หลักการเบื้องต้นของ Uber ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท คือความสะดวกสบายในการให้บริการลูกค้า โดยเฉพาะหากลูกค้าไม่มีเงินสดติดตัว ก็สามารถชำระค่าบริการได้ผ่านบัตรเครดิต แต่ล่าสุด Uber ในประเทศไทย เปิดช่องทางในการชำระค่าโดยสารด้วยเงินสดแล้ว เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น
ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรูปแบบการชำระเงินได้ง่ายๆ ด้วยการไปในหน้าเมนู "การชำระเงิน" แล้วเลือกที่ "เงินสด" โดยเบื้องต้นจะเปิดทดลองใช้กับผู้ใช้บางส่วนก่อนเท่านั้น และเปิดให้ผู้ใช้ทุกคนชำระด้วยเงินสดทั้งหมด ในอีกไม่กี่สัปดาห์หลังจากนี้
ที่มา - Tech Talk Thai
Comments
ประเด็นที่ Uber ในไทย เลี่ยงบาลีความเป็นรถรับจ้างมาตลอดก็คือ การที่คนขับกับผู้โดยสาร ไม่ได้ชำระค่าโดยสารกันโดยตรง ทำให้การเรียกรถ Uber ก็เหมือนกับการเรียกคนรู้จักให้ขับรถไปส่งซึ่งพบได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป ไม่ได้เป็นการรับจ้างกันโดยตรง ไม่มีธุรกรรมทางการเงินบนรถ แต่ต่างฝ่ายต่างก็จ่ายเงินผ่านตัวกลางอย่าง Uber ในเบื้องหลังอีกที ทำให้เลี่ยงปัญหาเรื่องการนำรถส่วนบุคคลมารับจ้างได้ตลอดมา และตรวจสอบยาก
แต่ถ้าจ่ายเงินสดแบบนี้ ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า แล้วรถ UberX (และ UberBlack ส่วนใหญ่ด้วย เดี๋ยวนี้กลายเป็นรถบ้าน D segment ป้ายดำกันทั้งนั้น) จะต่างจากการนำรถส่วนบุคคลป้ายดำมาวิ่งรับจ้างกันยังไง เพราะมีการจ่ายค่าจ้างกันชัดเจน เลี่ยงบาลีแบบเดิมไม่ได้แล้ว
ตรงนี้ทั้ง Uber และขนส่งต้องทำให้ชัดเจนมากๆ เพราะถ้า Uber ทำได้ เอารถป้ายดำมาวิ่งรับจ้างจ่ายเงินสดกันแล้วทางรัฐไม่มีมาตรการอะไร ปล่อยให้ทำได้ ต่อไปจะเกิดสภาพที่หลายคนเอารถป้ายดำออกมาวิ่งรับจ้างบ้างล่ะ ก็ในเมื่อไม่โดนจับนี่ (ไม่ต้องผ่าน uber ก็ได้ วิ่งหาเอาตามทางเลย) แย่กว่านั้นคือแท๊กซี่ป้ายเหลืองอาจจะถอดป้ายเหลืองทิ้งซะ เปลี่ยนทะเบียนป้ายดำจ่ายภาษีถูกกว่า วิ่งมันป้ายดำนี่แหละ ก็ในเมื่อคนอื่นยังทำได้เลย ทำไมจะทำบ้างไม่ได้ล่ะ โกลาหลแน่ครับแบบนี้
ไม่ใช่ไม่สนับสนุน Uber ทุกวันนี้ผมก็ใช้บริการบ่อย และคิดว่าเรื่องการตัดบัตรเครดิตถือเป็นการเลี่ยงบาลีที่พอจะยอมรับได้ (ไม่ได้มีธุรกรรมโดยตรงระหว่างกัน เหมือนเราเรียกรถเพื่อนไปส่งโดยไม่เสียเงิน แต่เราเสียไปให้บริษัทต่างหาก) เรียกว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่กฎหมายยังตามไม่ทันเทคโนโลยีมากกว่า
แต่ถ้าให้จ่ายเงินสดได้เลยเนี่ย แม้จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เยอะมาก แต่นึกสภาพตาม มันก็คือการเอารถป้ายดำมาวิ่งแข่งกับรถแท๊กซี่ แล้วจ่ายเงินกันบนรถดีๆ นี่เอง ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีใครกล้าแหกกฏกันโจ่งแจ้งแบบนี้มาก่อน ผลกระทบที่ตามมาเนี่ยมันมีเยอะแน่ๆ จะเกิดปรากฏการณ์ว่าคนนี้ทำได้ ทำไมเราทำไม่ได้บ้าง แล้วก็จะเกิดการแหกกฎเป็นลูกโซ่ วุ่นวายแน่นอน
คำถามคือ งานนี้ขนส่งยอมแล้วหรือครับ?
