หน่วยวิจัยของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ร่วมกับภาคเอกชนได้สำรวจถึงการใช้พลังงานลมของสหรัฐฯ และพบว่ามีแนวโน้มว่าสหรัฐกำลังจะใช้พลังงานลมถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2030 ที่จะถึงนี้ โดยพลังงานในสัดส่วนนี้จะเท่ากับพลังงานที่ผลิตจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เลยทีเดียว
ปัจจุบันสหรัฐฯ ใช้พลังงานลมทั้งประเทศอยู่ที่ 16,000 เมกกะวัตต์ แต่พลังงานร้อยละ 20 นั้นหมายถึงสหรัฐต้องใช้พลังงานลมเป็น 300,000 เมกกะวัตต์ แม้การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะมีอุปสรรคที่ต้องการการแก้ไขอีกมากมาย แต่ข่าวดีคือเทคโนโลยีพลังงานลมนั้นมีความพร้อมค่อนข้างสูง และไม่ต้องการการวิจัยเพิ่มเติมมากนัก
มีการคาดการว่าหากสหรัฐฯ สามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานลมได้ตามนี้จริง จะช่วยลดมลพิษเท่ากับการลดการใช้รถยนต์ไป 140 ล้านคัน ทำให้คาร์บอนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศลดลงไปถึง 825 ล้านตัน
ที่มา - PhysOrg
Comments
จำได้ว่าเมื่อ 10 ปีก่อนก็มีกระแสผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์กัน ตอนนั้นบอกว่าเราจะผลิตไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์เท่านี้เท่านั้น .. ตอนนี้ก็ยังคงใช้น้ำมันกันเหมือนเดิม -_-"
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
กระแสช่วงนั้นผมมองว่ามีความผิดพลาดอย่างร้ายแรงคือ มันเป็นไปไม่ได้ในเชิงธุรกิจเลยครับ พลังงานแสงอาทิตย์นั้นแม้จะทำได้ในเชิงเทคโนโลยี แต่ในแง่ความคุ้มทุนแล้วแทบไม่มีเลยเพราะน้ำมันถูกกว่ามาก
พอดีผมเพิ่งได้ดูรายการ E^2 ของ PBS น่าสนใจมากว่ากระแสพลังงานทดแทนรอบใหม่นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมัน "ทำได้" แต่เป็นเพราะว่ามัน "คุ้มค่า" ที่จะทำ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
มันคุ้มค่าเพราะน้ำมันแพงขึ้นมากกว่าด้วยมั้งครับ
ก็ใช่ครับ แต่ที่ผมกำลังบอกคือกระแสในรอบนี้ผ่านการ "เรียนรู้" จากประสบการณ์ครั้งก่อนๆ มาแล้ว
ถ้าไปดูเรื่องของ Carbon Tax หรือ Community Wind จะเห็นว่าการรณรงค์สมัยนี้ไม่ได้พยายามเรียกร้องจิตสำนึกรักโลก โดยให้ทุกคนยอมจ่ายแพงขึ้นกว่าเดิม แต่พยายามทำให้การทำลายโลกเป็น "ทางเลือก" ที่ราคาแพง เพื่อให้คนหันไปหาทางเลือกอื่นแทน
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ตอนโน้น เทคโนโลยียังไม่ดีครับ ราคาเซลล์ก็แพง ผลิตไฟฟ้าได้ก็น้อย เทคนิคในการสะสมพลังงานก็ไม่ค่อยดี ท้ายที่สุดต้นทุนต่อหน่วยมันสูงลิ่ว เมื่อเทียบกับการเผาเชื้อเพลิงน้ำมัน,ก็าซ,ถ่านหิน ก็เลยพับไป
รอบนี้ที่สำคัญ ราคาน้ำมันที่เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการผลิตไฟฟ้าแบบปกติมีแนวโน้มจะสูงลิ่วแบบติดเพดาน เลยเป็นตัวผลักดันเทคโนโลยีทางเลือกอื่นๆ
เปลืองที่นะนั่น
windfarm ในอเมริกา ส่วนมากมันอยู่ในหุบเขา เป็นช่องลม ไม่มีคนเอาที่ตรงนั้นไปทำอะไรสักเท่าไหร่ อยู่แล้่วครับ
เห็นโครงการ Community Wind อันใหม่แล้วเค้าไปใช้พื้นที่การเกษตรครับ บริษัทพลังงานลงทุนค่าเสา แล้วแบ่งรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับเกษตรกร
เกษตรกรไม่ได้เสียอะไรนอกจากระวังตอนขับรถเก็บเกี่ยวไม่ให้ไปชนเสา
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าตั้งเย่อะๆแล้วมันสวยดีออก.. เด็กๆก็คงชอบ
น่าจะเป็นวิวที่เหมาะแก่การถ่ายรูปเลยทีเดียว รูปที่ได้คงสวยมากๆ
เมื่อไหร่เมืองไทยจะทำมั่งนะ ภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การทำก็มีอยู่พอสมควร
windfarm ไม่เปลืองที่หรอกคับ ผมสร้างกลางทะเลก็ได้ เท่เลย
มัน*
เมืองไทยลมไม่พอ เห้อ .....
บ้านเรามีแต่แดด