จากประเด็นร้อนแรงที่ FBI อาศัยคำสั่งศาลขอให้ Apple ทำรอมแบบพิเศษเพื่อให้สามารถปลดล็อก iPhone ของผู้ก่อเหตุกราดยิงที่ San Bernardino เมื่อปลายปีก่อน ซึ่ง Apple ได้แสดงจุดยืนคัดค้านเรื่องนี้ด้วยเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลในเครื่อง iPhone ของผู้ใช้ทั่วโลก ซึ่งหลายฝ่าย (1, 2, 3) ก็ออกมาหนุนหลัง Apple เรื่องต่อสู้กับคำสั่งดังกล่าวกันเต็มที่ แต่หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Microsoft นั้นเห็นต่างออกไป
เมื่อวานนี้ Bill Gates แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านการให้สัมภาษณ์แก่ Financial Times โดยไม่คิดว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นบรรทัดฐานด้านการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เหมาะสมอย่างที่หลายคนวิตกกัน เขากล่าวว่าคำขอของ FBI นั้น "ใช่ว่าจะเป็นการขอไปเรื่อย (นี่เป็น)การขออย่างเป็นกรณีพิเศษ"
Gates ยังกล่าวต่อ Financial Times โดยเปรียบเทียบว่าการขอสิทธิ์เพื่อเข้าถึงข้อมูลเป็นกรณีพิเศษนี้ ก็เหมือนกับการที่ผู้ใช้โทรไปขอข้อมูลจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ หรือขอข้อมูลธุรกรรมจากธนาคาร คำพูดตอนหนึ่งของเขาเปรียบเปรยท่าทีของ Apple ว่า "ลองนึกดูสิว่าธนาคารเอาริบบิ้นมาพันดิสก์ข้อมูลเอาไว้ จากนั้นก็บอกคุณว่า 'อย่าขอให้ฉันต้องตัดริบบิ้นนี้นะ เพราะไม่อย่างนั้นต่อไปฉันคงต้องตัดมันอีกครั้งแล้วครั้งเล่าแน่'"
หลังข่าวการให้สัมภาษณ์ของ Gates เผยแพร่ออกมา โฆษกของ Microsoft ได้ปฏิเสธที่จะออกความเห็นเกี่ยวกับการแสดงทัศนะของ Gates
อย่างไรก็ตามหลังจากถ้อยคำให้สัมภาษณ์แก่ Financial Times กลายเป็นข่าวเกรียวกราว วันนี้ Gates ได้ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg และได้กล่าวถึงรายงานข่าวข้างต้นว่า "นั่น (หมายถึงรายงานข่าว) ไม่ได้สะท้อนมุมมองของผมต่อเรื่องนี้"
Gates บอกว่าเขา "ผิดหวัง" ที่สื่อรายงานออกไปในเชิงว่าเขาหนุนหลัง FBI อย่างเต็มที่ให้กดดัน Apple ให้ทำ backdoor สำหรับเจาะเข้า iPhone เครื่องเจ้าปัญหา ทั้งที่จริงแล้วสิ่งที่เขาคิดคือทั้ง 2 ฝ่ายน่าจะสามารถรอมชอมเพื่อหาทางออกด้วยกันในการแก้ปัญหานี้ได้ดีกว่าการยืนกรานในจุดยืนของแต่ละฝั่งซึ่งไม่สามารถทำงานร่วมกันได้
Gates พยายามอธิบายมุมมองของตนเองให้ชัดเจนขึ้นว่า "ผมเชื่ออย่างสัตย์จริงว่าด้วยการป้องกัน (ความเป็นส่วนตัว) อย่างเหมาะสม ในหลายกรณีรัฐบาล, ซึ่งกระทำการในนามของพวกเราเอง ก็สามารถหยุดยั้งการก่อการร้ายที่อาจจะรุนแรงหนักข้อยิ่งขึ้นในอนาคต นั่นคือสิ่งที่เยี่ยมมาก แต่การทำลายสมดุลนั้น (ระหว่างการปกป้องความเป็นส่วนตัว และเรื่องการทำงานของรัฐบาล) ซึ่งก็ชัดเจนว่าตามประวัติศาสตร์แล้วรัฐบาลเคยดึงเอาข้อมูลตั้งแต่สมัยของ FBI ภายใต้ยุคของ J. Edgar Hoover มาใช้งานได้อย่างที่เราไม่คาดคิดมาก่อน ดังนั้นผมจึงหวังว่าบัดนี้เราจะสามารถหันหน้าเข้าหารือกันได้ ผมเชื่อเหลือเกินว่ามันจะต้องมีระบบการป้องกันที่จะไม่ทำให้รัฐบาลถูกปิดกั้นแบบหูหนวกตาบอดไปอย่างสิ้นเชิง"