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกระบุ Uber ผิดกฎหมาย เริ่มตรวจจริงจังตั้งแต่เมื่อวานนี้
กรมการขนส่งทางบกระบุ สั่ง Uber หยุดให้บริการรถป้ายดำตั้งแต่วันนี้ จับแล้วสิบคัน
ข่าวค่อนข้างเก่าแล้วครับคุณ panurat2000 (และผมอ่านหมดแล้วด้วย)
คือตอนนั้นก็ถือว่าอธิบดีขนส่งออกมาแถลงชัดเจนเลยว่า uber ป้ายดำผิดกฎหมายแน่นอน และออกมาไล่จับ uberX จนคนขับไม่กล้าเปิดแอพรับลูกค้าไปประมาณสัปดาห์นึงได้ เรียกว่าออกมาจับเป็นพิธีให้มีข่าวไปเท่านั้น
แต่หลังจากนั้นก็เข้าอีหรอบเดิม คือกรมกับตำรวจแกล้งปิดตาข้างนึง ทุกวันนี้ตำรวจและกรมก็ไม่ได้ไล่จับ uber แล้วครับ จากที่คนไม่กล้าออกมาขับกัน ก็ออกมาขับกันสนั่นเต็มถนน และคนเรียกก็เยอะด้วย (คนขับบอกว่าชาวต่างชาติเรียกใช้ uber ในสัดส่วนเยอะมาก) คือผิดจริงแต่ก็ไม่ได้มีการเข้มงวดอีกเลย ปล่อยให้เป็นธุรกิจสีเทาๆ ไป
แถมมิหน่ำซ้ำ uber เองก็ออกมาทำการตลาดเต็มที่ ที่พีคสุดๆ คือแคมเปญตั้งเครื่องเช็คแอลกอฮอลตรงถนนทองหล่อ ใครเมาก็มาเช็คได้ ถ้าเกินระดับก็เรียก uber กลับบ้านได้เลย งานนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติออกมาร่วมแคมเปญด้วย ถ่ายภาพ PR หรากับ uber เลย จนคนสงสัยกันว่า ตกลงตำรวจไม่ไล่จับ uber แล้วหรือ?
