอิเล็กตรอนวงนอกสุด 4 ตัว ดังนั้นหากไม่ใช้สองตัวนี้ ตัวเลือกอื่นก็ต้องอยู่ในธาตุหมู่ 14 ซึ่งประกอบด้วย
คาร์บอน (C), ดีบุก (Sn), ตะกั่ว (Pb), ฟลีโรเวียม (Fl)
จากทั้ง 4 ตัวที่เหลือนั้นผมว่า ต้องเป็น คาร์บอน เพราะตอนนี้มีเทคโนโลยีผลิต คาร์บอนนาโนทิวบ์ แล้ว
คาร์บอนมันเป็นตัวนำไฟฟ้ามั้ย พอดีผมไม่มีความรู้ด้านนี้จริงๆ
นำไฟฟ้าตามสภาพการเรียงตัวของอะตอมครับ
ถ่านดำๆกรือแกรไฟต์ ก็นำไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นเพชรก็ไม่นำไฟฟ้าครับ
เค้าเรียก เจอร์เมเนียม หรือ เยอรมันเนี่ยม กันแน่ครับ...
เคยได้ยินฝรั่งอ่านออกเสียง เจอร์เมเนียม...
ผมเล่นอิเล็กมาหลายปีเมื่อเกือบ 20 ก่อน ผมก็เรียกว่า เจอร์เมเนียม ครับ
ไม่รู้ถูกผิดยังไงเหมือนกัน
รูปนี้ถ่ายยังไงนี้
นั่นสิ แต่ผมชอบรูปนี้มากเลย
ใช้เทเลส่องจากไกลๆและมุมสูงนิดๆครับ ถึงไม่เห็นคนถ่ายสะท้อนมาในกระจก และฉากหลังถูกดึงจนเหมือนอยู่ใกล้กว่าปกติ
office romance