เมื่อ Bloomberg ถาม Gates ว่าตกลงแล้วเขาเห็นด้วยกับฝ่ายไหนระหว่าง FBI กับ Apple เขาก็ตอบเพียงว่า "ศาลจะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนี้ ในระหว่างนี้เราจะมีโอกาสอันดีเพื่อถกกันในเรื่องนี้ และในท้ายที่สุดประเด็นเหล่านี้จะถูกนำไปพิจารณากันในสภา"
Comments
ไม่มีนัยอะไรแอบแฝงใช่ไหมครับ คุณเกตส์
:3 :3
ลองคิดดูใหม่ดีไหมครับ คุณเกตส์
Get ready to work from now on.
ต้นทางอัพเดทข่าวแล้วนะครับ ลองอ่านก่อนแสดงความคิดเห็นนะครับ
อัพเดตข่าวที ถอดคำพูดยากเลยครับคราวนี้ (- -")
ขอเวลาสักครู่
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
“I was disappointed, because that doesn’t state my view on this. I do believe that with the right safeguards, there are cases where the government, on our behalf — like stopping terrorism, which could get worse in the future — that that is valuable. But striking that balance — clearly the government [has] taken information, historically, and used it in ways that we didn’t expect, going all the way back, say to the FBI under J. Edgar Hoover. So I’m hoping now we can have the discussion. I do believe there are sets of safeguards where the government shouldn’t have to be completely blind.”
And in a response to a follow-up question about the specifics of the FBI/Apple dispute, Gates offered this: “The courts are going to decide this. … In the meantime, that gives us this opportunity to get the discussion. And these issues will be decided in Congress.”
อันนี้อัพเดทนะครับ เผื่อใครขี้เกียจกดเข้าไปดูต้นทาง
นอกจาก #TeamCap vs #TeamIronMan
ก็จะมี
#TeamTim vs #TeamBill
คุณเลือกข้างแล้วหรือยัง?
ทีมสกาเลต ทีมนาตาชา
Which side will you choose ?
.....ลอยเข้ามาเลย
ใน blog ต่างประเทศคนตามแต่แกแบบมันปากมาก
ต้องย้อนไปดูในอดีตว่าคุณเกตส์เคยห่วงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าผู้ใช้ windows บ้างหรือไม่
Privacy International ระบุ ไมโครซอฟท์เกี่ยวพันกับการดำเนินคดีหมิ่น, บริษัทระบุว่าตอนนั้นไม่ทราบ
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
เมื่อมันมีครั้งแรกแล้ว มันก็จะมีครั้งต่อๆ มาครับ และการตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลมันก็จะลดลงตามเวลาด้วย
เมื่อมีอำนาจในมือ ระเบียบการตรวจสอบก็จะค่อย ๆ หย่อนยานลงไป ในไม่ช้าก็จะกลายเป็นใครจะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องสนใจว่ามีระเบียบอะไรบ้าง
ปลดล็อค => ปลดล็อก
มุมมองของ ?