โดยส่วนตัวผม แม้อธิบดีจะบอกว่าผิดกฎหมาย ใช่ ผิดแน่นอน แต่มันก็ยังผิดในลักษณะสีเทาๆ อย่างที่ว่าไป คือเจตนามันผิดแน่ แต่มันก็ไม่ใช่ความผิดแบบชัดแจ้ง เพราะไม่ได้มีการรับส่งเงินค่าโดยสารกัน แบบนี้จะต่างอะไรกับเพื่อนขับรถมาส่ง คือมันก็ยังคลุมเครือ เรียกว่ากฎหมายยังตามไม่ทันมากกว่า เพราะมันยังเป็นรูปแบบใหม่ในขณะที่กฎหมายยังไม่รับรู้ว่ามีการกระทำแบบนี้ ก็ต้องแก้ให้ชัดเจนต่อไป
แต่พอรับเงินปั๊บ มันผิดซึ่งหน้าแน่ๆ และผลกระทบจะเยอะ เพราะพอเป็นจ่ายเงินสดปั๊บ ใครก็ละเมิดได้ ทีนี้มันก็จะวิบัติไปหมดละ เพราะแท๊กซี่เองคราวนี้ถูกละเมิดไปเต็มๆ และมันจะเกิดการเอาอย่าง หรือแม้แต่แท๊กซี่ถอดป้ายเหลืองก็อาจจะเกิดขึ้นได้
มันเลยเป็นประเด็นใหม่ นอกเหนือจากข่าวเก่าที่คุณ panurat2000 ยกขึ้นมา เพราะนั่นผิดแบบสีเทาๆ และที่ผ่านๆ มาก็หยวนๆ กันตลอด (กรมปิดตาข้างนึง) แต่พอรับเงินสดปั๊บ สถานการณ์มันเปลี่ยนไปแน่นอน ก็ต้องดูว่าขนส่งจะออกมาว่ายังไงต่อ
ถ้าอย่างนั้น GrabCar นี่ต้องโดนก่อนเลยครับ เพราะ GrabCar ก็เป็นป้ายดำแล้วรับเงินสดด้วย
+1
เศรษฐกิจแบ่งปัน :P
Happiness only real when shared.
ทำให้ถูกต้องซะ เอารถถูกประเภทมาวิ่ง อย่าง Graptaxi ใช้รถแท็กซี่จริงๆมาวิ่ง เอารถส่วนตัวมาวิ่งก็ต้องทำเป็นป้ายเขียว ให้อยู่ในระบบตรวจสอบได้
ตรงนี้ผมเห็นด้วยมากๆ ครับ สมควรเอามาเข้าระบบให้หมด จะได้ควบคุมได้
แต่สิ่งที่กรมขนส่งต้องแก้ด้วยคือ พรบ. แทกซี่มิเตอร์เนี่ยแหละ โดยส่วนตัวผมมองว่าโบราณและไม่เข้ากับยุคปัจจุบันมากๆ ตรงที่กำหนดกรอบของ taxi ไว้แคบมาก ตั้งแต่ขนาดรถ รูปแบบรถ อัตราค่าโดยสาร คนขับ ฯลฯ จนกลายเป็นว่า taxi ออกมาในรูปแบบเดียวกันไปหมดอย่างที่เราเห็นกัน ซึ่งมันไม่ตอบโจทย์ความหลากหลาย แถมทำให้เกิดปัญหาคาราคาซังอย่างที่เห็นด้วย
คำถามคือทำไมแท๊กซี่ต้องมีรูปแบบเดียว อัตราค่าโดยสารเดียว?
เช่นทุกวันนี้ รถ Subcompact 1.5 อย่าง vios, city ก็เอามาวิ่งเป็นแท๊กซี่ได้สบายแล้ว เครื่องก็สมรรถนะดีมากพอ (และต่างประเทศก็เอารถแบบนี้มาเป็นแท๊กซี่กันหมดละ) แต่ทำไมบ้านเรายังล็อกไว้ที่ 1.6 ? (เอื้อให้รถบางรุ่นชัดๆ) และถ้ารถใหญ่อย่าง Innova Camry เพื่อมารองรับความต้องการของผู้โดยสารที่สูงขึ้น ทำไมถึงต้องมีอัตราค่าโดยสารแบบเดียว? ทั้งๆ ที่เดี๋ยวนี้เราก็รู้ว่าลูกค้ามีหลายระดับ และพร้อมจ่ายในระดับการบริการที่ตนเองต้องการอยู่แล้ว