ก็เหมือนที่จับโจรใต้ไม่ได้สักที เพราะลวงอะไรไม่ได้สักอย่าง
ความจริงเรื่องร้ายแรงก็สมควรให้ความร่วมมือ
ผมเห็นด้วยนะ
ประโยค "ถ้าการให้ครั้งนึง ทำให้จะหนักขึ้นในงวดหน้า"
รู้สึกเหมือน Slippery Fallacy ชอบกล
ผมว่า มันไม่ใช่คำถาม ประเภท ใช่ หรือ ไม่ 0 หรือ 1 ชนิด
ใช่ คือ ใครจะเข้าถึงเมื่อไหร่ก็ได้
หรือ
ไม่ คือ ต่อให้โฉดชั่วขนาดไหน รัฐก็ห้ามแกะ/แกะไม่ได้ เด็ดขาด
แต่มันเกี่ยวกับ จะมีวิธีเข้าถึงได้อย่างไร ที่จะ ไม่ให้ใครๆก็เข้าถึงได้ง่ายเกินไป อย่างที่กลัวกัน
อีกประเด็นนึงคือไม่มีใครยืนยันได้ว่าถ้ามันมีทางให้เข้าถึงได้ แล้วมันจะไม่ทำให้ใครก็ไม่รู้เอาข้อมูลนั้นไปน่ะสิครับ
และอีกประเด็นหนึ่ง เราจะรู้ว่าตัวเราจะปลอดภัยตลอดไปและในวันหนึ่งถ้าเกิดเราไปทำอะไรไม่ถูกใจใครที่มีกุญแจ เราจะมั่นใจได้ขนาดไหนว่าจะไม่มีใครพยายามยัดข้อมูลที่ไม่ใช่ของเรามาไว้ในเครื่องจาก Backdoor ที่อ้ารอไว้ตรงนั้น
ปัญหาคือ ใน us แม้แต่หมายศาลก็โดน exploit ไปแล้วในกรณี nsa
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
"ถ้าการให้ครั้งนึง ทำให้จะหนักขึ้นในงวดหน้า" อันนี้คือในข่าวนี้หรือข่าวก่อนหน้าเหรอครับ
แต่ส่วนตัวเพราะว่าถ้าแอปเปิลยอม ผลของครั้งนี้มันจะส่งผลให้ FBI หรือหน่วยงานรัฐอื่นเอาไปใช้เพื่อขอให้บริษัทต่างๆ ทำแบบเดียวกันให้ FBI ได้เช่นกัน ทีนี้ถ้าของพวกนี้มันยังไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าจะเข้าถึงได้เมื่อไหร่ยังไง ซึ่งสุดท้ายมันก็คือทำให้ความปลอดภัยโดยรวมลดลงก็เลยเป็นความกังวลต่อๆ กันมา ต่อให้มองว่าเป็น slippery slope ก็อาจจะไม่นับเป็น fallacy ครับ
ทางแก้ที่ผมว่าประนีประนอมที่สุดคือแอปเปิลทำ iOS กุญแจที่ปลดรหัสได้ แล้วพิจารณาเป็นเคสไป แต่ไม่ปล่อยเครื่องมือนี้ให้ FBI แต่แอปเปิลเองก็แสดงจุดยืนชัดว่าไม่ทำแน่ๆ
ถ้ายังไงคุณมีไอเดียหรือกระบวนการที่เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ลองมาคุยกันก็น่าจะสนุกดีนะครับ
onedd.net
ในทาง concept มันไม่บรรจบกัน
ภาษาฝรั่งเรียกว่า dilemma problem คือ
-Yes การมีทางเจาะขึ้นมา ไม่ว่ามันจะอยู่ฟาก แอปเปิ้ล หรือ รัฐ
มันก็จะไม่น่าไว้ใจ และ มีแนวโน้มรั่ว เหมือนกัน
ปัญหาจริงๆ ของกรณีนี้ ดูเหมือนว่าไม่ใช่ความอ่อนแอของกุญแจ
แต่การทำ rom ที่มี backdoor
แฮกเกอร์จะ jail break ดูดเอารอมมาแก้ แล้วใส่คำสั่งโดดข้าม/สั่งnoop ไป
ทำให้ไม่ว่าจะออกแบบคีย์โหดขนาดไหน มันจะโดดข้ามไปหมด (เหมือนการ crack โปรแกรม นั่นแหละครับ)
-No ถ้าไม่มีใครมีทางเจาะเลย
รัฐก็จะล้มเหลวในการปกป้องผู้บริสุทธิ และ จัดการกับผู้กระทำความผิด อย่างแน่นอน
ดูเหมือน มันจะต้องอาศัย การตระหนักรู้ถึงผลเสียที่มากกว่าผลดีที่จะได้รับ
จากการปกป้องข้อมูลแบบสุดโต่งขนาดนี้
แล้วเกิดการบังคับเป็นกฎขึ้นมา
เหมือนๆกับ ที่รัฐออกกฎมาห้ามของเหลวขึ้นเครื่องบิน/การถูกค้นกระเป๋า แต่ไม่มีใครเถียง
เพราะ ความไม่สะดวกในการไม่ได้พกของเหลวขึ้นเครื่อง/ความเสียหายจากถูกค้นกระเป๋า
มันน้อยกว่าความเสียหาย กรณีที่มีของเหลวระเบิดได้/สิ่งผิดกฎหมาย ขึ้นเครื่องไปชัดเจนมาก
กำลังหาข้อมูล J. Edgar Hoover ว่ามีผลงานอะไร อ้าว เขาไม่ใช่ประธานาธิบดี แต่เป็นผู้อำนวยการเอฟบีไอครับ
ขอโทษครับ ผมผิดพลาดเอง
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ไม่เป็นไรครับ ช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้องดีกว่าอยู่แล้วครับ
กำลังคิดเลยว่าชื่อคุ้นๆ...เคยดูหนังที่ลีโอนาโดแสดงนี่เอง
ผมเข้าใจว่า แอปเปิ้ลเองก็อ่านข้อมูลพวกนี้ไม่ได้ซะอีก ... ถ้าอย่างนั้นจะรอมชอบกันได้อย่างไร ... ในเมื่อการที่จะทำให้ apple อ่านได้ก็ต้องใส่ backdoor ไว้แต่ต้น (เพราะตอนนี้มันอ่านไม่ได้)
ปล. เดา ๕๕๕
เห็นว่า Apple ยังไม่ได้บอกว่าทำได้หรือไม่ได้นะครับ ?
ถ้า FBI ขอให้ทำพิเศษเฉพาะเครื่อง คงจะดีกว่านี้ อันนี้เหมือนแสดงเจตนาชัดเจนนะ ว่าสุดท้าย backdoor นี้จะเอาไปถูกใช้รัวๆ
ขาลง!
แอปเปิลเค้าให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัย
และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้(ลูกค้า)เค้ามากกกอยู่แล้ว
เหล่าบรรดาลูกค้าของแอปเปิลเลยเนียวแน่นไง
ไม่ทอดทิ้งหรือตีจากแอปเปิลไปง่ายๆ
ยิ่งเกิดกรณีนี้ขึ้นมา ยิ่งตอกย้ำภาพลักษณ์ของแอปเปิล
ในเรื่องที่พล่ามมาข้างบนเข้าไปอีก
ได้ FBI มา PR ให้! หลายๆบริษัท(ที่ขาขึ้น)
ก็หนุนหลังสนับสนุนแอปเปิลเต็มที่
พร้อมประกาศจุดยืนชัดเจน
ส่วนลุงบิลนี่ ยิ่งพูดมาก วกไปวนมา กั๊กๆกังๆ เท่าไหร่ยิ่งเป็นผลเสียต่อองค์กร(ไมโครซอฟท์) ในภาพรวมเท่านั้น โฮ๊ะๆๆ
เหมือนให้สัมภาษณ์แบบไม่มีจุดยืน พอไม่ดีกระแส เลยโยนไปให้ศาลและรัฐสภา อย่างนี้อยู่เฉยๆน่าจะดีกว่า
บางทีมันก็ก้ำกี่งน่ะนะ
ระหว่างสอดส่องมือถือใครก็ได้ ?