เรียกว่า uberX กับ uberBlack มาทลายกำแพงระเบียบโบราณของกรมการขนส่งให้เห็นเลย ว่าความต้องการของลูกค้ายุคนี้มันเปลี่ยนไปถึงไหนแล้ว
และควรสร้างความหลากหลายให้บริการแท๊กซี่ได้แล้ว ไม่ใช่ระเบียบเหมือนกันหมดทุกคัน ต้องติดตั้งแบบนี้ ขนขับใส่เสื้อสีฟ้าแบบนี้หมดทุกคัน แต่ควรให้สัมปทานบริษัทใหญ่ๆ ไปเลย แล้วไปบริหาร แข่งขัน สร้างความแตกต่างกันเอาเอง (ถือเป็นการหาทางออกให้ uber ด้วย คือเอาสัมปทานไปเลย) หรือใครจะวิ่งส่วนบุคคลก็ยังได้
รถเองก็ควรจะมีหลายรูปแบบ อัตราค่าบริการหลายอัตรา (ซึ่งต่างประเทศเขาก็ทำกัน และระบุให้ชัดเจนบนรถ) เช่นรถอย่าง Eco car, Vios ก็เอาเรตปัจจุบันก็ได้ เริ่มต้น 35 บาท เป็น Type Eco/Small ไป ต้นทุนแท๊กซี่จะได้ถูกลงด้วย หรือรถใหญ่กว่านั้นอย่าง Altis ก็อาจจะ 40-45 บาท เป็น Type mid-size หรือรถอย่าง Camry, Innova, SUV ก็อาจจะเริ่มต้น 50-60 เป็น Type Large car หรือ premium อะไรก็ว่าไป คนนั่งเค้าก็เลือกโบกรถ Type ที่ตัวเองต้องการและเต็มใจจ่ายได้
ถ้าแก้ปัญหานี้ได้ จะแก้ปัญหาเรื่องแท๊กซี่สุวรรณภูมิได้ด้วยนะเออ ที่เค้ามีปัญหาและเรียกร้องกันก็เรื่องไซส์รถกับราคาที่ไม่เป็นธรรม (มีแค่อัตราเดียว) นี่แหละ
สรุปคือ พรบ แทกซี่ของกรมขนส่งตอนนี้ มันโบราณไป มีเพียงรูปแบบเดียวและไม่ได้ตอบสนองความหลากหลายของสังคมในปัจจุบัน มันก็เลยปัญหาคาราคาซังอย่างที่เห็น
พรบ ตัวนี้ใช้มาเกือบๆ จะ 20-30 ปีละ ตั้งแต่เราเริ่มมีแท๊กซี่มิเตอร์และยุคเปิดเสรี ถึงเวลาจะปัดกวาดเช็ดถูใหม่แล้วครับ
เห็นด้วยเรื่องรถใหญ่ควรคิดค่าบริการได้เพิ่มคิด
แต่เรื่องรถเล็กหรือรถที่เครื่องยนต์CC/แรงม้าน้อยๆนี่ผมว่าไม่ควรเอามาให้บริการ
เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัวเคยได้นั่งรถEco Car ถ้านั่งหลายๆคนนี่อืดมากๆ ถ้าเอาไปรับส่งคนแล้วลูกค้าขึ้นซัก4คนก็เร่งไม่ขึ้นแล้ว สมควรที่จะต้องใช้รถเครื่องแรงๆมากกว่า
ผมคิดว่าเลิกดูตาม CC ไปเลย ดูที่แรงม้าเมื่อเทียบขนาดรถดีกว่า เพราะเมื่อหลายปีก่อน เคยลองขับ Golf เครื่องเล็กนิดเดียว 1.4TSI รู้สึกว่าแรงแบบพอเพียง
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด การยัดผู้โดยสารเข้าไปเยอะ ๆ มันผิดกฎหมายนะครับ เอาง่าย ๆ เข็มขัดนิรภัยมีแค่ไหน โดยสารได้แค่นั้นครับ ทุกวันนี้มันทำผิดกันจนเป็นปกติไปแล้ว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ขอบคุณครับข้อมูลแน่นมาก
ข้อมูลของท่านเปิดโลกทัศน์ด้านระบบขนส่งในบ้านเรามากเลย
ขอบคุณมากครับ
+1