อันนี้เราก็ไม่ชอบ(ผมด้วย)
เราจะไว้ใจตำรวจ ไว้ใจรัฐบาลได้ไง (เหล่ตาดูบ้านเรา)
ในทางกลับกัน
กรณีกุญแจล็อค TSA ขึ้นเครื่องบิน
ทำไมทุกคนยินยอม (แต่อาจจะไม่ยินดี) ให้เจ้าหน้าที่ค้น
เพราะเราเสียสละเพื่อความปลอดภัยไง
มันกรณีเดียวกันเป้ะๆ เลย
กระเป๋าเดินทาง <-> มือถือ <-> ของใช้ส่วนตัว
กุญแจ TSA <-> ปลดล็อค iPhone
อันนี้ผมก็ไม่รู้คำตอบนะ ไม่ดราม่าด้วย แต่อยากทราบแนวคิด
ที่เรายอมให้ค้น เพราะเราอยู่ตรงนั้น เราเฝ้าอยู่รึเปล่าครับ
ในกรณีนี้อาจจะเป็น (ด้วยความที่เราไม่รู้ตัว) มีใครไม่รู้หยิบกระเป๋าเราไปค้น อาจจะหยิบของๆเราออกไปใช้อีกต่างหาก
TSA เราไม่ได้เฝ้าครับ
เพราะเรา Load ขึ้นเครื่องไป รู้อีกทีก็ตอนได้คืน
แล้วมีใบแนบมาว่า "TSA เปิดค้นแล้วนะ"
ส่วนกรณีนี้ก็ทำได้ครับ
ถ้ามีการใช้รหัสพิเศษ(BackDoor) ก็บังคับว่าจะต้องมี Notification เตือนว่า "ถูกค้น" และสามารถปิด Notification ได้ด้วยรหัสดั้งเดิมอย่างเดียว
TSA เค้าเปิดตอนเราอยู่บนเครื่องครับ
เออ.. เค้าเปิดตอนอยู่สนามบินเน้อ
ถ้าตอนเราอยู่บนเครื่อง
ของๆเราจะอยู่ในช่องเก็บของใต้เครื่องนะครับ
คนปกติอยู่ไม่ได้หรอก ตายมาหลายรายแล้ว
พวกจะลักลอบเข้าประเทศ แอบเข้าช่องเก็บของใต้เครื่อง
ถึงที่หมาย กลายเป็นศพ เพราะความสูง 20,000 ฟุต มันไม่มีอากาศ แถมอุณหภูมิติดลบ
ผมหมายถึงช่วงระยะเวลาที่เราอยู่บนเครื่อง(แลนดิ้ง)จนไปถึงรับกระเป๋าน่ะครับ ขออภัยที่พิมพ์เข้าใจผิดครับ
เพราะกระเป๋าเดินทาง เราไม่ได้ใส่ของมีค่าไงครับ
จริงๆตามคำแนะนำก็บอกให้พกของมีค่าติดตัวขึ้นเครื่อง เป็นcarried on ไป ไม่ให้ใส่ในกระเป๋าโหลดอยู่แล้วล่ะ
แต่มือถือไม่ใช่ ทุกวันนี้เราใช้มันยืนยันตัว รับ OTP มีของส่วนตัวต่างๆนานา เปรียบเสมือนกุญแจบ้านหรือบัตร ATM บัตรเครดิตเลยก็ว่าได้ คงไปยินยอมให้คนอื่นเข้าถึงไม่ได้ง่ายๆ หรือบางกรณี แค่เป็นเจ้าของมือถือก็อาจถูกกล่าวโทษข้อหาที่ต้องจำคุกเป็นสิบปีได้ แม้ไม่มีหลักฐานอื่นในบางประเทศ
และถ้าจะบังคับจริง ก็คงต้องเลิกใช้มือถือในการยืนยันตัวเองครับ
ตรงนี้ผมเห็นด้วยแฮะ :)
งั้นแสดงว่าค่า "ความเป็นส่วนตัว"
ของ "มือถือ" นั้นสูงกว่า "กระเป๋าโหลดขึ้นเครื่อง"
เพราะมันเก็บของที่มีค่ามากกว่า
สูงกว่าเยอะเลยครับ เพราะของมีค่าเราเอา carry-on อยู่แล้ว แต่มือถือนี่ไม่ค่อยมีใครพกสองเครื่องหรือแม้จะพกสองเครื่องก็ไม่ได้รับประกันว่าจะไม่โดนเจาะทั้งคู่
ใช่ครับมือถือนี้น่ากลัวมาก
ผมก็คิดถึงกุญแจมาตรฐาน TSA เหมือนกันครับ ตั้งแต่ต้นเลย แต่ว่าก็เพราะมีการทำตัวมาสเตอร์คีย์ของ TSA หลุดออกมานี่แหละครับ เลยไม่กล้าไว้ใจที่จะให้เปิด backdoor ไว้ แต่ถึงยังไงผมก็ไม่รู้สึกยินดีที่จะให้เปิด backdoor ไว้ไม่ว่ากรณีใดๆ
เห็นคนอื่นเค้ามายุ่งเรื่องนี้เยอะ เลยอยากเอาบ้างมั้ง
ไม่ผิด แล้วจะกลัวอะไร ???คุ้นๆไหมครับ
แน่จริงถึงคราวตัวเองอย่าหนี้นะ ฮาาาา
เรื่องนี้จะไม่มีปัญหาเลย ถ้า FBI สามารถแฮคไอโฟนได้
Apple ควรมีกระบวนการในการเข้าถึงข้อมูลในเครื่องไว้ที่บริษัทเพื่อใช้ในยามจำเป็น (ซึ่งผมคิดว่ามีแหละ) ส่วนทาง FBI ควรทำเรื่องขอข้อมูลโดยการไปที่สำนักงาน Apple เพื่อร่วมกระบวนการและรับข้อมูลมาในรูปแบบถูกเข้ารหัสโดยสร้างคีย์ให้เฉพาะ FBI ในกรณีนั้นๆ ไม่ใช่การสร้างิะไรที่ทำให้ FBI จะเข้าถึงข้อมูลอะไรใครก็ได้ มันก็เกินไป
The Dream hacker..
เท่ากับว่าสร้าง Perception ให้คนทั่วไปรับรู้ได้เลยว่า Apple สามารถดูข้อมูลของผู้ใช้ iPhone คนไหยก็ได้ ลองคิดถึง iCloud
แต่ในความเป็นจริงคือ ข้อมูลมันถูกเข้ารหัสทั้งเครื่อง ถ้าไม่มีคีย์ก็เปิดไม่ได้น่ะครับ
คือผมนี่ทึ่ง Apple เลยนะ แค่รหัส Pin 4 ตัวก็โคตรปลอดภัยขนาดที่ FBI ยังแก้ไม่ได้ (ถ้าเรื่องจริงอ่ะนะ) ไม่ต้องพูดถึงโจรทัั่วไปเลย
Apple ก็ทำให้ FBI ใช้ไปซิ
แล้วก็ปิดซะใน Rom version ถัดไป
ไม่ค่อยแปลกใจปกติเฮียบิลแกจะพูดเอากำไรเข้าบริษัทตลอด(ผลประโยชน์มาก่อน) แต่แกวางมือหมดแล้วนี่นา :|
Apple ทำ Rom รุ่นพิเศษให้ FBI ไปเลย แล้วก็ให้ FBI หาทางไปใส่มือผู้ใช้เอง
ตัว Apple ต้องตอบรับกับผู้ใช้ทั่วโลกนะ ไม่ใช่เฉพาะคนอเมริกัน ดังนั้น ถ้าเปิดช่องให้ทั้งหมด ใครๆ ก็จะโดนเจาะกันพรุนเลยทีเดียว
FBI ต้องหาทางยัดมือให้ผู้ก่อการร้ายเอง น่าจะดีกว่า เพราะโดยปกติก็ซื้อให้ผู้ก่อการร้ายอยู่แล้วนี่นา?